ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 14, 2012, 05:36:49 am »สาวไส้ธุรกิจขายตรง! วิธีการทำนาบนหลังคนแบบเนียนๆ
-http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000113123-
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 13 กันยายน 2555 19:03 น.
ตาล-ไมเคิล
“ทำธุรกิจนี้ มีเงินก็มีดาราเป็นแฟนเก็บไว้ในสต็อกได้” หลังจากชาวเน็ตในพันทิปวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับคำพูดและพฤติกรรมของไมเคิล ซาเฟล แฟนหนุ่มชาวเดนมาร์กของสาวตาล กัญญา ที่คาดว่าจะทำธุรกิจผิดกฎหมาย มุ่งเน้นระบบแชร์ลูกโซ่โดยอาศัยธุรกิจขายตรงบังหน้า กลายเป็นประเด็นร้อนสั่นสะเทือนวงการธุรกิจขายตรงอื่นๆ ในแง่ของความน่าเชื่อถือ นำมาให้หลายฝ่ายจ้องจับผิดธุรกิจขายฝันเหล่านี้ที่ไม่มีวันเป็นจริง
สำหรับบางคนที่ยังไม่เคยรู้เรื่องธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ซึ่งเป็นธุรกิจผิดกฎหมาย ธุรกิจนี้จะทำมาหากินกับการหาสมาชิกเป็นหลัก แล้วหักหัวคิวกันเป็นรายๆ ไป อาจมาเป็นรูปแบบของการหว่านล้อมให้ซื้อสินค้า ซื้อแต้ม ซื้อคะแนนจำนวนมากๆ มีการเรียกเก็บค่าสมัคร ต่ออายุสมาชิก ดังนั้นธุรกิจจึงต้องหาสมาชิกตลอดเวลา สินค้าของธุรกิจนี้แทบจะไม่มีความหมาย หรือแทบจะไม่พูดถึงกันเลย
แฉขบวนการขายตรงเถื่อน
หากกล่าวถึงไมเคิลผู้บริหารและเป็นต้นสายเครือข่ายของ bHIP ที่บอกเล่าวิธีประสบความสำเร็จ ซึ่งไม่น่าจะใช่ธุรกิจที่ถูกกฎหมาย เข้าข่ายธุรกิจหลอกลวง หรือแชร์ลูกโซ่ จึงกลายเป็นกรณีศึกษา เพราะหลังจาก ไมเคิล ถูกสังคมวิจารณ์อย่างหนัก ทำให้ bHIP ต้องพลอยถูกคาดโทษไปด้วย หน่ำซ้ำบางคนที่เคยทำธุรกิจ bHIP มาก่อน แต่ยังไปไม่ถึงฝันก็ต้องออกมากลางคัน พร้อมหนี้สินล้นพ้นตัว เข้ามาโจมตีบนโลกออนไลน์อีกทางหนึ่ง
“เป้าหมายหลัก ของบริษัทไม่ใช่การขายสินค้า แต่คือแชร์ "ลูกโซ่" ที่แนบเนียนที่สุด”
เมื่อสืบค้นดูเบื้องหลังของไมเคิล ซาเฟล เคยดำเนินธุรกิจขายตรงให้แก่สินค้าประเภทอาหารเสริม Herbalife จากอเมริกามาก่อนแล้ว หลังจากมีผู้อ้างว่าเขาโดน Herbalife ไล่ออกจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายในไทย เพราะหลอกให้คนเอาเงินมาลงทุน ไม่ส่งใบสมัครเข้าบริษัท เอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง นำสินค้าเก่าใกล้หมดอายุมาให้ และไม่มีหลักฐานการสั่งซื้อตอนร่วมลงทุน ต่อมาเขาไปตั้งบริษัทใหม่ที่ใช้ชื่อว่า bHIP ขายประเภทอาหารเสริม และหนึ่งในนั้นคือ น้ำผลไม้ที่ชื่อว่า มาร์กี้ เบอร์รี่ (Maqui berry) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บี-มาคิอิ (B-MAQUI) แต่ก็ยังคงนโยบายธุรกิจแบบเดิม คือการขายตรงแบบ “แชร์ลูกโซ่”
