ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 13, 2012, 10:32:54 pm »





วิญญาณธาตุเป็นอย่างไร คืออะไร
หลวงพ่อฤๅษี ท่านเมตตามาสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้

๑. วิญญาณธาตุ หมายถึง ระบบประสาทสัมผัสทั้ง ๖ อายตนะ ๖ หรือประตูทั้ง ๖ ของร่างกาย อันมีระบบประสาทรับรู้ของตา - หู - จมูก - ลิ้น - กาย โดยมีใจหรือจิตเป็นผู้รับรู้ (สมองเป็นหนึ่งในอาการ ๓๒ ของร่างกาย เป็นศูนย์รับระบบประสาทสัมผัสของร่างกาย ซึ่งทำงานของมันอยู่เป็นปกติ เกิดดับๆ อยู่เป็นสันตติธรรม ผู้ที่ไปรับรู้เรื่องของสมองก็คือจิต จะเห็นได้ชัดเจนตอนร่างกายถูกดมยาให้สลบ หรือใช้ยาสลบ ร่างกายทุกส่วนก็สลบ รวมทั้งสมองด้วย แต่จิตไม่สลบ ยังคงรู้อยู่เป็นปกติ มิได้สลบตามร่างกาย จุดนี้ผู้ปฏิบัติธรรมได้ขั้นสูงเท่านั้น จึงจะรู้และเข้าใจได้)

๒. วิญญาณธาตุตัวนี้แหละเป็นตัวสร้างอารมณ์สุข (พอใจ) สร้างอารมณ์ทุกข์ (ไม่พอใจ) ให้เกิดแก่ร่างกาย
๓. บุคคลใดเอาจิตไปเกาะอารมณ์ทั้งสองแล้วหลงคิดว่า สุข-ทุกขเวทนาของกายนี้มีในเรา เป็นของเรา (เราคือจิตไม่ใช่กาย) มีในเขา เป็นของเขา แต่พอร่างกายมันตาย อารมณ์เหล่านี้ซึ่งเกิดจาก วิญญาณธาตุ ก็ตายไปพร้อมกับกาย

๔. แต่จิตไม่เคยตาย จิตเป็นอมตะ ผู้ตายคือร่างกาย พร้อมวิญญาณธาตุ อันตรายอันใหญ่ยิ่งอยู่ที่จิตไปยึดเกาะติดวิญญาณธาตุ เกาะอารมณ์สุข-ทุกข์ว่าเป็นเราเป็นของเรา เอาเวทนาของกายมาเป็นเวทนาของจิต นี่แหละคือตัว สักกายทิฎฐิ ตัวอวิชชา
๕. เพราะแยกกาย - เวทนา - จิต - ธรรม ให้ออกจากจิตไม่ได้ สักกายทิฎฐิก็ตัดไม่ได้เช่นกัน

(ขออธิบายสั้นๆ ว่า กาย - เวทนา ๒ ตัวแรก เป็นเรื่องของร่างกาย กายหรือรูปกายปกติของมันก็ เกิดดับๆ เป็นสันตติธรรม เป็นปกติของมัน เวทนาอาศัยกายอยู่ เมื่อกายเกิดดับๆ เวทนาก็ย่อม เกิด - ดับๆ ตามกาย ๒ ตัวนี้ต้องมีสติกำหนดรู้อยู่เสมอ หากไม่กำหนดรู้ มันก็ไม่รู้ว่ามันเป็นทุกข์ของกายไม่เกี่ยวกับจิต ต้องกำหนดรู้ตลอดเวลา)
ส่วนจิต หมายถึง เจตสิก คือ อารมณ์ของจิต ซึ่งปกติไม่เที่ยง เกิด - ดับๆ ๆ อยู่เป็นสันตติธรรมเช่นกัน สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ไม่ควรยึดว่ามันเป็นเราเป็นของเรา
ส่วนธรรมก็ เกิด - ดับ ๆ ๆ ไม่เที่ยง ใครยึดเข้าก็เป็นทุกข์ทันที แบบเดียวกันกับเจตสิก
สำหรับจิต คือ เรานั้นเป็นผู้รู้ เป็นผู้รับรู้เรื่องของธรรม ๔ ตัวนั้น คือ กาย - เวทนา - จิต - ธรรม มันเกิด - ดับๆ อยู่ตลอดเวลาคนละส่วนกับเราคือจิต ในการปฏิบัติที่ถูก จึงต้องรู้สักเพียงแต่ว่ารู้ รู้แล้ววางๆ ๆ ไม่ยึด - ไม่เกาะ - ไม่ปรุงแต่งไปตามสิ่งที่ตนรู้นั้นๆ ขอเขียนไว้สั้นๆ แค่นี้)

รวบรวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน
-http://www.facebook.com/BuddhaSattha?filter=1