ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: nubthong
« เมื่อ: กันยายน 28, 2012, 10:23:45 am »

ความอดทน

   ตัวของตัวเองมีชีวิตพึ่งแก่ตัวเองได้ นี่เป็นข้อสำคัญที่สุดนะ
มาเจอพุทธศาสนาแล้วเห็นมั๊ย จะไปทำเรื่องอื่น จะไปหลงเลอะ
เทอะ เอ้ามีครอบครัวแล้วได้อะไรบ้าง ได้ลูกคนหนึ่ง แล้วเอา
มาทำไมล่ะ เอามาเลี้ยง 10 คน เอาไว้เลี้ยงอย่างไรก็เลี้ยงไป
บ่นโอ๊กแล้ว เอ้าได้ 50 คน เอ้าเอาไว้เพียงเท่านี้ เอ้าเปะปะไป
สิ อยากได้ลูกอีกไหมล่ะไม่จริง เหลวโกงตัวเอง โกงตัวเองพา
ให้เลอะเลือน ไม่เข้าไปค้นกายของตัวให้ถึงที่สุด ไม่ให้เข้าไป
ค้นตัวให้ถึงที่สุดเป็นมนุษย์กับเขาทั้งที เพราะเชื่อกิเลสเหลว
ไหลเหล่านี้แหละจึงได้เลอะเลือนจะครองเรือนไปสักกี่ร้อยปีก็
ครองไปเถอะ มันงานเรื่องของคนอื่นเขาทั้งนั้น เรื่องของพญา
มารทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องของตัว ไม่ใช่งานของตัว ไปทำงานให้
พญามารเขาทั้งวันทั้งคืน เอาเรื่องอะไรไม่ได้

   เพราะอะไรล่ะ เพราะไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เกิดมาพบอย่างไรก็ไป
อย่างนั้นแหละ เพราะไม่ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้า พระ
อรหันต์ ไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ ความเห็นก็เลอะเลือนไป
เช่นนี้ นี่ไม่ได้ฝึกใจในธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ได้
ฟังธรรมของสัตบุรุษ ความเห็นก็เลอะเลือนไปเช่นนี้ เมื่อรู้จัก
หลักนี้แล้ว นี่แหละเป็นความจริงทางพุทธศาสนาตัวจริงทีเดียว
นี้เป็นข้อที่ลึกซึ้ง ฯ

   คำว่า จิต น่ะเป็นของจำเป็นที่เราต้องแก้ไขมิฉะนั้นก็บังคบ
เราใช้มันอยู่ทุกวัน ถ้าเราใช้มันไม่เป็น มันจะกลับมาข่มเหงเรา
เอาเข้า

   เราต้องตั้งใจแบบเดียวกับพระพุทธเจ้า ท่านตั้งอย่างไร ท่าน
สอนอย่างไร ท่านทำอย่างไร ท่านก็สอนว่า ท่านสอนพวกเรา
ให้อดใจ ให้อดทนคืออดใจ อดใจเวลาความโลภหรืออภิชฌา
เกิดขึ้น หยุดนิ่งเสีย รู้นี่รสชาติของอภิชฌา อยากจะได้สมบัติ
ของคนอื่นเป็นของ ๆ ตน อยากกว้างขวาง ใหญ่โตไปข้างหน้า
ต้องหยุดเสีย อดทนหรืออดใจเสียประเดี๋ยวก็ดับไป อ้ายความ
อยากนั้นดับไป ดับไปด้วยอะไร ด้วยความอดทนคืออดใจ นั่น
แหละ ความโกรธประทุษร้ายขึ้น นิ่งเสียอดเสียไม่ให้คนได้ยิน
ไม่ให้คนอื่นรู้กิริยาท่าทางทีเดียว ไม่แสดงกิริยามารยาททะเลิก
ทะลัก แปลกประหลาดอย่างผีเข้าสิงทีเดียวไม่รู้ทีเดียว นิ่งเสีย
ประเดี๋ยวหนึ่ง ความโกรธประทุษร้ายหายไป ดับไปพยาบาทนั้น
หายไป มิจฉาทิฏฐิเกิดขึ้น มิจฉาทิฏฐินั้นแปลว่าเห็นผิดล่ะ รู้
อะไรไม่จริงสักอย่าง เลอะ ๆเทอะ ๆ เกิดขึ้น หยุดเสียไม่ช้า
เท่าไรประเดี๋ยวดับไปฯ

   นั่นแหละความโลภโกรธขึ้น อภิชฌาเกิดขึ้นให้ดับไปได้
อภิชฌาเกิดขึ้นชั่วขณะ อดเสียให้ดับไปได้ ฆ่าอภิชฌาตายครั้ง
หนึ่ง นั่นเป็นนิพพานปัจจัยเชียว จะถึงพระนิพพานโดยตรงที
เดียว ความพยาบาทเกิดขึ้น ให้ดับลงไปเสียได้ ไม่ให้ออก ไม่
ให้ทะลุทะลวงออกมาทางกายทางวาจา ให้ดับไปเสีย ทางใจ
นั่นดับไปได้คราวใด คราวนั้นได้ชื่อว่า เป็นนิพพานปัจจัยเชียว
หนา สูงนัก กุศลนี้สูง จะบำเพ็ญกุศลอื่นสู้ไม่ได้ทีเดียว หยุดนิ่ง
เสีย ไม่ช้าเท่าไร ประเดี๋ยวเท่านั้น ความเห็นผิดดับไปนั่น เป็น
นิพพานปัจจัยทีเดียว นี่ติดอยู่กับขอบนิพพานเชียวหนา

   ความอดทนนี้แหละ ถ้าพระพุทธเจ้าไม่มีล่ะก็ ไม่มีในพระ
โพธิสัตว์เจ้าสร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้ ที่จะเป็นพระ
พุทธเจ้าได้ก็เป็นด้วยความอดทน นี่จะไปนิพพานได้ก็ไปด้วย
ความอดทนนี้ ถ้าอดทนไม่มีไปนิพพานไม่ได้ ฯ