ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 13, 2012, 07:06:45 pm »

.



เคยมีประสบการณ์ที่อัศจรรย์

สมัยก่อน พระบรมรูปฯองค์กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยังไม่มีศาลา มีเพียงแต่สัปทนกั้น

ผมจะไปถ่ายรูป(สมัยนั้นเป็นฟิมล์) ผมขอท่านขอให้ลมไม่พัด (รูปจะได้ออกมาสวย หากลมพัด ปลายสัปทนจะปลิวตามแรงลม) ปรากฎว่า ลมหยุดพัดครับ พอถ่ายรูปเสร็จเรียบร้อย ลมพัด(ค่อนข้างแรง)ต่อครับ

หากมีเวลา เข้าไปกราบองค์พระประธานและพระบรมรูปกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ดีมากครับ


.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 13, 2012, 07:32:45 am »

พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ





พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 13, 2012, 07:27:45 am »

วัดชนะสงคราม


-http://pirun.ku.ac.th/~b4927046/mon3_6.html-




วัดชนะสงครามเป็น ๑ ใน ๙ วัดที่ควรมากราบไหว้เพื่อเสริมความสิริมงคล มีความเชื่อกันว่า ผู้ที่มากราบไหว้บูชา จะ มีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง สิ่งอันควรสักการะคือพระประธานในพระอุโบสถ และสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จุดธูป ๕ ดอก เทียน ๑ เล่ม พร้อมดอกบัว ๑ ดอก

วัดชนะสงครามตั้งอยู่เลขที่ ๗๗ถนนจักรพงษ์ แขวง บางลำพู เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
วัดชนะสงครามในอดีต เป็นวัดโบราณขนาดเล็ก สร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่า “วัดกลางนา” เพราะบริเวณรอบวัดเป็นทุ่งนา ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๑ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงรวบรวมชายฉกรรจ์ชาวมอญจาก พื้นที่ต่างๆ เข้ามาเป็นกองกำลังทหารในการสู้รบกับพม่า และให้ครอบครัวทหารเหล่านั้นตั้งหลักฐานอยู่รอบวัดกลางนา พร้อมทั้งให้ก่อสร้างปฎิสังขรณ์วัดกลางนา เพื่อให้พระสงฆ์มอญจำพรรษา โดยลอกเลียนนามวัดและขนบธรรมเนียม “วัดตองปุ” ซึ่งเป็นวัดที่พระสงฆ์มอญพำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยาและลพบุรี
เมื่อบ้านเมืองสงบสุขร้างศึกกับพม่าแล้ว สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ได้บูรณะวัดตองปุใหม่ทั้งวัด ได้แก่พระอุโบสถ กุฎิสงฆ์ พร้อมทั้งถาวรวัตถุอื่น ๆ เมื่อสำเร็จ แล้วจึงน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร” เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงมีชัยชนะต่อพม่าใน การรบทั้ง ๓ ครั้ง ตราบจนทุกวันนี้

รัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดให้วัดตองปุเป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายมอญ เพื่อตอบแทนคุณความดีและเทิดเกียรติทหารมอญใน กองทัพสมเด็จกรมพระวังบวร ฯ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ สงครามที่ท่าดินแดงและสามสบ เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๙ และสงครามที่ป่าซาง นครลำปาง เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๐

นอกจากเป็นที่พำนักสงฆ์ฝ่ายมอญซึ่งมาจากชุมชนมอญ หลายแห่งแล้ว วัดชนะสงครามในอดีตยังเป็นศูนย์กลางของคนมอญ ทั้งไปมาหาสู่และเป็นที่พักแรมของคนมอญในการสัญจรไปมาย่านพื้นที่แถบลุ่ม น้ำเจ้าพระยา เช่น บางกระดี่ พระประแดง สมุทรสาคร ปากเกร็ด สามโคก และอยุธยา เมื่อเดินทางผ่านมาถึงตรงวัดชนะสงคราม ก็เข้าจอดเรือพักแรม หุงหาอาหาร แวะเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องที่อยู่ในบริเวณใกล้วัด แล้วจึงค่อยออกเรือเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทาง เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ผู้นำทหารฝ่ายมอญ รับราชการมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินจนถึงรัชกาลที่ ๔ บ้านของท่านตั้งอยู่ใกล้วัดชนะสงคราม ที่ริมกำแพงพระนครตอนถนนพระอาทิตย์ เมื่อกรมพระนเรศวรฤทธิ์ประสูติในปีเถาะ พ.ศ.๒๓๙๘ นั้น เจ้าพระยามหาโยธามีความชื่นชมโสมนัสมาก ด้วยมีหลานเป็นพระราชกุมาร เป็นหลานโดยตรงทางเจ้าจอมมารดากลิ่น ถึงทำหนังสือมอบเวนที่บ้านถนนพระอาทิตย์ถวายเป็นของขวัญสมโภช กรมพระนเรศ ฯ ตั้งแต่แรกประสูติ

ในสมัยรัชกาลที่ ๒ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ทรงนำไม้ที่รื้อพระพิมานดุสิตา ซึ่งเคยเป็นหอพระในพระราชวังบวรสถานมงคล ไปสร้างเสนาสนะไว้ที่วัดชนะสงคราม แต่ถูกระเบิดทำลายเมื่อคราวเกิดสงครามมหาเอเซียบูรพา ต่อมารัชกาลที่ ๔ โปรดให้สร้างกุฎิใหม่แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๙๖

พระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระราชอุทิศพระราชทรัพย์ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ดำเนินการต่อ การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ราชบัณฑิตยสภาดำเนินการก่อสร้าง ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพเป็นนายกราชบัณฑิตยสภา และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จสิ้น ได้มีพิธีอัญเชิญพระอัฐิจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปประดิษฐานใน พ.ศ.๒๔๗๐

ปูชนียวัตถุและเสนาสนะ
พระอุโบสถ ตั้งอยู่ตรงกลางด้านทิศตะวันออก ล้อมด้วยกำแพงแก้ว เดิมในสมัยวัดกลางนาเป็นพระอุโบสถขนาดเล็ก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทได้ขยายให้มีขนาดกว้าง ๑๓ วา ๒ ศอก ยาว ๒๐ วา ๒ ศอก สูง ๑๕ วาเศษ มีลักษณะเป็นโรงโถง มีเสารายอยู่ข้างใน ฝาผนังก่ออิฐถือปูน หน้าบันแกะสลักเป็นรูปซุ้มประตู มี นารายณ์ทรงครุฑ เบื้องบนล้อมรอบด้วยเทพชุมนุม ภายในวงล้อมลายกนก มีช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ ซุ้มประตูเป็นรูปปั้น ลายกนก บานประตูจำหลักลายกนก ลงรักปิดทองประดับกระจก ล้อมกรอบด้วยรูปข้าวหลามตัด ด้านในมีภาพจิตรกรรม เขียนสีรูปเทวดา อสูร ยักษ์ เสี้ยวกางและรูปอื่นๆ ติดพันด้วย สัตว์ประหลาด ตามจินตนาการของช่างเขียนในสมัยนั้น


