ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 13, 2012, 09:04:34 pm »

ผู้บริโภค จับตา! คำพิพากษาศาล คดีบริษัทประกันยักษ์ใหญ่ กับกรมธรรม์แบบสะสมทรัพย์ 21 ปี ?
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1347449065&grpid=01&catid=&subcatid=-

รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่ในโลกออนไลน์  ได้มีการแลกเปลี่ยนความเห็นอย่างกว้างขวางกรณีผู้บริโภคฟ้องบริษัทประกันยักษ์ใหญ่และศาลตัดสินคดีถึงที่สุดให้ผู้บริโภคชนะคดีจนทำให้ผู้บริโภครายอื่นๆยื่นฟ้องตามเพื่อหวังชนะคดี

 

 

คดีตัวอย่าง เกิดขึ้นที่  ศาลแขวงพระนครใต้ หลังศาลมีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ผบ. 2728 / 2554 ผู้เป็นโจทก์คือ นายทรงกฤษณ ศรีสุขวัฒนา ฟ้อง บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ จำกัด เป็นจำเลย

 

 

ข้อเท็จจริงของคดี เกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 4 ส.ค. 32 ตัวแทนขายประกันชีวิตของ บริษัท AIA ได้มาขายประกันให้แก่โจทก์เป็นการประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 21 TMAE วงเงินประกันชีวิต 300,000 บาท ซึ่งโจทก์จะต้องชำระเบี้ยประกันชีวิต เป็นรายปีทุก ๆ ปีละ 20,301 บาท ระยะเวลา 21 ปี รวมเป็นเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต ที่ต้องชำระทั้งหมด จำนวน 426,321 บาท ซึ่งมากกว่า วงเงินประกันชีวิตถึง 126,321 บาท (426,321 – 300,000 = 126,321 บาท) โดยตัวแทนขายประกันชีวิตของ บริษัท AIA นำแผ่นพับ แบบสะสมทรัพย์ 21 TMAE ขนาด กระดาษ A4 มีลักษณะเป็นแผ่นพับสี 3 ตอน ติดต่อกัน รวม 6 หน้า มาประกอบการเสนอขายประกันชีวิตให้กับโจทก์

 

 

เมื่อกรมธรรม์ประกันชีวิตของโจทก์ครบกำหนดสัญญา21ปี โจทก์ได้รับเงินครบกำหนดสัญญา น้อยกว่าที่ตัวแทนขายประกันชีวิตของ บริษัท AIA มาเสนอขายประกันชีวิตให้กับโจทก์ตามแผ่นพับแบบสะสมทรัพย์ 21 TMAE ที่โจทก์ใช้เป็นหลักฐานในการฟ้อง

 

 

โจทก์จึงฟ้อง บริษัท AIA เป็นจำเลย ที่ศาลแขวงพระนครใต้เป็นคดีผู้บริโภค คดีหมายเลขดำที่ ผบ. 2592 / 2553 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 ทุนทรัพย์ในการฟ้องคดี โจทก์ฟ้องเรียกเงินครบกำหนดสัญญาส่วนที่ขาด เป็นเงินจำนวน 36,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ทวงถามจนถึงวันฟ้อง คิดเป็นเงิน 214.52 บาท ค่าคัดหนังสือรับรอง และค่าถ่ายเอกสาร รวม 480 บาท ค่าเดินทางไปดำเนินคดีกับค่าเสียเวลา และ โอกาสในการประกอบอาชีพของโจทก์ วันละ 600 บาท ประมาณ 7 วัน คิดเป็นเงิน 4,200 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 40,894.52 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 40,680 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จสิ้น

 

 

 

ต่อมาบริษัทAIAจำเลยให้การต่อสู้คดีว่า แผ่นพับในการเสนอขายประกันชีวิตแก่โจทก์นั้น เอกสารดังกล่าวไม่ใช่เอกสารของจำเลย และทางจำเลย ได้ดำเนินการจ่ายเงินผลประโยชน์ให้แก่โจทก์ ครบถ้วนและถูกต้องตามสัญญาทุกประการแล้ว

 

 

ภายหลัง คดีนี้ ศาลแขวงพระนครใต้ มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 เป็นคดีหมายเลขแดงที่ ผบ. 2728 / 2554 โดยศาลได้พิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 40,894.52 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 40,680 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์

 

 

 

นายทรงกฤษณ ศรีสุขวัฒนา  ผู้บริโภคที่ชนะคดี เอไอเอ.  เปิดเผย"มติชนออนไลน์"ว่า  "คดีนี้ถึงที่สุดแล้ว  หลังจากศาลอุทธรณ์สั่งไม่รับอุทธรณ์ อยากไปลองไปดูคดีที่ศาลแขวงพระนครใต้ มีคนฟ้องตามผมเป็นจำนวนมาก ทุกคนถูกขายประกันแบบเดียวกันหมดซึ่งคนธรรมดาไม่สามารถไปพิสูจน์เรื่องที่เป็นกิจการภายในของบริษัทได้ ผมเชื่อว่าอย่างน้อยผลของคำพิพากษาก็จะเป็นประโยชน์กับประชาชนที่ต้องการจะเรียกร้องความเป็นธรรมโดยการฟ้องศาลได้"

 

 

แหล่งข่าวจากบริษัทAIAเปิดเผย"มติชนออนไลน์"ว่าคดีดังกล่าว ยังไม่ถึงที่สุด เพราะล่าสุดศาลได้รับอุทธรณ์ของเอไอเอ.แล้ว คดีนี้จะต้องต่อสู้ต่อไป ดังนั้น จึงไม่อาจใช้เป็นบรรทัดฐานได้ในขณะนี้ เพราะคดียังไม่ถึงที่สุด  ทั้งนี้การกล่าวอ้างของนายทรงกฤษณว่า คดีถึงที่สุดแล้ว  คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง 

 

 

มติชนออนไลน์ ตรวจสอบหลักกฎหมายตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มีประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับการอุทธรณ์ อยู่ใน มาตรา 47 และมาตรา 49 วรรค 2  และมาตรา 52  ดังนี้

 

มาตรา 47 ในคดีผู้บริโภคที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ ไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือไม่เกินจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง



มาตรา 48  ในกรณีที่ผู้อุทธรณ์เห็นว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 47  ผู้อุทธรณ์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคไปพร้อมกับอุทธรณ์ก็ได้  ในกรณีเช่นว่านี้ เมื่อศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์แล้วเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม ก็ให้ส่งอุทธรณ์และคำขอดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคเพื่อพิจารณา แต่ถ้าศาลชั้นต้นเห็นว่าอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ต้องห้ามก็ให้มีคำสั่งรับอุทธรณ์นั้นไว้ดำเนินการต่อไป

 

มาตรา  49 การพิจารณาพิพากษาคดีผู้บริโภคในศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคหรือศาลอุทธรณ์ ภาคแผนกคดีผู้บริโภคต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว ทั้งนี้ ตามข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา

 

ภายใต้บังคับ มาตรา 52  คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภคและศาลอุทธรณ์ภาคแผนกคดีผู้บริโภคให้เป็นที่สุด

 

 มาตรา 52 ศาลฎีกาอาจพิจารณาอนุญาให้ฎีกาตามมาตรา 51 ได้เมื่อเห็นว่าปัญหาตามฎีกานั้นเป็นปัญหาซึ่งเกี่ยวพันกับประโยชน์สาธารณะ หรือ เป็นปัญหาสำคัญอื่นที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1347449065&grpid=01&catid=&subcatid=

.