ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2012, 06:26:39 pm »



ปริศนาธรรม ของสมเด็จฯโต ตอน มันอยากได้ ก็ให้มันไป

.......ดึกคืนหนึ่ง ขณะสมเด็จฯโตกำลังจำวัด (หลับ) อยู่ ได้มีโจรขึ้นกุฏิ มันล้วงมือไปทางกรงหน้าต่างหวังจะหยิบตะเกียงลาน
.......โจรพยายามอยู่นาน แต่ไม่สำเร็จ ความพยายามที่ไหน ความพยายามก็ยังอยู่ที่นั่นตามเดิม ไม่มีความสำเร็จ เพราะเอื้อมไม่ถึง
.......สมเด็จฯโต ท่านรู้สึกตัวตื่นขึ้นมา รู้สึกว่าเสียงกุกกักๆนั้นคงไม่ใช่แมว มันต้องเป็นโจรแน่ๆ
.......เมื่อเห็นว่ามันจะลักตะเกียง ท่านจึงเอาเท้าช่วยเขี่ยไปให้ใกล้มือโจร พอตะเกียงถึงมือ โจรก็รีบคว้าเอาไป แล้วรีบเผ่นทันที ไม่ยอมขอบคุณเจ้าของสักคำ ใจดำจริงๆ
.......เมื่อเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง ท่านบอกว่า “มันอยากได้ ก็ให้มันไป”


ปริศนาธรรม ของสมเด็จฯโต ตอน ปริศนาธรรมดับกิเสส

.......เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ สมเด็จบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานในพระบวรศพของพระปิ่นเกล้าเจ้าฯ พอเสด็จถึงพระทวารพระที่นั่ง พวกพระสวดพระอภิธรรม ๘ รูป ท่านตกใจด้วยเกรงพระบรมเดชานุภาพ ต่างลุกวิ่งหนีเข้าแอบที่หลังม่านที่กั้นพระโกศ
.......พระองค์ทรงทราบแล้วกริ้วใหญ่ ทรงดุเสียงดังว่า “ดูซิ ! ดูซิ ! ดูถูกข้า มาเห็นข้าเป็นเสือ เป็นยักษ์ เอาไว้ไม่ได้ ต้องสึกให้หมด”

.......รับสั่งแล้วก็ทรงพระอักษร (เขียนหนังสือ) ถึงสมเด็จฯโต สั่งให้พระธรรมเสนา (เนียม) นำลายพระราชหัตถเลขามาถวายที่วัดระฆัง
.......สมเด็จฯโต อ่านแล้วท่านก็จุดธูป ๓ ดอก จี้ที่กระดาษที่ว่างๆ ลายพระหัตถ์นั้น ๓ รู สั่งให้พระธรรมเสนานำถวายคืนในเวลานั้น

.......ครั้นพระธรรมเสนาทูลเกล้าถวาย ทรงเห็นรูปกระดาษไหม้ไม่ลามถึงตัวหนังสือ ก็ทรงทราบปริศนาธรรมของสมเด็จฯโต จึงรับสั่งว่า “อ้อ ! ท่านให้เราดับราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นไฟ ๓ กอง งดทีๆ เอาเถอะๆ ถวายท่าน”
.......เป็นอันว่าพระทั้ง ๘ รูปไม่ต้องถูกจับสึก แต่พระธรรมเสวนาได้เอาตัวพระเหล่านั้นมานั่งประจำที่ให้หมด แล้วพระจอมเกล้าฯก็ทรงแนะนำสั่งสอนระเบียบที่พึงปฏิบัติในหน้าพระที่นั่งให้ถูกต้อง ตั้งแต่นั้นมา


ปริศนาธรรม ของสมเด็จฯโต ตอน ผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ

.......ตามปกติ พระที่มีพรรษาน้อยหรืออ่อนพรรษา ต้องแสดงความเคารพนบนอบต่อพระที่มีพรรษามากกว่าหรือแก่พรรษา
.......ถ้าเป็นการไหว้ เมื่อพระอ่อนพรรษากว่าไหว้พระผู้แก่พรรษาก็ประนมมือรับไหว้ และก็เป็นการกราบ เมื่อพระอ่อนพรรษากราบพระผู้แก่พรรษาก็เพียงแต่ประนมรับกราบ ถือว่าถูกต้องแล้ว

