ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2012, 01:30:06 pm »



             

               สันถวชาดก
               ว่าด้วยความสนิทสนม
    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง ปรารภการบูชาไฟ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้
เรื่องราวเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วในนังคุฏฐชาดกนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเห็นชฏิลเหล่านั้นบูชาไฟ จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชฏิลทั้งหลายประพฤติตบะผิด มีประการต่าง ๆ ความเจริญในการนี้มีอยู่หรือหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความเจริญไร ๆ ในการนี้เลย แม้โบราณบัณฑิตก็สำคัญว่ามีความเจริญ เพราะการบูชาไฟ จึงบูชาไฟเป็นเวลานาน ครั้นเห็นไม่มีความเจริญในกรรมนั้น จึงเอาน้ำดับไฟ เอากิ่งไม้เป็นต้นฟาดมิได้กลับมาดูอีกต่อไป แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ มารดา บิดาเก็บไฟวันเกิดของพระโพธิสัตว์ไว้แล้ว กล่าวกะพระโพธิสัตว์ เมื่อมีอายุได้ ๑๖ ปีว่า ลูกรัก ลูกจะรับเอาไฟวันเกิด ไปบำเรอไฟในป่า หรือจักเรียนไตรเพท เพราะปกครองสมบัติ อยู่เป็นฆราวาส พระโพธิสัตว์ตอบว่า ลูกไม่ต้องการอยู่เป็นฆราวาส ลูกจักบำเรอไฟในป่ามุ่งหน้าต่อพรหมโลก แล้วจึงรับเอาไฟวันเกิด ไหว้มารดาบิดา เข้าไปในป่า อาศัยอยู่ในบรรณศาลา บำเรอไฟ

วันหนึ่งพระโพธิสัตว์นั้น ไปยังที่เชิญเลี้ยง ได้ข้าวปายาสกับสัปปิมา จึงคิดว่า เราจักถวายข้าวปายาสนี้แก่มหาพรหม จึงนำข้าวปายาสนั้นมา ตั้งใจว่าเราจะบูชาไฟ ให้พระเพลิงผู้เป็นเจ้าดื่มข้าวปายาสผสมด้วยสัปปิก่อน แล้วสาดข้าวปายาสลงไปในไฟ ข้าวปายาสมีน้ำมันมาก พอใส่เข้าไปในไฟ ไฟก็ลุกมีเปลวพุ่งขึ้นไหม้บรรณศาลา พราหมณ์ทั้งกลัวทั้งตกใจก็หนีออกไปยืนอยู่ภายนอกบ่นว่า ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว บัดนี้ บรรณศาลาของเราซึ่งทำแสนยากถูกไฟเผาเสียแล้ว จึงกล่าวคาถา แรกว่า :

[๑๗๓] สิ่งอื่นที่จะชั่วช้ายิ่งขึ้นไปกว่าความสนิทสนมเป็นไม่มี
ความสนิทสนมกับบุรุษเลวทราม เป็นความชั่วช้า
เพราะไฟนี้เราให้อิ่มหนำแล้วด้วยสัปปิและข้าวปายาส
ยังไหม้บรรณศาลาที่เราทำได้ยากให้พินาศ
.

อรรถกถาอธิบายว่า ความสนิทสนมมีสองอย่าง คือ ความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา ๑ ความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร ๑ ไม่มีสิ่งอื่นที่จะเลวทรามต่ำช้ายิ่งไปกว่าความสนิทสนมสองอย่างนั้น
ไม่มีความสนิทสนมอื่นที่เลวทรามกว่าความสนิทสนมสองอย่างนี้กับคนชั่วช้าเลวทราม เพราะไฟที่เราเลี้ยงให้อิ่มหนำด้วยสัปปิและข้าวปายาส ได้เผาบรรณศาลาที่เราสร้างไว้โดยลำบาก.
ครั้นพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว ก็คิดว่าเราไม่ต้องการด้วยสิ่งที่ทำลายมิตร จึงเอาน้ำดับไฟนั้นเสียแล้ว เอากิ่งไม้ฟาด เข้าไปสู่ภายในป่าหิมพานต์ พบแม่เนื้อตัวหนึ่งชื่อสามา เลียปากราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง จึงดำริว่าไม่มีความประเสริฐอื่น นอกจากความสนิทสนมกับสัตบุรุษแล้ว จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :

[๑๗๔] สิ่งอื่นที่จะประเสริฐยิ่งไปกว่าความสนิทสนมเป็นไม่มี
ความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เป็นความประเสริฐ
สามามฤคีเลียปากราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลืองได้ ก็เพราะความรักใคร่สนิทสนมกัน.


ครั้นพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปภายในป่าหิมพานต์ บรรพชาเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด ครั้นสิ้นชีพก็เข้าถึงพรหมโลก.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดง แล้วทรงประชุมชาดกว่า เราได้เป็นดาบสในครั้งนั้น.


จบ สันถวชาดก
-http://www.dharma-gateway.com/buddha/chadok-02-01/chadok-020202.htm