ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 10, 2012, 07:03:49 am »สถานที่ท่องเที่ยว อำเภอพนัสนิคม
-http://www.panusnikom.com/component/content/article/42-travel-to-phanatnikhom/52-2008-09-15-17-02-52-
หอพระพนัสบดี
ตั้งอยู่กลางสระน้ำเทศบาล ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองพนัสนิคม ภายในเป็นองค์พระพนัสบดีจำลอง ซึ่งสร้างเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2517 ส่วนองค์จริงกรมศิลปากรอายัดไว้เมื่อ พ.ศ. 2474 พระพนัสบดีเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มีอายุประมาณ 1,200-1,300 ปี แกะสลักจากหินดำเนื้อละเอียด มาจากอินเดีย ประทับยืนบนหลังสัตว์ประหลาดที่สร้างขึ้นจากจินตนาการ รูปร่างคล้ายนก ดวงตากลมโปนโต แก้มเป็นกระพุ้ง จะงอยปากใหญ่งุ้มแข็งแรง ปลายจะงอยปากจากบนลงล่างมีรูทะลุคล้ายกับจะแขวนกระดิ่งได้ มีเขาทั้งคู่บิดเป็นเกลียวงอเข้าหากันคล้ายเขาโค ตั้งอยู่เหนือตา ที่โคนเขามีหูสองหูอย่างหูโค มีปีกสองข้างใหญ่สั้นที่กำลังกางออก ขาทั้งสองข้างพับแนบทรวงอกยกเชิดขึ้นอย่างขาของครุฑที่กำลังเหินลม
พระพุทธมิ่งเมือง
เป็นพระรูปปางมารวิชัย แกะสลักด้วยไม้ประดู่ ลักษณะเป็นศิลปะของชาวลาว สร้างในราว พ.ศ. 2371 เป็นการสร้างขึ้นของชาวลาวอพยพที่เข้ามาอาศัยอยู่ในแถบนี้ เดิมประดิษฐานอยู่ในวัดร้าง "วัดผ้าขาวใหญ่" ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นก่อนเป็นวัดแรกในเขตตำบล พนัสนิคม ต่อมาเทศบาลเมืองพนัสนิคม ได้ปรับปรุงสถานที่และบริเวณวัดร้างนั้น พร้อมทั้งดำเนินการก่อสร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน ณ ที่ตั้งอุโบสถเดิม ปัจจุบันอยู่ใกล้กับศาลาประชาคม เทศบาลเมืองพนัสนิคม
หลวงพ่อติ้ววัดหัวถนน
ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร ตามเส้นทางพนัสนิคม สระสี่เหลี่ยมสู่ตำบลหัวถนน เป็นที่ตั้งของวัดหัวถนน พอถึงช่วงสงกรานต์ วันที่ 19 เมษายน ของทุกปี จะมีการแห่องค์หลวงพ่อติ้ว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปบูชาปางมารวิชัย แกะจากไม้แต้ว (ชาวลาวเรียกไม้ติ้ว)ไปรอบหมู่บ้าน โดยเชื่อว่าจะช่วยดลบันดาลให้ประสบกับสิ่งที่หวังนานาประการ
สระสี่เหลี่ยม
ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 6 ตำบลสระสี่เหลี่ยม เดินทางจากพนัสนิคมไปตามเส้นทางสายพนัสนิคมสระสี่เหลี่ยม ผ่านวัดหัวถนนไปสู่บริเวณสระน้ำโบราณสระสี่เหลี่ยม ซึ่งขุดลงไปในศิลาแลง ตามตำนานกล่าวว่า เป็นสระที่พระรถในเรื่องพระรถเมรีใช้เป็นที่ให้น้ำไก่ เมื่อคราวที่นำไก่ออกตีเพื่อเลี้ยงนางสิบสอง และได้เดินทางมาตีไก่ถึงบริเวณนี้
วัดโบสถ์
ตั้งอยู่ที่ริมถนนสายพนัสนิคม-ฉะเชิงเทรา ตำบลวัดโบสถ์ โดยเดินทางจาก สี่แยกพนัสนิคมไปตามถนนสุขประยูร ประมาณ 6 กิโลเมตร จะเห็นทางเข้าวัดอยู่ซ้ายมือ วัดโบสถ์เป็นวัดเก่าแก่ ภายในมีสระน้ำโบราณ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว
วัดหลวงพรหมวาส
ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดหลวง ริมถนนสายพนัสนิคม-ฉะเชิงเทรา ด้านขวาทางเส้นทางเดียวกับวัดโบสถ์ วัดนี้เคยเป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ปัจจุบันเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของอำเภอพนัสนิคม ภายในวัดมีบริเวณกว้างขวาง และร่มรื่น นอกจากนี้ยังมีค้างคาวแม่ไก่จำนวนมากหลายหมื่นตัวเกาะอยู่ตามต้นไม้
วัดใต้ต้นลาน
ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง จากวัดหลวงพรหมวาสเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับภูมิต่างๆ สันนิษฐานว่า เป็นภาพฝีมือช่างเขียนยุครัตนโกสินทร์ที่มีฝีมือเยี่ยมมาก รวมทั้งหอพระไตรปิฎกอันเก่าแก่
เมืองพระรถ
ตั้งอยู่ตำบลหน้าพระธาตุ ห่างจากตัวอำเภอพนัสนิคม ตามเส้นทางสายพนัสนิคม-ฉะเชิงเทราประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นเมืองโบราณมาแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยสุโขทัย
วัดชุมแสงศรีวนาราม
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลหมอนนาง อยู่ห่างจากตลาดพนัสนิคมผ่านตลาดทุ่งเหียง ไปตามเส้นทางหลวง หมายเลข 3284 ประมาณ 13 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตามทางลูกรังไปอีก 2 กิโลเมตร เดิมวัดนี้มีชื่อว่า "วัดใหม่ยางงาม" จุดเด่นของวัดนี้คือศาลาการเปรียญที่ใช้เป็นที่ประชุมสงฆ์ และพิธีทางศาสนา ที่ก่อสร้างโดยใช้ดินเผามาประยุกต์เป็นรูปทรงทันสมัย ชื่อ "อาคารมาบุญครอง" และโบสถ์ที่มีภาพเขียนปริศนาธรรมที่น่าสนใจมาก
ตลาดเครื่องจักสาน
ตั้งอยู่บริเวณถนนเกาะแก้ว หลังตลาดสดเทศบาลเมืองพนัสนิคม (ตลาดเก่า) ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเครื่องใช้จำเป็นในครัวเรือน ซึ่งได้พัฒนารูปแบบให้เหมาะสม สำหรับเป็นเครื่องประดับบ้านได้ด้วย ปัจจุบันมีการตั้งศูนย์ส่งเสริมฝีมือการจักสานด้วยไม้ไผ่ ตามโครงการพระราชดำริขึ้นที่บ้านคุณปราณี บริบูรณ์ ข้างโรงเจ ถนนอินทอาษา มีการเปิดอบรมและฝึกให้มีความชำนาญตามหลักการที่ถูกต้อง และมีเครื่องมือสมัยใหม่เข้ามา ช่วยทำให้ได้รูปแบบใหม่ๆและสวยงามควบคู่กันไป ที่สำคัญมีการส่งไปจำหน่ายที่ศูนย์ศิลปาชีพสวนจิตรลดา เป็นประจำ นักท่องเที่ยวผู้สนใจเกี่ยวกับการจักสาน หรือประสงค์จะขอเข้าชมสามารถติดต่อได้ที่ คุณปราณี บริบูรณ์ โทร. (038) 461313
แหล่งผลิตผลไม้ดินปั้น
สถานที่ตั้งบ้านหนองกะพง หมู่ที่ 1 และบ้านหนองพรหม หมู่ที่ 12 ตำบลนาเริก ตามเส้นทางสายพนัสนิคม-เกาะโพธิ์ (ทางหลวงหมายเลข 3246) ประมาณ 10 กิโลเมตร ผลไม้ดินปั้นคือ การปั้นดินเหนียวให้ได้รูปร่างของผลไม้ต่างๆ ขนาดย่อส่วนนำไปตากแดดจนแห้งแล้วนำไปทาสีให้เหมือนของจริง จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งสนิท เหมาะสำหรับเป็นของขวัญหรือของประดับบ้าน
http://www.panusnikom.com/component/content/article/42-travel-to-phanatnikhom/52-2008-09-15-17-02-52
.