พระอุโบสถ วัดชนะสงคราม

พระประธานนามว่า “พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฎฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตัก กว้าง ๒.๕๐ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร ประดิษฐานอยู่บนฐานสูง ๒ เมตร เดิมสูง ๑.๓๐ เมตร มีอัครสาวกยืนประนมมืออยู่ด้านหน้าพระประธาน ๒ องค์ เบื้องหลังพระประธานมีประภามณฑลโพธิพฤกษ์ และภาพจินตนาการ เบื้องบนมีฉัตรกั้น



พระประธาน ภายในพระอุโบสถวัดชนะสงคราม


มีเรื่องเล่ากันว่า เดิมองค์พระมีขนาดเล็ก เป็นปูนปั้นบุด้วยดีบุก ครั้นเมื่อสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯเสด็จกลับจาก สงครามเก้าทัพ ได้หยุดพัก ณ วัดแห่งนี้ ทรงถอดฉลองพระองค์ลงยันต์ (เสื้อยันต์) คลุมองค์พระถวายเป็นพุทธบูชา ช่างได้โบกปูนทับทำให้องค์พระใหญ่ขึ้นดังปัจจุบัน
กุฎิสงฆ์ แบ่งเป็น ๑๖ คณะ จัดเป็น ๔ แถว นับจาก ทิศเหนือมาทิศใต้ โดยจัดให้กุฎิแถวที่ ๑ และ ๒ สำหรับพระ สงฆ์ที่มาจากจตุรทิศ และกุฎิแถวที่ ๓ และ ๔ สำหรับพระสงฆ์ฝ่ายมอญ กุฎิที่สำคัญคือ “กุฎิเจ้าอาวาสหลังเดิม” ซึ่งปัจจุบัน ย้ายมาปลูกอยู่ภายในคณะ ๒


วัดชนะสงคราม: พระอุโบสถ, กุฏิพระสงฆ์

ลำดับเจ้าอาวาสที่ปกครองวัดชนะสงคราม ๑. พระมหาสุเมธาจารย์ พ.ศ.๒๓๒๕
๒. พระสีลวราลังการ (มรณภาพ พ.ศ.๒๔๐๐)
๓. พระสุเมธาจารย์ (ศรี) พ.ศ.๒๔๑๐-๒๔๕๕
๔. พระประสิทธิศีลคุณ (พุธ) พ.ศ.๒๔๕๕-๒๔๕๖
๕. พระครูภาวนาพิจารณ์ (ลืม) พ.ศ.๒๔๕๗-๒๔๖๔
๖. พระสุเมธมุนี (ลับ สงฺกิจโจ) พ.ศ.๒๔๖๔-๒๔๘๕
๗. พระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทัสโส) พ.ศ.๒๔๙๒-๒๕๐๘
๘. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร) พ.ศ.๒๕๐๙-ปัจจุบัน

พระบรมราชประวัติสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
บรรพบุรุษของพระองค์สืบเชื้อสายจากขุนนางไทยเชื้อสายมอญกับ เจ้าแม่วัดดุสิด เชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย มาตั้งแต่ รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.๒๑๗๒-๒๑๙๙) จนถึงพระราชบิดา คือ พระพินิจอักษร (ทองดี) เสมียนตรากรม มหาดไทยกับพระราชมารดา คือ ดาวเรือง (บางแห่งว่าหยก) เป็นครอบครัวมีฐานะมั่งคั่งได้สร้างวัดใกล้บ้านชื่อ วัดทอง (ใน รัชกาลที่ ๔ เปลี่ยนเป็น วัดสุวรรณดาราม ตามชื่อผู้สร้าง ดังเห็นว่าพ้องกับชื่อ ดาวเรือง) ทั้งสอง มีบุตรด้วยกัน ๕ คน คือ
๑. กรมพระเทพสุดาวดี (หญิง) พระนามเดิม สา สิ้น พระชนม์ในรัชกาลที่ ๑ พ.ศ.๒๓๔๒
๒. ขุนรามณรงค์ (ชื่อเดิมไม่ทราบ) ถึงแก่กรรมครั้งกรุงเก่า ภายหลังได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้ารามณรงค์
๓. กรมพระศรีสุดารักษ์ (หญิง) พระนามเดิม แก้ว สิ้นพระชนม์ ในรัชกาลที่ ๑ ก่อนพระพี่นาง ๔ เดือน
๔. สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระนามเดิม ทองด้วง พระปฐมบรมกษัตริย์ราชวงศ์จักรี พระบรมราชสมภพ พ.ศ.๒๒๗๙ เสด็จสวรรคต พ.ศ.๒๓๕๒
๕. สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระนามเดิมว่า บุญมา ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๒๘๖ (ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีกุน) เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัส บดีที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๔๖ (แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน)
สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท มีพระภคินี และพระอนุชาต่างพระมารดา อีก ๒ พระองค์คือ กรมหลวงนรินทรเทวี (หญิง) พระนามเดิม กุ ต้นสกุล นิรินทรกุล ณ อยุธยา และเจ้าฟ้ากรมหลวงจักรเจษฎา (ชาย) พระนามเดิม ลา ต้นสกุล เจษฎางกูร ณ อยุธยา
เมื่อบุญมาอายุได้ ๑๖ ปี บิดาได้นำไปถวายตัวเป็น มหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นนาย สุจินดา ตำแหน่งมหาดเล็กหุ้มแพร เมื่ออายุ ๒๐ ปี
นายสุจินดา ได้เข้าร่วมกับพระยาตากสิน ที่เมืองจันทบุรี ต่อมาได้รับตำแหน่งพระมหามนตรี เจ้ากรมพระตำรวจ ศักดินา ๒,๐๐๐ ขณะมีอายุ ๒๔ ปี และได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์ เป็นลำดับดังนี้
พ.ศ. ๒๓๑๑ เมื่อพระเจ้าตากสินไปตีก๊กเจ้าพิมายสำเร็จ ได้เลื่อนพระมหามนตรี เป็น พระยาอนุชิตราชา
พ.ศ.๒๓๑๒ เมื่อพระยาอนุชิตราชาไปตีเขมร ได้เมืองเสียมราฐกลับมาได้เลื่อนขึ้นเป็น พระยายมราช
พ.ศ.๒๓๑๓ เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินตีก๊กเจ้าพระฝางสำเร็จ โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยายมราชขึ้นเป็น เจ้าพระ ยาสุรสีห์พิษณวาธิราช ผู้สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก
พ.ศ.๒๓๒๕ เมื่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นแล้ว สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ตำแหน่งพระมหาอุปราช (วังหน้า)
ครั้น พ.ศ.๒๓๒๘ พระเจ้าปดุงแห่งพม่าแต่งทัพทั้งทางบกและทางเรือรวม ๙ ทัพ เคลื่อนเข้าไทย ๕ ทิศทาง เรียกศึก ครั้งนี้ว่าศึกเก้าทัพ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นแม่ทัพไปยับยั้งทัพพม่าทางด่านเจดีย์สามองค์ได้สำเร็จ ทั้งที่มีกำลังพลน้อยกว่าครึ่งของพม่า แสดงถึงพระปรีชาสามารถในการทหาร และยากจะหาผู้ใดเปรียบ
ตลอดพระชนม์ชีพที่ทรงรับราชการ รวมระยะเวลา ๓๕ ปี จนกระทั่งสงครามครั้งสุดท้ายกับพม่าที่เมืองล้านนา และ รวมตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์ทำสงครามถึง ๒๔ ครั้ง เพื่อกอบกู้เอกราชและสร้างความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ความยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พูดอย่างชาวบ้าน ว่า ท่านเกิดมาเพื่อรบ หรือ เกิดมาพร้อมกับดาบ แม่ทัพพม่าที่เป็นคู่รบให้สมัญญานามว่า “พระยาเสือ” ตรงกับพระนามที่ได้รับการอุปราชาภิเษก นับว่าท่านเป็นนักรบ โดยแท้

http://pirun.ku.ac.th/~b4927046/mon3_6.html

.
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2012, 09:00:07 pm »

