ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2012, 08:19:57 am »เงินกินเปล่า 1% ในธุรกิจหนังสือ... ปลาใหญ่เตรียมโต ปลาเล็กเตรียมตาย
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345171275&grpid=01&catid=&subcatid=-
ความคลางแคลงใจขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งในประเด็นที่ว่า หากทุกสิ่งแย่จริง เหตุใดจึงมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดซีเอ็ดเองได้ออกมาประกาศว่าได้ขยายสาขารองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าผู้อ่านทั่วประเทศเป็นจำนวนมากกว่า 400 สาขาแล้ว โดยเมื่อปี 2554 ได้เพิ่มอีก 50 สาขา รวมถึงได้แจ้งผลประกอบการสำคัญของปี 2554 ต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า มีรายได้รวม 5,561.77 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 225.22 ล้านบาท
หรืออมรินทร์ บุ๊คเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นเครือหนึ่งในอมรินทร์ พรินติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) นั้น ได้แจ้งผลประกอบการสำคัญของปี 2554 ต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า มีรายได้รวม 1,911.36 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 235.97 ล้านบาท
โดย ระพี อุทกะพันธุ์ ผู้อำนวยการสายงานค้าปลีก บริษัท อมรินทร์ บุ๊คเซ็นเตอร์ จำกัด เคยเปิดเผยว่า ร้านนายอินทร์ปีที่ผ่านมา ยังมียอดขายเติบโต 12-17% มียอดรายได้รวม 1,500 ล้านบาท สำหรับปีนี้ตั้งเป้าเติบโตอีกไม่ต่ำกว่า 15% หรือประมาณ 29-30 สาขา ด้วยงบฯ กว่า 50 ล้านบาท จากปัจจุบันมีจำนวนสาขาทั้งหมด 195 สาขา
รวมถึงยังมีคำถามด้วยว่าหากอ้างถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายรัฐบาลแล้วนั้น ภาษีนิติบุคคลที่รัฐบาลลดให้จาก 30% เหลือ 23% ไม่เป็นผลเลยหรือไร
คำตอบจากทั้งสองบริษัทคือไม่เป็นผลและไม่สามารถทดแทนกันได้
จากตัวเลขทั้งหมดชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ตัวเลขกำไรสูงขึ้นแต่อัตราการทำกำไรลดลง
หากมองในมุมหนึ่งนี่คือสิทธิของทุกบริษัทที่จะทำกำไรในเชิงธุรกิจ เพื่อหารายได้เข้าบริษัทให้มากที่สุด เพราะถ้าไม่มีกำไรเพิ่มขึ้นก็คงไม่รู้จะทำไปทำไมเหมือนกัน
แต่อีกมุมหนึ่ง อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ธุรกิจหนังสือเป็นธุรกิจที่มีลักษณะพิเศษ ไม่สามารถนำไปเทียบเคียงกับธุรกิจประเภทอื่นได้ ที่ว่าดังนี้ไม่ได้แปลว่าหนังสือจะดีวิเศษเหนือกว่าสิ่งอื่นแต่อย่างไร
แต่หมายความว่าการที่จะเดินเข้ามาในธุรกิจนี้จะต้องอยู่บนพื้นฐานหนึ่งคือความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่โลภมาก จะหวังเงินมากๆ จากธุรกิจหนังสือไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจริงๆ แล้วธุรกิจหนังสือนั้นควรจะได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากรัฐ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาและมีอัตราการอ่านค่อนข้างต่ำอย่างไทย
ในหลายๆ ประเทศมีระบบให้งบประมาณสนับสนุนการพิมพ์หนังสือดี มีกฎหมายห้ามลดราคาหนังสือเพราะมองว่าเป็นการทำลายระบบหนังสือ อาทิ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เวียดนาม ฮังการี เพราะรัฐเข้าใจดีว่าหนังสือไม่ใช่ปัจจัย 4 หรือ 5 6 7 ที่ผู้คนจำเป็นจะต้องหยิบมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เป็นปัจจัยจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ
