ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 19, 2012, 09:03:43 am »

ครับพี่หนุ่ม สิ่งที่เรามีเหนือชนชาติอื่นๆก็คือ ความนุ่มละไมในจิตใจ ในประเพณี ในศาสนา ในวัฒนธรรม
อยากไปดูของจริงจังเลยครับ ประเพณีรับบัวโยนบัว  ผมก็พวกติดบ้านซะด้วยสิ 55+

อนุโมทนาครับพี่หนุ่ม
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 18, 2012, 06:06:55 am »

.
ย้อนตำนานประเพณีรับบัวโยนบัว วิถีท้องถิ่นชาวบางพลี สมุทรปราการ

-http://www.thaipost.net/tabloid/020912/61814-


ประเพณีรับบัวโยนบัวเป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมิได้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่ยุคใดสมัยใด มีข้อสันนิษฐานความเป็นมาจากผู้เฒ่าผู้แก่บางพลีว่า เกิดขึ้นประมาณ 80 ปีมาแล้ว เพื่อเป็นการนมัสการหลวงพ่อโต เล่ากันว่าเป็นพี่น้องกับหลวงพ่อโสธรแปดริ้ว และหลวงพ่อวัดบ้านแหลมสมุทรสงคราม

ตำนานกล่าวว่า หลวงพ่อโตลอยตามน้ำเจ้าพระยา มาหยุดที่ปากคลองสำโรงลอยอยู่แถวๆ นั้น เป็นการแสดงเจตจำนงอันแน่วแน่ว่าจะจำพรรษาอยู่ละแวกนั้นอย่างแน่นอน ชาวบ้านจึงช่วยกันชักรั้งนิมนต์เข้ามาจนถึงวัดบางพลีใหญ่ใน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปัจจุบัน แล้วอัญเชิญขึ้นไว้ในโบสถ์ หลวงพ่อโตจึงเป็นหลวงพ่อของชาวบางพลีตั้งแต่นั้นมา

หลังจากนั้นทุกๆ ปี ชาวบางพลีจะนิมนต์หลวงพ่อขึ้นเรือ แล่นไปให้ชาวบ้านได้นมัสการ โดยครั้งแรกทำเป็นรูปจำลองโดยเอาไม้ไผ่มาสานเป็นโครงรูปองค์พระพุทธรูป ปิดหุ้มด้วยกระดาษทอง ชาวบ้านจะพากันคอยนมัสการหลวงพ่ออยู่ริมคลอง ต่างก็จะเด็ดดอกบัวริมน้ำ แล้วโยนเบาๆ ขึ้นไปบนเรือหลวงพ่อ
การรับบัวโยนนี้แต่เดิมคงเล่นกันมาก่อนที่จะกลายเป็นประเพณีนมัสการหลวงพ่อ โต เพราะตามคำเล่าต่อๆ กันมาเล่าว่า ในสมัยก่อนท้องที่อำเภอบางพลี เป็นแหล่งที่มีดอกบัวหลวงชุกชุมและมีมากในฤดูฝน ดังนั้น การบำเพ็ญกุศลในเทศกาลออกพรรษา ประชาชาชนต่างท้องที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับอำเภอเมืองบางพลี โดยเฉพาะชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการกับชาวอำเภอพระประแดง จึงพากันไปหาดอกบัวหลวงในท้องที่อำเภอบางพลี

ในสมัยแรกๆ คงจะไปเที่ยวเก็บกันเองตามลำคลองหนองบึงต่างๆ แต่ในสมัยต่อมา ชาวบางพลีได้เก็บหรือจัดเตรียมดอกบัวหลวงไว้สำหรับแจกชาวต่างบ้านที่ต้องการ โดยไม่คิดมูลค่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่กันหรือเพื่อหวังบุญกุศลร่วมกัน อันกลายมาเป็นประเพณีที่เรียกว่า "รับบัว"

แต่ปัจจุบันนี้ชาวต่างท้องที่ดูจะไม่สนใจที่จะไปหาดอกบัวหลวงที่ท้องอำเภอ บางพลีเหมือนสมัยก่อน ทางราชการอำเภอบางพลีก็คงจัดให้มีการรับบัวขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริม ประเพณีดั้งเดิมให้คงอยู่ต่อไป

ในสมัยก่อนนั้นในแถบอำเภอบางพลี มีประชาชนอยู่อาศัยเป็น 3 พวก คือ คนไทย รามัญ และคนลาว แต่ละพวกก็มีหัวหน้าควบคุมดูแล และทำมาหากินต่างกัน ต่อมาทั้ง 3 กลุ่มได้ปรึกษาที่จะร่วมแรงร่วมใจกันหักร้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อ ทำไร่และทำสวนต่อ และเมื่อถางป่ามาถึงทาง 3 แยก ซึ่งตกลงกันจะแยกทำมาหากินไปคนละทาง

พวกรามัญที่แยกกันไปทำมาหากินทางคลองลาดกระบังทำอยู่ได้ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผล เพราะนกและหนูชุกชุมรบกวน จนพืชผลเสียหายมาก เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผล พวกรามัญก็ปรึกษากันเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมคือปากลัด และเริ่มอพยพในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปได้เก็บดอกบัวในบึงบริเวณนั้นไปมากมาย คนไทยที่คุ้นกับพวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด และชักชวนคนไทยที่รักและสนิทชิดชอบกันว่าในปีต่อไป พอถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้คนไทยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตด้วย แล้วพวกตนจะมารับ

ในปีต่อมา พอถึงกำหนดเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยก็ช่วยกันเก็บดอกบัว รวบรวมไว้ที่บางพลีใหญ่ในตามคำขอร้องของพวกรามัญ พวกรามัญก็มารับดอกบัวไปทุกปี
พวกรามัญที่มารับดอกบัวนั้นมาโดยเรือขนาดใหญ่จุคน 50-60 คน โดยจะมาถึงตี 3-4 และเมื่อมาถึงวัดก็ตีฆ้องร้องรำทำเพลงและการละเล่นต่างๆ อย่างสนุกสนาน พวกที่มาคอยรับพลอยเล่นกันสนุกสนานไปด้วย และคนไทยจึงได้เตรียมอาหารคาวหวานไปเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยง อาหารกัน เมื่ออิ่มหนำสำราญดีแล้วพวกรามัญนำดอกบัวไปบูชาหลวงพ่อโต และนำน้ำมนต์ของหลวงพ่อกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนดอกบัวที่เหลือพวกรามัญก็นำกลับไปบูชาพระคาถาพัน ที่วัดของตนต่อไป นี่เป็นที่มาของประเพณีรับบัวที่รับรู้และปฏิบัติสืบต่อกันมา

สำหรับประชาชนทั่วไป ทั้งชาวต่างบ้านและชาวบางพลีเองก็จะไปเที่ยวดูงานโยนบัวและรับบัว และเที่ยวดูการละเล่น หรือกิจกรรมต่างๆ ที่ทางอำเภอจัดขึ้น เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินเท่านั้น พอถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการและชาวอำเภอพระประแดงจะชักชวนพวกพ้อง เพื่อนฝูงพากันลงเรือเป็นเรือพายบ้าง เรือแจวบ้าง ลำเล็กบ้าง ลำใหญ่บ้าง และต่างก็นำเครื่องดนตรีต่างๆ ไปด้วย เช่น ซอ ปี่กระจับ โทน รำมะนา โหม่ง กรับ ฉิ่งฉาบ เป็นต้น แล้วแต่ใครจะถนัด หรือมีเครื่องดนตรีชนิดไหน พายกันไป แจวกันไป ร้องรำทำเพลงกันไป เป็นที่สนุกสนาน ตลอดระยะทาง และเป็นเช่นนี้ตลอดคืน ซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำแม่น้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่นๆ เข้าคลองสำโรงและมุ่งไปยังหมู่บ้านบางพลีใหญ่

สำหรับชาวบางพลีก็จะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็จะต้องหาดอกบัวหลวง สำหรับไว้มอบให้แก่ชาวต่างบ้านที่ต้องการมิตรต่างบ้านมาเยือนในโอกาสเช่น นั้นก็แสดงมิตรจิตต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกัน ตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ส่วนพวกที่มารับบัว คนใดที่รู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพากันขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้

ต่างก็จะสนุกสนานร้องรำทำเพลงและรับประทานสุรา อาหาร ร่วมกันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ชาวต่างบ้านก็จะนำเรือของตนไปตามลำคลองสำโรง และไปขอรับบัวจากชาวบ้านบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และรับดอกบัวก็จะกระทำอย่างสุภาพคือส่งและรับกันมือต่อมือหรือก่อนจะ ให้กันยกมือพนมอธิษฐานเสียก่อน ระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวบ้านต่างที่สนิทสนมคุ้นเคยกันนี้เอง เมื่อนานเข้าก็ค่อยกลายเป็นความนิยมกันเป็นการทั่วไปการให้และรับกันแบบมือ ต่อมือจึงเปลี่ยนไปจนมีการนำมาพูดในตอนหลังว่า "โยนบัว" แทนคำว่า "รับบัว"

การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดลงเมื่อเวลา 08.00 น. หรือ 09.00 น. และชาวต่างบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับนี้จะมีการแข่งเรือกันไปด้วย แต่เป็นการแข่งกันโดยไม่มีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภท หรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใคร เมื่อไร ที่ใด ก็แข่งขันกันไป หรือเปลี่ยนคู่แข่งขันไปเรื่อยๆ ตามแต่จะสะดวกหรือตกลงกัน

ดอกบัวที่ชาวต่างบ้านได้รับจากชาวบางพลีนั้นก็จะนำไปบูชาพระในวันเทศกาลออก พรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน ส่วนใหญ่จะนำไปบูชาพระสมุทรเจดีย์ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองสมุทรปราการ.