-http://www.panusnikom.com/component/content/article/42-travel-to-phanatnikhom/52-2008-09-15-17-02-52-
หอพระพนัสบดี
ตั้งอยู่กลางสระน้ำเทศบาล ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองพนัสนิคม ภายในเป็นองค์พระพนัสบดีจำลอง ซึ่งสร้างเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2517 ส่วนองค์จริงกรมศิลปากรอายัดไว้เมื่อ พ.ศ. 2474 พระพนัสบดีเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มีอายุประมาณ 1,200-1,300 ปี แกะสลักจากหินดำเนื้อละเอียด มาจากอินเดีย ประทับยืนบนหลังสัตว์ประหลาดที่สร้างขึ้นจากจินตนาการ รูปร่างคล้ายนก ดวงตากลมโปนโต แก้มเป็นกระพุ้ง จะงอยปากใหญ่งุ้มแข็งแรง ปลายจะงอยปากจากบนลงล่างมีรูทะลุคล้ายกับจะแขวนกระดิ่งได้ มีเขาทั้งคู่บิดเป็นเกลียวงอเข้าหากันคล้ายเขาโค ตั้งอยู่เหนือตา ที่โคนเขามีหูสองหูอย่างหูโค มีปีกสองข้างใหญ่สั้นที่กำลังกางออก ขาทั้งสองข้างพับแนบทรวงอกยกเชิดขึ้นอย่างขาของครุฑที่กำลังเหินลม
พระพุทธมิ่งเมือง
เป็นพระรูปปางมารวิชัย แกะสลักด้วยไม้ประดู่ ลักษณะเป็นศิลปะของชาวลาว สร้างในราว พ.ศ. 2371 เป็นการสร้างขึ้นของชาวลาวอพยพที่เข้ามาอาศัยอยู่ในแถบนี้ เดิมประดิษฐานอยู่ในวัดร้าง "วัดผ้าขาวใหญ่" ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นก่อนเป็นวัดแรกในเขตตำบล พนัสนิคม ต่อมาเทศบาลเมืองพนัสนิคม ได้ปรับปรุงสถานที่และบริเวณวัดร้างนั้น พร้อมทั้งดำเนินการก่อสร้างวิหารเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน ณ ที่ตั้งอุโบสถเดิม ปัจจุบันอยู่ใกล้กับศาลาประชาคม เทศบาลเมืองพนัสนิคม
หลวงพ่อติ้ววัดหัวถนน
ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร ตามเส้นทางพนัสนิคม สระสี่เหลี่ยมสู่ตำบลหัวถนน เป็นที่ตั้งของวัดหัวถนน พอถึงช่วงสงกรานต์ วันที่ 19 เมษายน ของทุกปี จะมีการแห่องค์หลวงพ่อติ้ว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปบูชาปางมารวิชัย แกะจากไม้แต้ว (ชาวลาวเรียกไม้ติ้ว)ไปรอบหมู่บ้าน โดยเชื่อว่าจะช่วยดลบันดาลให้ประสบกับสิ่งที่หวังนานาประการ
สระสี่เหลี่ยม
ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 6 ตำบลสระสี่เหลี่ยม เดินทางจากพนัสนิคมไปตามเส้นทางสายพนัสนิคมสระสี่เหลี่ยม ผ่านวัดหัวถนนไปสู่บริเวณสระน้ำโบราณสระสี่เหลี่ยม ซึ่งขุดลงไปในศิลาแลง ตามตำนานกล่าวว่า เป็นสระที่พระรถในเรื่องพระรถเมรีใช้เป็นที่ให้น้ำไก่ เมื่อคราวที่นำไก่ออกตีเพื่อเลี้ยงนางสิบสอง และได้เดินทางมาตีไก่ถึงบริเวณนี้
วัดโบสถ์
ตั้งอยู่ที่ริมถนนสายพนัสนิคม-ฉะเชิงเทรา ตำบลวัดโบสถ์ โดยเดินทางจาก สี่แยกพนัสนิคมไปตามถนนสุขประยูร ประมาณ 6 กิโลเมตร จะเห็นทางเข้าวัดอยู่ซ้ายมือ วัดโบสถ์เป็นวัดเก่าแก่ ภายในมีสระน้ำโบราณ ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว
วัดหลวงพรหมวาส
