ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 08, 2012, 08:15:11 pm »มีสภาวะการเปลี่ยนแปลงเกิดดับตลอดเวลา วิปัสสนานั้นจะว่างเปล่า
ไม่มีอะไรให้ดูเลยไม่ได้ ต้องมีรูปนามให้ดูให้ตลอด
มีรูปนามป้อนให้เห็นเกิดดับอยู่ตลอดเวลา สติต้องอยู่กับรูปนาม
อยู่ตลอดไป ถ้าตกจากรูปนามตกจากปรมัตถ์ ก็ไปสู่บัญญัติ
ก็ไปอีกทางหนึ่ง บัญญัติไม่ใช่การเดินทางของวิปัสสนา
ทางเดินของวิปัสสนาต้องเป็นปรมัตถ์ ต้องเป็นรูปนาม
แต่คนที่ฝึกหม่ๆ ยังดูรูปนามไม่เป็นก็ต้องเอาบัญญัติมาใช้ก่อน เช่น
เราเพ่งดูลมหายใจเข้าออก ดูเข้าออก ยาวสั้น ดูพองดูยุบ
ดูท่าทางรูปร่างของกาย ยืน เดิน นั่ง นอน เราเอามาใช้ก่อนเพื่อให้เรา
มีจิตใจอยู่กับเนื้อกับตัว เกิดสมาธิตัดบัญญัติภายนอกออกไป
เสร็จแล้วจึงเชื่อมเข้ามาสู่สภาวะปรมัตถ์ มาสู่ความไหว ความตึง ความแข็ง
ความอ่อน ความสบาย ไม่สบาย ทิ้งรูปร่างคือสมมติหรือความหมายออกไป
มาดูความรู้สึกที่กาย มาดูความรู้สึกที่จิตใจ มาดูผู้รู้ มาดูความรู้สึก
เรียกว่ามาสู่ปรมัตถ์ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเอาบัญญัติ คัดบัญญัติออกไปให้หมด
เวลาจิตจะไปสู่บัญญัติคือคิดไปสู่เรื่องราว ก็รู้ความคิด ตัดบัญญัติออกไป
ให้มารู้ที่กายแค่ความไหว เมื่อรู้ความไหวที่กายก็รู้จิต ทำให้
ไม่ขยายออกไปเป็นรูปร่างสัณฐาน ถ้าดูกายอย่างเดียว เพ่งไปที่กาย
ก็จะขยายเป็นรูปร่างสัณฐาน เป็นบัญญัติขึ้นมาอีก ดังนั้นต้องดูเบาๆ ถ้าเพ่งไป
จะหนักไปจุดใดจุดหนึ่ง จะขยายออกเป็นรูปร่างเป็นบัญญัติ
ดูจึงต้องระลึก ให้มันสัมผัสกับจิต ดูความรู้สึกที่กายพร้อมดูจิตใจ ดูจิตใจ
พร้อมดูกาย ให้มันอยู่ในกรอบที่สัมผัสกัน ควบกันไปทั้งหมด
ทั้งรูปต่างๆ นามต่างๆ มันจะดูแค่รูปเดียวนามเดียวไม่ได้ ถ้าไปจ้องแค่รูปเดียว
เดี๋ยวมันก็ไปบัญญัติ มันต้องรับอารมณ์ต่างๆ รับสภาวะปรมัตถ์ต่างๆ
วิปัสสนาจึงมิใช่ระลึกแค่อารมณ์เดียว ต้องระลึกที่รูปต่างๆ นามต่างๆ แล้วแต่
ละ รูปอันใดเกิดก็รู้ นามอันใดเกิดก็รู้ เกิดตรงไหนก็รู้ตรงนั้น
ดับตรงไหนก็รู้ไปตรงนั้น ดูอันใหม่ ดูอันใหม่ เรื่อยไป เรื่อยไป
หมดไป หมดไป หมดไป ให้ได้ปัจจุบันสั้นที่สุด ชั่วขณะนิดเดียวแว๊บเดียว
ไม่ต้องไปพยายามไปคิดนึกอะไร หากกลัวจะไม่รู้รูปนาม เวลารับรูปนามอันใด