แต่ในเมื่อบ้านเมืองนี้หวังเรื่องดีๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือจากรัฐไม่ได้ ไม่ว่ารัฐบาลใดก็ตาม สิ่งเดียวที่คงหวังได้คือ "ใจ" ของคนทำหนังสือเหมือนกัน
เพราะหากไม่มองเรื่องของใจแล้ว กรณีการลงนามร่วมกันของซีเอ็ดและนายอินทร์ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทั้งคู่นี้ มีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าไว้น่าจะเข้าข่ายผิด พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 มาตรา 27 ที่ว่าด้วยการฮั้วกันของธุรกิจ และในมาตรา 25 ที่ว่าด้วยการใช้อำนาจเหนือตลาด
เป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุก ส่วนในประเทศไทยมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
การปรับระบบ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใหม่ในครั้งนี้ ไม่ได้ส่งผลถึงเชิงธุรกิจที่อาจทำให้สำนักพิมพ์เล็กๆ ที่มีสายป่านสั้น มีความสามารถในการแบกรับต้นทุนต่ำ แต่ก็ยังยืนยันจะทำหนังสือดีมีคุณภาพต้องล้มหายตายจากไปเท่านั้น ทว่ายังส่งผลถึงความหลากหลายทางชีวภาพในร้านหนังสือเป็นสำคัญ
เพราะที่สุดแล้วก็คงไม่มีใครอยากทำหนังสือที่ขายไม่ได้ ทำไปก็รู้ว่าขาดทุน ซึ่งจำนวนยอดพิมพ์ไม่สามารถบ่งบอกได้ถึงคุณภาพของหนังสือ หนังสือที่มียอดพิมพ์สูงๆ ในบ้านเราตอนนี้นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นนวนิยายเบาๆ ฮาวทูทำให้รวย วิธีแก้กรรม หรือสัมผัสต่างๆ ทางจิตวิญญาณ
เรายังต้องการความหลากหลายของหนังสือ ต้องการทางเลือกให้นักอ่าน ในอุตสาหกรรมที่ช่วยสร้างปัญญาให้ผู้คนในสังคม
ก่อนที่เหตุการณ์นี้จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ทั่วทั้งร้านมีแต่หนังสือแก้กรรมทำแท้งหรือวิธีทำให้รวย
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345171275&grpid=01&catid=&subcatid=-
ความคลางแคลงใจขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งในประเด็นที่ว่า หากทุกสิ่งแย่จริง เหตุใดจึงมีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดซีเอ็ดเองได้ออกมาประกาศว่าได้ขยายสาขารองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าผู้อ่านทั่วประเทศเป็นจำนวนมากกว่า 400 สาขาแล้ว โดยเมื่อปี 2554 ได้เพิ่มอีก 50 สาขา รวมถึงได้แจ้งผลประกอบการสำคัญของปี 2554 ต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า มีรายได้รวม 5,561.77 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 225.22 ล้านบาท
หรืออมรินทร์ บุ๊คเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นเครือหนึ่งในอมรินทร์ พรินติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) นั้น ได้แจ้งผลประกอบการสำคัญของปี 2554 ต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า มีรายได้รวม 1,911.36 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 235.97 ล้านบาท
โดย ระพี อุทกะพันธุ์ ผู้อำนวยการสายงานค้าปลีก บริษัท อมรินทร์ บุ๊คเซ็นเตอร์ จำกัด เคยเปิดเผยว่า ร้านนายอินทร์ปีที่ผ่านมา ยังมียอดขายเติบโต 12-17% มียอดรายได้รวม 1,500 ล้านบาท สำหรับปีนี้ตั้งเป้าเติบโตอีกไม่ต่ำกว่า 15% หรือประมาณ 29-30 สาขา ด้วยงบฯ กว่า 50 ล้านบาท จากปัจจุบันมีจำนวนสาขาทั้งหมด 195 สาขา
รวมถึงยังมีคำถามด้วยว่าหากอ้างถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายรัฐบาลแล้วนั้น ภาษีนิติบุคคลที่รัฐบาลลดให้จาก 30% เหลือ 23% ไม่เป็นผลเลยหรือไร
