ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2012, 09:35:09 pm »ภัยร้ายท่าซ้ำ! นั่ง-ก้ม-ลุก-เงย-หันเอียงผิดรูปเป็นประจำ บ่อเกิดออฟฟิศซินโดรม
-http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9550000099756-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
14 สิงหาคม 2555 12:52 น.
ยืดเหยียดร่างกาย คลายความเมื่อย
"อาการของออฟฟิศซินโดรม มาจากปัญหาของโรคกล้ามเนื้อก่อน คือ การตึงของกล้ามเนื้อ ปวดกล้ามเนื้อจากการใช้งานเป็นเวลานาน ในเบื้องต้นร่างกายอาจจะปรับให้กล้ามเนื้อส่วนอื่นเข้ามาทดแทนได้บ้าง แต่ถ้าเราอยู่ในพฤติกรรมเดิมๆ ไม่มีการปรับปรุงแก้ไขอะไรเลย กล้ามเนื้อจะรวนไปทั้งระบบ
จะสังเกตได้ว่า คนที่ทำงานออฟฟิศอยู่เป็นประจำ หรือทำงานลักษณะเดิมๆ มันจะเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานหนัก แล้วเกิดภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ไม่ถูกใช้งานเลย พอนานวันร่างกายจะค่อยๆ ปรับสภาพไปอยู่ในท่าที่ผิด
อย่างคนที่มีปัญหาเดินหลังค่อม จะเกิดจากลักษณะพวกนี้ คือ พฤติกรรมที่มีการค่อมหลังต่อเนื่องเป็นเวลานาน พอนานวันเข้ากล้ามเนื้อที่ช่วยพยุง หรือช่วยเหลือ โครงสร้างก็จะค่อยๆ ล้มๆ แล้วก็จะปรับสภาพไปในทางที่ผิดต่อไปเรื่อยๆ เลย
ร้อยละ 80 เป็นเรื่องของ Self Awareness เราต้องรู้ว่า ลักษณะท่าทางที่ถูกต้องควรจะต้องทำอย่างไร จะต้องใช้วิธีการเตือนตัวเอง ดูแลตัวเอง มีการพัฒนาการในเรื่องของร่างกายตัวเองด้วยการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาให้กล้ามเนื้อมีความสมดุล
รวมไปถึงเรื่องของการฝึกการ Stretching คือ การยืดเหยียดร่างกายบ้าง อย่าอยู่ในท่าที่ผิดซ้ำๆ เดิมๆ เป็นเวลานาน เป็นเรื่องของการดูแลตัวเองมากกว่า เพราะปัญหาเหล่านี้มาจากเรื่องพฤติกรรม เราต้องสลายพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงก่อน ปัญหาจึงจะแก้ได้
เพราะในเชิงของการรักษา เราช่วยได้แค่ 20 -30% ที่เหลืออยู่ที่ตัวคนไข้เองมากกว่า โดยหลักการประมาณทุกๆ ชั่วโมง ควรจะต้องพักต้องเบรกบ้าง ลุกขึ้นมายืดกล้ามเนื้อหรือเปลี่ยนอิริยาบถ ชั่วโมงละครั้ง ไม่ใช่นั่งต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ชั่วโมง"
-> ทิปส์เด็ดห่างออฟฟิศซินโดรม
- พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุก 10 นาที ควรกะพริบตาบ่อยๆ เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที
- ตั้งจอคอมพิวเตอร์และคีย์บอร์ดไว้ในแนวตรงกับหน้าขอบบนของจอคอมพิวเตอร์ ควรอยู่ระดับจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่างเท่ากับความยาวแขน ให้จออยู่ในมุมที่เหนือกว่าระดับตาเล็กน้อย ใช้เมาส์ โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่
- วางข้อมือบนคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ในตำแหน่งตรง ไม่บิด หรืองอข้อมือขึ้นหรือลง และปรับที่วางคีย์บอร์ดให้อยู่ในระดับข้อศอก ทำมุม 90 องศา
- เก้าอี้ที่ดีนั่งแล้วเท้าวางแนบกับพื้นโดยที่เท้าไม่ลอย ก้นต้องเข้าไปพนักพิงของเก้าอี้และปรับเอนได้ 10-15 องศา หากหลังไม่สามารถพิงพนักเก้าอี้ก็ควรหาหมอนรองเอว ปรับพนักพิงให้รองรับกับหลังส่วนล่าง ถ้าไม่สามารถทำได้ใช้หมอนหนุนหลังส่วนล่าง
- เปลี่ยนท่าทางขณะทำงาน ไม่ควรอยู่ในท่าเดิมนานเกิน 1 ชั่วโมง ควรเปลี่ยนท่า อาจลุกขึ้นเดิน บิดลำตัว ยืดเส้นยืดสายสัก 1-2 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
- พยายามนั่งตัวตรง หลังไม่งอ ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง อาจทำให้กระดูกคดได้โดยไม่รู้ตัว
- หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงและการสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียวเป็นระยะเวลานาน การใช้นิ้วหิ้วของหนักบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ
-http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9550000099756-
.