ก็ไปคิดนึก นี่คือรูปนี่คือนาม
นี่ไม่เที่ยงนะ นี่เป็นทุกข์นะ อย่างนี้มันไปสมมติหมด
ที่จริงรู้เพียงแค่นิดหนึ่งก็พอแล้ว แล้วก็รู้อันใหม่ รู้อันใหม่ แต่บางที
เราเป็นห่วงกลัวจะไม่รู้ กลัวไม่รู้จักรูปนาม ก็ไปคิดเอาเองว่า
นี่นะคือรูป นี่นะคือนาม นี่คือรูปนามไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อย่างนี้เราคิดเอาเอง
ก็เป็นความหมายไปหมด เป็นชื่อหมด คำว่ารูปที่เกิดขึ้นในใจ
ก็เป็นภาษาเป็นชื่อ เป็นสมมุติ คำว่านามก็เป็นสมมติ รูปจริงๆ ไม่ใช่ชื่อ
นามจริงๆไม่ใช่ชื่อ แต่เป็นสภาวธรรมที่ไม่มีชื่อ ถ้าเราไปเรียกชื่อก็เป็นสมมติ
ผู้ที่รู้จักรูปนามจริงๆ อาจจะพูดไม่ถูก ว่านี่เรียกรูป นี่เรียกว่านาม
นี่เรียกว่าเวทนา สัญญา แต่เขาได้รับประโยชน์ ที่เขารู้แจ้ง รู้สภาวะจริงๆ
ละกิเลสได้แต่พูดไม่ถูก เหมือนกินข้าวไป กินอาหารอะไรต่างๆ
ก็บอกไม่ถูกว่าชื่ออาหารอะไร แต่อิ่มสบายแล้ว หรือกินยาที่ถูกต้องไป
ไม่รู้ว่ายาชื่ออะไร แต่กินเป็นกินถูกต้องโรคหาย ประโยชน์จริงๆ มันอยู่ที่หาย
จากโรคภัยไข้เจ็บ หรือประโยชน์จากได้อิ่มหนำสำราญ ไม่ใช่ประโยชน์
ตรงที่ว่าเราเรียกชื่อมันได้ ดังนั้นเราปฎิบัติอย่าไปมัวเรียกชื่ออยู่ แต่ก็อดไม่ได้
ถ้ามันเป็นขึ้นมาเองโดยที่เราไม่ได้จงใจ
ตามที่จิตมันคอยจะนึกถึงปริยัติ มันก็คอยจะพูดว่านี่เป็นกุศล
นี่เป็นเวทนา สัญญา แต่เราอย่าไปตั้งใจพูดเสียเอง หรือตั้งใจเรียกเสียเอง
แต่ถ้ามันเรียกเองก็รู้มันซะ รู้จิต รู้ความตรึกนึก รู้ความจำ มันก็จะ
สลัดสมมติออก ไม่เพลินไปคิดให้ยาว ถ้าจิตเผลอไปตรึกไปนึก
ก็จะไปสู่บัญญัติ ก็ระลึกรู้ที่ความปรุงแต่ง รู้ความตรึก ความนึก
มันก็ตัดบัญญัติออกไป ไม่ยาวไกล แต่ถ้าเราไม่เข้าใจไปทำเสียเอง
ไปตั้งใจ ที่จะเรียกเสียเอง อย่างนี้ก็เป็นบัญญัติหมด
วันนี้ก็พูดเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนาจะต้องทำให้ถูกตรง
ต่อสภาวะปรมัตถ์ โดยเฉพาะการกำหนดจิต ให้จิตรู้จักจิตได้
ต้องทำอย่างไร ก็หวังว่า จะเป็นประโยชน์พอสมควร
ขอความสุข ความเจริญในธรรม จงมีแก่ทุกท่าน เทอญ...
จบเรื่องจิตคืออะไร
ต่อที่.. นิวรณ์ ๕ ( ปฏิบัติการทางจิต หน้า ๕๓-๖๔ )
คลิ๊กค่ะ.. >> http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?p=33299&sid=e03a29ae4599f75d127840443b693ff3