บนยอดพีระมิดจึงเป็นใครไปไม่ได้นอกจากต้นสายเครือข่ายที่สร้างความร่ำรวยให้กับตัวเอง จากเงินสมาชิกที่มีคนร่วมลงทุน กลายเป็นฐานลูกโซ่ต่อๆ กันไป กว่าจะไต่ถึงตำแหน่งสูงๆ นั้นเป็นไปได้ยาก ถ้าไม่มีทักษะหลอกลวงคนมากพอ แต่ละบริษัทจะมีการลงทุนไม่เท่ากัน มีตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักแสนบาท ยิ่งลงทุนสูงยิ่งได้แต้ม และตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลามากนัก บางคนพยายามทำแต้มโดยการซื้อสินค้าจำนวนมากเพื่อให้ได้แต้มครบ แล้วนำสินค้าไปขายเท่าทุนหรือขายขาดทุนในตลาดมืด เพราะฉะนั้นถ้าต้องการมีรายได้แบบไม่เข้าเนื้อตัวเองก็ต้องหลอกคนมาสมัครต่อ หรือที่เรียกว่า หาลูกทีม หรือพยายามช่วยลูกทีมหาคนมาสมัครต่อให้ได้มากๆ ถ้ามีความสามารถหลอกได้มาก ทำแต้มได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะมีรายได้และตำแหน่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
วิธีสังเกตธุรกิจแชร์ลูกโซ่อีกอย่างหนึ่ง มักจะอวดอ้างคุณสมบัติเกินจริงของสินค้าที่ด้อยคุณภาพซึ่งเอามาใช้บังหน้า และมาร์กี้ เบอร์รี่ ก็เคยโดนต้องสงสัย เพราะสรรพคุณที่สามารถรักษาโรคได้ ป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง โรคความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ดื่ม 1 ขวดลดน้ำหนักได้ 1-2 กก. จึงเป็นลักษณะของการโฆษณาเกินจริง และมีราคาแพงถึงหลักพันเลยทีเดียว แต่รู้กันอยู่แล้วว่าสินค้าเป็นแค่ฉากบังหน้า ไม่สำคัญเท่าการหาเครือข่าย
นอกจากนี้ยังนำคำพูดของปุ้ย พิมลวรรณ พิธีกรรายการผู้หญิงถึงผู้หญิงที่พูดถึงผลิตภัณฑ์นี้ไปตัดต่อเป็นคลิป เหมือนกับว่าเป็นการโฆษณาส่งเสริมผลิตภัณฑ์ เช่นเดียวกับที่ พ.ต.ท.ดร.นิติพัฒน์ วุฒิบุณยสิทธิ์ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดนตัดต่อคลิปที่พูดให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจขายตรงแก่ประชาชน แต่เอาไปตัดต่อไม่ถึงนาที สร้างความเข้าใจผิดว่าไปการันตีให้รู้สึกว่า bHIP ทำถูกต้องตามกฎหมาย
เอารถหรู-เงินล้านมาล่อ
การนำความโลภของคนมาเป็นตัวผลักดันธุรกิจ เช่นเดียวกับสโลแกนของไมเคิล ซาเฟล เจ้าของ bHIP ที่ว่า “ไออยากให้ความรู้ทุกคน อยากสอนทุกคนรวยไปด้วยกัน จงเชื่อในตัวไอ” แถมเอาเงินหลักล้าน รถหรูราคาแพงมาหลอกล่อให้หลงเชื่อ คนหัวอ่อนก็ตกเป็นเหยื่ออย่างง่ายๆ จึงไม่ต่างจากการทำนาบนหลังคน
ว่ากันตามจริงเรื่องของธุรกิจแชร์ลูกโซ่ หากการสมัครใจเข้าร่วมลงทุนเองคงกล่าวหาบริษัทไม่ได้ เพราะไม่มีใครบังคับ และบริษัทก็จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แต่วิธีการหว่านล้อม โดยใช้วิธีพูดชักจูงใจ การหาวิทยากรที่น่าเชื่อถือเข้ามาอบรมสมาชิกใหม่ การเอานักบัญชีมาคิดยอดเงินรายได้ให้ดู บวกลบตัวเลขวกไปวนมา แต่สรุปรายได้ออกมาเป็นแสน แม้เหยื่อจะนั่งงง แต่ก็คล้อยตาม เพราะคนชักชวนมาสมัครที่นั่งอยู่ข้างๆ ส่งเสียงปลุกใจ โอ้!...อืม! ตลอดเวลา พร้อมกับเสียงปรบมือชวนเคลิ้มที่มาไม่ขาดระยะ ซึ่งทั้งหมดเป็นการจัดฉากทั้งสิ้น