.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 18, 2012, 06:04:47 am »

.
-http://www.prapayneethai.com/th/tradition/center/view.asp?id=041-

ประเพณีท้องถิ่น > ภาคเหนือ > ภาคกลาง > ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ > ภาคใต้ I

ชื่อ    ประเพณีรับบัว
ภาค    ภาคกลาง
จังหวัด    สมุทรปราการ

ช่วงเวลา เริ่มตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา

ความสำคัญ
ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีประจำท้องถิ่น ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมิได้ปรากฏหลักฐานว่ามีมาแต่ยุคใดสมัยใด
ประเพณีรับบัวนี้มีข้อสันนิษฐานความเป็นมาได้ ๓ ประการ

ประการแรก
ในสมัยก่อนในแถบอำเภอบางพลี มีประชากรอาศัยอยู่ ๓ พวกคือ คนไทย รามัญ และลาว แต่ละพวกจะมีหัวหน้าคอยควบคุมดูแลและทำมาหากินในอาชีพต่างๆกัน ซึ่งชาวรามัญในสมัยนั้นจะขุดบ่อเลี้ยงปลาเป็นอาชีพต่อมาทั้งคนไทย รามัญและลาว ทั้ง ๓ พวกก็ปรึกษาหารือกันว่าสมควรจะช่วยกันหักล้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อทำไร่ทำสวนต่อไป บริเวณนี้แต่ก่อนเต็มไปด้วยป่าพงอ้อ พงแขมและไม้นานาชนิดขึ้นเต็มไปหมด ฝั่งทางตอนใต้ของลำคลองสำโรงก็เต็มไปด้วยป่าแสม น้ำก็เป็นน้ำเค็ม ซึ่งเต็มไปด้วยอันตรายจากสัตว์ร้ายนานาชนิดทางฝั่งตอนเหนือก็เต็มไปด้วยบึง ขนาดใหญ่ ภายในบึงแต่ละบึงก็อุดมสมบูรณ์ไปด้วยบัวหลวงมากมาย พวกคนไทย รามัญและลาว ก็พยายามหักล้างถางพงเรื่อยมาจนถึงทางแยก ๓ ทางคือ ทาง
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นคลองสลุด ทางเหนือเป็นคลองชวดลากข้าว และทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเป็นคลองลาดกระบัง คนทั้ง ๓ พวกก็ตกลงกันว่าควรจะแยกย้ายกันทำมาหากินคนละทางจะดีกว่าเพื่อที่จะได้รู้ ภูมิประเทศว่าด้านไหนจะทำมาหากินได้คล่องดีกว่ากัน เมื่อตกลงดังนั้นแล้วจึงแยกทางกันไปทำมาหากิน โดยพวกลาวไปทางคลองสลุด ไทยไปทางคลองชวดลากข้าว พวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง พวกรามัญทำมาหากินอยู่ประมาณ ๒-๓ ปี ก็ไม่ได้ผลเพราะนก หนู ชุกชุมรบกวนพืชผลต่างๆจนเสียหายมากมาย เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผลพวกรามัญก็ปรึกษาเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมที่ปากลัด (พระประแดง) เริ่มอพยพกันในตอนเช้ามืดของเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ก่อนไปก็ได้ไปเก็บดอกบัวในบึงบริเวณนี้มากมาย คนไทยที่คุ้นเคยกับ
พวกรามัญก็ไต่ถามว่าเก็บดอกบัวไปทำไมมากมายเพียงนี้พวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไป บูชาพระคาถาพัน (เทศน์มหาชาติ) ที่ปากลัด และได้สั่งเสียกับคนไทยที่รักและสนิทสนมชิดชอบว่าในปีต่อมาเมื่อถึงเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ ให้ช่วยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่วัดหลวงพ่อโตนี้ด้วยพวกตนจะมารับ ด้วยนิสัยคนไทยนั้นชอบโอบอ้อมอารีรักพวกพ้องจึงตอบตกลง จากนั้นพวกชาวรามัญก็นมัสการหลวงพ่อโตพร้อมทั้งขอน้ำมนต์หลวงพ่อโตไปเพื่อ เป็นศิริมงคลและลากลับถิ่นฐานเดิมที่ปากลัดและนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพัน
ปีต่อมาพอถึงกำหนดเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ คนไทยบางพลีก็รวบรวมดอกบัวไว้ที่วัดบางพลีใหญ่ตามคำขอร้องของชาวรามัญ พวกชาวรามัญก็จะมารับดอกบัวทุกปี การมาจะมาในเวลากลางคืน มาโดยเรือขนาดจุ ๕๐-๖๐ คน จะมาถึงวัดประมาณตี ๑-๔ ของทุกครั้งที่มาและมีการตีฆ้องร้องเพลงตลอดทางอย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งมีการละเล่นต่างๆในเรือ ผู้ที่คอยต้อนรับก็พลอยสนุกสนานไปด้วยไมตรีจิตอันดียิ่ง คนไทยได้ทำอาหารคาวหวานต่างๆเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหาร กันเมื่ออิ่มหนำสำราญแล้วก็นำดอกบัวไปมนัสการหลวงพ่อโต จากนั้นก็นำดอกบัวกลับไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด

ประการที่สอง
ชาวรามัญที่ปากลัด (พระประแดง) มาทำนาอยู่ที่อำเภอบางพลี (ตำบลบางแก้ว) ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่าเป็นชาวรามัญที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย พร้อมกับเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนีย์) ในสมัยกรุงธนบุรี การอพยพของชาวรามัญครั้งนี้เนื่องจากพระเจ้ามังระ คิดจะมาตีกรุงธนบุรี จึงเกณฑ์พวกรามัญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาช่วยรบ ชาวรามัญนั้นได้รับการกดขี่ข่มเหงจิตใจถูกฆ่าลูกเมีย ชาวรามัญจึงกบฏต่อพม่าโดยรวมตัวกันไปตีพม่าแต่สู้พม่าไม่ได้ ก็หนีมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารบารมีต่อพระเจ้าตากสินมหาราชและได้นำเอาปี่พาทย์ มอญเข้ามาด้วยเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พวกรามัญไปตั้งภูมิลำเนาที่ปากเกล็ด แขวงนนทบุรี และปากโคก แขวงปทุมธานี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
มหาราชทรงโปรดเกล้าฯให้ย้ายครอบครัวชาวรามัญและพระยาเจ่ง มาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์ (พระประแดง) ในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ และต่อมาชาวรามัญได้ทำความดีความชอบได้รับพระราชทานที่นาที่บางพลี จึงเป็นเหตุให้ชาวรามัญมาทำนาที่บางพลี ชาวรามัญนั้นจะมาเฉพาะฤดูทำนา เมื่อเสร็จสิ้นการทำนาก็จะกลับที่ปากลัด เมื่อออกพรรษาชาวปากลัดที่มีเชื้อสายรามัญส่วนใหญ่เป็นผู้เคร่งครัดในพระ พุทธศาสนาก็จะกลับไปทำบุญที่วัดบ้านของตน เมื่อกลับก็จะไปเก็บดอกบัวที่ตำบลบางพลีใหญ่ซึ่งมีมากมายในสมัยนั้นไปประกอบ เป็น "ดอกไม้ธูปเทียน" ในการทำบุญที่มีการเทศน์คาถาพันส่งท้ายพรรษา ครั้งแรกก็เก็บกันเองต่อมาชาวอำเภอบางพลีเห็นว่าชาวรามัญมาเก็บดอกบัวทุกปี ในปีต่อๆมาจึงเก็บดอกบัวเตรียมไว้ให้ตามนิสัยคนไทยที่ชอบเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ระยะแรกก็ส่งให้กับมือมีการไหว้ขอบคุณ ต่อมาเกิดความคุ้นเคยถ้าใกล้ก็ส่งมือต่อมือ ถ้าไกลก็โยนให้จึง
เรียกว่า "รับบัว โยนบัว"

ประการที่สาม
เดิมทีเดียวที่ตำบลบางพลีใหญ่ในเป็นตำบลที่มีดอกบัวมาก อำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียงเช่น อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง และอำเภอต่างๆที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อถึงวาระต้องบำเพ็ญกุศลในเทศกาลออกพรรษาก็มาเก็บดอกบัวที่นี่ เพราะถือว่าดอกบัวเป็นดอกไม้ทางพระพุทธศาสนา เช่น พระพุทธเจ้าเวลาประทับนั่งยืน เดิน จะมีดอกบัวรองรับเสมอ อีกประการหนึ่งในเรื่องพระมาลัยได้กล่าวว่ามีชายเข็ญใจคนหนึ่งได้ถวายดอกบัว แก่พระมาลัย ยังไปเกิดเป็นเทพบุตรได้ ดังนั้นในสมัยโบราณคนจึงนิยมถวายดอกบัวแก่พระในวันออกพรรษาถือว่าได้บุญกุศล แรงมาก ถึงกับลงทุนนอนค้างอ้างแรมยังตำบลนี้เพื่อเก็บดอกบัว ในสมัยแรกๆ คงเที่ยวหาเก็บกันเองแต่ในสมัยต่อมาชาวบางพลีก็จะเตรียมเก็บไว้เพื่อเป็นการ ทำกุศลร่วมกันเท่านั้น