-http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9550000099756-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
14 สิงหาคม 2555 12:52 น.
ยืดเหยียดร่างกาย คลายความเมื่อย
"อาการของออฟฟิศซินโดรม มาจากปัญหาของโรคกล้ามเนื้อก่อน คือ การตึงของกล้ามเนื้อ ปวดกล้ามเนื้อจากการใช้งานเป็นเวลานาน ในเบื้องต้นร่างกายอาจจะปรับให้กล้ามเนื้อส่วนอื่นเข้ามาทดแทนได้บ้าง แต่ถ้าเราอยู่ในพฤติกรรมเดิมๆ ไม่มีการปรับปรุงแก้ไขอะไรเลย กล้ามเนื้อจะรวนไปทั้งระบบ
จะสังเกตได้ว่า คนที่ทำงานออฟฟิศอยู่เป็นประจำ หรือทำงานลักษณะเดิมๆ มันจะเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานหนัก แล้วเกิดภาวะอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ไม่ถูกใช้งานเลย พอนานวันร่างกายจะค่อยๆ ปรับสภาพไปอยู่ในท่าที่ผิด
อย่างคนที่มีปัญหาเดินหลังค่อม จะเกิดจากลักษณะพวกนี้ คือ พฤติกรรมที่มีการค่อมหลังต่อเนื่องเป็นเวลานาน พอนานวันเข้ากล้ามเนื้อที่ช่วยพยุง หรือช่วยเหลือ โครงสร้างก็จะค่อยๆ ล้มๆ แล้วก็จะปรับสภาพไปในทางที่ผิดต่อไปเรื่อยๆ เลย
ร้อยละ 80 เป็นเรื่องของ Self Awareness เราต้องรู้ว่า ลักษณะท่าทางที่ถูกต้องควรจะต้องทำอย่างไร จะต้องใช้วิธีการเตือนตัวเอง ดูแลตัวเอง มีการพัฒนาการในเรื่องของร่างกายตัวเองด้วยการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาให้กล้ามเนื้อมีความสมดุล
รวมไปถึงเรื่องของการฝึกการ Stretching คือ การยืดเหยียดร่างกายบ้าง อย่าอยู่ในท่าที่ผิดซ้ำๆ เดิมๆ เป็นเวลานาน เป็นเรื่องของการดูแลตัวเองมากกว่า เพราะปัญหาเหล่านี้มาจากเรื่องพฤติกรรม เราต้องสลายพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงก่อน ปัญหาจึงจะแก้ได้
เพราะในเชิงของการรักษา เราช่วยได้แค่ 20 -30% ที่เหลืออยู่ที่ตัวคนไข้เองมากกว่า โดยหลักการประมาณทุกๆ ชั่วโมง ควรจะต้องพักต้องเบรกบ้าง ลุกขึ้นมายืดกล้ามเนื้อหรือเปลี่ยนอิริยาบถ ชั่วโมงละครั้ง ไม่ใช่นั่งต่อเนื่องเป็นเวลา 3 ชั่วโมง"
-> ทิปส์เด็ดห่างออฟฟิศซินโดรม
- พักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุก 10 นาที ควรกะพริบตาบ่อยๆ เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที
- ตั้งจอคอมพิวเตอร์และคีย์บอร์ดไว้ในแนวตรงกับหน้าขอบบนของจอคอมพิวเตอร์ ควรอยู่ระดับจอคอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่างเท่ากับความยาวแขน ให้จออยู่ในมุมที่เหนือกว่าระดับตาเล็กน้อย ใช้เมาส์ โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่
- วางข้อมือบนคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ในตำแหน่งตรง ไม่บิด หรืองอข้อมือขึ้นหรือลง และปรับที่วางคีย์บอร์ดให้อยู่ในระดับข้อศอก ทำมุม 90 องศา
- เก้าอี้ที่ดีนั่งแล้วเท้าวางแนบกับพื้นโดยที่เท้าไม่ลอย ก้นต้องเข้าไปพนักพิงของเก้าอี้และปรับเอนได้ 10-15 องศา หากหลังไม่สามารถพิงพนักเก้าอี้ก็ควรหาหมอนรองเอว ปรับพนักพิงให้รองรับกับหลังส่วนล่าง ถ้าไม่สามารถทำได้ใช้หมอนหนุนหลังส่วนล่าง
- เปลี่ยนท่าทางขณะทำงาน ไม่ควรอยู่ในท่าเดิมนานเกิน 1 ชั่วโมง ควรเปลี่ยนท่า อาจลุกขึ้นเดิน บิดลำตัว ยืดเส้นยืดสายสัก 1-2 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
- พยายามนั่งตัวตรง หลังไม่งอ ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง จะทำให้น้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง อาจทำให้กระดูกคดได้โดยไม่รู้ตัว
- หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูงและการสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียวเป็นระยะเวลานาน การใช้นิ้วหิ้วของหนักบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ
-http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9550000099756-
.