เช่นเดียวกับข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เคยหลงเชื่อทำธุรกิจแชร์ลูกโซ่ในบริษัทแห่งหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า ค่าสมัครสมาชิก 200,000 บาท หรือ 500,000 บาทก็ยังไม่ผิดครับ ความผิดมันมาอยู่ตรงที่ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า ภายใน 3 เดือน คุณได้เงินคืนแน่นอน เช้าก็โทร. เที่ยงก็โทร. เย็นก็เข้ามาหา พูดชักจูงจนเหยื่อหลงเชื่อ เท่ากับเป็นการอวดอ้างโฆษณารายได้ที่เกินจริง ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า มีรายได้เป็นประจำเข้ามาทุกๆ เดือน
“เขาบอกว่าถ้ามีตำแหน่งสูงๆ จะมีรายได้เข้ามาเป็นล้าน เหมือนต้นสายคนนั้นคนนี้ มีเงินพาพ่อแม่ไปเที่ยวต่างประเทศ มีรถราคาแพงๆ ขับ มีบ้านหลังโตๆ แต่สุดท้ายผมออกมาโดยไม่มีคนมาสมัครด้วยสักคน เพราะกลัวเขาจะมาเสียเงินเหมือนเรา รู้สึกบาปจึงพยายามหารายได้จากการขายของอย่างเดียว แต่ก็ไปไม่รอด”
จะเห็นว่าเหยื่อของธุรกิจเหล่านี้มีอายุค่อนข้างน้อย บางคนใส่ชุดนักเรียน นักศึกษามานั่งฟังอบรม ฟังไปฟังมาเขาบอกว่าจะมีเงินมีรถก็ตาลุกวาว อยากเข้ามาทำ ทั้งที่ยังไม่เข้าใจแก่นแท้ในการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ เด็กรุ่นใหม่อาจจะมองว่าการหาสมาชิกด้วยการส่งอีเมลชักชวนมันง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก และธุรกิจเหล่านี้มักจะสอนต่อกันมาว่าให้เริ่มที่คนใกล้ตัวก่อน ลิสต์มาเลยว่าเพื่อนสนิทมีใครบ้าง แล้วค่อยๆ พูดจาหว่านล้อมให้เข้ามาฟังอบรม
นอกจากนี้บริษัทบางแห่งยังแจกโปรแกรมแฮกอีเมลชาวบ้านให้ นี่เป็นสาเหตุที่หลายคนเคยรับอีเมลขยะพวกนี้บ่อยๆ ที่พูดทำนองว่า “ทำงานที่บ้านผ่านอินเทอร์เน็ต ทำงานวันละ 1-3 ชั่วโมง รายได้ 6,000-20,000 บาท/เดือน” “อาหารเสริมลดความอ้วนภายใน 3 เดือน” และที่น่าเอือมระอามากที่สุด คือการแทครูปในเฟซบุ๊กจนต้อง unfriends กันไป
ขนาดนักธุรกิจชื่อดังอย่าง ตัน อิชิตัน ก็เคยหลอมตัวไปเป็นพิธีกรบรรยายให้กับธุรกิจแชร์ลูกโซ่มาแล้ว แต่พอเป็นข่าวก็ออกมาแก้ต่างว่า “ตอนเขามาเชิญไปไม่รู้ว่าเป็นงานอะไร พอไปถึงรู้แต่ว่าคนมาสัมมนาเด็กเกินไป มันไม่ปกติ”
นายนพปฎล เมฆเมฆา รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เผยว่า ปัจจุบันนี้พบว่ามีผู้ที่ร้องเรียนมาที่ สคบ.อย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้จำหน่ายอิสระ ผู้ประกอบการ โดยส่วนใหญ่เรื่องที่ร้องเรียนเข้ามาจะเป็นในเรื่องของแผนการจ่ายผลตอบแทน ส่วนที่แจ้งว่าเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่นั้น ค่อนข้างมีน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะธุรกิจพวกนี้จะหลบๆ ซ่อนๆ จึงตรวจสอบค่อนข้างยาก
หมดตัว เพราะแชร์ลูกโซ่
มีหลายกรณีที่โดนเข้ากับตัวเองมาแล้วแบบล้มพับแทบลุกไม่ขึ้น เพราะเงินที่ลงทุนไปไม่ใช่น้อย บางรายเสียไปครึ่งล้าน เพราะฝันลมๆ แล้งๆ ว่าจะได้คืนหลายเท่า แถมพอออกมายังต้องตามใช้หนี้ที่ไปยืมเขามาลงทุนอีก