อนุโมทนาครับ พี่หนุ่ม :13:
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2012, 05:53:40 am »

108 เส้นทางออมบุญ

ออมบุญเพื่อความสำเร็จทั้งปวง (ภาคกลาง)

วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร   กรุงเทพมหานคร

โดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

 
-http://www.moohin.com/108tripsboon/108trips006c010.shtml-
 

วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร  กรุงเทพมหานคร

 

            เมือใดที่ชีวิตมีอุปสรรคหลายๆคนได้หันหน้าเข้าวัด ใช้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ  และวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร  เป็นหนึ่งในศาสนาสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวพุทธมักจะนึกถึงในอันดับต้นๆ อาจจะเป็นด้วยชื่อของวัดที่มีความเป็นมงคลถึงชัยชนะเหนือการศึกสงครามและอริราชศัตรูในประวัติศาสตร์ไทย

 

            ตามประวัตินั้นเล่าว่า  วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหารนั้น  เป็นวัดที่มีตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา  มีชื่อเรียกว่า “วัดกลางนา” โดยสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าให้พระราชคณะฝ่ายรามัญเป็นผู้ดูแล  เพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารมอญในกองทัพของสมเด็จพรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  ในการทำศึกสงครามครั้งสำคัญต่างๆ โดยได้ใช้ชื่อเรียกวัดแห่งนี้เป็นภาษามอญต่อมาว่า “วัดตองปุ” ตามชื่อเดิมของวัดตองปุเดิมในสมัยอยุธยา

 

            มีเรื่องเล่าว่าครั้งเมื่อสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  ทรงกรีฑาทัพกลับพระนครหลังจากทรงมีชัยในสงครามเก้าทัพ  ทรงทำพิธีสรงน้ำและเปลี่ยนเครื่องทรงตามพระราชพิธีโบราณที่วัดแห่งนี้ ก่อนเสด็จเข้าพระบรมมหาราชวัง  ต่อมาภายหลังได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ขึ้นใหม่  แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดชนะสงคราม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทที่ทรงมีชัยชนะในศึกทั้ง 3 ครั้ง

 

            ปัจจุบันวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ที่มีความงดงามยิ่ง  โดยพระอุโบสถนั้นแสดงถึงเอกลักษณ์ของฝีมือของสกุลช่างวังหน้าภายในพระอุโบสถนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง  ปางมารวิชัย พระราชทานนามว่า พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชฏฐ์ มเหทธิศักดิ์ปูชนียะ  ชยันตะโคดม บรมศาสดาอนาวรญาณ

 

 

สถานที่ตั้ง

 

            ถ.จักรพงษ์  แขวงชนะสงคราม  เขตพระนคร  กรุงเทพฯ

 

ความเชื่อและวิธีการบูชา

 

            มีความเชื่อว่า หากได้มาสักการะพระประธานในพระอุโบสถ  และพระรูปของสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทที่วัดชนะสงคราม  จะทำให้มีชัยชนะเหนือศัตรู และผ่านพ้นอุปสรรคทั้งปวงได้  รวมทั้งชีวิตนั้นจะประสบผลสำเร็จสมตามความมุ่งมาดปรารถนา  ไหว้พระประธานในพระอุโบสถ  ด้วยธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม และดอกบัว  สำหรับสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท  ไหว้ด้วยธูป 5  ดอก เทียน 1 เล่ม พร้อมด้วยดอกบัว  1 ดอก

 

เทศกาล งานประเพณี

 

            เทศกาลส่วนใหญ่ขึ้นกับวันสำคัญทางศาสนา  โดยเฉพาะเทศกาลปีใหม่  วันมาฆบูชา  วันวิสาขบูชาและวันเข้าพรรษาจะเปิดให้สักการบูชารอยพระพุทธบาท

 

วันและเวลาเปิด – ปิด

 

            เปิดให้สักการะทุกวัน  ตั้งแต่เวลา  08.00 - 16.00 น

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 08, 2012, 05:46:12 am »

รักษ์วัดรักษ์ไทย : วัดบวรนิเวศวิหาร พระอารามแห่งธรรมราชา
-http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9550000120664-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
5 ตุลาคม 2555 11:03 น.    














พระอารามนาม “บวรนิเวศวิหาร” ซึ่งตั้งตระหง่านอยู่ทางทิศเหนือของพระนคร เดิมชื่อว่า “วัดใหม่” สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพย์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้น ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส วัดโบราณ ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิสรานุรักษ์ ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่หมดในสมัยรัชกาลที่ 2

เมื่อ พ.ศ.2379 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุราชาธิราส เจ้าฟ้ามงกุฏฯ(ต่อมาคือรัชกาลที่ 4) ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุประทับอยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาสในปัจจุบัน)ให้เสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเจ้าอาวาส

• วัดแรกแห่งคณะสงฆ์
ธรรมยุติกนิกาย

ในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ ทรงได้ปรับปรุงวางหลักเกณฑ์ความประพฤติ ปฏิบัติของพระสงฆ์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย โดยมีพระสงฆ์ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์เป็นอันมาก ในคราวเสด็จมาครองวัดบวรฯ ก็ได้นำเอาการประพฤติปฏิบัตินั้นมาใช้ในการปกครองพระสงฆ์ที่นี่ด้วย

ซึ่งในครั้งเดิมเรียกพระสงฆ์คณะนี้ว่า “บวรนิเวศาทิคณะ” อันเป็นชื่อสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาจึงได้ชื่อว่า “คณะธรรมยุติกนิกาย” ซึ่งแปลว่า คณะสงฆ์ผู้ซึ่งปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จึงถือว่าวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นสำนักเอกเทศแห่งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเป็นวัดแรก

นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งกำเนิดการศึกษาของคณะสงฆ์ คือ เป็นที่กำเนิดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาแห่งแรกของไทยในปัจจุบัน และเป็นที่กำเนิดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “นักธรรม” อันเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะสงฆ์ไทย

