ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: กันยายน 19, 2012, 09:20:28 pm »วิธีรอดชีวิตจากหัวใจวายเมื่ออยู่ลำพัง
/ ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 กันยายน 2555 11:43 น.
-http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000114404-
ท่านที่เป็นโรคหัวใจอาจมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้นหากเตรียมตัวเองให้พร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ หลายคนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจควรได้รับการรับการบำบัดและรับยาที่ครบถ้วน ข้อมูลที่จะกล่าวถึงข้างล่างนี้จะพอเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจที่อยู่ลำพังหรือเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร
ขั้นเตรียมตัว
1.ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจเท่านั้น ในปัจจุบันมีจดหมายเวียนที่ส่งต่อถึงกันเกี่ยวกับการรักษา ที่เรียกว่า การไอแบบกู้ชีวิต หรือ Cough CPR (Cardiopulmonary Resuscitation : CPR) เป็นการปฏิบัติการเพื่อช่วยชีวิตคนที่หัวใจหยุดเต้น และหยุดหายใจเฉียบพลัน โดยวิธีคือการไอแบบ CPR ทันที คือ ให้ไอถี่ๆ แต่แรงๆ หายใจเข้าลึกๆ ทุกครั้งก่อนการไอ ไอลึกเหมือนมีเสมหะ การหายใจและการไอต้องทำต่อเนื่องทุก 2 วินาที ไอไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีคนมาช่วยหรือหัวใจมีการเต้นเป็นปกติอีกครั้ง หายใจเข้าลึกๆ เพื่อให้ออกซิเจนเข้าปอด การเคลื่อนไหวจากการไอจะช่วยบีบหัวใจให้มีการไหลเวียนของเลือดเป็นปกติอีกครั้ง การบีบรัดตัวของหัวใจช่วยให้จังหวะการเต้นของหัวใจกลับมา และช่วยเหลือได้ทันก่อนนำส่งโรงพยาบาล การกระทำที่ถูกต้องและทันท่วงที จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น แต่วิธีนี้ทางสมาคมโรคหัวใจในสหรัฐอเมริกาไม่แนะนำ เพราะควรมีผู้ชำนาญชาญอยู่ดูแลด้วย
2.หลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตเมื่อลดโอกาสการเกิดภาวการณ์เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ งดสูบบุหรี่และดื่มเหล้า ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ระมัดระวังเรื่องอาหาร และทำจิตใจให้สบาย
3.หากอยู่ในฐานะที่พอจะทำได้ ควรมีระบบสื่อสารที่เมื่ออยู่ในภาวะฉุกเฉินสามารถขอความช่วยเหลือหรือติดต่อไปยังโรงพยาบาลได้ทันทีเมื่อกดปุ่ม แต่เมืองไทยยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากการส่งสัญญาณยังไม่ดีเท่าที่ควร
สิ่งที่ควรทำ
1.จำอาการของโรคหัวใจได้ เช่น หายใจสั้น เจ็บหรือปวดที่บริเวณหน้าอก ปวดต้นคอ หรือลามมาที่แขน หัวไหล่ และขากรรไกร
2.หากขับรถอยู่ควรจอดรถเข้าข้างทาง อย่าพยายามฝืนขับต่อไปที่โรงพยาบาล เพราะเราอาจมีเวลาเพียงชั่วอึดใจเดียวเท่านั้นก่อนหมดสติ
3.โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือที่โรงพยาบาล 191 หรือผู้ที่สามารถจะช่วยเหลือเราได้ โดยบอกถึงสถานที่ ๆ อยู่
4.ทานแอสไพรินขนาด 325 มิลลิกรัม เมื่อเริ่มมีอาการ แอสไพรินช่วยให้เลือดมีการไหลเวียนที่ดี ไม่เกาะเป็นก้อน เคี้ยวยาทั้งเม็ดหากไม่สามารถหาน้ำดื่มได้ อย่าเสียเวลาเพราะอาจไม่ทันการเมื่อเริ่มมีอาการที่รุนแรง