“ถ้าคนมีสติคิดสักหน่อยจะพิจารณารู้ว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ และจะไม่ถูกหลอก อย่างธุรกิจขายตรงบางบริษัทกว่าแต่ละคนจะสำเร็จ เขาเอาแรง เอาความเหนื่อยเข้าแลก ไม่ใช่แค่ทำงานผ่านอีเมลง่ายๆ แล้วได้เดือนละ 500,000” แสงจันทร์ โพธิ์รัง กล่าวถึงเพื่อนบ้านที่กู้ยืมเงิน300,000บาทเพื่อไปทำธุรกิจเครือข่ายแชร์ลูกโซ่กับบริษัทหนึ่ง โดยเอาที่ดินกว่า 4 ไร่มาค้ำประกัน แต่แล้วก็ไปไม่รอด โฉนดที่ดินที่เคยเอามาค้ำไว้ก็ต้องถูกยึดตามสัญญา
แหล่งข่าวที่เคยตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่อีกราย เล่าให้ฟังว่าเราชาวบ้านธรรมดาๆ เป็นคนต่างจังหวัด ไม่มีเงินมีทองไปลงทุน ก็เลยต้องกู้ยืมกันมา เราก็เชื่อเขาเพราะอยากได้เงิน แต่พอเข้าไปทำแล้วมันไม่ได้เงินอย่างที่เขาบอกตอนแรก จะออกมาก็ไม่ได้ลงทุนไปตั้ง 250,000 ต้องหาคนมาสมัครต่อจากเราก่อน อย่างน้อยจะได้เอาทุนคืนบ้าง แต่สุดท้ายมันก็ทนอยู่ต่อไม่ได้ เงินใช้จ่ายไม่มี หมดตัว และยังติดหนี้ติดสินเขาอีกหลายแสน
“ธุรกิจพวกนี้ มันทำนาบนหลังคนชัดๆ สงสารคนที่เขาหัวอ่อน หรือกำลังต้องการเงิน หลงเชื่อได้ง่าย มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ”
“ผมมองว่า มันเป็นธุรกิจที่เล่นกับความฝันของมนุษย์ ไม่ยุติธรรมสักเท่าไหร่ ธุรกิจพวกนี้ชวนเชื่ออย่างไร้หลักความจริงมากๆ เราจะทำอะไรต้องมีสติ ยั้งคิดให้มากครับ ไม่มีทางลัดสำหรับความสำเร็จ”
“เจอมาแล้วเหมือนกันขนาดบอกไม่มีเงิน เขาบอกให้เอาโน้ตบุ๊กไปจำนำ หรือทอง หรือของมีค่า เขาบอกค่อยๆคิด เป่าหูเรา พอเราไม่ไปก็โทร.ตามหยิกๆ หวังจะให้เราเอาเงินไปต่อสายให้ได้” นี่เป็นความหวังดีของคนบนโลกออนไลน์ที่เตือนต่อๆ กันมา ทั้งจากประสบการณ์ตรงและอ้อมให้คนที่กำลังคิดทำธุรกิจขายตรงเหล่านี้อยู่ ลองหาข้อมูลให้ดีๆ ก่อนว่าน่าเชื่อถือมากแค่ไหน
ด้านนายสุวิทย์ วิจิตรโสภา ผู้อำนวยการส่วนขายตรงและตลาดแบบตรง สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้พยายามให้ข้อมูลแก่ประชาชนว่า ก่อนที่จะเข้ามาร่วมธุรกิจขายตรงต้องดูว่าบริษัทนั้นจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และแผนการตลาดนั้นต้องไม่มุ่งเน้นในเรื่องของสมาชิก แต่จะต้องมุ่งเน้นในเรื่องของการขายสินค้า รายได้หลักต้องมาจากยอดขายสินค้า สินค้านั้นต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการตรวจสอบว่าบริษัทนั้นจดทะเบียนถูกต้องหรือไม่นั้น สามารถตรวจสอบได้จากทางเว็บไซต์
“รวย แฟนสวย ขับรถหรู อยู่บ้านหลังใหญ่” ล้วนเป็นคำโฆษณาชวนเชื่อให้เหยื่อหลงคล้อยตามอย่างขาดสติ เพราะความโลภตัวเดียวเป็นต้นเหตุ จึงไม่ต่างกับการเข้าไปให้เขาเชือดให้ตายทั้งเป็น
หากใครกำลังคิดจะทำธุรกิจขายตรง ต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อน เพราะบริษัทดีๆ ยังมีอีกมาก แต่ถ้าใครหลวมตัวไปแล้วกับแชร์ลูกโซ่ จะกลับลำตอนนี้ก็ยังไม่สาย เพราะยิ่งอยู่ยิ่งเสีย อาจยังได้หนี้แถมไปให้ชดใช้กันหัวบาน
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ LIVE
.
-http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000113123-
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 13 กันยายน 2555 19:03 น.