• พระอารามแห่งธรรมราชา

พุทธสถานแห่งนี้ถือเป็นพระอารามแห่งธรรมราชาโดยแท้ ด้วยเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ในราชจักรีวงศ์ ผู้ทรงเป็นธรรมราชา ที่เสด็จออกทรงผนวชทุกพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ตลอดถึงพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรงผนวชเกือบทุกพระองค์ ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ต่อเนื่องจนถึงรัชกาลปัจจุบัน

และยังเป็นที่เสด็จสถิตแห่งองค์สังฆราชา องค์ประมุขของคณะสงฆ์ไทย 4 พระองค์ คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

• พุทธสถานประดิษฐาน
พระพุทธรูปสำคัญของไทย

วัดบวรนิเวศวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญของไทย ได้แก่ พระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา ซึ่งสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไทย สมัยกรุงสุโขทัย สมัยเดียวกับพระพุทธชินราช และทั้ง 3 องค์เคยประดิษฐานอยู่ด้วยกัน ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาทคู่บนศิลาแผ่นใหญ่สมัยสุโขทัย และพระไสยา(พระนอน)สมัยสุโขทัย ที่งดงาม

• หลอมรวมสองวัด
เป็นหนึ่งเดียว

ในสมัยรัชกาลที่ 5 วัดรังษีสุทธาวาสเสื่อมโทรมลง กอปรกับมีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาอยู่น้อย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะทรงครองวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงมีพระดำริที่จะบำรุงวัดรังษีฯให้กลับรุ่งเรือง เพราะเป็นวัดที่อยู่ติดกับวัดบวรฯ เพียงแค่คูน้ำกั้น แต่ขัดด้วยเป็นคนละวัด

ครั้นถึงรัชกาลที่ 6 จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตรวมวัดรังษีฯเข้ากับวัดบวรฯ เพื่อจะได้จัดการบำรุงได้อย่างเต็มที่ วัดรังษีฯจึงได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัดบวรฯ และเรียกส่วนที่เป็นวัดรังษีฯเดิมว่า “คณะรังษี” มาจนทุกวันนี้

ส่วนถาวรวัตถุในเขตวัดรังษีฯเดิม อาทิ อุโบสถ วิหาร และพระเจดีย์ ได้รับการบำรุงรักษาให้คงดีโดยลำดับโดยท่านผู้ครองวัดบวรฯต่อๆมา

ขณะเดียวกัน วัดบวรฯเองก็ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา โดยสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เนื่องในการผนวชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร และทรงพระกรุณาโปรดให้มีการสมโภชพระพุทธชินสีห์ พร้อมทั้งฉลองพระอารามที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ด้วย

ต่อมาได้มีการบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ซึ่งได้ทรงพระกรุณาโปรดให้มีการสมโภชพระเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จไปในการพระราชพิธีฉลองสมโภช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2508

ในปี 2550 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้โปรดให้คณะกรรมการโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินการโครงการบูรณะพระเจดีย์และอาคารบริวาร เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550

เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2555 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชพระเกศรัศมีทองคำลงยา ราชาวดีพระพุทธชินสีห์ และสมโภชพระอารามที่บูรณปฏิสังขรณ์เสร็จสมบูรณ์

วัดบวรนิเวศวิหาร กำหนดจัดงานฉลองพระชันษา 100 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ระหว่างวันที่ 3 ตุลาคม 2555 – วันที่ 3 ตุลาคม 2556





(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 142 ตุลาคม 2555 โดย สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)

-http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9550000120664-
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2012, 11:08:34 pm »

วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3-


วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่าวัดกลางนา

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยามากที่สุด วัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสม โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดกลางนาเป็นวัดตองปุ และให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเทิดเกียรติทหารชาวรามัญในกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับพม่าในสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 สงครามที่ท่าดินแดงและสามสบ เมื่อ พ.ศ. 2329 และสงครามที่นครลำปางป่าซาง เมื่อ พ.ศ. 2330

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดตองปุแล้วถวายเป็นพระอารามหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบทั้ง 3 ครั้ง

วัดชนะสงครามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงเริ่มดำเนินการก่อสร้างที่บรรจุพระอัฐิเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลที่เฉลียงพระอุโบสถด้านหลังตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวงทรงพระราชอุทิศพระราชทรัพย์ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ดำเนินการ แต่การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ราชบัณฑิตยสภาดำเนินการก่อสร้าง ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นนายกราชบัณฑิตยสภาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จสิ้น ได้มีพิธีอัญเชิญพระอัฐิจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปประดิษฐานใน พ.ศ. 2470

ปูชนียวัตถุ

    1. พระประธานในพระอุโบสถ หรือ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นแล้วบุด้วยดีบุกลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร สูง 3.50 เมตร ประดิษฐานบนฐานสูง 1.30 เมตรมีพระอัครสาวกซ้ายขวานั่งประนมมือ 2 องค์ เป็นพระปูนปั้นเช่นกัน
    2. พระพุทธรูปปูนปั้นและปางมารวิชัยเช่นเดียวกับพระปฏิมาจำนวน 25 องค์ ประดิษฐานรอบฐานชุกชี
    3. เจดีย์ทรงจอมแห 2 องค์ อยู่ด้านหน้าพระอุโบสถและเจดีย์ทรงกลม 2 องค์อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ

ถาวรวัตถุ

    1. พระอุโบสถ กว้าง 13 วา 2 ศอก ยาว 20 วา 2 ศอก สูงประมาณ 10 วา
    2. ธรรมมาสน์ลายทอง สังเค็ด งานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    3. ธรรมมาสน์กับหนังสือปาฎิโมกข์สมุดไทยพร้อมตู้ 1 ชุด สังเค็ดงานพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์
    4. เทียนสลักพร้อมตู้ลายทอง 1 ชุด สังเค็ดงานพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนศรีสัชนาลัย

พระปริตรามัญ

โบราณประเพณีเก่าแก่ของไทยประการหนึ่ง ที่มีความสำคัญ และมีความหมายยิ่ง ต่อองค์พระมหากษัตริย์โดยตรง หากแต่ไม่ค่อยได้มีผู้ใดรู้จักเท่าใดนัก เนื่องจากเป็นพิธีที่ปฏิบัติกัน เฉพาะในหอศาสตราคม พระบรมมหาราชวัง และเป็นพิธีที่จัดทำขึ้นเฉพาะส่วนพระองค์เท่านั้น พิธีนี้มีความหมายอย่างยิ่งต่อพระราชกิจวัตรประจำวัน เนื่องจากเป็นพิธีที่สวดเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ทูลเกล้า ฯ ถวาย ส่วนหนึ่งสำหรับจัดเป็นน้ำสรงพระพักตร์ และน้ำโสรจสรง อีกส่วนหนึ่ง เพื่อประพรมพระที่นั่งองค์สำคัญ ในเขตพระราชฐานชั้นใน นอกจากนี้ พิธีดังกล่าว ยังมีลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งคือ จะนิมนต์เฉพาะพระสงฆ์มอญเข้ามาสวดบทสวดพระปริตรมอญเท่านั้น ความสำคัญของพิธีสวดพระปริตรรามัญ เพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ ในพระบรมมหาราชวังนั้น ปรากฏตามพระบรมราชาธิบาย ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า