พิธีกรรม
พอถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ตั้งแต่ตอนเย็นชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการ ชาวพระประแดง และชาวต่างถิ่นจะชักชวนพวกพ้องเพื่อนฝูงลงเรือพร้อมด้วยเครื่องดนตรีนานา ชนิดเช่น ซอ ปี่ กระจับ โทน รำมะนาโหม่ง กรับ ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น พายกันไปร้องรำทำเพลงกันไปตลอดทาง ตลอดคืน ซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำน้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่นๆเข้าคลองสำโรงและมุ่งหน้ามายังหมู่บ้านบางพลี ใหญ่
สำหรับชาวบางพลีนั้นจะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็จะต้องเตรียมหาดอกบัวหลวง สำหรับมอบให้แก่ชาวบ้านที่ต้องการและมิตรต่างถิ่นมาเยือนในโอกาสเช่นนี้ ก็คงแสดงมิตรจิตออกต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกันตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ส่วนพวกที่มารับบัวคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพาขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้ และต่างก็สนุกสนานร้องรำทำเพลงและร่วมรับประทานอาหารสุรากันตลอดคืน พอเช้าตรู่ของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ชาวบ้านต่างก็นำเรือของตนออกไปตามลำคลองสำโรงเพื่อไปขอรับบัวจากชาวบ้านบาง พลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และการรับดอกบัวก็จะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับกันมือต่อมือ หรือก่อนให้จะยกมือพนมอธิษฐาน
เสียก่อนระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวต่างถิ่นที่สนิทสนมคุ้นเคยกันป็นพิเศษ บางทีชาวบางพลีก็จะโยนดอกบัวลงไปให้กันโดยไม่มีพิธีรีตอง เหตุที่มีการโยนบัวให้กัน แบบมือต่อมือจึงเลือนไปจนมีการนำไปพูดกันตอนหลังว่า รับบัว โยนบัว
การรับดอกบัวของชาวต่างบ้านจากชาวบางพลีจะสิ้นสุดเมื่อเวลาประมาณ ๐๘.๐๐ น. หรือ ๐๙.๐๐ น. และชาวบ้านก็จะพากันกลับ ตอนขากลับจะมีการแข่งเรือกันไปด้วยแต่เป็นการแข่งขันโดยมีเส้นชัย ไม่มีกรรมการตัดสินและไม่มีการแบ่งประเภทหรือชนิดของเรือ ใครพอใจจะแข่งกับใครเมื่อไหร่ที่ใดก็แข่งกันไปหรือจะเปลี่ยนคู่เปลี่ยนคู่ แข่งกันไปเรื่อยๆ ตามแต่จะตกลงกัน
ดอกบัวที่ชาวต่างถิ่นรับจากชาวบางพลีไปนั้นจะนำไปบูชาในเทศกาลออกพรรษาตามวัดในหมู่บ้านของตน
ประเพณีที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ครั้นนานมาชาวต่างถิ่นที่นำเรือมารับดอกบัวจากชาวบางพลีมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เสียงกระจับ ปี่ สีซอ กลองรำมะนา เสียงเพลงเสียงเฮฮาที่เคยเซ็งแซ่ตามลำคลองสำโรงในคืนวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็ค่อยๆเงียบหายไป
ต่อมาสมัยนายชื้น วรศิริ (เพชรบูรณะ วรศิริ) เป็นนายอำเภอบางพลี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๘๑ ประเพณีรับบัวมีทีท่าว่าจะเสื่อมสูญไปนั้น ได้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง เมื่อได้หารือกับพ่อค้าคหบดีตลอดจนข้าราชการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางอำเภอบางพลีจึงได้ตกลงกันดำเนินการจัดงานประเพณีรับบัวขึ้นคือ เริ่มงานวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ และรุ่งขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันรับบัวอันเป็นครั้งแรกที่ทางราชการเข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีรับบัว ของชาวบางพลี
ในการจัดงานประเพณีรับบัวของทางราชการอำเภอบางพลี มีการแต่งเรือประกวด เริ่มมีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ (แต่ก่อนชาวต่างถิ่นจะตกแต่งเรือมาเพียงเพื่อความสวยงามแต่ไม่มีการประกวด) ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ช่วยกันหาดอกบัวแจกข้าวต้มมัดแก่แขกต่างบ้านและผู้จัดเรือประกวดในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ประชาชนต่างถิ่นและชาวอำเภอบางพลีจะลงเรือล่องไปตามลำคลองสำโรง ร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานร่วมกัน ชาวบางพลีจะจัดสุราอาหารไว้ต้อนรับแขกต่างบ้าน ชาวต่างถิ่นคนใดรู้จักมักคุ้นกับชาวอำเภอบางพลีคนใดบ้านใดก็จะพากันไปเยี่ยม เยือน สนุกสนานกับชาวบางพลีบ้านนั้นจนรุ่งเช้า วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ต่างก็จะพากันไปดูการประกวดที่คลองสำโรงหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี
ในการจัดงานประเพณีรับบัวมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ มีการแห่หลวงพ่อโต ซึ่งแต่เดิมยังมิได้มีการแห่ดังเช่นสมัยนี้ ในราวปี พ.ศ. ๒๔๖๗ นางจั่นกับพวกได้พร้อมใจกันสร้างพระปฐมเจดีย์ขึ้น ในวัดบางพลีใหญ่ใน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ก็จัดให้มีการฉลองโดยแห่องค์พระปฐมเจดีย์นี้ตามลำคลอง แล้วกลับมาห่มองค์พระปฐมเจดีย์กลางคืนก็จัดให้มีมหรสพสมโภช แห่ไปได้ ๒-๓ ปี ก็หยุดไปด้วยเหตุใดไม่ปรากฏ ซึ่งเชื่อว่าการแห่ผ้าห่อองค์พระปฐมเจดีย์นี้ได้รับแบบอย่างมาจากการแห่ผ้า ห่มองค์พระสมุทรเจดีย์ของอำเภอเมืองสมุทรปราการ
ต่อมาก็มีการแห่รูปหลวงพ่อโตแทน โดยความเห็นชอบของท่านสมภารกุ่ย และนายฉลวย งามขำ แห่รูปภาพของหลวงพ่อโตมาหลายปี จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ก็มีการทำหุ่นจำลองหลวงพ่อโต สานด้วยโครงไม้ปิดกระดาษทาสีทอง แล้วนำแห่แทนรูปภาพของหลวงพ่อโต ซึ่งสร้างโดยนายไสว โตเจริญ ตกกลางคืนก็มีงานมหรสพฉลองกันอย่างครึกครื้นจนถึงสมัยพระครูพิศาลสมณวัตต์ เป็นเจ้าอาวาสวัดบางพลีใหญ่ในก็ได้จัดให้ทำการหล่อรูปหลวงพ่อจำลองขึ้น สำหรับแห่ตามลำคลองด้วยอลูมิเนียมใน พ.ศ. ๒๔๙๗ และปัจจุบันแห่โดยรูปหล่อจำลองหลวงพ่อโต (รูปปั้น) โดยจัดเป็นขบวนแห่ไปตามลำคลองสำโรงในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นการประกาศข่าวงานรับบัวให้ประชาชนทราบและวิธีนี้กลายเป็นประเพณีแห่หลวง พ่อโตก่อนวันงานรับบัว คือ วัน ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลอดจนถึงปัจจุบัน การแห่หลวงพ่อโตจึงเป็นส่วนหนึ่งของงานประเพณีรับบัว ประชาชนที่อยู่สองฝั่งคลองสำโรงที่ขบวนแห่หลวงพ่อโตผ่านจัดประดับธงทิว ตกแต่งบ้านเรือนและตั้งโต๊ะหมู่บูชา พอเช้าวันรุ่งขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ มีการประกวดเรือประเภทต่างๆของตำบลใกล้เคียงและโรงเรียนส่งเข้าประกวด ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ มีการจัดประกวด ปัจจุบันการประกวดเรือมี ๓ ประเภทด้วยกัน คือ ประเภทสวยงาม ประเภทความคิด และประเภทขบขันหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น.และงานจะสิ้นสุดลงเวลา ๑๑.๐๐ น. ของวันเดียวกัน ในบางปีจัดให้มีการประกวดเทพีการแข่งเรือ หรืออย่างอื่นแล้วแต่คณะกรรมการ
จัดงานรับบัวแต่ละปีจะพิจารณาเห็นสมควร ส่วนการร้องรำทำเพลงไปตามลำน้ำดูหายๆไปจนปัจจุบันไม่มีแล้ว คงเที่ยวสนุกสนานกันตามบริเวณที่จัดให้มีมหรสพเท่านั้น

สาระ
"การเป็นผู้มีน้ำใจไมตรี" เป็นลักษณะเด่นของคนไทยประการหนึ่ง เราคงไม่ปฏิเสธกันว่าคนไทยเป็นผู้ที่ร่ำรวยน้ำใจ ยากที่จะหาประชากรในประเทศใดในโลกเทียมได้ แม้แต่ชาวต่างประเทศก็ยอมรับในความมีน้ำใจไมตรีของคนไทยเช่นกัน จนได้ให้สมญาประเทศไทยว่า "สยามเมืองยิ้ม" ดังเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วนั่นเอง และชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการมีสิ่งหนึ่งที่ช่วยยืนยันถึงความเป็นผู้มีน้ำใจไมตรีของ คนไทยเช่นกัน สิ่งนั้นคือมรดกทางวัฒนธรรมที่บรรพบุรุษของชาวบางพลีได้มอบไว้ให้ลูกหลานของ ตน นั่นคือ "ประเพณีรับบัว"
ประเพณีรับบัว เป็นประเพณีเก่าแก่ที่เกิดและจัดขึ้นในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มาช้านานแต่เพิ่งปรากฏหลักฐานในราว พ.ศ. ๒๔๖๗ ว่าเดิมจัดในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี และจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ชาวอำเภอบางพลี ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับประเพณีรับบัวว่า
"ในสมัยก่อนโน้น อำเภอบางพลี มีดอกบัวมากมายตามลำคลอง หนองบึงต่างๆเป็นที่ต้องการของพุทธศาสนิกชน ในอันที่จะนำไปบูชาพระ เหตุที่เกิดประเพณีรับบัว เกิดจากชาวอำเภอพระประแดง และชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการ ที่เป็นชาวมอญ ต้องการนำดอกบัวไปบูชาพระคาถาพันและบูชาพระในเทศกาลออกพรรษา ดังนั้นเมื่อถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ประชาชนทั้งสองอำเภอนี้ ได้ชักชวนกันพายเรือมาตามลำคลองสำโรงเพื่อมาเก็บดอกบัว เมื่อเก็บได้เพียงพอแล้วก็จะเดินทางกลับบ้านของตนในวันรุ่งขึ้น (ขึ้น ๑๔ ค่ำ) ต่อมาชาวอำเภอบางพลี มีน้ำใจที่จะอำนวยความสะดวกให้ในฐานะที่ตนเป็นเจ้าของบ้าน เมื่อถึงวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ก็จะร่วมแรงร่วมใจกันเก็บดอกบัวและเตรียมอาหารคาวหวานไว้เพื่อรอรับชาวอำเภอ พระประแดงและชาวอำเภอเมืองฯ เช้าตรู่ของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ขบวนเรือพายของชาวอำเภอพระประแดงและชาวอำเภอเมืองฯก็จะมาถึงหมู่บ้านบางพลี ใหญ่ เมื่อรับประทานอาหารที่ชาวอำเภอบางพลีเตรียมไว้ต้อนรับจนอิ่มหนำสำราญดีแล้ว ก็จะพายเรือไปตามลำคลองสำโรง เพื่อขอรับดอกบัวจากชาวอำเภอบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การส่งมอบดอกบัวจะทำกันอย่างสุภาพ คือส่งและรับบัวกันมือต่อมือ โดยผู้ให้และผู้รับพนมมือตั้งจิตอธิษฐานอนุโมทนาผลบุญร่วมกัน การกระทำเช่นนี้เองจึงได้ชื่อว่าการ "รับบัว" เมื่อปฏิบัติติดต่อกันหลายๆปี จึงได้กลายเป็น "ประเพณีรับบัว" ไปในที่สุด"
นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๒๘ ถึงปัจจุบัน ชาวอำเภอบางพลีต่างยังไม่แน่ใจว่าตนโชคดีหรือโชคร้ายกันแน่ที่พื้นที่ที่ตน เองอาศัยอยู่ได้กลายเป็นจุดที่นักลงทุน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ความสนใจที่จะมาลงทุนทำกิจการต่างๆ เนื่องจากพวกเขาเห็นว่า อำเภอบางพลี อยู่ใกล้กับกรุงเทพฯการคมนาคมสะดวกและเป็นแหล่งที่สามารถรองรับความเจริญ จากกรุงเทพฯ ได้โดยตรง จึงได้พากันมาลงทุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่มาก ปัจจุบันอำเภอบางพลีมีโรงงานอุตสาหกรรมเกือบ ๘๐๐ แห่ง นอกจากนี้หมู่บ้านจัดสรรก็ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด สนามกอล์ฟ ขนาดใหญ่หลายแห่ง มีไว้เพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้มีอันจะกินเพียงระยะเวลาไม่ถึง ๑๐ ปี สภาพของอำเภอบางพลี เปลี่ยนไปราวกับหน้ามือเป็นหลังมือ จากสังคมชนบทที่ประชาชนมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย มีความสุขตามอัตภาพ กลายเป็นสังคมเมืองอุตสาหกรรม ชาวบ้านหลายครอบครัวได้กลายเป็น "เศรษฐีใหม่"ภายในพริบตา โดยการขายที่ดินให้กับนักลงทุนในราคาสูงลิ่ว ปัจจุบันสภาพสังคมในอำเภอบางพลี ไม่แตกต่างไปจากสังคมกรุงเทพฯเท่าใดนัก ทั้งด้านค่าครองชีพ การจราจร การแข่งขันประกอบธุรกิจ ฯลฯ ในสภาวะเช่นนี้แม้แต่ชาวบางพลีที่เป็นคนเก่าแก่เองก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีส่วน ทำให้ประเพณีรับบัวเปลี่ยนรูปโฉมจากเดิม กล่าวกันว่า "ประเพณีรับบัวก็เปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตอื่นๆในอำเภอบางพลีที่ต้องมีการ ปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบัน เพื่อมิให้ตนต้องสูญหายไปจากโลกนี้"

::
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 17, 2012, 09:10:11 pm »

สมุทรปราการ ชวนร่วมอิ่มบุญใน “ประเพณีรับบัว หนึ่งเดียวในโลก”
-http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000127425-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
17 ตุลาคม 2555 18:50 น.