ตาล-ไมเคิล
“ทำธุรกิจนี้ มีเงินก็มีดาราเป็นแฟนเก็บไว้ในสต็อกได้” หลังจากชาวเน็ตในพันทิปวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับคำพูดและพฤติกรรมของไมเคิล ซาเฟล แฟนหนุ่มชาวเดนมาร์กของสาวตาล กัญญา ที่คาดว่าจะทำธุรกิจผิดกฎหมาย มุ่งเน้นระบบแชร์ลูกโซ่โดยอาศัยธุรกิจขายตรงบังหน้า กลายเป็นประเด็นร้อนสั่นสะเทือนวงการธุรกิจขายตรงอื่นๆ ในแง่ของความน่าเชื่อถือ นำมาให้หลายฝ่ายจ้องจับผิดธุรกิจขายฝันเหล่านี้ที่ไม่มีวันเป็นจริง
สำหรับบางคนที่ยังไม่เคยรู้เรื่องธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ซึ่งเป็นธุรกิจผิดกฎหมาย ธุรกิจนี้จะทำมาหากินกับการหาสมาชิกเป็นหลัก แล้วหักหัวคิวกันเป็นรายๆ ไป อาจมาเป็นรูปแบบของการหว่านล้อมให้ซื้อสินค้า ซื้อแต้ม ซื้อคะแนนจำนวนมากๆ มีการเรียกเก็บค่าสมัคร ต่ออายุสมาชิก ดังนั้นธุรกิจจึงต้องหาสมาชิกตลอดเวลา สินค้าของธุรกิจนี้แทบจะไม่มีความหมาย หรือแทบจะไม่พูดถึงกันเลย
แฉขบวนการขายตรงเถื่อน
หากกล่าวถึงไมเคิลผู้บริหารและเป็นต้นสายเครือข่ายของ bHIP ที่บอกเล่าวิธีประสบความสำเร็จ ซึ่งไม่น่าจะใช่ธุรกิจที่ถูกกฎหมาย เข้าข่ายธุรกิจหลอกลวง หรือแชร์ลูกโซ่ จึงกลายเป็นกรณีศึกษา เพราะหลังจาก ไมเคิล ถูกสังคมวิจารณ์อย่างหนัก ทำให้ bHIP ต้องพลอยถูกคาดโทษไปด้วย หน่ำซ้ำบางคนที่เคยทำธุรกิจ bHIP มาก่อน แต่ยังไปไม่ถึงฝันก็ต้องออกมากลางคัน พร้อมหนี้สินล้นพ้นตัว เข้ามาโจมตีบนโลกออนไลน์อีกทางหนึ่ง
“เป้าหมายหลัก ของบริษัทไม่ใช่การขายสินค้า แต่คือแชร์ "ลูกโซ่" ที่แนบเนียนที่สุด”
เมื่อสืบค้นดูเบื้องหลังของไมเคิล ซาเฟล เคยดำเนินธุรกิจขายตรงให้แก่สินค้าประเภทอาหารเสริม Herbalife จากอเมริกามาก่อนแล้ว หลังจากมีผู้อ้างว่าเขาโดน Herbalife ไล่ออกจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายในไทย เพราะหลอกให้คนเอาเงินมาลงทุน ไม่ส่งใบสมัครเข้าบริษัท เอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง นำสินค้าเก่าใกล้หมดอายุมาให้ และไม่มีหลักฐานการสั่งซื้อตอนร่วมลงทุน ต่อมาเขาไปตั้งบริษัทใหม่ที่ใช้ชื่อว่า bHIP ขายประเภทอาหารเสริม และหนึ่งในนั้นคือ น้ำผลไม้ที่ชื่อว่า มาร์กี้ เบอร์รี่ (Maqui berry) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บี-มาคิอิ (B-MAQUI) แต่ก็ยังคงนโยบายธุรกิจแบบเดิม คือการขายตรงแบบ “แชร์ลูกโซ่”
บนยอดพีระมิดจึงเป็นใครไปไม่ได้นอกจากต้นสายเครือข่ายที่สร้างความร่ำรวยให้กับตัวเอง จากเงินสมาชิกที่มีคนร่วมลงทุน กลายเป็นฐานลูกโซ่ต่อๆ กันไป กว่าจะไต่ถึงตำแหน่งสูงๆ นั้นเป็นไปได้ยาก ถ้าไม่มีทักษะหลอกลวงคนมากพอ แต่ละบริษัทจะมีการลงทุนไม่เท่ากัน มีตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักแสนบาท ยิ่งลงทุนสูงยิ่งได้แต้ม และตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยไม่ต้องเสียเวลามากนัก