5.ใช้ยาโรคหัวใจกลุ่มปิดกั้นเบต้า (beta blocker) ซึ่งเป็นยาที่ลดอัตราการเต้นของหัวใจและระดับความดันโลหิต เป็นกลุ่มยาที่ใช้สำหรับกลุ่มคนที่เป็นโรคหัวใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมียากลุ่มนี้อยู่
6.มีกระป๋องออกซิเจนขนาดพกพาติดตัวไว้ หากเรารู้ว่าเราเป็นโรคหัวใจอยู่ ควรมีกระป๋องออกซิเจนติดตัวไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน
7.ทุบหน้าอกของตัวเองอย่างแรงเท่าที่สามารถจะทำได้ วิธีนี้จะได้ผลดีหากมีคนช่วยทำให้ เพราะอาจเป็นการยากที่จะทำด้วยตัวเอง
8.ติดต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคหัวใจ หากมีคำถามและขอคำแนะนำหากต้องเดินทางคนเดียวบ่อยๆ
9.อย่าสับสนอาการของโรคกระเพาะและโรคหัวใจ หากทานยาลดกรดในกระเพาะและไม่หาย ควรติดต่อขอความช่วยเหลือฉุกเฉินในทันที เพราะอาจมีเวลาไม่มากพอที่จะช่วยเหลือได้ทันเวลา
สิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอนี้เป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้นเท่านั้นไม่ได้มีการอ้างอิงทางการแพทย์หรือการวิจัยใดๆ ดังนั้น หากท่านเองเป็นโรคหัวใจ หรือมีคนในครอบครัวหรือคนสนิทที่เป็นโรคดังกล่าวนี้ ควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ และได้รับการดูแลใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกครอบครัวจะมีสุขภาพที่แข็งแรงทั้งใจและกายตลอดไปนะคะ
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.hoax-slayer.com/survive-heart-attack.html
http://www.ehow.com/how_136303_survive-heart-attack.html
.
/ ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 19 กันยายน 2555 11:43 น.
-http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9550000114404-
ท่านที่เป็นโรคหัวใจอาจมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้นหากเตรียมตัวเองให้พร้อมรับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ หลายคนที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคหัวใจควรได้รับการรับการบำบัดและรับยาที่ครบถ้วน ข้อมูลที่จะกล่าวถึงข้างล่างนี้จะพอเป็นแนวทางให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจที่อยู่ลำพังหรือเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร
ขั้นเตรียมตัว
1.ควรทำตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจเท่านั้น ในปัจจุบันมีจดหมายเวียนที่ส่งต่อถึงกันเกี่ยวกับการรักษา ที่เรียกว่า การไอแบบกู้ชีวิต หรือ Cough CPR (Cardiopulmonary Resuscitation : CPR) เป็นการปฏิบัติการเพื่อช่วยชีวิตคนที่หัวใจหยุดเต้น และหยุดหายใจเฉียบพลัน โดยวิธีคือการไอแบบ CPR ทันที คือ ให้ไอถี่ๆ แต่แรงๆ หายใจเข้าลึกๆ ทุกครั้งก่อนการไอ ไอลึกเหมือนมีเสมหะ การหายใจและการไอต้องทำต่อเนื่องทุก 2 วินาที ไอไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมีคนมาช่วยหรือหัวใจมีการเต้นเป็นปกติอีกครั้ง หายใจเข้าลึกๆ เพื่อให้ออกซิเจนเข้าปอด การเคลื่อนไหวจากการไอจะช่วยบีบหัวใจให้มีการไหลเวียนของเลือดเป็นปกติอีกครั้ง การบีบรัดตัวของหัวใจช่วยให้จังหวะการเต้นของหัวใจกลับมา และช่วยเหลือได้ทันก่อนนำส่งโรงพยาบาล การกระทำที่ถูกต้องและทันท่วงที จะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้มีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น แต่วิธีนี้ทางสมาคมโรคหัวใจในสหรัฐอเมริกาไม่แนะนำ เพราะควรมีผู้ชำนาญชาญอยู่ดูแลด้วย