"ในพระราชนิเวศน์เวียงวัง ของพระเจ้าแผ่นดินสยาม ตามแบบแผนบุรพประเพณีสืบมา พระสงฆ์รามัญ ได้สวดพระปริตรตามแบบอย่างข้างรามัญ ถวายน้ำพระพุทธมนต์และน้ำสรงพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน และเป็นน้ำสำหรับสรงพระพักตร์ ประพรมเป็นทักษิณาวัฏรอบขอบ ในจังหวัดพระราชมหามณเฑียรนี้ทุกวัน เป็นการพระราชพิธีมีสำหรับบรมราชตระกูลสืบมาแต่โบราณ พระสงฆ์อื่น ๆ แม้นมีฐานันดรยศปรากฏด้วยเกียรติคุณ คือ เรียนรู้พระคัมภีร์ที่เป็นพระราชาคณะเปรียญ หรือที่เป็นอาจารย์บอกภาวนาวิธี หรือพระสงฆ์ที่รู้ประกอบวิทยามนต์ดล เป็นที่นับถือของคนเป็นอันมากก็ดี ก็ไม่มีราชบัญญัติ ที่จะได้รับวาระผลัดเปลี่ยนมาสวดพระปริตรถวายน้ำพระพุทธมนต์เลย เหตุอันนี้ได้ทรงพระราชดำริว่า ชะรอยจะมีเหตุวิเศษอย่างหนึ่งแต่โบราณรัชกาล เป็นมหัศจรรย์อยู่อย่างไรแน่แท้ เพราะว่าปกติธรรมดาคนชาวภาษาใด ประเทศใด ก็ย่อมนับถือพระสงฆ์และแพทย์หมอต่าง ๆ ตามประเทศ ตามภาษาของตัว ในการสวดและการบุญต่าง ๆ แลการปริตรรักษาตนรักษาไข้ แต่การซึ่งมีนิยมเฉพาะให้พระสงฆ์รามัญพวกเดียว ประจำสวดปริตรอย่างรามัญ ในพระราชวังนี้ จะมีความยืนยันมา ในพระราชพงศาวดาร หรือจดหมายเหตุการต่อมาเป็นแน่นอนก็ไม่มี ”

อนึ่ง เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินประทับแรมราตรี ณ ตำบลใดเป็นทางไกล คือเสด็จไปการสงคราม หรือแทรกโพนช้างในแผ่นดินก่อน ๆ พระสงฆ์รามัญสวดพระปริตรนี้ ก็ต้องตามเสด็จพระราชดำเนินด้วยทุกครั้ง เมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้า เสด็จไปประทับอยู่กรุงลพบุรี 8 เดือน ในฤดูแล้งทุกปี ก็ได้อาราธนาพระสงฆ์รามัญวัดตองปุให้ตามเสด็จขึ้นไปตั้งอารามชื่อวัดตองปุ อยู่สวดพระปริตรถวายพระพุทธมนต์ทุกวัน อารามนั้นก็มีปรากฏจนทุกวันนี้ แลน้ำพระพุทธมนต์พระปริตรนี้ ย่อมเป็นที่เห็นว่ามีอำนาจป้องกันอุปัทวันตรายต่าง ๆ ได้จริง ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ดำรงสิริ รัตนราไชยสวริยาธิปัตย์ เถลิงถวัลยราช ณ กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยานี้ ก็ได้ทรงถือน้ำพระพุทธมนต์ประปริตรที่พระสงฆ์รามัญสวดถวายนั้น เป็นน้ำสรงพระพักตร์และน้ำสรงมาทุกพระองค์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้นิพนธ์อธิบายเพิ่มเติม ถึงราชประเพณีดังกล่าวในหนังสือ "ตำนานพระปริต" โดยแสดงให้เห็นว่า แม้ปกติจะมีการแต่งตั้งตำแหน่งพระครูปริตไทย 4 รูป และพระครูปริตมอญ 4 รูป สำหรับสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ในงานพระราชพิธีโดยทั่วไปแล้วนั้น แต่สำหรับพิธีสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ที่หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวังนั้นมีเฉพาะพระครูปริตมอญเท่านั้นเข้ามาสวดทุกวัน ดังความว่า

"แต่การสวดพระปริตทำน้ำพระพุทธมนตร์ ถือเป็นการสำคัญในราชประเพณีอย่างหนึ่ง มีตำแหน่งพระครูพระปริตไทย 4 รูป พระครูพระปริตมอญ 4 รูป สำหรับสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์ ในบรรดางานพระราชพิธีซึ่งมีสรงมุรธาภิเษก พระราชาคณะไทยรูป 1 มอญรูป 1 กับพระครูพระปริต 8 รูปนั้นสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์สำหรับสรงมุรธาภิเษกทุกงาน และโดยปกติพระครูพระปริตมอญต้องเข้ามาสวดทำน้ำพระพุทธมนตร์ที่หอศาสตราคม ทุกวัน น้ำมนตร์พระปริตนั้น ส่วนหนึ่งแบ่งส่งไปสำหรับเป็นน้ำสรงพระพักตร์และโสรจสรง อีกส่วนหนึ่งในบาตร 2 ใบให้สังฆการีถือตามพระครูพระปริต 2 รูป เข้าไปเดินประพรมด้วยกำหญ้าคาที่ในพระราชวังเวลาบ่าย 14 นาฬิกา ทุกวันเป็นนิตย์มาแต่โบราณ ”

เมื่อมีการสวดพระปริตรเป็นพิธีหลวง จึงได้ทรงแต่งตั้งพระครูพระปริตรประจำพระราชวัง สำหรับการสวดพระปริตร และสวดพระพุทธมนต์สำหรับทำน้ำมนต์ และสำหรับเสกทรายโดยเฉพาะ โดยมีพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ 4 รูป ซึ่งแต่เดิมจำพรรษาอยู่ตามวัดต่าง ๆ ที่สังกัดอยู่ในคณะรามัญนิกาย เช่น วัดบวรมงคล วัดราชคฤห์ วัดชนะสงคราม เป็นต้น ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนแปลง เป็นพระสงฆ์มอญจากวัดชนะสงครามเพียงอารามเดียว ทั้งนี้สาเหตุอาจเนื่องมาจากการจัดเวรหมุนเวียนพระแต่ละแห่งเกิดความไม่ สะดวก หรือเป็นเพราะหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีพระที่สวดพระปริตรรามัญหลบภัยสงครามไปอยู่ตามวัดในต่างจังหวัด จะเหลืออยู่ก็แต่ที่วัดชนะสงคราม จึงได้สวดวัดเดียวนับแต่นั้นมา

ตำแหน่งพระครูปริตรรามัญทั้ง 4 รูป ได้แก่

            1. พระครูราชสังวร
            2. พระครูสุนทรวิลาส
            3. พระครูราชปริต
            4. พระครูสิทธิเตชะ