.......แต่บางทีสมเด็จฯโต ท่านทำมากกว่านั้น
.......คือครั้งหนึ่ง พระอุปัชฌาย์เดช จังหวัดสิงห์บุรีเข้าไปกราบท่าน ท่านก็กราบตอบ
.......พระอุปัชฌาย์เดช นึกแปลกใจเพราะไม่เคยเห็นมาก่อนจึงเรียนถามท่านว่า “ทำไมท่านทำอย่างนี้?”
.......สมเด็จฯโต ตอบว่า “ทำตามพุทธฎีกาที่ว่า วันทะโก ปะฏิวันทะนัง ผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ”
.......เอากับท่านซิ
.......ความจริง ถ้าผู้ใหญ่จะเป็นพระหรือฆราวาสก็ตาม ทำอย่างท่านก็ดี จะได้ช่วยลดทิฐิมานะลงอีกเยอะเลย

......ขอขอบคุณ ..ลานธรรมจักร » บทความธรรมะ
-http://www.dhammajak.net

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: สิงหาคม 19, 2012, 06:17:10 pm »





ปริศนาธรรม ของสมเด็จฯโต ตอน บุญสลึงเฟื้อง

.......ยายแฟงมีอาชีพเป็นแม่เล้า เจ้าของซ่อง อาศัยแรงกายที่ขายกามของหญิงโสเภณีเป็นอยู่
.......แกไม่ต้องทำอาชีพอื่นให้เหน็ดเหนื่อย หากินบนความทุกข์ของคนอื่นนี่สบายที่สุด จะไปทำอย่างอื่นให้เมื่อยตุ้มทำไม
.......อาชีพแม่เล้าทำให้แกร่ำรวย มีเงินทองมากขึ้นทุกวัน จนใครๆพากันนับถือ (นับถือเงินตรา)
.......เมื่ออายุมากขึ้น ยายแฟงคิดอยากทำบุญใหญ่สักครั้งหนึ่ง เผื่อจะช่วยลบรอยบาปที่ฉาบทาชีวิตลงได้บ้าง จึงได้บริจาคเงินจำนวนมากสร้างวัดใหม่ยายแฟง หรือ วัดคณิกาผล ที่เรียกกันในเวลาต่อมาที่ป้อมปราบศัตรูพ่าย ฝั่งพระนคร

.......การสร้างวัดได้สำเร็จเสร็จลงด้วยดี ยายแฟงแกดีใจมากว่าแม้ตัวแกจะมีอาชีพเป็นเพียงแม่เล้าแต่ก็สามารถมีเงินสร้างวัดได้อย่างท่านเศรษฐีเชียวนะ
.......วันฉลองวัด ยายแฟงได้นิมนต์สมเด็จฯโต ไปเทศน์แสดงอานิสงส์ของการสร้างวัด จะได้บุญมากน้อยอย่างไร เทศนาธรรมของสมเด็จฯโต ตอนหนึ่งมีว่า

.......“ยายแฟงสร้างวัดครั้งนี้ ได้ผลอานิสงส์บกพร่อง ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะเงินที่สร้างวัดเป็นเงินที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของคนอื่นที่ไม่ชอบด้วยธรรมเนียม ถ้าเปรียบอานิสงส์นี้ด้วยเงินเหรียญบาท ยายแฟงก็ได้ไม่เต็มบาท จะได้สักสลึงเฟื้องเท่านั้น นี่ว่าอย่าเกรงใจกันนะ”
.......ใครๆฟังแล้วก็ชอบใจ หัวเราะกันครื้นเครง แต่ยายแฟงฟังแล้วเกร็งๆซ้ำขัดเคือง
.......กาลเวลาผ่านไป ยายแฟงพิจารณาดูแล้วเห็นจริงตามที่สมเด็จฯโตว่า จึงไม่โกรธเคืองสมเด็จฯอีกต่อไป