ประเพณีรับบัว ที่ จ.สมุทรปราการ (ภาพ:www.ktc.co.th)

       จังหวัดสมุทรปราการ จับมือ ททท. อบจ.สมุทรปราการ จัดงานใหญ่ ประเพณีรับบัว แห่งเดียวในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 26-29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลี วัดบางพลีใหญ่ใน และตลอดเส้นทางลำคลองสำโรงระหว่างที่ว่าการอำเภอบางพลี จนถึงวัดบางพลีใหญ่ใน โดยปีนี้ชู 9 ไฮไลท์ยิ่งใหญ่กว่าทุกปี คาด 4 วัน เงินสะพัดกว่า 100 ล้านบาท
       
       นายคณิต เอี่ยมระหงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นางปานจิตร สันทัดกลการ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานกรุงเทพมหานคร และนายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมเป็นประธานจัดงานสืบสาน ประเพณีรับบัว ด้วยแนวคิด หนึ่งเดียวในโลก แห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเพณีที่ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพียงแห่งเดียว ณ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกด้วยวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ โดดเด่น ที่ผสมผสานระหว่างขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม
       
       สำหรับประเพณีรับบัวปีนี้ กำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 26-29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลี วัดบางพลีใหญ่ใน และตลอดเส้นทางลำคลองสำโรงระหว่างที่ว่าการอำเภอบางพลี จนถึงวัดบางพลีใหญ่ใน ตั้งแต่ 06.00 - 24.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันสุดท้ายที่สิ้นสุดเวลา 13.00 น. โดยทางผู้จัดได้เตรียมการแสดง การประกวด การแข่งขัน กิจกรรมต่างๆ ไว้ 9 รายการ ที่ไม่ควรพลาดชม พร้อมกับคาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก น่าจะมีเงินสะพัดในระบบมากกว่า 100 ล้านบาท ทั้งจากการจับจ่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ การบริการ โรงแรม และกิจกรรมต่างๆ ด้านการสันทนาการและการท่องเที่ยว ตลอดระยะเวลาการจัดงาน
       
       นายคณิต เอี่ยมระหงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในระดับต้นๆ ในฐานะเมืองอุตสาหกรรมสำคัญ ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการวางแผนพัฒนาจังหวัดให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้มีความก้าวหน้า ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านการท่องเที่ยว และด้านสังคม เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ตลาดสากลในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้
       
       สำหรับ “ประเพณีรับบัว” ณ อำเภอบางพลี นี้ ถือได้ว่า เป็นสินค้าสำคัญทางด้านวัฒนธรรมที่ประเทศไทย สามารถสร้างเป็นจุดขายสำหรับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเพณีที่มีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ได้เป็นอย่างดี ด้วยแนวคิดที่ว่า “หนึ่งเดียวในโลก แห่งเดียวในประเทศไทย” โดยประเพณีรับบัว จะจัดขึ้นทุกปีในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 11 ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม เป็นประเพณีดีงามของท้องถิ่นที่สืบทอดกันมายาวนาน และเป็นกิจกรรมสำคัญทางพุทธศาสนา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนนำดอกบัวมานมัสการหลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ใน อันเป็นที่เคารพสักการะและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการอีกด้วย


คณะผู้จัดงาน

       นางปานจิตร สันทัดกลการ ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานกรุงเทพมหานคร กล่าวเสริมว่า “ประเพณีรับบัวนี้ นับเป็นโอกาสอันดีที่นักท่องเที่ยวจะได้เดินทางมาพักผ่อน ทำบุญ ไหว้พระ และได้สัมผัสกับวิถีชีวิตงานประเพณีที่งดงามที่บอกเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างชาวไทย ชาวลาว และชาวรามัญ ที่มีต่อกันด้วยไมตรีจิตมาอย่างยาวนาน รวมทั้ง อิ่มบุญและอิ่มใจไปกับกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน เช่น ตักบาตรพระทางเรือ การแสดงหมากรุกคน การแสดงวิถีชีวิตชาวไทย ชาวลาว ชาวมอญ และการละเล่นพื้นบ้าน ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้และกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ย้อนรอยตลาดโบราณบางพลี ซึ่งมีอายุยาวนานกว่า 155 ปี ซึ่งอยู่ติดกับวัดบางพลีใหญ่ใน สำหรับการจัดงานประเพณีครั้งนี้ คาดว่าจะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก น่าจะมีเงินสะพัดรวมกว่า 100 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาการจัดงาน 4 วัน จากการจับจ่ายซื้อสินค้า ผลิตภัณฑ์ บริการต่างๆ ทั้งจากร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของท้องถิ่นและประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
       
       นายชนม์สวัสดิ์ อัศวเหม นายก อบจ.จังหวัดสมุทรปราการ กล่าวถึงไฮไลท์การจัดงานครั้งนี้ว่า “องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ มีความตั้งใจและทุ่มเทในการสนับสนุนการจัดงานในครั้งนี้เป็นอย่างมาก โดยได้วางแผนจัดงานให้ยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยได้สร้างสรรค์กิจกรรม การแสดง การประกวด การแข่งขันที่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยวที่สนใจห้ามพลาดชมรวม 9 รายการเด่น ได้แก่
       
       1. เชิญเข้าร่วมพิธีเปิดงานประเพณีรับบัว จุดเริ่มต้นตำนานแห่งสายน้ำและพุทธศรัทธา โดยนายชุมพล ศิลปอาชา รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดงานในวันที่ 26 ตุลาคม 2555 เวลาตามราชาแห่งฤกษ์ 10.39 น. และโยนบัวดอกแรก เพื่อเปิดงานอย่างเป็นทางการ ณ ปะรำพิธี วัดบางพลีใหญ่ใน
       
       2. เชิญพุทธศาสนิกชนเข้าร่วม โยนบัว ในงานประเพณีรับบัว ซึ่งปีนี้ 14 ค่ำเดือน 11 ซึ่งปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เวลา 07.00 - 09.00 น. โดยขบวนจะเคลื่อนจากวัดบางพลีใหญ่ใน ถึงที่ว่าการอำเภอบางพลี


หนึ่งในไฮไลท์การแสดง

       3. ชวนชมการแสดงแสง สี เสียง ริมสองฝั่งน้ำคลองสำโรง ชื่อชุด “สายน้ำ ศรัทธา ประเพณี เชื่อมวิถีชุมชน” เชิญนักท่องเที่ยวมาร่วมล่องเรือชมการแสดง 5 ชุด ท่ามกลางสายน้ำยามค่ำคืน ผสมผสานด้วยเทคนิคการนำเสนอสุดทันสมัย มัลติมีเดีย 4 มิติสมจริง หมอกควัน และม่านน้ำพุเต้นระบำหลากสีสัน จัดแสดงระหว่างวันที่ 26-29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เวลา 09.30-21.30 น. โดยจะมีเรือนำชมตั้งแต่ มีทั้งหมด 6 รอบ รอบละ 60 คน สามารถรับชมได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยสามารถติดต่อขอขึ้นเรือรับชมได้ที่ ที่ว่าการอำเภอบางพลี และปลายทางขึ้นที่ท่าเรือ วัดบางพลีใหญ่ใน
       
       4. จับจ่ายใช้สอยตลาดน้ำโบราณบางพลี อายุ 155 ปี ตลาดสินค้าพื้นบ้าน และสินค้าท้องถิ่นยอดนิยม (OTOP) ในราคาพิเศษ ตลอดการจัดงาน 4 วัน ตั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป ทั่วทุกพื้นที่จัดงาน ได้แก่ ที่ว่าการอำเภอบางพลี วัดบางพลีใหญ่ใน และบริเวณสองฝั่งคลองตลอดเส้นทางการจัดงานระหว่างที่ว่าการอำเภอบางพลีและวัดบางพลีใหญ่ใน
       
       5. สนุกสนานกับการแสดง ณ ลานวัฒนธรรมชาวบางพลี เต็มอิ่มกับการแสดงหลากหลายตลอด 4 วัน การประกวดหนุ่มสาวรับบัว ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง คอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง The Star, AF, RSและนักแสดงจากช่อง 7 การละเล่นต่างๆของเด็ก ชกมวยทะเล การแสดงโขนนักเรียน, การบรรเลงดนตรีไทย การแสดงหมากรุกคน การแสดงวิถีชีวิตชาวมอญ การแสดงโปงลาง ตั้งแต่เวลา 09.30 น. เป็นต้นไป ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลี
       
       6. ลุ้นสุดตัวกับการแข่งขันเรือมาด เรือประจำถิ่นอันเก่าแก่ ชิงถ้วยพระราชทานจากพระเจ้าวงวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ โดยจะแข่งขันในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดบางพลีใหญ่ใน
       
       7. ตระการตากับการประกวดเรือประเภทต่างๆ ได้แก่ เรือประเภทสวยงาม เรือประเภทความคิดสร้างสรรค์ และเรือประเภทตลกขบขัน นักท่องเที่ยวสามารถมาชมได้ในวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เวลา 10.30-11.30 น. ณ วัดบางพลีใหญ่ใน
       
       8. ชวนชมการแข่งขันมัดข้าวต้มมัดและการแข่งขันกินข้าวต้มมัด ตามประเพณีดั้งเดิม จะทราบกันดีว่าจะมีการทำข้าวต้มมัด เพื่อนำไปใส่บาตรในช่วงออกพรรษา และที่สำคัญ ข้าวต้มมัด ยังใช้เป็นอาหารทานระหว่างเดินทางเพื่อย่นระยะเวลาที่จะต้องเสียไปในการนั่งรับประทานอาหารด้วย โดยการแข่งขันมัดข้าวต้มมัด วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เวลา 10.00-12.00 น. และแข่งขันกินข้าวต้มมัดวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เวลา 11.00-12.30 น. ณ ที่ว่าการอำเภอบางพลี
       
       9. มาเที่ยวแล้วอย่าลืมถ่าย ส่งภาพเข้าประกวดในโครงการ ประกวดภาพถ่ายประเพณีรับบัว ชิงเงินรางวัลรวม 50,000 บาท กติกาง่ายๆ เพียงถ่ายภาพภายในงานประเพณีรับบัว ประจำปี พ.ศ. 2555 แล้วส่งผลงานเป็นภาพอัดขยาย และภาพถ่าย มายัง บริษัท ไร้ท์แมน จำกัด 118, 120 ถนนสุขาภิบาล 2 ประเวศ กรุงเทพ 10250 รับผลงานวันสุดท้ายจนถึง 5 พ.ย. 2555 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิทวัธร์ สุขยามผล 08 2490 0222.
       
