ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 10, 2012, 05:55:08 am »ปภ.แนะรอบรู้เรื่องไฟฟ้า ลดเสี่ยงไฟฟ้าดูด - ไฟฟ้าช็อต
-http://hilight.kapook.com/view/75828-
-http://www.disaster.go.th/dpm/-
ปภ.แนะรอบรู้เรื่องไฟฟ้า ลดเสี่ยงไฟฟ้าดูด – ไฟฟ้าช็อต (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะหมั่นตรวจสอบสายไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพปลอดภัย โดยฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าต้องไม่อยู่ในสภาพชำรุด พร้อมเลือกใช้ขนาดสายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับปริมาณกระแสไฟฟ้า หลีกเลี่ยงการเดินสายไฟฟ้าใกล้แหล่งความร้อน บริเวณที่แสงแดดส่องถึง ฝนสาดหรือวางของหนักกดทับสายไฟ เพราะจะทำให้ฉนวนไฟฟ้าชำรุดได้ง่าย จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า แม้ไฟฟ้าจะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต แต่หากขาดการบำรุงดูแลรักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรนำมาซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้ เพื่อความปลอดภัย ขอแนะวิธีตรวจสอบ เลือกใช้และเดินสายไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ดังนี้
การตรวจสอบ
- หมั่นสังเกตสภาพของสายไฟฟ้า ต้องไม่เป็นสีคล้ำ ฉนวนหุ้มไม่ชำรุด ไม่มีรอยฉีกขาด ไม่มีรอยแตกร้าว แห้ง บวมหรือรอยไหม้ ไม่มีรอยหนูหรือแมลงกัดแทะ และรอยสิ่งของหนักกดทับ อุณหภูมิสายไฟอยู่ในระดับปกติ
- หากใช้หลังมือสัมผัสผิวฉนวนแล้วรู้สึกร้อนหรืออุ่น แสดงว่าใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาดของสายไฟฟ้า จุดต่อบริเวณปลั๊กไฟและเต้ารับหรือสวิตซ์ไฟไม่แน่น
- หมั่นตรวจสอบจุดต่อและข้อต่อสายไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ สวิตซ์ไฟฟ้าที่อยู่ภายนอกอาคาร หรืออยู่ตามผนังใต้ฝ้าเพดานเป็นพิเศษ หากมีมดและแมลงอาศัยอยู่ หรือมีรอยน้ำรั่วซึม ให้แจ้งช่างผู้ชำนาญการมาซ่อมแซม หรือเปลี่ยนใหม่
- หากไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ไม่ควรซ่อมแซมหรือติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าเองอย่างเด็ดขาด เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
การเลือกใช้
- เลือกใช้ขนาดของสายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับปริมาณกระแสไฟฟ้าและการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า หากใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาด ให้จัดการเปลี่ยนใหม่ทันที เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
การเดินสายไฟฟ้า
- หลีกเลี่ยงการเดินสายไฟฟ้าใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี สารไวไฟ แสงแดดส่องถึง ฝนสาดหรือวางสิ่งของหนักกดทับสายไฟ เพราะจะทำให้ฉนวนไฟฟ้าชำรุดได้ง่าย จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
- ให้เดินสายไฟฟ้าในบริเวณที่แห้ง ไม่เปียกชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง กรณีมีเด็กเล็กอาศัยอยู่ด้วย ควรติดตั้งปลั๊กไฟให้สูงกว่าระดับพื้นในระยะไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร หากติดตั้งในระดับต่ำ ให้หาที่ครอบปลั๊กไฟหรือเลือกใช้ปลั๊กที่มีช่องเสียบแบบหมุน เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ
- ไม่ปล่อยสายไฟฟ้าพาดผ่านบริเวณโครงเหล็ก รั้วเหล็ก ราวเหล็ก และส่วนที่เป็นโลหะ หากจำเป็นควรนำสายไฟร้อยใส่ท่อพีวีซีให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วลงบนโครงโลหะ และหากสายไฟฟ้าชำรุดจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://www.disaster.go.th/dpm/-
-http://hilight.kapook.com/view/75828-
.