คำตอบจากทั้งสองบริษัทคือไม่เป็นผลและไม่สามารถทดแทนกันได้
จากตัวเลขทั้งหมดชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ตัวเลขกำไรสูงขึ้นแต่อัตราการทำกำไรลดลง
หากมองในมุมหนึ่งนี่คือสิทธิของทุกบริษัทที่จะทำกำไรในเชิงธุรกิจ เพื่อหารายได้เข้าบริษัทให้มากที่สุด เพราะถ้าไม่มีกำไรเพิ่มขึ้นก็คงไม่รู้จะทำไปทำไมเหมือนกัน
แต่อีกมุมหนึ่ง อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น ธุรกิจหนังสือเป็นธุรกิจที่มีลักษณะพิเศษ ไม่สามารถนำไปเทียบเคียงกับธุรกิจประเภทอื่นได้ ที่ว่าดังนี้ไม่ได้แปลว่าหนังสือจะดีวิเศษเหนือกว่าสิ่งอื่นแต่อย่างไร
แต่หมายความว่าการที่จะเดินเข้ามาในธุรกิจนี้จะต้องอยู่บนพื้นฐานหนึ่งคือความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่โลภมาก จะหวังเงินมากๆ จากธุรกิจหนังสือไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจริงๆ แล้วธุรกิจหนังสือนั้นควรจะได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากรัฐ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาและมีอัตราการอ่านค่อนข้างต่ำอย่างไทย
ในหลายๆ ประเทศมีระบบให้งบประมาณสนับสนุนการพิมพ์หนังสือดี มีกฎหมายห้ามลดราคาหนังสือเพราะมองว่าเป็นการทำลายระบบหนังสือ อาทิ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เวียดนาม ฮังการี เพราะรัฐเข้าใจดีว่าหนังสือไม่ใช่ปัจจัย 4 หรือ 5 6 7 ที่ผู้คนจำเป็นจะต้องหยิบมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่เป็นปัจจัยจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ
แต่ในเมื่อบ้านเมืองนี้หวังเรื่องดีๆ ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือจากรัฐไม่ได้ ไม่ว่ารัฐบาลใดก็ตาม สิ่งเดียวที่คงหวังได้คือ "ใจ" ของคนทำหนังสือเหมือนกัน
เพราะหากไม่มองเรื่องของใจแล้ว กรณีการลงนามร่วมกันของซีเอ็ดและนายอินทร์ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทั้งคู่นี้ มีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าไว้น่าจะเข้าข่ายผิด พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 มาตรา 27 ที่ว่าด้วยการฮั้วกันของธุรกิจ และในมาตรา 25 ที่ว่าด้วยการใช้อำนาจเหนือตลาด
เป็นความผิดทางอาญา มีโทษจำคุก ส่วนในประเทศไทยมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี
การปรับระบบ เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใหม่ในครั้งนี้ ไม่ได้ส่งผลถึงเชิงธุรกิจที่อาจทำให้สำนักพิมพ์เล็กๆ ที่มีสายป่านสั้น มีความสามารถในการแบกรับต้นทุนต่ำ แต่ก็ยังยืนยันจะทำหนังสือดีมีคุณภาพต้องล้มหายตายจากไปเท่านั้น ทว่ายังส่งผลถึงความหลากหลายทางชีวภาพในร้านหนังสือเป็นสำคัญ
เพราะที่สุดแล้วก็คงไม่มีใครอยากทำหนังสือที่ขายไม่ได้ ทำไปก็รู้ว่าขาดทุน ซึ่งจำนวนยอดพิมพ์ไม่สามารถบ่งบอกได้ถึงคุณภาพของหนังสือ หนังสือที่มียอดพิมพ์สูงๆ ในบ้านเราตอนนี้นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นนวนิยายเบาๆ ฮาวทูทำให้รวย วิธีแก้กรรม หรือสัมผัสต่างๆ ทางจิตวิญญาณ
เรายังต้องการความหลากหลายของหนังสือ ต้องการทางเลือกให้นักอ่าน ในอุตสาหกรรมที่ช่วยสร้างปัญญาให้ผู้คนในสังคม
ก่อนที่เหตุการณ์นี้จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ทั่วทั้งร้านมีแต่หนังสือแก้กรรมทำแท้งหรือวิธีทำให้รวย