       สำหรับผู้ที่สนใจเที่ยวชมงานประเพณีรับบัว ประจำปี พ.ศ. 2555 ในครั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02-250-5500 ต่อ 2994-6 หรือ สำนักงานการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอบางพลี โทรศัพท์ 0 2337 4059, 0 2337 3489-90

http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9550000127425


.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 13, 2012, 06:59:33 pm »

ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย
Posted by , ผู้อ่าน : 28443 , 16:00:53 น.
หมวด : ศิลปะ/วัฒนธรรม

-http://www.oknation.net/blog/khonklongdan/2009/07/20/entry-5-

ความคิดเห็นที่ 1    (0)    
เด็กคลองด่าน วันที่ : 12/09/2010 เวลา : 08.20 น.
คลองด่าน หรือ บางเหี้ย มีประวัติยาวนานมาก เรื่องบางเรื่อง ยาวนานกว่า 50 ปีแล้ว จนบัดนี้เหลือคนที่ทันเหตุการณ์ เพียงไม่กี่คน เพราะล้มหายตายจากไปมากแล้ว บทความนี้ได้บันทึกจากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่
คนคลองด่าน ร้านค้าพระเครื่อง ออนไลน์ - คนคลองด่าน - 1 : เว็บ-พระ.คอม

ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (พระครูพิพัฒน์นโรธกิจ วัดมงคลโคธาวาส)
จากหนังสือวัดมงคลโคธาวาส พิมพ์เป็นอนุสนรณ์ในงานณาปรกิจศพ นายเจ่ม สวัสดี 30 มีนาคม 2502
วัด มงคลโคธาวาสสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 (ตามคำบอกเล่าของ หลวงพ่อสาย ศิษย์หลวงพ่อปาน) โดยตระกูลหลวงพ่อปานริเริ่มสร้างพร้อมด้วยชาวบ้านประชาชนที่มีจิตศรัทธา เนื่องด้วย การทำบุญสมัยก่อนต้องไปวัดอื่นที่ไกลจากหมูบ้าน เช่น วัดสร่างโศก หรือวัดโคธาราม จึงดำริสร้างวัดที่ในละแวกบ้านตน สมัยก่อนประตูน้ำยังไม่สร้าง ถนนก็ยังไม่พัฒนา มีบ้านคนเพียงกลุ่มๆ บริเวณนี้เป็นที่ลุ่ม เวลาน้ำทะเลขึ้น จะท่วมเต็มลานวัดไปหมด บางครั้งต้องทำสะพานยาวๆ เดินไปวัด
วัดสร้างปีใด ใครเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ไม่มีใครทราบ มาสืบได้อีกทีสมัยหลวงพ่อถันเป็นเจ้าอาวาส สมัยนี้มีพระเถระที่ทรงคุณวุฒิ ดังนี้
1.หลวงพ่อปาน ( ต่อมาเป็นพระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ)
2.หลวงพ่อเรือน (เคยเป็นอุชณาย์ที่วัดนี้)
3.หลวงพ่อล่า (เป็นหมอผี หมอน้ำมนต์)
4.พระอาจารย์อิ่ม (อาจารย์สอนวิปัสสนาและอาจารย์ธุดงค์ เป็นผู้สร้างพระผงหลวงพ่อปานถวาย)
5.หลวงพ่อทอง (ต่อมาเป็นพระครูสุทธิรัตน์ เจ้าอาวาสต่อจากหลวงพ่อถัน)
6.หลวงพ่อลาว (มรณะแล้วไม่เน่าเปื่อย)
7.พระอาจารย์บัว
8.สมุห์นิ่ม สมัยเป็นสมาเณร
การปกครอง
ใน สมัยหลวงพ่อถันเป็นเจ้าอาวาส ได้แยกปกครองพระสงฆ์เป็นคณะ คณะหนึ่งมีหัวหน้าปกครอง และรองคณะอีกรูปหนึ่ง มีเหตุการณ์ใดให้ตัดสินใจและรายงานให้เจ้าอาวาสทราบ ดังนี้
1.หลวงพ่อปานและพระอาจารย์อิ่ม เป็นหัวหน้าคณะปกครองสอนเรื่องกัมมัฏฐาน เมื่อออกพรรษาแล้วออกธุดงค์เป็นคณะใหญ่
2.หลวงพ่อเรือน เป็นหัวหน้าคณะ สอนชีและอุบาสกอุบาสิกาทั่วไป
3.หลวงพ่อล่า เป็นหัวหน้าคณะว่าด้วยหมอผี หมอน้ำมนต์
4.หลวงพ่ถัน เป็นเจ้าอาวาสและหัวหน้าคณะปกครองทั่วไป ตลอดจนดูแลเด็ก

หลวง พ่อถันปกครองวัดมานาน จนหลวงพ่อปานสร้างมณฑปเพื่อจะเอาไว้รอยพระพุทธบาท (หน้า รรงวสัดมงคลโคธาวาส) พอการก่อสร้างใกล้เสร็จ ยกยอดเสร็จเรียนร้อย ท่านก็ล้มป่วยและมรณภาพ บรรดาพระเณร อุบาสกอุบาสิกาประชุมกัน ด้วยการสนับสนุนจากหลวงพ่อปาน ให้ หลวงพ่อทองเป็นเจ้าอาวาส
สมัยนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (ผู้วางระเบียบการปกครองสงฆ์ และผู้แต่งหนังสือนวโกวาท) ออกตรวจการปกครองสงฆ์มณฑลบูรพา เห็นพระเณรวัดมงคลโคธวาส มีความประพฤติเรียบร้อยดี จึงทรงกรุณาแต่งตั้งหลวงพ่อทอง เป็น พระครูสุทธิรัต เป็นพระอุปัชณาย์และเจ้าคณะแขวงบางบ่อ มีพระฐานานุกรม คือ พระปลัดแวว และพระสมุห์นิ่ม
สมัยหลวงพ่อทอง พระผู้ทรงคุณวุฒิ มรณภาพไปหลายรูป คือ
หลวงพ่อปาน
หลวงพ่อเรือน
หลวงพ่อล่า
หลวงพ่อลาว
พระอาจารย์อิ่ม (ไปมรณะที่เมืองหงสาวดี)
พระอาจารย์บัว
ทำให้วัดเงียบเหงาไปมาก เมือท่านอุปสมบทบุตรทนายซัว เป็นคนสุดท้ายและมรณภาพในปีนั้นเอง
ประวัติหลวงพ่อปาน
หลวงพ่อปานเป็นชาวคลองด่านแต่กำเนิด เกิดประมาณปี 2468 รัชสมัย รัชกาลที่ 3
ใน วัยเยาว์ ได้เข้าศึกษากับเจ้าคุณศรีศากยสุนทร สำนักวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และได้บรรพชาที่วัดแจ้ง ภายหลังได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงพ่อแตง วัดอ่างศิลานอก ศึกษาสรรพวิชาจนเชียวชาญ
หลวงพ่อปานท่านเป็นคนพูดน้อย เป็นที่เคารพยำเกรงและเลื่อมใสแก่ผู้พลเห็น ท่านออกธุดงค์ทุกปี ทีใดที่เหมาะแก่การพระศาสนา ก็จะทำสัญลักษณ์ไว้ ต่อมาก็กลายเป็นวัด เช่น วัดปานประสิทธาราม วัดไตรสรณาคม วัดหงส์ทอง เป็นต้น
พระราชนิพนธ์ ประพาสมณฑลปราจีนบุรี ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รศ.127 (พ.ศ.2451) ดังนี้
...... วันที่ 24 โปรแกรมวันนีอยู่ข้างเลอะเทอะ เปลี่ยนแปลงมาก เดิมกำหนดอยู่ในราว 4 โมง (อยู่บางเหี้ยถึง 4 โมง )ออกจากบางเหี้ย เข้ามาทำกับข้าวกินที่พระสมุทรเจดีย์ จากจะไปเที่ยวคลองบางปลากดเวลา 5 โมง จึงขึ้นโมเตอรเตรียมกลับ .......เวลา บ่าย 2 โมง เลยเวลากิน เต่เคราะห์ดีอยางวานนี้ที่หาปิ่นโตไว้
เวลาเช้าที่ว่างนั้น พวกราษฎรพากันอยากจะเห็น จึงออกไปให้เห็นแลแจกเสมา พระครูปานมาหาด้วย พระครูปานนี้นิยมกันในทางวิปัสนาแลธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ได้เดินธุดงค์ด้วย 200-300 แรกลงไปประชุมอยู๋ที่วัดบงเหี้ย มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยง กินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดและออกเดิน ทางที่เดินนั้นลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นมาปราจีน นครนายก ไปพระบาท (สระบุรี) แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ว่ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นไว้แต่พระที่เลื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพกลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู๋ในเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเปนอาจิณวัตรเช่นนี้มา 40 ปีแล้ว .......สังเกตุดูอัชาไศรยก็เป็นคนแก่ใจดี กิริยาเรียบร้อย อายุ 70 แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคนพูดน้อย คนอื่นมาช่วยพูด......

หลวง พ่อปาน มรณะด้วยโรคชรา เมื่อวันอังคาร แรม 9 ค่ำ เดือน9 ปีจอ โทศก 1272 รศ.129 ตรงกับวันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 5 ทุ่ม 45 นาที
พระราชทานเพลิงศพ ณวัดมงคลโคธาวาส วันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 5 ตรงกับวันที่ 9 เมษายน 2454
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 13, 2012, 06:59:05 pm »

.

ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย
Posted by , ผู้อ่าน : 28443 , 16:00:53 น.
หมวด : ศิลปะ/วัฒนธรรม

-http://www.oknation.net/blog/khonklongdan/2009/07/20/entry-5-

หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย (ความจริง ”เหี้ย” นี่เป็นชื่อของสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์หนึ่ง แต่คนนำมาใช้ด่าว่ากัน จึงกลายเป็นคำไม่สุภาพไป) เนื่องจากท่าน ได้ล่วงลับมาเป็นเวลานาน และท่านไม่ได้เล่าถึงชีวิตในอดีตของท่านให้ลูกศิษย์ทราบ ข้อมูลชีวประวัติของท่านจึงมีน้อย ทราบเพียงว่า

ท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ที่ตำบลคลองด่าน ตาเป็นคนจีนชื่อ เขียว ยายเป็นคนไทยชื่อปิ่น โยมพ่อไม่ทราบชื่อ แต่โยมแม่ชื่อตาล เป็นลูกสาวคนโตของยายปิ่น ในตอนเยาว์วัย ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดแจ้ง หรือวัดอรุณฯ กรุงเทพฯ เพื่อเรียนหนังสือ ไทย หนังสือขอม มูลกัจจายน์ และหนังสือใหญ่ ต่อมาท่านได้สึกจากเณร มาช่วยพ่อแม่ ประกอบอาชีพ ทำจาก และตัดฟืนไปขายเป็นอาชีพประจำ ท่านเป็นผู้มีนิสัยอดทนหนักเอาเบาสู้ ทำให้พ่อแม่เบาใจมาก

ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านก็ได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดอรุณฯ โดยมีพระศรีศากยมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วก็ได้อยู่ศึกษากับพระอุปัชฌาย์หลายปี ท่านมีความสนใจในทางกรรมฐานเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นท่านได้กราบลามาอยู่ วัดบางเหี้ย ตำบลบางเหี้ย อำเภอบางบ่อ ท่านประพฤติปฏิบัติ เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย เจ้าอาวาสขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้ปกครองดูแลพระเณร ออกพรรษาแล้วท่านก็ออกรุกขมูล บุกดงพงป่าเพื่ออบรมสมาธิฝึกกรรมฐาน แสวงหาความรู้วิทยาคมจากสำนักอาจารย์ที่มีชื่อเสียง รู้ว่าอาจารย์ที่ไหนดี ท่านก็บุกไปจนถึงเพื่อขอศึกษาอาคมกับอาจารย์นั้น ท่านสนใจในวิชาไสยศาสตร์ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงไม่มีความยากสำหรับท่าน เมื่อมีความชำนาญแคล่วคล่องในเวทย์มนต์ ก็ทำให้เกิดความขลัง ความรู้ความสามารถก็ทวีเป็นเงาตามตัว ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ปกครองสงฆ์ดูแลวัด

หลวงพ่อปานฯ กับหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง จังหวัดระยอง (ซึ่งได้พบกันในระหว่างธุดงค์) ได้ชวนกันไปเรียนวิทยาคมการปลุกเสกเสือ จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งพร้อมกัน (ไม่ทราบชื่อ และสำนักของอาจารย์ท่านนั้น) ขณะที่เรียนอยู่นั้น เมื่อเรียนถึงขั้นทดลองพิสูจน์ดู โดยเอาเสือใส่บาตร หรือในโหลให้เอาไม้พาดไว้ ปลุกเสกจนเสือออกมาจากบาตร หรือจากโหลหายเข้าป่าไป ถ้าใครภาวนาเรียกเสือกลับมาได้ก็จะให้เรียนต่อไป ถ้าเรียกกลับมาไม่ได้ ก็ไม่ให้เรียน

หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ปลุกเสกเสือออกจากบาตรเข้าป่าไปได้ และเรียกกลับมาได้ ส่วนหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง ปลุกเสกเสือออกมาได้เข้าป่าไปเช่นกัน แต่เรียกเท่าไรๆ ก็ไม่กลับ ก็เป็นอันว่าหลวงพ่อปานเรียนต่อจนสำเร็จองค์เดียว หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งก็ต้องพักจากการเรียนเสือ ก็หันมาเรียน สร้าง และปลุกเสกแพะ จนสำเร็จ เมื่อได้วิทยาคมนี้ต่อมาก็มาเป็นอาจารย์ของหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก จังหวัดระยอง หลวงพ่ออ่ำนี่มีชื่อเสียงมากในการสร้างแพะ จนได้สมญาว่า “หลวงพ่ออ่ำแพะดัง” และหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งนี้ ก็เป็นอาจารย์ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง ผู้โด่งดังมากในปัจจุบันนี้

นอกจากนี้หลวงพ่อปานฯยังเป็นหัวหน้าสาย รุกขมูล และสอนกรรมฐานอันลือชื่อ การออกธุดงควัตร ท่านจะเป็นอาจารย์ควบคุมพระเณร เช่นเดียวกับหลวงพ่อนก วัดสังกะสีซึ่งเป็นคณะธุดงค์อีกสายหนึ่ง ทั้งสองสายมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น หลวงพ่อปานนำพระเป็นร้อยรูป บางปีก็ถึงห้าร้อย พระกรรมฐานสองสายนี้ มีชื่อเสียงมาก่อนกรรมฐานสายอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น

เนื่องจาก หลวงพ่อปานมีอาคมขลัง มีสมาธิจิตเข้มแข็ง เวลาออกรุกขมูลพักปักกลดอยู่ในป่า ตอนกลางคืนเดือนหงายๆ ท่านมักจะลองใจศิษย์ เนรมิตกายให้เป็นงูใหญ่ เลื้อยผ่านหมู่ศิษย์ไปบ้าง ทำเป็นเสือโคร่งเดินผ่านกลดศิษย์ไปบ้าง เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

เนื่องจากหลวงพ่อปานได้ศึกษาวิทยาคม ในการสร้างเสือมาโดยสมบูรณ์แบบ ท่านก็เริ่มสร้างแจกจ่ายให้กับประชาชนแถวย่านบางเหี้ยก่อน ที่วัดจึงต้องต้อนรับประชาชน ที่พากันหลั่งไหลเข้าสู่วัดบางเหี้ยเพื่อรับแจกเสือ ตอนแรกคนแกะเสือก็มีเพียงคนเดียว ต่อมาต้องเพิ่มคนแกะเรื่อยๆ จนถึง ๔ คน และมากกว่านั้น แต่ที่มีฝีมือนั้นมีอยู่ ๔ คน ใครต่อใครก็พากันกล่าวขวัญว่า “เสือหลวงพ่อปาน” แม้แต่เด็กเล็กๆ ก็ยังรู้จัก และในสมัยนั้นไม่มีใครทำเลียนแบบ สำหรับหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ยนั้น ท่านแก่กว่าหลวงพ่อปานวัดบางนมโค ๔๐ ปี และในจังหวัดสมุทรปราการ มีหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ดังมากอีกองค์หนึ่ง หลวงพ่อปานเมื่อออกรุกขมูล พระเณรก็จะนำเอาเสือที่ปลุกเสกแล้วติดไปแจกประชาชนด้วย

ปรากฏว่า เสือของท่านมีประสบการณ์ในทางอำนาจ และคงกระพันยอดเยี่ยม หรือจะใช้ในทางเมตตามหานิยม ค้าขายของก็ได้ผล พ่อค้าแม่ค้ามักจะไปขอเสือหลวงพ่อกันวันละมากๆ ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านจึงแพร่หลายโดยรวดเร็ว ยิ่งมีผู้รู้เห็นพิธีปลุกเสก เสือวิ่งในบาตรเสียงดังกราวๆ ก็ยิ่งทำให้ประชาชนแห่แหนมารับแจกเสือกันไม่ขาดระยะ นอกจากนี้ จีนเฉย (อาแป๊ะเฉย) ซึ่งมีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อปาน ถึงกับไปค้างที่วัดเป็นประจำ วันหนึ่งแกก็ไปที่วัดเช่นเคย แต่เอาหมูดิบๆ ไปด้วย เวลาดึกสงัดหลวงพ่อปลุกเสือแกก็เอาหมูแหย่ลงไปในบาตร ปรากฏว่าเสือติดหมูขึ้นมาเป็นระนาว แกยังสงสัยว่าแกจิ้มแรงจนเสือติดหมูออกมา ตอนหลังพอหลวงพ่อปลุกเสกจนเสือวิ่งในบาตร แกก็เอาหมูผูกกับไม้ แล้วชูหมูไว้เหนือบาตร ปรากฏว่าเสือที่อยู่ในบาตรกระโดดกัดหมู เหนือขอบปากบาตร จีนเฉยซึ่งเห็นกับตาตนเองก็นำไปเล่า จนข่าวเสือกระโดดกัดหมู เสือวิ่งในบาตร เสือกระโดดได้ แพร่สะพัดไปราวกับลมพัด ประชาชนต่างก็เห็นเป็นอัศจรรย์

หลวงพ่อกับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมัย ก่อนมีแม่น้ำอยู่สายหนึ่ง ซึ่งไหลผ่านป่าดงพงพีมีต้นน้ำอยู่แปดริ้ว มาลงทะเลที่สมุทรปราการ ทุกครั้งที่น้ำทะเลหนุน น้ำเค็มจะทะลักเข้าไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ ทำให้ชาวบ้านในย่านนั้นได้รับความลำบาก สิ่งที่ไหลขึ้นมาตามน้ำคือตัวเหี้ย ตะกวด และจระเข้ จนต้องมีการทำประตูกั้นน้ำไว้เพื่อมิให้น้ำเค็มจากทะเลไหลขึ้นไปปนกับน้ำจืด และเพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลานที่มีอยู่ชุกชุม มิให้แพร่หลายไปตามคลองต่างๆ ด้วยเหตุที่มีสัตว์พวกนี้ชุกชุม ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางเหี้ย” และคลองบางเหี้ย วัดก็ตั้งชื่อว่า วัดบางเหี้ย มี ๒ วัดคือวัดบางเหี้ยนอก กับวัดบางเหี้ยใน ประตูที่กั้นคลองนั้น มีชื่อเรียกกันปัจจุบันว่า “ประตูน้ำชลหารวิจิตร”

ต่อ มา ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ประตูน้ำเกิดชำรุด ต้องทำการซ่อมแซมหลายครั้ง เมื่อแล้วเสร็จได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จไปที่ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อที่จะทำพิธีเปิดประตูน้ำใหญ่ที่ตั้งอยู่ในคลองบางเหี้ย ปรากฏว่าทรงประทับอยู่ที่คลองด่านถึง ๓ วัน

บรรดา ชาวบ้านที่อยู่ในแถบถิ่น บางบ่อ บางพลี บางเหี้ย และบริเวณใกล้เคียง เมื่อรู้ข่าวว่าพระเจ้าอยู่หัวฯจะเสด็จมาเปิดประตูน้ำ ต่างก็พากันเตรียมของที่จะถวาย หลวงพ่อปานได้นำเขี้ยวเสือ ที่แกะอย่างสวยงามใส่พาน แล้วให้เด็กป๊อดซึ่งเพิ่งจะมีอายุ ๗-๘ ขวบหน้าตาดี เดินถือพานที่ใส่เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ ตามหลังท่านไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ริมคลองด่าน

เมื่อไปถึงที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ หลวงพ่อได้เรียกเอาพานใส่เขี้ยวเสือจากเด็กผู้ติดตาม แต่เด็กคนนั้นบอกกับท่านว่า

“เสือไม่มีแล้ว เพราะมันกระกระโดดน้ำไปในระหว่างทางจนหมดแล้ว”

หลวงพ่อปานจึงได้เอาชิ้นหมูที่ทำขึ้นจากดินเหนียว แล้วเสียบกับไม้ แกว่งล่อเอาเสือขึ้นมาจากน้ำต่อหน้าพระพักตร์ พระองค์ทรงตรัสว่า

“พอแล้วหลวงตา”

หลัง จากนั้นหลวงพ่อได้ถวายเขี้ยวเสือแกะนั้นแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงพิจารณาชั่วครู่ จึงตรัสถามชื่อพระเถระรูปร่างสูงใหญ่ผู้ปลุกเสกเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน ทูลว่าท่านชื่อปาน (ติสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ย

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีรับสั่งกับพระปานว่า

“ได้ยินชื่อเสียง และกิตติคุณมานาน เพิ่งเห็นตัววันนี้”

แล้วรับสั่งถามว่า

“ที่แจกเครื่องรางเป็นรูปเสือมีความหมายอย่างไร ?”