-http://hilight.kapook.com/view/75828-
-http://www.disaster.go.th/dpm/-
ปภ.แนะรอบรู้เรื่องไฟฟ้า ลดเสี่ยงไฟฟ้าดูด – ไฟฟ้าช็อต (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แนะหมั่นตรวจสอบสายไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพปลอดภัย โดยฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าต้องไม่อยู่ในสภาพชำรุด พร้อมเลือกใช้ขนาดสายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับปริมาณกระแสไฟฟ้า หลีกเลี่ยงการเดินสายไฟฟ้าใกล้แหล่งความร้อน บริเวณที่แสงแดดส่องถึง ฝนสาดหรือวางของหนักกดทับสายไฟ เพราะจะทำให้ฉนวนไฟฟ้าชำรุดได้ง่าย จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า แม้ไฟฟ้าจะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิต แต่หากขาดการบำรุงดูแลรักษาอย่างถูกวิธี อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรนำมาซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้ เพื่อความปลอดภัย ขอแนะวิธีตรวจสอบ เลือกใช้และเดินสายไฟฟ้าอย่างปลอดภัย ดังนี้
การตรวจสอบ
- หมั่นสังเกตสภาพของสายไฟฟ้า ต้องไม่เป็นสีคล้ำ ฉนวนหุ้มไม่ชำรุด ไม่มีรอยฉีกขาด ไม่มีรอยแตกร้าว แห้ง บวมหรือรอยไหม้ ไม่มีรอยหนูหรือแมลงกัดแทะ และรอยสิ่งของหนักกดทับ อุณหภูมิสายไฟอยู่ในระดับปกติ
- หากใช้หลังมือสัมผัสผิวฉนวนแล้วรู้สึกร้อนหรืออุ่น แสดงว่าใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาดของสายไฟฟ้า จุดต่อบริเวณปลั๊กไฟและเต้ารับหรือสวิตซ์ไฟไม่แน่น
- หมั่นตรวจสอบจุดต่อและข้อต่อสายไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า ปลั๊กไฟ สวิตซ์ไฟฟ้าที่อยู่ภายนอกอาคาร หรืออยู่ตามผนังใต้ฝ้าเพดานเป็นพิเศษ หากมีมดและแมลงอาศัยอยู่ หรือมีรอยน้ำรั่วซึม ให้แจ้งช่างผู้ชำนาญการมาซ่อมแซม หรือเปลี่ยนใหม่
- หากไม่มีความรู้เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ไม่ควรซ่อมแซมหรือติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าเองอย่างเด็ดขาด เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
การเลือกใช้
- เลือกใช้ขนาดของสายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับปริมาณกระแสไฟฟ้าและการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้า หากใช้กระแสไฟฟ้าเกินขนาด ให้จัดการเปลี่ยนใหม่ทันที เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
การเดินสายไฟฟ้า
- หลีกเลี่ยงการเดินสายไฟฟ้าใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี สารไวไฟ แสงแดดส่องถึง ฝนสาดหรือวางสิ่งของหนักกดทับสายไฟ เพราะจะทำให้ฉนวนไฟฟ้าชำรุดได้ง่าย จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร
- ให้เดินสายไฟฟ้าในบริเวณที่แห้ง ไม่เปียกชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง กรณีมีเด็กเล็กอาศัยอยู่ด้วย ควรติดตั้งปลั๊กไฟให้สูงกว่าระดับพื้นในระยะไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร หากติดตั้งในระดับต่ำ ให้หาที่ครอบปลั๊กไฟหรือเลือกใช้ปลั๊กที่มีช่องเสียบแบบหมุน เพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ
- ไม่ปล่อยสายไฟฟ้าพาดผ่านบริเวณโครงเหล็ก รั้วเหล็ก ราวเหล็ก และส่วนที่เป็นโลหะ หากจำเป็นควรนำสายไฟร้อยใส่ท่อพีวีซีให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วลงบนโครงโลหะ และหากสายไฟฟ้าชำรุดจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://www.disaster.go.th/dpm/-
-http://hilight.kapook.com/view/75828-
.