ตำแหน่ง พระครูปริตรามัญทั้งหมดนี้ ปัจจุบันประจำอยู่ที่วัดชนะสงคราม รับหน้าที่เข้าไปสวดพระปริตรทำน้ำพระพุทธมนต์ ในพระบรมมหาราชวังที่หอศาสตราคมเรื่อยมา จนกระทั่งถึง พ.ศ. 2489 ปรากฏว่า พระสงฆ์ที่สามารถสวดพระปริตรามัญได้นั้น มีน้อยรูปลง ไม่พอจะผลัดเปลี่ยนกัน พระครูราชสังวร (พิศ อายุวฑฺฒโก) ผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในครั้งนั้น จึงได้มีหนังสือถึงกรมการศาสนา ขอลดวันสวดลงมา เหลือสวดเฉพาะวันธรรมสวนะเท่านั้น พิธีเริ่มแต่เวลา 13 นาฬิกา พระสงฆ์ 4 รูปพร้อมด้วยพระครูปริตรผู้เป็นประธาน 1 รูป สวดพระปริตรอย่างภาษารามัญที่หอศาสตราคม เมื่อเสร็จราว 14 นาฬิกา มีเจ้าหน้าที่ถือบาตรน้ำมนต์นำพระ 2 รูป ไปประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบหมู่พระมหามณเฑียรเป็นเสร็จพิธี ในการสวดพระปริตรามัญที่หอศาสตราคม ในชั้นเดิม มีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันระหว่างพระครูปริตทั้ง 4 รูป ในการไปสวดแต่ละวันโดยแบ่งกันรับผิดชอบตามวัน-เวลา ดังนี้

            1. พระครูราชสังวร รับผิดชอบวันธรรมสวนะขึ้น 8 ค่ำ
            2. พระครูสุนทรวิลาส รับผิดชอบรวันธรรมสวนะขึ้น 15 ค่ำ
            3. พระครูราชปริต รับผิดชอบวันธรรมสวนะแรม 8 ค่ำ
            4. พระครูสิทธิเตชะ รับผิดชอบวันธรรมสวนะแรม 15 ค่ำ

โดยที่พระครูปริตทั้ง 4 รูป จะทำหน้าที่เป็นประธานในการสวดแต่ละครั้ง ซึ่งจะมีพระมอญอีก 4 รูปมาสวดร่วมด้วย รวมเป็นสวด 5 รูปในแต่ละวัน

ปัจจุบัน พระสงฆ์มอญมีจำนวนลดน้อยลงโดยลำดับ เช่นเดียวกับพระสงฆ์ไทย สืบเนื่องจากสาเหตุหลายประการ แม้แต่ในวัดชนะสงคราม ซึ่งเป็นพระอารามหลวงที่พระสงฆ์มอญ มีบทบาทโดยตรงกับราชประเพณีสำคัญดังกล่าว ก็กำลังประสบสภาพการณ์เช่นเดียวกัน [1]
ลำดับเจ้าอาวาส

    1. พระมหาสุเมธาจารย์ พ.ศ. 2325-2363
    2. พระสุเมธาจารย์ 2363-2383
    3. หม่อมเจ้าพระสีลวราลังการ (ม.จ.สอน) พ.ศ. 2383-2410
    4. พระสุเมธาจารย์ (ศรี ป.ธ.5) พ.ศ. 2410-2455
    5. พระประสิทธิศีลคุณ (พุธ) พ.ศ. 2455-2456
    6. พระครูภาวนาพิจารณ์ (ลืม) รักษาการ พ.ศ. 2457-2459
    7. พระพิศาลสมณกิจ (ริด ป.ธ.๖) พ.ศ. 2459 (๑ เดือน ภายหลังโดนถอด)
    8. พระสุเมธมุนี (ลับ สงฺกิจโจ ป.ธ.3) พ.ศ. 2460-2485
    9. พระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทัสโส ป.ธ.8) พ.ศ. 2492-2508
    10. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสรมหาเถร ป.ธ.9) พ.ศ. 2509-11 มีนาคม พ.ศ. 2554(ถึงแก่มรณภาพ)

         ปัจจุบัน กำลังมีการสรรหาเจ้าอาวาสองค์ใหม่อยู่

การศึกษาพระปริยัติธรรม

วัดชนะสงครามเป็นวัดที่ประสบความสำเร็จสูงมากในการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม มีพระภิกษุสามเณรสอบเปรียญธรรมได้ปีละจำนวนมาก แม้แต่สามเณรผู้สอบได้เปรียญ 9 ประโยคและได้รับพระราชทานอุปสมบทในพระบรมราชานุเคราะห์ก็มีมากกว่าวัดอื่นๆ หลายวัด วัดชนะสงครามยังคงให้ ความสำคัญแก่การศึกษาปริยัติธรรมโดยเฉพาะสายภาษาบาลีอย่างคงเส้นคงวา มีชาวพุทธผู้ชำนาญภาษาบาลีจำนวนมาก เคยศึกษาที่วัดชนะสงคราม มาก่อน
แหล่งข้อมูลอื่น

    วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร (ทำเนียบวัดไทย)
    ภาพถ่ายทางอากาศของ วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

    แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
        ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย หรือ กูเกิลแมปส์
        แผนที่ จาก มัลติแมป หรือ โกลบอลไกด์
        ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′38″N 100°29′44″E / 13.760431°N 100.495597°E

    ประวัติวัดมอญ
    พิธีสวดพระปริตรรามัญ

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3

.

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2012, 11:06:32 pm »

 วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร
  พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
-http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watbowon.php-

ประวัติและที่ตั้ง ของวัดบวรนิเวศวิหาร

   วัดบวรนิเวศวิหารเป็นวัดชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บางลำภู กรุงเทพฯ แต่เดิมวัดนี้เป็นวัดใหม่อยุ่ใกล้กับวัดรังษีสุทธาวาส ต่อมาได้รวมเข้าเป็น วัดเดียวกัน โดยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างขั้นใหม่ วัดนี้ ได้รับการทะนุบำรุง และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆขึ้นจนเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่ง โดยเฉพาะในสมัย ปลายรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนา สมเด็จพระ อนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งผนวชเป็นพระภิกษุ อยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เสด็จมาครอง เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๕ ทำให้วัดนี้ได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์ และเสริมสร้างสิ่งต่างๆขึ้น

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระราชาคณะเสด็จประทับที่วัดนี้แล้วทรง บูรณะปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุต่างๆเพิ่มเติมขึ้นหลายอย่าง พร้อมทั้งได้รับพระราชทาน ตำหนักจากรัชกาลที่ ๓ ด้วย ในสมัยต่อมาวัดนี้ เป็นวัดที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เมื่อทรง ผนวชหลายพระองค์ เช่นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงทำให้วัดนี้ได้รับการทะนุบำรุงให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ในปัจจุบัน นี้ ศิลปกรรมโบราณวัตถุ และ ศิลปวัตถุ หลายสิ่งหลายอย่างอยู่ในสภาพดีพอที่จะชม และ ศึกษาได้ เป็นจำนวนไม่น้อย