บางคนพยายามทำแต้มโดยการซื้อสินค้าจำนวนมากเพื่อให้ได้แต้มครบ แล้วนำสินค้าไปขายเท่าทุนหรือขายขาดทุนในตลาดมืด เพราะฉะนั้นถ้าต้องการมีรายได้แบบไม่เข้าเนื้อตัวเองก็ต้องหลอกคนมาสมัครต่อ หรือที่เรียกว่า หาลูกทีม หรือพยายามช่วยลูกทีมหาคนมาสมัครต่อให้ได้มากๆ ถ้ามีความสามารถหลอกได้มาก ทำแต้มได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะมีรายได้และตำแหน่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
วิธีสังเกตธุรกิจแชร์ลูกโซ่อีกอย่างหนึ่ง มักจะอวดอ้างคุณสมบัติเกินจริงของสินค้าที่ด้อยคุณภาพซึ่งเอามาใช้บังหน้า และมาร์กี้ เบอร์รี่ ก็เคยโดนต้องสงสัย เพราะสรรพคุณที่สามารถรักษาโรคได้ ป้องกันความเสี่ยงต่อภาวะมะเร็ง โรคความเสื่อมของเซลล์และอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ดื่ม 1 ขวดลดน้ำหนักได้ 1-2 กก. จึงเป็นลักษณะของการโฆษณาเกินจริง และมีราคาแพงถึงหลักพันเลยทีเดียว แต่รู้กันอยู่แล้วว่าสินค้าเป็นแค่ฉากบังหน้า ไม่สำคัญเท่าการหาเครือข่าย
นอกจากนี้ยังนำคำพูดของปุ้ย พิมลวรรณ พิธีกรรายการผู้หญิงถึงผู้หญิงที่พูดถึงผลิตภัณฑ์นี้ไปตัดต่อเป็นคลิป เหมือนกับว่าเป็นการโฆษณาส่งเสริมผลิตภัณฑ์ เช่นเดียวกับที่ พ.ต.ท.ดร.นิติพัฒน์ วุฒิบุณยสิทธิ์ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค โดนตัดต่อคลิปที่พูดให้ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจขายตรงแก่ประชาชน แต่เอาไปตัดต่อไม่ถึงนาที สร้างความเข้าใจผิดว่าไปการันตีให้รู้สึกว่า bHIP ทำถูกต้องตามกฎหมาย
เอารถหรู-เงินล้านมาล่อ
การนำความโลภของคนมาเป็นตัวผลักดันธุรกิจ เช่นเดียวกับสโลแกนของไมเคิล ซาเฟล เจ้าของ bHIP ที่ว่า “ไออยากให้ความรู้ทุกคน อยากสอนทุกคนรวยไปด้วยกัน จงเชื่อในตัวไอ” แถมเอาเงินหลักล้าน รถหรูราคาแพงมาหลอกล่อให้หลงเชื่อ คนหัวอ่อนก็ตกเป็นเหยื่ออย่างง่ายๆ จึงไม่ต่างจากการทำนาบนหลังคน
ว่ากันตามจริงเรื่องของธุรกิจแชร์ลูกโซ่ หากการสมัครใจเข้าร่วมลงทุนเองคงกล่าวหาบริษัทไม่ได้ เพราะไม่มีใครบังคับ และบริษัทก็จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย แต่วิธีการหว่านล้อม โดยใช้วิธีพูดชักจูงใจ การหาวิทยากรที่น่าเชื่อถือเข้ามาอบรมสมาชิกใหม่ การเอานักบัญชีมาคิดยอดเงินรายได้ให้ดู บวกลบตัวเลขวกไปวนมา แต่สรุปรายได้ออกมาเป็นแสน แม้เหยื่อจะนั่งงง แต่ก็คล้อยตาม เพราะคนชักชวนมาสมัครที่นั่งอยู่ข้างๆ ส่งเสียงปลุกใจ โอ้!...อืม! ตลอดเวลา พร้อมกับเสียงปรบมือชวนเคลิ้มที่มาไม่ขาดระยะ ซึ่งทั้งหมดเป็นการจัดฉากทั้งสิ้น