ตั้งอยู่ที่ตำบลวัดหลวง ริมถนนสายพนัสนิคม-ฉะเชิงเทรา ด้านขวาทางเส้นทางเดียวกับวัดโบสถ์ วัดนี้เคยเป็นสถานที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ปัจจุบันเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของอำเภอพนัสนิคม ภายในวัดมีบริเวณกว้างขวาง และร่มรื่น นอกจากนี้ยังมีค้างคาวแม่ไก่จำนวนมากหลายหมื่นตัวเกาะอยู่ตามต้นไม้
วัดใต้ต้นลาน
ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง จากวัดหลวงพรหมวาสเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับภูมิต่างๆ สันนิษฐานว่า เป็นภาพฝีมือช่างเขียนยุครัตนโกสินทร์ที่มีฝีมือเยี่ยมมาก รวมทั้งหอพระไตรปิฎกอันเก่าแก่
เมืองพระรถ
ตั้งอยู่ตำบลหน้าพระธาตุ ห่างจากตัวอำเภอพนัสนิคม ตามเส้นทางสายพนัสนิคม-ฉะเชิงเทราประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นเมืองโบราณมาแต่สมัยทวารวดีจนถึงสมัยสุโขทัย
วัดชุมแสงศรีวนาราม
ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลหมอนนาง อยู่ห่างจากตลาดพนัสนิคมผ่านตลาดทุ่งเหียง ไปตามเส้นทางหลวง หมายเลข 3284 ประมาณ 13 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายตามทางลูกรังไปอีก 2 กิโลเมตร เดิมวัดนี้มีชื่อว่า "วัดใหม่ยางงาม" จุดเด่นของวัดนี้คือศาลาการเปรียญที่ใช้เป็นที่ประชุมสงฆ์ และพิธีทางศาสนา ที่ก่อสร้างโดยใช้ดินเผามาประยุกต์เป็นรูปทรงทันสมัย ชื่อ "อาคารมาบุญครอง" และโบสถ์ที่มีภาพเขียนปริศนาธรรมที่น่าสนใจมาก
ตลาดเครื่องจักสาน
ตั้งอยู่บริเวณถนนเกาะแก้ว หลังตลาดสดเทศบาลเมืองพนัสนิคม (ตลาดเก่า) ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเครื่องใช้จำเป็นในครัวเรือน ซึ่งได้พัฒนารูปแบบให้เหมาะสม สำหรับเป็นเครื่องประดับบ้านได้ด้วย ปัจจุบันมีการตั้งศูนย์ส่งเสริมฝีมือการจักสานด้วยไม้ไผ่ ตามโครงการพระราชดำริขึ้นที่บ้านคุณปราณี บริบูรณ์ ข้างโรงเจ ถนนอินทอาษา มีการเปิดอบรมและฝึกให้มีความชำนาญตามหลักการที่ถูกต้อง และมีเครื่องมือสมัยใหม่เข้ามา ช่วยทำให้ได้รูปแบบใหม่ๆและสวยงามควบคู่กันไป ที่สำคัญมีการส่งไปจำหน่ายที่ศูนย์ศิลปาชีพสวนจิตรลดา เป็นประจำ นักท่องเที่ยวผู้สนใจเกี่ยวกับการจักสาน หรือประสงค์จะขอเข้าชมสามารถติดต่อได้ที่ คุณปราณี บริบูรณ์ โทร. (038) 461313
แหล่งผลิตผลไม้ดินปั้น
สถานที่ตั้งบ้านหนองกะพง หมู่ที่ 1 และบ้านหนองพรหม หมู่ที่ 12 ตำบลนาเริก ตามเส้นทางสายพนัสนิคม-เกาะโพธิ์ (ทางหลวงหมายเลข 3246) ประมาณ 10 กิโลเมตร ผลไม้ดินปั้นคือ การปั้นดินเหนียวให้ได้รูปร่างของผลไม้ต่างๆ ขนาดย่อส่วนนำไปตากแดดจนแห้งแล้วนำไปทาสีให้เหมือนของจริง จากนั้นนำไปผึ่งให้แห้งสนิท เหมาะสำหรับเป็นของขวัญหรือของประดับบ้าน
http://www.panusnikom.com/component/content/article/42-travel-to-phanatnikhom/52-2008-09-15-17-02-52
.