หลวงพ่อปานทูลตอบว่า

“ได้ ไปรุกขมูลธุดงค์ในป่า พบเสือใหญ่หลายครั้ง ได้สังเกตดูเห็นว่า “เสือ” เป็นสัตว์ปราดเปรียว ฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะ และอำนาจ สามารถที่จะใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ คนทั่วไปเรียกผู้ร้ายใจฉกรรจ์ว่า “ไอ้เสือ” ก็คือเอาความเก่งกาจของเสือมานั่นเอง การที่ทำเครื่องรางรูปเสือ มิใช่จะสนับสนุนให้คนกลายเป็น”อ้ายเสือ” เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะของเสือจริงในป่า ที่ปราดเปรียว ว่องไว เฉลียวฉลาด เฉียบขาดมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น”

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรง พอพระทัยในคำตอบของพระปานยิ่งนัก (ด้วยท่านมิได้ โอ้อวดว่า เครื่องรางของท่านดีเด่น แต่ประการใด) ทรงพระราชทานผ้าไตร และผ้ากราบ (ต่อมาได้พระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ”)

พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง”เสด็จประพาส มณฑลปราจิณ” ได้เล่าถึงพระปานไว้ว่า

“พระ ครูปานมาหาด้วย พระครูปานรูปนี้นิยมกันในทางวิปัสสนา และธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ไปธุดงค์ด้วยสองร้อยสามร้อย แรกลงไปประชุมที่วัดบางเหี้ย มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยง กินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดแล้วก็ออกเดิน ทางที่เดินนั้น ลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นไปปราจิณ นครนายก ไปพระบาท แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ถ้ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นแต่พระที่เมื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพฯกลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินทางอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู่ในราวเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเป็นอาจิณวัตรเช่นนี้มา ๔๐ ปีแล้ว

คุณวิเศษที่คนเลื่อมใสคือ ให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสก ต้องใช้หมู ปลุกเสกเป่าไปข้อไร เสือนั้นกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ (น่าจะหมายความว่า พอปลุกเสกได้ที่เสือจะกระโดดกัดเนื้อหมู เป็นอันใช้ได้น่ะครับ) ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบาก เหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่ในป่าช้า ที่พระบาทฯ (สระบุรี) ก็หนีไปอยู่บนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ ในการทำอะไรๆ ขาย เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง ๓ บาท ว่า ๖ บาทก็มี ได้รูปเสือนั้นแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก สังเกตดูอัธยาศัยเป็นคนแก่ใจดีมีกิริยาเรียบร้อย อายุ ๗๐ แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคนพูดน้อย มีคนมาช่วยพูด"

จะเห็นว่า ในพระราชนิพนธ์ “เสด็จประพาสเมืองปราจิณ” ได้เล่าถึง “พระปาน” อย่างละเอียด สิ่งสำคัญยิ่งก็คือ เครื่องรางเขี้ยวเสือที่ทำเป็นรูปเสือ ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ราคาเช่าซื้อตัวละ ๑ บาทบ้าง ๓ บาทบ้าง ๖ บาทบ้าง ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก (ในสมัยนั้น กาแฟถ้วยละ ๑ สตางค์ ก๋วยเตี๋ยวชามละ ๓ สตางค์ ข้าวผัดจานละ ๕ สตางค์) หลังจากเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจ ก่อนที่ท่านจะเสด็จกลับเมืองหลวง พระองค์มีรับสั่งกับหลวงพ่อปานว่า

“ฟ้าไปก่อน แล้วให้พระท่านไปทีหลัง”

พระ ราชดำรัสนี้ทำให้ทุกคนพิศวง เพราะไม่เข้าใจความหมาย (ยกเว้นหลวงพ่อฯ) แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี พระองค์ท่านก็เสด็จสวรรคต และต่อจากนั้นไม่ถึงปี หลวงพ่อปานก็มรณภาพลงเช่นกัน จึงสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะรู้ด้วยญาณ ว่าท่านและหลวงพ่อปานคงถึงเวลาที่จะละสังขารแล้ว

บุญญาภินิหารของหลวงพ่อ

หลวง พ่อปานท่านเป็นผู้มีความเมตตา ปรานี และมีวาจาสิทธิ์ จนเป็นที่ยำเกรงแก่ประชาชนทั่วไป บรรดาลูกศิษย์ของท่านจะพยายามปฏิบัติตนอยู่ในคุณงามความดี เพราะกลัวหลวงพ่อว่าตนไม่ดี แล้วจะไม่ดีตามวาจาสิทธิ์ของท่าน กอปรกับท่านมีเจโตปริยญาณ และอนาคตังสญาณ

อาทิเช่นครั้งหนึ่งท่าน เตรียมจะออกเดินธุดงค์ พร้อมกับพระภิกษุสามเณรจำนวนมากจากวัดต่างๆ พระทั้งหลายจะต้องเข้ามาหาหลวงพ่อ เพื่อรายงานตัวก่อน ถ้าท่านไม่ให้ไปก็ไปไม่ได้ ในครั้งนั้นมีพระอยู่องค์หนึ่ง ชื่อพระผิว หลวงพ่อได้เรียกเข้ามาหา และบอกว่า

“คุณเก็บบาตร เก็บกลด กลับวัดไปเถอะ”

พระผิวเสียใจเป็นอย่างยิ่งถึงกับร้องไห้ หลวงพ่อปานจึงกล่าวกับพระผิวว่า

“อย่าเสียใจไปเลยคุณ กลับไปวัดเถอะ เดินทางไปกับหลวงพ่อมันลำบากมาก องค์อื่นท่านแข็งแรง หลวงพ่อกลัวคุณจะลำบากจึงให้กลับไปก่อน”

พระ ผิวจึงจำใจกลับ หลังจากพระผิวกลับมาถึงวัดได้ ๒ วันเท่านั้นท่านก็เป็นไข้ทรพิษ และมรณภาพลงในที่สุด การเดินธุดงค์นั้น ท่านมักจะให้ศิษย์ออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อนทุกคราว แต่พอถึงจุดนัดหมาย หลวงพ่อจะไปคอยอยู่ข้างหน้าก่อนเสมอ

หลวงพ่อปานท่านเป็นพระที่เคร่ง ครัดเอาจริงเอาจัง มีจิตใจกล้าหาญ ผิดว่าผิด ถูกว่าถูก ไม่มีการเอนเอียงไปทางใดเลย การทำกรรมฐาน ท่านให้นั่งพิจารณาธาตุ เพ่งสิ่งต่างๆ เช่น ไฟเทียน น้ำในบาตร ปฐวีธาตุ จนพลังใจแก่กล้ามั่นคง และฝึกสติโดยการให้เดินจงกรม เมื่อฝึกจิตจนได้ที่แล้วท่านจึงจะสอนวิชาเคล็ดลับต่างๆ ให้ มีทั้งอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม และวิชาไสยศาสตร์ต่างๆ ที่เรียนนี้ก็เพื่อรู้ เรียนไว้เพื่อแก้ และเพื่อป้องกันตัว (เวลาออกธุดงค์) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในสมัยนั้น ในการไปเดินธุดงค์คราวหนึ่ง ท่านไปได้หินเขียววิเศษ เป็นวัตถุสีเขียว แวววาวมาก โตขนาดเมล็ดถั่วดำ และข้างๆ หินนี้ มีเต่าหินที่สลักด้วยหินทรายสีออกน้ำตาลแดงเล็กน้อย หลวงพ่อปานท่านนิมิตเห็นสิ่งนี้ก่อนท่านจะออกธุดงค์

ของวิเศษนั้น หลวงพ่อปานไม่เคยเปิดเผยกับใคร ท่านนำไปไว้ยังศาลที่ปลูกไว้ภายในบริเวณวัด ที่ศาลนี้มีพระพุทธรูปศิลาศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้วย ใครไปมาผ่านศาลก็จะกราบไหว้พระพุทธรูป และจะเห็นเต่าศิลาตัวนั้น แต่บางคราวเต่านั้นก็หายไป และก็น่าแปลกที่หลวงพ่อปานก็จะไม่อยู่ด้วยทุกครั้ง ทุกคนเข้าใจว่าท่านไปธุดงค์ในป่า แต่ทำไมจะต้องนำเต่าหินนั้นไปด้วยเพราะทั้งหนัก และต้องลำบากดูแลรักษา

เรื่อง นี้ใครๆ ไม่สนใจ แต่สามเณรน้อยองค์หนึ่งสนใจ และคอยแอบดูอยู่ ว่าเต่าหายไปไหนใครพามันไป ทั้งๆ ที่หนักมาก สามเณรน้อยนี้มีความพยายามมาก ท่านคอยซ่อนตัวแอบดูเต่าหินนั้น ซึ่งบัดนี้มีดวงตาเป็นหินสีเขียว โดยหลวงพ่อปานท่านลองใส่เข้าไปตรงดวงตาเต่าก็เข้ากันได้พอดี อย่างไรก็ตามความพยายามของสามเณร หลวงพ่อท่านก็ทราบโดยตลอด

ต่อมา เป็นวันข้างแรมเดือนดับ สามเณรก็ยังมาคอยดูอยู่เช่นเคย ทันใดนั้น! เณรน้อยก็ตกตะลึงตัวชาอยู่กับที่ เพราะเต่าหินกำลังเคลื่อนไหวคลานออกจากศาล และลอยไปในอากาศ เรียกว่าเต่าหินเหาะก็ไม่ผิด สามเณรพยายามข่มตาไม่ยอมหลับนอน ทนไว้เพื่อจะได้ดู ตอนเต่าหินกลับมา เวลาล่วงเลยไปจนถึงประมาณตี ๔ เณรน้อยก็ต้องอัศจรรย์ใจอีกครั้ง เพราะเต่าหินนั้นได้เหาะกลับมา และคลานกลับไปอยู่ที่เดิม สามเณรนั้นเดินไปสำรวจเต่าหินดู ก็ไม่มีอะไรผิดปกติ เป็นหินที่เขาสลักมาจากหินทราย ถ้าไม่ใช่ของกายสิทธิ์จะคลานแล้วลอยไปในอากาศได้อย่างไร หลวงพ่อปานท่านคอยดูความมานะ อดทนตลอดจนปัญญาไหวพริบของสามเณรน้อยลูกศิษย์ท่านอยู่เงียบๆ จากการสังเกตเฝ้าดู เณรน้อยพบว่าเต่าหินนี้จะเหาะไป และกลับตอนตี ๔ ทุกๆ วันแรม ๑๕ ค่ำ