ศิลปกรรมที่ควรชมภายในวัดบวรนิเวศวิหาร

   วัดบวรนิเวศวิหารนี้มีศิลปกรรม และถาวรวัตถุที่มีค่าควรแก่การศึกษาไม่น้อย แบ่งออกเป็น ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสและศิลปกรรมในเขตสังฆวาส เขตทั้งสองนี้ถูกแบ่งโดย กำแพง และ คูน้ำมีสะพานเชื่อมถึงกันเดินข้ามไปมาได้สะดวก ศิลปกรรมที่สำคัญ ของวัดนี้ที่น่า สนใจ มีดังนี้

ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาส

   ศิลปกรรมในเขตพุทธาวาสที่สำคัญเริ่มจากพระอุโบสถซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สร้างวัดในรัชกาลที่ ๓ แต่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมต่อมาอีกหลายครั้ง รูปแบบของพระอุโบสถ ที่สร้างตามแบบ พระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีมุขหน้ายื่นออกมา เป็นพระอุโบสถและมีปีกยื่นออก ซ้ายขวา เป็นวิหารมุขหน้าที่เป็นพระอุโบสถมีเสาเหลี่ยมมีพาไลรอบซุ้มประต?หน้าต่าง และ หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้นพระอุโบสถหลังนี้ได้รับการบูรณะในสมัย รัชกาลที่ ๔ โดย โปรดฯ ให้มุงกระเบื้องเคลือบลูกฟูก ประดับ ลายหน้าบันด้วยกระเบื้องเคลือบสี และโปรดฯให้ ขรัวอินโข่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภายในพระอุโบสถ ส่วนภายนอกได้รับการบูรณะ บุผนัง ด้วยหินอ่อนทั้งหมด เสาด้านหน้าเป็นเสาเหลื่ยมมีบัวหัวเสาเป็นลายฝรั่ง ซุ้มประตูหน้าต่างปิด ทองประดับกระจก ด้านหน้ามีใบเสมารุ่นเก่าสมัยอู่ทองทำด้วยหินทรายแดงนำมาจากวัดวังเก่า เพชรบุรี ส่วนใบเสมาอื่นทำแปลกคือติดไว้กับผนังพระอุโบสถแทน การตั้งไว้บนลานรอบ พระอุโบสถ หลังพระอุโบสถเป็นเจดีย์กลทสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาได้หุ้มกระเบื้องสีทอง ใน รัชกาลปัจจุบันพระอุโบสถหลังนี้มีรูปแบบที่มีลักษณะเฉพาะต่างไปจากพระอุโบสถทั่วไป เพราะเป็นการผสมกันระหว่างศิลปะแบบพระราชนิยมของรัชกาลที่ ๓ ซึ่งกระเดียดไปทาง ศิลปะจึนและศิลปะแบบรัชกาล ที่ ๔ ซึ่งเป็นศิลปะที่มีอิทธิพลฝรั่ง จึงทำให้พระอุโบสถหลังนี้ีมีลักษณะผสมของอิทธิพลศิลปะต่างชาติทั้งสองแบบ แต่ทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของศิลปะ ไทย เมื่อโดยรวมแล้วพระอุโบสถหลังนี้ มีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่งดงามแปลกตาไม่น้อยทีเดียว ศิลปกรรมภายในพระอุโบสถ นอกเหนือไปจากพระพุทธรูปแล้วก็มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯให้ขรัวอินโข่งเขียนขึ้น เป็นงานจิตรกรรม ฝาผนัง ที่มีค่ายิ่ง เพราะเป็นรูปแบบของ จิตรกรรมหัวเลี้ยวหัวต่อของการรับอิทธิพลยุโรป หรือ ฝรั่งเข้า มาผสมผสานกับแนวคิดตามขนบนิยมของไทย ภาพจิตรกรรมฝาผนังนี้ สันนิษฐานว่าเขียน ตั้งแต่สมัยที่ พระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏฯเข้าครองวัด โดยเขียนบนผนังเหนือ ประตูหน้าต่าง ขึ้นไป มีอยู่ ๑๖ ตอน เริ่มต้นจากทางหลังของผนังด้านซ้ายทางทิศตะวันตก นับเป็น ผนังที่ ๑ วนทักษิณาวัตพระพุทธรูปในพระอุโบสถตามลำดับ มีคำจารึก พรรณาเขียน ไว้ที่ช่องประตู หน้าต่างรวม ๑๖ บาน

    นอกจากภาพจิตรกรรมฝาผนังแล้วที่เสาพระอุโบสถเขียนภาพแสดงปริศนาธรรมเปรียบด้วย น้ำใจคน ๖ ประเภทเรียกว่า ฉฬาภิชาติ ด้วย ภายในพระอุโบสถนี้ มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ ๒ องค์ คือ พระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อ โลหะขนาดใหญ่หน้าพระเพลากว้าง ๙ ศอก ๑๒ นิ้ว กรมพระราชวังบวรฯ ผู้สร้างวัดได้ทรง อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน เพชรบุรี โดยรื้อออกเป็น ท่อนๆ แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่ สันนิษฐานว่าเดิมเป็นพระทวาราวดี พระศกเดิมโต พระยาชำนิหัตถการ นายช่างกรม พระราชวังบวรฯ เลาะออกทำพระศกใหม่ด้วยดินเผาให้เล็กลง ลงรักปิดทองมีพระสาวกใหญ่ นั่งคู่หนึ่งเป็นพระปั้นหน้าตัก ๒ ศอก

  ส่วนพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งคือ พระพุทธชินสีห์ ซึ่งอัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตน มหาธาตุ พิษณุโลก โดยอัญเชิญมาทั้งองค์เมื่อฤดูน้ำปี พ.ศ.๒๓๗๓ และ ในปีต่อมาได้ปิดทอง กาไหล่ พระรัศมี ฝังพระเนตรใหม่ และตัดพระอุณาโลม พระพุทธรูปองค์ นี้ เป็นพระพุทธรูป ที่งดงามอย่างยิ่ง องค์หนึ่ง ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลม ขนาดใหญ่สร้างสมัยรัชกาลที่ ๔ หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน รอบฐานพระเจดีย์มี ศาลาจีนและซุ้มจีน หลังเจดีย์ออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน ข้างในมีภาพเขียน ฝีมือช่างจีน เทคนิค และฝีมืออยู่ในเกณฑ์ดี

ถัดเก๋งจีนเป็น วิหารพระศาสดา เป็นวิหารใหญ่แบ่งเป็น ๒ ห้อง ด้านหลัง เป็นพระพุทธไสยาสน์ สมัยสุโขทัย ฝาผนังมีจิตรกรรมเรื่องพระพุทธประวัติและชาดก ด้านหน้าประดิษฐานพระศาสดา รัชกาลที่ ๔ โปรดฯให้อัญเชิญมาจากวัดสุทัศน์เทพวราราม

   ในบริเวณพุทธาวาสนั้นมีศิลปกรรมน่าสนใจอีกหลายอย่างเช่น พระพุทธบาทจำลอง ซึ่งเป็น พระ พุทธบาทโบราณสมัยสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ในศาลาข้าง พระอุโบสถพลับพลา เปลื้อง เครื่อง สร้างเป็นเครื่องแสดงว่าวัด นี้รับพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตรา ที่พระเจ้าแผ่นดิน เสด็จ เปลื้องเครื่องทรงในศาลานี้ก่อนเสด็จเข้าวัด