เช่นเดียวกับข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เคยหลงเชื่อทำธุรกิจแชร์ลูกโซ่ในบริษัทแห่งหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า ค่าสมัครสมาชิก 200,000 บาท หรือ 500,000 บาทก็ยังไม่ผิดครับ ความผิดมันมาอยู่ตรงที่ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า ภายใน 3 เดือน คุณได้เงินคืนแน่นอน เช้าก็โทร. เที่ยงก็โทร. เย็นก็เข้ามาหา พูดชักจูงจนเหยื่อหลงเชื่อ เท่ากับเป็นการอวดอ้างโฆษณารายได้ที่เกินจริง ทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า มีรายได้เป็นประจำเข้ามาทุกๆ เดือน
“เขาบอกว่าถ้ามีตำแหน่งสูงๆ จะมีรายได้เข้ามาเป็นล้าน เหมือนต้นสายคนนั้นคนนี้ มีเงินพาพ่อแม่ไปเที่ยวต่างประเทศ มีรถราคาแพงๆ ขับ มีบ้านหลังโตๆ แต่สุดท้ายผมออกมาโดยไม่มีคนมาสมัครด้วยสักคน เพราะกลัวเขาจะมาเสียเงินเหมือนเรา รู้สึกบาปจึงพยายามหารายได้จากการขายของอย่างเดียว แต่ก็ไปไม่รอด”
จะเห็นว่าเหยื่อของธุรกิจเหล่านี้มีอายุค่อนข้างน้อย บางคนใส่ชุดนักเรียน นักศึกษามานั่งฟังอบรม ฟังไปฟังมาเขาบอกว่าจะมีเงินมีรถก็ตาลุกวาว อยากเข้ามาทำ ทั้งที่ยังไม่เข้าใจแก่นแท้ในการดำเนินธุรกิจเหล่านี้ เด็กรุ่นใหม่อาจจะมองว่าการหาสมาชิกด้วยการส่งอีเมลชักชวนมันง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปาก และธุรกิจเหล่านี้มักจะสอนต่อกันมาว่าให้เริ่มที่คนใกล้ตัวก่อน ลิสต์มาเลยว่าเพื่อนสนิทมีใครบ้าง แล้วค่อยๆ พูดจาหว่านล้อมให้เข้ามาฟังอบรม
นอกจากนี้บริษัทบางแห่งยังแจกโปรแกรมแฮกอีเมลชาวบ้านให้ นี่เป็นสาเหตุที่หลายคนเคยรับอีเมลขยะพวกนี้บ่อยๆ ที่พูดทำนองว่า “ทำงานที่บ้านผ่านอินเทอร์เน็ต ทำงานวันละ 1-3 ชั่วโมง รายได้ 6,000-20,000 บาท/เดือน” “อาหารเสริมลดความอ้วนภายใน 3 เดือน” และที่น่าเอือมระอามากที่สุด คือการแทครูปในเฟซบุ๊กจนต้อง unfriends กันไป
ขนาดนักธุรกิจชื่อดังอย่าง ตัน อิชิตัน ก็เคยหลอมตัวไปเป็นพิธีกรบรรยายให้กับธุรกิจแชร์ลูกโซ่มาแล้ว แต่พอเป็นข่าวก็ออกมาแก้ต่างว่า “ตอนเขามาเชิญไปไม่รู้ว่าเป็นงานอะไร พอไปถึงรู้แต่ว่าคนมาสัมมนาเด็กเกินไป มันไม่ปกติ”
นายนพปฎล เมฆเมฆา รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เผยว่า ปัจจุบันนี้พบว่ามีผู้ที่ร้องเรียนมาที่ สคบ.อย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้จำหน่ายอิสระ ผู้ประกอบการ โดยส่วนใหญ่เรื่องที่ร้องเรียนเข้ามาจะเป็นในเรื่องของแผนการจ่ายผลตอบแทน ส่วนที่แจ้งว่าเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่นั้น ค่อนข้างมีน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะธุรกิจพวกนี้จะหลบๆ ซ่อนๆ จึงตรวจสอบค่อนข้างยาก
หมดตัว เพราะแชร์ลูกโซ่
มีหลายกรณีที่โดนเข้ากับตัวเองมาแล้วแบบล้มพับแทบลุกไม่ขึ้น เพราะเงินที่ลงทุนไปไม่ใช่น้อย บางรายเสียไปครึ่งล้าน เพราะฝันลมๆ แล้งๆ ว่าจะได้คืนหลายเท่า แถมพอออกมายังต้องตามใช้หนี้ที่ไปยืมเขามาลงทุนอีก
