ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2012, 10:54:41 am »

ไม่รู้ว่า เมื่อไหร่ประเทศไทยและหน่วยงานของรัฐบาล  จะล้อมคอกก่อนวัวหาย(ทั้งคอก)

เห็นเรื่องราวครั้งใด  เป็นเรื่องที่วัวหาย(ทั้งคอก)แล้วล้อมคอก  เกือบทุกครั้ง 

มีบางครั้ง  ที่วัวหาย(ทั้งคอก)แล้วก็ยังไม่ยอมล้อมคอก ด้วย


.



.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 12, 2012, 10:48:19 am »

.

ทบทวนมาตรฐานปลอดภัยการใช้มือถือ

-http://www.komchadluek.net/detail/20120812/137414/%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD.html#.UCcltaPiHx8-



          ทุกวันนี้ความสนใจของคนไทยต่อการใช้โทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ไร้สายเคลื่อนที่ทุกประเภทนั้น จะจำกัดอยู่ที่ปัจจัยด้านราคา ความเร็วในการทำงาน รูปลักษณ์ภายนอก และฟังก์ชันเสริมนอกเหนือจากการใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารธรรมดาๆ เช่น ความคมชัดของหน้าจอ และกล้องถ่ายรูป ประสิทธิภาพในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นหลัก แต่จะมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทยสักเท่าไหร่ในจำนวนเจ้าของเลขหมายโทรศัพท์มือถือ 75 ล้านเลขหมายเศษนั้น จะคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการแผ่รังสีที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพสมองของตนกันบ้าง

 รังสี (Radiation) คือพลังงานที่แผ่ออกมาจากต้นกำเนิดในรูปแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ แสงสว่าง รังสีเอ็กซ์ และรังสีคอสมิก ซึ่งในการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดจะมีการใช้วงจรความถี่ในการกำหนดวงรอบการทำงานของทรานซิสเตอร์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการแผ่รังสีออกมาในระดับหนึ่งอยู่แล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ผลการวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีทีเอ็นโอ แห่งเนเธอร์แลนด์ ระบุว่า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานของเครือข่ายสัญญาณมือถือ 3จี นั้น ทำให้ผู้ใช้โทรศัพท์ที่อยู่ใกล้ๆสถานีฐานนั้นมีอาการคลื่นไส้และปวดหัว

          ขณะที่บ้านเรากำลังตื่นตัวและลุ้นว่า ระบบ 3จี จะเข้ามาให้ใช้งานอย่างเป็นจริงเป็นจังได้เมื่อใด การประมูลความถี่จะเสร็จสิ้นเมื่อใด แต่ไม่มีใครที่จะพูดถึงความปลอดภัยในการใช้งานโทรศัพท์มือถือในยุคใหม่ที่อ้างอิงระบบสัญญาณ 3จี แต่อย่างใด

          แต่ในสหรัฐอเมริกาเวลานี้ ประเด็นด้านความปลอดภัยในการใช้โทรศัพท์มือถือ เรื่องผลกระทบจากการแผ่รังสีจากตัวเครื่องนั้นเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสำคัญขึ้นอีกครั้ง เมื่อ ส.ส.เดนนิส ดูชินิช ยื่นเรื่องให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาออกกฎหมายบังคับการออกฉลากความปลอดภัยเสียใหม่ เพราะมาตรฐานเดิมที่ใช้อยู่นั้น "เก่า" ไปแล้ว

          ประกอบกับการที่สำนักงานตรวจสอบบัญชีกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (จีเอโอ) ได้ส่งคำแนะนำไปยังสำนักงานคณะกรรมการการสื่อสาร (เอฟซีซี) ว่า ควรปรับปรุงมาตรฐานการสัมผัสรังสีจากโทรศัพท์มือถือเสียใหม่ และเปลี่ยนแปลงสมมุติฐานในการทดสอบหาปัจจัยด้านความปลอดภัยให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น มาตรฐานปัจจุบันอ้างอิงจากการวิจัยความปลอดภัยในการใช้งานโทรศัพท์มือถือเมื่อปี 2539

          สิ่งที่จีเอโอแสดงความกังวลต่อเอฟซีซี คือ ความไม่เท่าทันของกระบวนการตั้งสมมุติฐานการทดสอบ ที่นอกจากผู้บริโภคทั่วไปจะนำเอาเครื่องมือถือมาจ่อห่างจากหูราว 1.5-2.5 เซนติเมตรระหว่างการสนทนาแล้ว ยังมีผู้บริโภคอีกกลุ่มหนึ่งที่เน้นความคล่องตัวด้วยการใช้ สมอลทอล์ก ในรูปแบบของหูฟังขนาดเล็กไร้สายที่เชื่อมต่อกับมือถือด้วยคลื่นความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ หรือที่บ้านเราเรียกว่า หูฟังบลูทูธ มาใช้ ซึ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการรับคลื่นความถี่มากยิ่งขึ้น

          นอกจากนั้นพฤติกรรมการใช้สมอลทอล์กยังทำให้อวัยวะที่รับรังสีที่อาจจะเกิดขึ้นจากตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือนั้นเปลี่ยนไปจากศีรษะ เป็นส่วนหน้าอก หรือ ต้นขา เนื่องจากผู้ใช้มักจะพกอุปกรณ์คู่ใจไว้ในบริเวณดังกล่าวแทน

          ซึ่งเอฟซีซีก็ตอบรับคำเตือนจากจีเอโอ และระบุว่า ทางเอฟซีซีก็มีการวิจัยในเรื่องดังกล่าวออกมาแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความตื่นตัวของการตรวจสอบด้านความปลอดภัยของหน่วยงานกำกับดูแลการสื่อสารของสหรัฐนั้น รวดเร็ว และทันสมัยมากกว่าประเทศอื่นๆอย่างเห็นได้ชัด

          สำหรับประเทศไทยเรายังติดปลักกับปัญหาเดิมๆ ในเรื่องการประมูลคลื่นความถี่ 3จี ที่ยังไม่ได้ผลที่ชัดเจน ส่วนบทบาทของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขภาพของประชาชนก็ดูจะห่างหายไปจากการให้คำแนะนำหรือการเผยผลวิจัยการใช้งานโทรศัพท์มือถือในยุคใหม่

          จึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า ถึงเวลาหรือยังที่เราจะทบทวนมาตรฐานความปลอดภัยในการใช้งานโทรศัพท์มือถือ กันอีกสักครั้ง..เพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน

 
.