ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 04, 2012, 02:58:48 pm »





ย่อมยุบ ไม่ก่อ ขว้างทิ้ง ไม่ถือเอา ซึ่งขันธ์ 5
การละนันทิในอารมณ์ รูปแบบต่างๆ (3)
ย่อมยุบ ไม่ก่อ ขว้างทิ้ง ไม่ถือเอา ซึ่งขันธ์ 5

ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้

รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบัน มีในภายในหรือภายนอกก็ตาม
หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม

รูปทั้งหมดนั้นบุคคลควรเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ว่า
“นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา” ดังนี้
( ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตรัสไว้อย่างเดียวกัน แล้วตรัสต่อไปว่า )

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกนี้ เรากล่าวว่า
เธอย่อมยุบ – ย่อมไม่ก่อ
ย่อมขว้างทิ้ง – ย่อมไม่ถือเอา
ย่อมทำให้กระจัดกระจาย – ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง
ย่อมทำให้มอด – ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง

อริยสาวกนั้น ย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งอะไร ?
เธอย่อมยุบ-ย่อมไม่ก่อ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ

อริยสาวกนั้น ย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งอะไร ?
เธอย่อมขว้างทิ้ง-ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ

อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งอะไร?
เธอย่อมทำให้กระจัดกระจาย-ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา…ซึ่งวิญญาณ

อริยสาวกนั้น ย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งอะไร ?
เธอย่อมทำให้มอด-ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา…ซึ่งวิญญาณ

           

ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้มีการสดับ เมื่อเห็นอยู่อย่างนี้
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ

เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะความคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว


อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า
“ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้

ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ ( ผู้ซึ่งหลุดพ้นแล้ว ) นี้ เราเรียกว่า
ไม่ก่ออยู่-ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบแล้ว-ดำรงอยู่
ไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้งแล้ว-ดำรงอยู่
ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นว่าทำให้กระจัดกระจายแล้ว-ดำรงอยู่
ไม่ทำให้มอดอยู่-ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้มอดแล้ว-ดำรงอยู่

ภิกษุนั้น ไม่ก่ออยู่-ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบ ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ?
เธอไม่ก่ออยู่-ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบ ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา…ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่

ภิกษุนั้น ไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้ง ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ?
เธอไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้ง ซึ่งรูป…ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่

ภิกษุนั้น ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำให้เป็นกองอยู่
แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจาย ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ?
เธอไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำให้เป็นกองอยู่
แต่เป็นอันว่าทำให้กระจัดกระจาย ซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา…ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่

ภิกษุนั้น ไม่ทำให้มอดอยู่-ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่
แต่เป็นอันว่าทำให้มอด ซึ่งอะไรแล้ว ดำรงอยู่ ?
เธอไม่ทำให้มอดอยู่-ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่
แต่เป็นอันว่าทำให้มอดซึ่งรูป ซึ่งเวทนา ซึ่งสัญญา ซึ่งสังขาร ซึ่งวิญญาณ แล้ว ดำรงอยู่

ภิกษุทั้งหลาย ! เทวดาทั้งหลาย พร้อมทั้งอินทร์ พรหม และปชาบดี
ย่อมนมัสการภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้ มาจากที่ไกลเทียว กล่าวว่า
“ข้าแต่ท่านบุรุษอาชาไนย ! ข้าแต่ท่านบุรุษผู้สูงสุด ! ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน
เพราะข้าพเจ้าไม่อาจจะทราบสิ่งซึ่งท่าน อาศัยแล้วเพ่ง ของท่าน” ดังนี้
-ขนฺธ. สํ. 17/105-110/158-164.



หน้าที่ที่พึงกระทำ สำหรับผู้ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ยังไม่หลุดพ้น
* เธอย่อมยุบ – ย่อมไม่ก่อ ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
* ย่อมขว้างทิ้ง – ย่อมไม่ถือเอา ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
* ย่อมทำให้กระจัดกระจาย – ย่อมไม่ทำให้เป็นกอง ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
* ย่อมทำให้มอด – ย่อมไม่ทำให้ลุกโพลง ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

สำหรับผู้ที่หลุดพ้นแล้ว ก็ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น เพราะได้ทำเสร็จจบไปแล้ว-ดำรงอยู่
* ไม่ก่ออยู่-ไม่ยุบอยู่ แต่เป็นอันว่ายุบแล้ว-ดำรงอยู่
* ไม่ขว้างทิ้งอยู่-ไม่ถือเอาอยู่ แต่เป็นอันว่าขว้างทิ้งแล้ว-ดำรงอยู่
* ไม่ทำให้กระจัดกระจายอยู่-ไม่ทำให้เป็นกองอยู่ แต่เป็นว่าทำให้กระจัดกระจายแล้ว-ดำรงอยู่
* ไม่ทำให้มอดอยู่-ไม่ทำให้ลุกโพลงอยู่ แต่เป็นอันว่าทำให้มอดแล้ว-ดำรงอยู่
            facebook.com / พระพุทธเจ้า