“ถ้าคนมีสติคิดสักหน่อยจะพิจารณารู้ว่าไม่มีอะไรได้มาง่ายๆ และจะไม่ถูกหลอก อย่างธุรกิจขายตรงบางบริษัทกว่าแต่ละคนจะสำเร็จ เขาเอาแรง เอาความเหนื่อยเข้าแลก ไม่ใช่แค่ทำงานผ่านอีเมลง่ายๆ แล้วได้เดือนละ 500,000” แสงจันทร์ โพธิ์รัง กล่าวถึงเพื่อนบ้านที่กู้ยืมเงิน300,000บาทเพื่อไปทำธุรกิจเครือข่ายแชร์ลูกโซ่กับบริษัทหนึ่ง โดยเอาที่ดินกว่า 4 ไร่มาค้ำประกัน แต่แล้วก็ไปไม่รอด โฉนดที่ดินที่เคยเอามาค้ำไว้ก็ต้องถูกยึดตามสัญญา
แหล่งข่าวที่เคยตกเป็นเหยื่อแชร์ลูกโซ่อีกราย เล่าให้ฟังว่าเราชาวบ้านธรรมดาๆ เป็นคนต่างจังหวัด ไม่มีเงินมีทองไปลงทุน ก็เลยต้องกู้ยืมกันมา เราก็เชื่อเขาเพราะอยากได้เงิน แต่พอเข้าไปทำแล้วมันไม่ได้เงินอย่างที่เขาบอกตอนแรก จะออกมาก็ไม่ได้ลงทุนไปตั้ง 250,000 ต้องหาคนมาสมัครต่อจากเราก่อน อย่างน้อยจะได้เอาทุนคืนบ้าง แต่สุดท้ายมันก็ทนอยู่ต่อไม่ได้ เงินใช้จ่ายไม่มี หมดตัว และยังติดหนี้ติดสินเขาอีกหลายแสน
“ธุรกิจพวกนี้ มันทำนาบนหลังคนชัดๆ สงสารคนที่เขาหัวอ่อน หรือกำลังต้องการเงิน หลงเชื่อได้ง่าย มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ”
“ผมมองว่า มันเป็นธุรกิจที่เล่นกับความฝันของมนุษย์ ไม่ยุติธรรมสักเท่าไหร่ ธุรกิจพวกนี้ชวนเชื่ออย่างไร้หลักความจริงมากๆ เราจะทำอะไรต้องมีสติ ยั้งคิดให้มากครับ ไม่มีทางลัดสำหรับความสำเร็จ”
“เจอมาแล้วเหมือนกันขนาดบอกไม่มีเงิน เขาบอกให้เอาโน้ตบุ๊กไปจำนำ หรือทอง หรือของมีค่า เขาบอกค่อยๆคิด เป่าหูเรา พอเราไม่ไปก็โทร.ตามหยิกๆ หวังจะให้เราเอาเงินไปต่อสายให้ได้” นี่เป็นความหวังดีของคนบนโลกออนไลน์ที่เตือนต่อๆ กันมา ทั้งจากประสบการณ์ตรงและอ้อมให้คนที่กำลังคิดทำธุรกิจขายตรงเหล่านี้อยู่ ลองหาข้อมูลให้ดีๆ ก่อนว่าน่าเชื่อถือมากแค่ไหน
ด้านนายสุวิทย์ วิจิตรโสภา ผู้อำนวยการส่วนขายตรงและตลาดแบบตรง สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้พยายามให้ข้อมูลแก่ประชาชนว่า ก่อนที่จะเข้ามาร่วมธุรกิจขายตรงต้องดูว่าบริษัทนั้นจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และแผนการตลาดนั้นต้องไม่มุ่งเน้นในเรื่องของสมาชิก แต่จะต้องมุ่งเน้นในเรื่องของการขายสินค้า รายได้หลักต้องมาจากยอดขายสินค้า สินค้านั้นต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานได้รับการอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการตรวจสอบว่าบริษัทนั้นจดทะเบียนถูกต้องหรือไม่นั้น สามารถตรวจสอบได้จากทางเว็บไซต์
“รวย แฟนสวย ขับรถหรู อยู่บ้านหลังใหญ่” ล้วนเป็นคำโฆษณาชวนเชื่อให้เหยื่อหลงคล้อยตามอย่างขาดสติ เพราะความโลภตัวเดียวเป็นต้นเหตุ จึงไม่ต่างกับการเข้าไปให้เขาเชือดให้ตายทั้งเป็น
หากใครกำลังคิดจะทำธุรกิจขายตรง ต้องพิจารณาให้ดีเสียก่อน เพราะบริษัทดีๆ ยังมีอีกมาก แต่ถ้าใครหลวมตัวไปแล้วกับแชร์ลูกโซ่ จะกลับลำตอนนี้ก็ยังไม่สาย เพราะยิ่งอยู่ยิ่งเสีย อาจยังได้หนี้แถมไปให้ชดใช้กันหัวบาน
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ LIVE
.