ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2012, 03:15:58 pm »กฎแห่งกรรม คือ กฎที่แสดงให้เห็นถึงเหตุและผลของการกระทำใดๆของมนุษย์ กล่าวคือ ใครกระทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม บุคคลผู้กระทำนั้นจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆเสมอ
มิได้เกิดจากการดลบันดาลจากอำนาจของพระเจ้าองค์ใด และไม่มีใครมารับผลของกรรมแทนบุคคลอื่นได้
พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในพระสูตรหนึ่ง ชื่อว่า "ปุพพังคสูตร"
ปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสกนิบาต ว่า
"ดู ก่อน ภิกษุทั้งหลาย ก่อนที่ดวงอาทิตย์จะส่องสว่างเหนือโลกหล้า ย่อมมีแสงเงินแสงทองจับขึ้นที่ขอบฟ้า เป็นนิมิตเบื้องต้นให้เห็นก่อน ฉันใดก่อนที่กุศลธรรมทั้งหลายจะบังเกิดขึ้น ย่อมมีสัมมาทิฏฐิ เป็นนิมิตเบื้องต้นให้เห็นก่อน ฉันนั้น"
สัมมาทิฏฐิที่เป็นเบื้องต้นของกุศลธรรมนั้น มี ๑๐ ประการ ได้แก่
ทานที่ให้แล้วมีผล
การสงเคราะห์กันมีผล
การยกย่องบูชาบุคคลที่ควรบูชามีผล
ผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วมีจริง
โลกนี้มี (ที่มา)
โลกหน้ามี (ที่ไป)
แม่มี
พ่อมี
สัตว์ที่เกิดแบบโอปปาติกะมี
พระอรหันต์ผู้หมดกิเลสแล้วมี
รายละเอียดของมิจฉาทิฐฐิ หรือ ความเห็นผิด ประกอบด้วย
1. เห็นว่า ทานไม่มีผล คือ ทำทานแล้วไม่เกิดผลใดๆ
เห็นว่า สงเคราะห์ไม่มีผล คือ การช่วยเหลือกัน เป็นสิ่งไร้สาระ เพราะรัฐบาลคอยให้สวัสดิการแก่ทุกคนเท่ากันอยู่แล้ว
2.เชื่อว่า การปฏิสันถารบุคคลที่ควรแก่การต้อนรับเชื้อเชิญไม่มีผล
3. เห็นว่า การบูชาคนที่ควรบูชาไม่มีผล คือ ไม่ต้องบูชาใคร เราเติบโดมาได้ด้วยตัวเราเอง ไม่มีใครช่วย
4. เห็นว่า โลกนี้ ไม่มี เชื่อว่าตายเกิดชาติเดียว แล้วสูญ
5. เห็นว่า โลกหน้า ไม่มี เชื่อว่าตายเกิดชาติเดียว แล้วสูญ
6. เห็นว่า กฏแห่งกรรมไม่มีจริง ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป
7. เห็นว่า บิดาไม่มีพระคุณ ที่ให้กำเนิดลูกมา เพราะรักสนุก นั่นเอง
8. เห็นว่า มารดาไม่มีพระคุณ เป็นแค่สหายร่วมโลก
9. เห็นว่า เทวดา พรหม เปรต อสุรกาย สัตว์นรก ไม่มี ไม่เชื่อว่า พวกนี้มีจริง
10. เห็นว่า พระอรหันต์ ผู้หมดกิเลส ไม่มีจริงในโลก อิมพอสสิเบิ้ล
สัมมาทิฐฐิ ระดับโลกียะ จะเป็นตรงข้ามกับมิจฉาทิฐฐิ
ในบรรดาโทษของอกุศลกรรมทุกชนิดนั้น โทษอันเกี่ยวเนื่องกับนิยตมิจฉาทิฏฐิ จัดเป็นโทษที่ร้ายแรงที่สุด สมดังมีพระพุทธดำรัสไว้ ในอังคุตตรพระบาลีว่า
"ปรมานิ ภิกฺขเว วชฺชานิ"
ปรโลก และ ชีวิตหลังความตาย คืออะไร
คำว่า ปรโลก หมายความว่า โลกหน้าหรือโลกอื่นที่ไม่ใช่โลกมนุษย์นี้ โลกนี้และโลกหน้ามีทั้งหมด 31 ภูมิ เป็น สถานที่อยู่ของชีวิตหลังความตาย และเป็นของสากลที่ทุกคนไปอยู่ได้ โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา อุปมา เหมือนผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย และต้องเข้าคุก ไม่ว่าผู้นั้นจะมีเชื้อชาติ ศาสนา หรือเผ่าพันธุ์ ใดก็ตาม หากกระทำผิดก็มีสิทธิ์เข้าคุกได้ แสดงให้ เห็นว่า คุกเป็นของสากล เพราะฉะนั้น สถานที่อยู่ของชีวิตหลังความตายหรือปรโลกก็เช่นกัน เป็นของสากล ที่มนุษย์ ทุกคนต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ใน 31 ภูมิ นี้จนกว่าจะกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป จึงจะเข้าสู่นิพพาน
*ปรโลก แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายใหญ่ๆ คือ ฝ่ายสุคติภูมิ และฝ่ายทุคติภูมิ เป็น สถานที่หมุนเวียนให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่ประกอบกุศลกรรมและอกุศลกรรม ได้ วนเวียนไปมา เสวยสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ตาม แต่อกุศลและกุศลที่ได้สั่งสมไว้เมื่อครั้ง เป็นมนุษย์
* มก. อรรถกถาสุปปวาสสูตร เล่ม 44 หน้า 233