ในที่สุดเณรน้อยก็ตัดสินใจ ท่านครองผ้าอย่างทะมัดทะแมง เตรียมตัวจะไปผจญภัยกับเต่าหิน เมื่อถึงเวลา เต่าหินก็ค่อยๆ คลานลงมาจากศาล สามเณรก็ปราดออกจากที่ซ่อน กระโดดเกาะเต่าหินนั้นไว้ เมื่อเต่าหินค่อยๆ ลอยขึ้นสามเณรก็กอดไว้แน่นด้วยใจระทึกเพราะเกรงจะตกลงไป ในที่สุดก็มาถึงเกาะแห่งหนึ่ง ไม่รู้ว่าเป็นสถานที่แห่งใด มองไปรอบๆ ตัวพบกับแสงสว่างเย็นตาน่ารื่นรมย์ เต่าหินค่อยๆ ลอยต่ำลง เมื่อถึงพื้นดินก็ตรงไปยังป่าไผ่ กินหน่อไผ่อย่างไม่รู้จักอิ่ม สามเณรก็ไม่กล้าลงจากหลังเต่า เพราะเกรงถูกทิ้งไว้ ได้แต่รั้งหักหน่อไม้มาได้หน่อหนึ่ง เพื่อเป็นสักขีพยานว่า ไม่ได้ฝันไป ได้มาอยู่บนเกาะนี้จริงๆ

เต่าหินนั้นกินอยู่พักหนึ่ง ก็เหาะกลับแต่ขณะที่เดินทางนั้น สามเณรไม่สามารถกำหนดจดจำทิศทางได้เลย เมื่อกลับมาที่วัด เต่าหินก็กลับไปประจำที่ ส่วนเณรน้อยก็ถือหน่อไม้เข้ากุฏิไป หลวงพ่อปานท่านพิจารณาแล้ว เห็นว่าเรื่องเต่าหินวิเศษนี้จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป ท่านจึงได้นำดวงตาอันเป็นหินสีเขียวสดใสนั้นออกเสีย เพื่อเต่าศิลาจะได้ไม่สามารถเหาะไปเที่ยวได้อีก (ท่านคงพิจารณาแล้วว่า ถ้าเรื่องถูกแพร่งพรายออกไปคงจะเกิดความวุ่นวาย และสามเณรนั้นคงจะทดลองเกาะเต่าไปเที่ยวอีก และอาจเกิดอันตราย กระผมเข้าใจว่า หลวงพ่อท่านสามารถควบคุมเต่าได้ และสามารถเกาะหลังเต่าไปในที่ต่างๆ ได้ ตามที่ท่านปรารถนา) ปัจจุบันเต่าหินตัวนี้ ยังปรากฏอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดใกล้เคียง (เรื่องเต่าหินเหาะได้นี้ ท่านพระครูโกศล ปาสาธิโก ศิษย์ของหลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นผู้ทรงอภิญญาเช่นเดียวกัน เป็นผู้เล่าให้ฟัง)

เนื่องจาก หลวงพ่อปานฯ เป็นผู้ที่ชอบเรียนรู้อยู่เสมอ ท่านจึงชอบธุดงค์ไปในที่ต่างๆ บางครั้งท่านก็ไปองค์เดียว คราวหนึ่งท่านเดินธุดงค์ไปทางจังหวัดปราจีนบุรี ไปถึงวัดโพธิ์ศรี เมื่อไปถึงวัด ท่านเจ้าอาวาสกำลังขึงกลองเพลอยู่ ท่านเห็นดังนั้นก็ลงมือช่วยเหลือทันที พอเสร็จเรียบร้อย สมภารท่านก็นิมนต์หลวงพ่อปานขึ้นไปคุยกันบนกุฏิ ขณะที่คุยกันอยู่มือของท่านสมภารก็ปั้นลูกดินกลมๆ อยู่ในมือ สักครู่หนึ่งท่านสมภารก็โยนลูกดินนั้นขึ้นไปบนอากาศ กลายเป็นม้าตัวหนึ่ง กับตุ๊กตาอีกตัวหนึ่งไล่จับเหยี่ยวอยู่บนท้องฟ้า

หลวงพ่อปานเห็นดัง นั้นท่านก็หัวเราะชอบใจ แต่ไม่ได้พูดอะไร เมื่อท่านลงจากกุฏิของท่านสมภารแล้ว ท่านได้พูดกับพระในวัดนั้นว่า “โดนลองดีเข้าให้แล้ว” พอพูดจบท่านก็หยิบผ้าสังฆาฏิที่พาดบ่าท่านอยู่ นำมาม้วนแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ ปรากฏว่าผ้านั้นได้กลับกลายเป็นกระต่ายหลายตัว วิ่งอยู่ในลานวัด ใครจะจับก็จับไม่ได้ เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น หลังจากนั้นหลวงพ่อปานท่านจะออกเดินธุดงค์ ท่านมักจะมุ่งหน้าไปทาง อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรีเสมอ เพราะในย่านนั้นเต็มไปด้วยพระอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม ท่านปรารถนาจะเรียนในสิ่งที่ท่านยังไม่รู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น

ท่านพระ ครูโกศล ปาสาธิโก ท่านเล่าให้ฟังว่า “หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ท่านเก่งเรื่องจิต ท่านแสดงฤทธิ์ได้มากมาย ท่านได้เคยเล่าถึงสรรพคุณของเต่าวิเศษที่พาท่านไปในเมืองลับแล ซึ่งเป็นภพซ้อนภพกันอยู่นี่ ได้ไปพบกับสิ่งอัศจรรย์หลายอย่าง พอเป็นคติเตือนใจ ครั้นเมื่อกลับมาจากการท่องเที่ยวครั้งนั้น หลวงพ่อปานได้เคร่งครัดการปฏิบัติกรรมฐานของท่านอย่างหนัก โดยไม่ปล่อยกาลเวลาให้ผ่านพ้นไป ท่านตระหนักดีว่า ชีวิตของท่านนั้นสั้นนัก ควรจะเร่งรีบภาวนา ทำจิตให้มีกำลัง มีสมาธิ และมีปัญญาติดตัวไว้ อุบายธรรมของท่าน ก็คือการพิจารณา สภาวธรรมความจริงแห่งวัฏฏะ เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความทุกข์ความวุ่นวาย เกิดเพราะจิตเข้าไปยึดมั่น จิตปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา การระงับดับเหตุทั้งปวง ย่อมต้องระงับดับที่ใจ เพราะใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน ท่านมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ เพื่อพระนิพพานเป็นที่หมาย เพื่อให้พ้นจากวัฏฏะอันหมุนวนไม่รู้จักจบ”

ก่อนที่หลวงพ่อปานจะ มรณภาพนั้น ประชาชนที่มีความเคารพบูชาหลวงพ่อ ได้พร้อมใจกันหล่อรูปท่านขึ้นมาองค์หนึ่ง ขนาดเท่าองค์จริง เพื่อไว้เป็นที่เคารพบูชา เพราะหลวงพ่อไม่ค่อยได้อยู่วัด ท่านมักจะเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เป็นประจำ จะได้กราบรูปหล่อแทนตัวท่าน แต่เมื่อหล่อรูปแล้วท่านก็ไม่ค่อยจะเข้าวัด ท่านมักจะปลีกตัวไปจำวัดที่พระปฐมเป็นประจำ การที่ท่านไม่อยากเข้าวัดของท่านนั้น อาจเป็นเพราะท่านรู้ล่วงหน้าว่าถึงคราวจะหมดอายุขัยแล้ว ท่านจึงต้องการความสงบในการพิจารณาธรรม แต่ท่านก็ไม่กล้าพูดกับใครๆ เมื่อญาติโยมอ้อนวอนมากๆ เข้า ท่านก็บ่ายเบี่ยงไปว่า “เข้าไปไม่ได้ อ้ายดำมันอยู่ ขืนเข้าไปอ้ายดำมันจะเอาตาย” คำว่า “อ้ายดำ” หมายถึงรูปหล่อของท่านนั่นเอง ปัจจุบันนี้รูปหล่อของท่านก็ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดมงคลโคธาวาส (วัดคลองด่าน หรือวัดบางเหี้ย) คืออยู่ที่กุฏิของหลวงพ่อซึ่งได้จัดสร้างขึ้นใหม่ และปรากฏความศักดิ์สิทธิ์มากมาย น้ำมนต์ที่หน้ารูปหล่อของท่านก็มีคนนำไปดื่ม และทองคำเปลวที่รูปหล่อก็มีคนนำไปปิดที่หน้าผาก เพื่อรักษาโรคได้ผลมาแล้วมากมาย

ด้าน สาธารณประโยชน์ หลวงพ่อเป็นผู้นำในการสร้างถนนจากคลองด่านไปบางเพรียง ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสไปวัดสว่างอารมณ์ ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสจรดคลองนางหงษ์ ถนนแต่ละสายปัจจุบันได้พัฒนาเป็นถนนถาวรและใช้สัญจร ไปมาจนถึงทุกวันนี้

ด้าน ความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของหลวงพ่อนั้น เป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป เป็นพระอาจารย์ ที่มีญาณแก่กล้าชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องรางของขลัง ของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธามากและสืบ เสาะหากันจนทุกวันนี้ ท่านคร่ำเคร่งทางวิปัสสนามากและ ธุดงค์อยู่เสมอ ด้วยคุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่งของหลวงพ่อที่ได้ประกอบขึ้นไว้ แต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ ราษฎรในตำบลใกล้เคียง กระทั่งต่างอำเภอและต่างจังหวัดพากันเคารพนับถือและรำลึก ถึงหลวงพ่ออย่างไม่ เสื่อมคลาย

ด้านสมณศักดิ์ หลวงพ่อปาน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ"

ท่านมรณภาพเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 4 ทุ่ม 45 นาที

เมื่อ ท่านถึงมรณภาพไปแล้วจึงร่วมกันประกอบพิธีนมัสการรูปหล่อของท่าน รูปหล่อดั้งเดิมของท่าน ปัจจุบัน อยู่ที่มณฑปวัดมงคลโคธาวาส อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ


ข้อมูลจากเวป พระรัตนตรัย กระดานสนทนาธรรม ......ขอบคุณมากครับ

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 13, 2012, 06:57:53 pm »

ประวัติวัดบางพลีใหญ่ใน

-http://www.watbangpleeyainai.org/node/1-







.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 13, 2012, 06:56:55 pm »

ประวัติหลวงพ่อโต

-http://www.watbangpleeyainai.org/node/2-





.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 02, 2012, 09:28:40 pm »

มีถ่ายรูปเอียงด้วย

มือไม่ค่อยนิ่งเท่าไหร่เลย

ดีใจที่ชอบครับ
.
ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ตุลาคม 01, 2012, 10:59:11 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่หนุ่ม
พี่หนุ่มถ่ายภาพได้งดงามมากครับ
ผมชอบบรรยากาศตลาดบางพลีครับ ^^ แล้วก็ชอบปลาจัง