2.หลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตเมื่อลดโอกาสการเกิดภาวการณ์เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ งดสูบบุหรี่และดื่มเหล้า ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ระมัดระวังเรื่องอาหาร และทำจิตใจให้สบาย
3.หากอยู่ในฐานะที่พอจะทำได้ ควรมีระบบสื่อสารที่เมื่ออยู่ในภาวะฉุกเฉินสามารถขอความช่วยเหลือหรือติดต่อไปยังโรงพยาบาลได้ทันทีเมื่อกดปุ่ม แต่เมืองไทยยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากการส่งสัญญาณยังไม่ดีเท่าที่ควร
สิ่งที่ควรทำ
1.จำอาการของโรคหัวใจได้ เช่น หายใจสั้น เจ็บหรือปวดที่บริเวณหน้าอก ปวดต้นคอ หรือลามมาที่แขน หัวไหล่ และขากรรไกร
2.หากขับรถอยู่ควรจอดรถเข้าข้างทาง อย่าพยายามฝืนขับต่อไปที่โรงพยาบาล เพราะเราอาจมีเวลาเพียงชั่วอึดใจเดียวเท่านั้นก่อนหมดสติ
3.โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือที่โรงพยาบาล 191 หรือผู้ที่สามารถจะช่วยเหลือเราได้ โดยบอกถึงสถานที่ ๆ อยู่
4.ทานแอสไพรินขนาด 325 มิลลิกรัม เมื่อเริ่มมีอาการ แอสไพรินช่วยให้เลือดมีการไหลเวียนที่ดี ไม่เกาะเป็นก้อน เคี้ยวยาทั้งเม็ดหากไม่สามารถหาน้ำดื่มได้ อย่าเสียเวลาเพราะอาจไม่ทันการเมื่อเริ่มมีอาการที่รุนแรง
5.ใช้ยาโรคหัวใจกลุ่มปิดกั้นเบต้า (beta blocker) ซึ่งเป็นยาที่ลดอัตราการเต้นของหัวใจและระดับความดันโลหิต เป็นกลุ่มยาที่ใช้สำหรับกลุ่มคนที่เป็นโรคหัวใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมียากลุ่มนี้อยู่
6.มีกระป๋องออกซิเจนขนาดพกพาติดตัวไว้ หากเรารู้ว่าเราเป็นโรคหัวใจอยู่ ควรมีกระป๋องออกซิเจนติดตัวไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน
7.ทุบหน้าอกของตัวเองอย่างแรงเท่าที่สามารถจะทำได้ วิธีนี้จะได้ผลดีหากมีคนช่วยทำให้ เพราะอาจเป็นการยากที่จะทำด้วยตัวเอง
8.ติดต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคหัวใจ หากมีคำถามและขอคำแนะนำหากต้องเดินทางคนเดียวบ่อยๆ
9.อย่าสับสนอาการของโรคกระเพาะและโรคหัวใจ หากทานยาลดกรดในกระเพาะและไม่หาย ควรติดต่อขอความช่วยเหลือฉุกเฉินในทันที เพราะอาจมีเวลาไม่มากพอที่จะช่วยเหลือได้ทันเวลา
สิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอนี้เป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้นเท่านั้นไม่ได้มีการอ้างอิงทางการแพทย์หรือการวิจัยใดๆ ดังนั้น หากท่านเองเป็นโรคหัวใจ หรือมีคนในครอบครัวหรือคนสนิทที่เป็นโรคดังกล่าวนี้ ควรปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ และได้รับการดูแลใกล้ชิดจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกครอบครัวจะมีสุขภาพที่แข็งแรงทั้งใจและกายตลอดไปนะคะ
ข้อมูลอ้างอิง
http://www.hoax-slayer.com/survive-heart-attack.html
http://www.ehow.com/how_136303_survive-heart-attack.html
.