   นอกจากนี้ที่ซุ้มประตูด้านหน้าพระอุโบสถบานประตูมีรูปเซี่ยวกาง แกะสลักปิดทอง เป็นฝีมือ ช่างงดงามทีเดียว

ศิลปกรรมในเขตสังฆวาส

   ศิลปกรรมในเขตสังฆวาสส่วนใหญ่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ เพื่อเป็น ตำหนักที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่ผนวชในวัดนี้ เริ่มจากตำหนักปั้นหยา ซึ่งเป็นตึกฝรั่ง ๓ ชั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างพระราชทานพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฏ เมื่อทรง อาราธนาให้เสด็จมาประทับที่วัดนี้ และประทับอยู่ที่ตำหนักปั้นหยาตลอดเวลาผนวช ต่อมา ตำหนักนี้ได้เป็นที่ประทับของเจ้านายหลายพระองค์ที่ผนวชและประทับอยู่ที่วัดนี้ รูปทรงของ ตำหนักเป็นตึกก่ออิฐถือปูนหน้าจั่วประดับด้วยกระเบื้องเคลือบอยู่ซ้ายมือของกลุ่ม ตำหนัก ต่างๆ

   ถัดจากตำหนักปั้นหยาคือ ตำหนักจันทร์ เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างด้วยทรัพย์ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจันทราสรัทธาวาส กรมขุน พิจิตเจษฐฃฏาจันทร์ถวายเป็นที่ประทับของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระวชิรญาณวโรรส ในบริเวณตำหนักจันทร์ด้าน ทิศตะวันออกติดกับรั้วเหล็กมีศาลาเล็กๆ มีพาไล ๒ ด้าน ฝาล่องถุนก่ออิฐถือปูนโถงเป็นเครื่องไม้ หลังคามุงกระเบื้อง ศาลาหลังนี้เดิมเป็นพลับพลา ที่ ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง สร้างไว้ในสวนพระราชวังเดิม โปรดให้ย้ายมาปลูกไว้ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๒ ในกลุ่มพระตำหนัก นี้ ยังมี พระตำหนักเพชร อีกตำหนักหนึ่งอยู่ขวามือเมื่อเข้าจากหน้าวัด เป็นตำหนัก สองชั้นแบบ ฝรั่ง มุขหน้าประดับด้วยลวดลายไม้ฉลุงดงาม ตำหนักนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างถวายเป็นท้องพระโรง ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส อย่างไรก็ตามศิลปกรรมและถาวรวัตถุของวัดบวรนิเวศวิหารยังมีอีกหลายอย่างส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ ในสภาพดี

มหามกุฏราชวิทยาลัย

   ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2436 โดยพระบรมราชานุญาตในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามดำริพระสมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาพระวชิรญาณวโรรส เพื่อเป็นสถานศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ได้ทรงประกาศตั้งสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาขึ้นเมื่อวันที 30 ธันวาคม 2488 และมหาเถรสมาคมได้รับรองสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2517 เป็นการศึกษาที่ไม่เก็บค่าเล่าเรียน

    การศึกษาระดับปริญญาตรีแบ่งเป็น 4 คณะคือ คณะศิลปศาสตร์ คณะศาสนาและปรัชญา คณะสังคมศาสตร์ และคณะ ศึกษาศาสตร์ พระภิกษุสามเณรที่จะเข้ารับศึกษาในระดับปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิตจะต้องมีความรู้เปรียญ 4 ประโยค นักธรรมเอก หรือเทียบเท่า ม.ศ.5 หรือ ม.6 สายปรยัติ กำหนดเวลาเรียน 7 ปี แบ่งเป็นชั้นบุรพศึกษา 1 ปี เตรียมปี 1 และ เตรียมปี 2 รวม 3 ปี ทั้งนี้เฉพาะผู้ที่ไม่มีคุณวุฒิเทียบเท่า ม.ศ.5 หรือ ม.6 ส่วนชั้นนักศึกษา 4 ปี และต้องออกปฏิบัติงาน 1 ปี รวมเป็น 8 ปี จึงจะจบหลักสูตร และต้องสอบได้เป็นเปรียญ 5 ประโยคด้วยจึงจะได้รับปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต
   ส่วนการศึกษาระดับปริญญาโทศาสนศาสตรมหาบัณฑิตเริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2531 เป็นต้นมา

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน ป.ธ.๙)
- ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) -
- เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต -
- เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร -

http://www.dhammathai.org/watthai/bangkok/watbowon.php
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2012, 11:04:39 pm »

วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัดบวรนิเวศวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ได้ทรงมีพระดำริโปรดให้สร้างขึ้น เป็นที่ประทับของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกและเป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ประวัติ

วัดบวรนิเวศวิหาร หรือ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ (สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ) ได้ทรงมีพระดำริโปรดให้สร้างขึ้น แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน วัดบวรนิเวศวิหาร สร้างขึ้นด้วยศิลปะไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์ คือ พระประธาน อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน เพชรบุรี และ พระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 หุ้มกระเบื้องสีทอง ในรัชกาลปัจจุบัน รอบฐานพระเจดีย์มี ศาลาจีนและซุ้มจีน ถัดออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง

ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเคยผนวช ณ วัดนี้เมื่อยังทรงดำรงพระราชอิสริยยศที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร


ระหว่างทรงผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร โดยทรงเสด็จพระราชดำเนินหล่อพระพุทธรูป วันที่ 5 ธันวาคม 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่าพระพุทธนาราวันตบพิตร

ลำดับเจ้าอาวาส

นับตั้งแต่ใช้ชื่อวัดว่าวัดบวรนิเวศวิหาร พระอารามแห่งนี้มีเจ้าอาวาสมาแล้วทั้งสิ้น 6 พระองค์/รูป[2] ได้แก่
ลำดับที่    รายนาม    เริ่มวาระ    สิ้นสุดวาระ
1    สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ หรือ พระวชิรญาณเถระ    พ.ศ. 2380    พ.ศ. 2394
2    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์    พ.ศ. 2394    พ.ศ. 2435
3    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส    พ.ศ. 2435    พ.ศ. 2464
4    สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์    พ.ศ. 2464    พ.ศ. 2501
5    พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)    พ.ศ. 2501    พ.ศ. 2504
6    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก    พ.ศ. 2504    ยังดำรงตำแหน่ง
อ้างอิง

    ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๘๔
    ^ วัดบวรนิเวศวิหาร, กรุงเทพฯ:มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2546, หน้า 13-32


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 07, 2012, 10:48:15 pm »

ด้านหลังพระอุโบสถครับ










สิ่งที่ไม่ควรทำในวัด






มีศาลเจ้าทางจีนด้วยครับ












ขอขอบคุณที่ติดตามอ่านจนจบ  สวัสดีครับ

.