ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 20, 2012, 12:26:52 am »
2.โสตปสาทรูป
คือ ปสาทหู เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับเสียง(สัททารมณ์)ได้ มีลักษณะเหมือนวงแหวน มีขนสีแดงเส้นละเอียดอยู่โดยรอบ เป็นรูปที่เกิดมาจากกรรม ดังนั้น หูจึงต้องรับเสียงทั้งที่พอใจและไม่พอใจ ซึ่งเป็นวิบากที่เกิดจากการทากรรมไว้แล้วในอดีต ถ้าพิจารณาตามความเป็นจริงถึงผลที่ได้รับในปัจจุบันนี้ก็เพราะเหตุที่ตนได้ กระทาไว้แล้วทั้งที่ดีบ้างและไม่ดีบ้าง ฉะนั้นผลจึงเป็นอย่างนี้ จะทาให้เรามีชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าจะประสบกับวิบากกรรมใด ๆ ก็สามารถพิจารณาถึงหลักความจริงได้
3.ฆาน ปสาทรูป
เป็นรูปที่มีความใส สามารถรับกลิ่นต่าง ๆ (คันธารมณ์) ได้ มีลักษณะคล้ายกีบเท้าแพะ คือมีลักษณะเป็น ๒ ซีกเหมือนกีบเท้าแพะ ฆานปสาทรูปเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ดังนั้น จมูกจะต้องรับกลิ่นทั้งที่พอใจและไม่พอใจ เช่นเดียวกัน
4.ชิวหา ปสาทรูป
คือ ปสาทลิ้น เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับรสต่าง ๆ(รสารมณ์) ได้ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลีบดอกบัว ชิวหาปสาทรูปเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ดังนั้นจึงได้รับรสต่าง ๆ กันไป
5.กายปสาทรูป
คือ ปสาทกาย เป็นความใสของกายปสาทที่สามารถรับกระทบจากสัมผัสต่าง ๆ เรียกว่าโผฏฐัพพารมณ์ คือรับกระทบความแข็งความอ่อน คือ ธาตุดิน รับกระทบความเย็นความร้อน คือธาตุไฟ รับกระทบความหย่อนตึง คือ ธาตุลมได้ กายปสาท คือ ความใสจะมีอยู่ทั่วไปตามร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะถึงเท้า เว้นแต่เส้นผม ปลายเล็บ หรือหนังหนา ๆ จะไม่มีกายปสาท เวลาตัดผมตัดเล็บจึงไม่รู้สึกเจ็บ กายปสาทรูปนี้เป็นรูปที่เกิดจากกรรม คือวิบากของกรรมดีและกรรมชั่ว ดังนั้นการได้รับความสุขความทุกข์ทางกายของคนและสัตว์จึงแตกต่างกันไป จะเห็นว่าบางคนมีความเป็นอยู่อย่างสุขสบายไม่ต้องตากแดดตากลมตรากตราทางานหนัก หรือสัตว์บางตัวก็มีความสุขกายได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีก็เพราะผลของกรรมที่ ได้ทาไว้แล้วเช่นกัน.
.....................................รูปประเภทที่สาม วิสยรูป 4 หรือ โคจรรูป 7......................................
ได้แก่ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป (อ่านว่า วัน - นะ - รูป สัด-ทะ - รูป ,คัน - ทะ-รูป ระ - สะ - รูป)
คาว่า วิสัย เป็นคาในภาษาไทย แปลว่า ขอบเขต แดน ความเป็นอยู่ เช่นวิสัยทัศน์ คือการมองเห็นที่มีขอบเขต
ดังนั้น............คำว่า วิสยรูป จึงหมายถึง รูปที่เป็นที่ขอบเขต เช่น วัณณรูป (หรือ รูปารมณ์)เป็นขอบเขตของจักขุวิญญาณอาศัยเกิดขึ้นเท่านั้น
(ไม่เป็นที่อาศัยของโสตวิญญาณหรืออื่น ๆ)
วิสยรูป มีการกระทบกับปสาทรูปทั้ง 5 มีจักขุปสาทรูป เป็นต้น เป็นอารมณ์ให้แก่ ปัญจวิญญาณจิตทั้ง 5 มีจักขุวิญญาณจิต เป็นต้น
คำว่า โคจรรูป แปลว่า รูปอันเป็นที่โคจรท่องเที่ยวไปของจิต มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น ฉะนั้นการจะเรียกว่าวิสยรูป หรือ โคจรรูป ก็เป็นไปตามความหมายข้างต้น ส่วนจานวน 4 ก็เป็นการนับเฉพาะ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป ถ้าจะนับเป็น 7 ก็รวมเอา โผฏฐัพพารมณ์ 7 คือ ปถวี เตโช วาโย เข้าไว้ด้วยกันเป็น 7 เพราะทั้ง 7 เป็นอารมณ์ให้แก่ จิต และเจตสิกเกิดร่วมได้
..........................................1.วัณณรูป...................................
หรือ รูปายตนะ คือ สี เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีต่าง ๆ ที่เกิดจากแสงสะท้อนแล้วมากระทบที่จักขุปสาท รูปทั้งหลายทั้งหมดที่มีอยู่ล้วนแต่เป็นสีหรือภาพทั้งสิ้น รูปถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วจะไม่ต่างกันเลย คือ สีจะทาหน้าที่กระทบกับจักขุปสาท แล้วทาให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น นี้คือความจริงของสภาพธรรมะที่มีอยู่ แต่เมื่อบุคคลเห็นสีต่าง ๆ แล้วก็มีความยินดี คือ ตัณหา มีความยึดมั่น คือ อุปาทานเข้าไปยินดีพอใจ ยังมีโทสะ คือ ความไม่ชอบใจบ้าง เข้าไปยึดมั่นตามสมมุติบัญญัติที่รู้จักว่า นี้คือนาย ก.นาง ข.บ้าง ยึดมั่นว่าเป็นของเราบ้าง เป็นตัวตนของเราบ้าง แท้ที่จริงแล้วสภาพความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายที่เห็นอยู่เป็นเพียงสีที่เกิด จากมีแสงสว่าง แล้วสะท้อนเอาสีหรือภาพนั้นเข้าสู่จักขุปสาท ทาให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นรับรู้สีนั้นหรือภาพนั้นเท่านั้นเอง เมื่อรู้แล้วทั้งจิตที่รับรู้ทั้งภาพทาให้รับรู้พร้อมทั้งจักขุปสาทก็ดับไป ไม่ได้ตั้งอยู่ แต่ด้วยเพราะมีตัณหาคือ ความพึงพอใจมีอุปาทานเข้าไปยึดมั่น ทาให้ปุถุชนจึงไม่สามารถพิจารณาสภาพ
ธรรมตามความจริงได้ เมื่อได้ศึกษาวัณณรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็สามารถเจริญวิปัสสนาได้ การเจริญวิปัสสนาสามารถทาได้ทุกที่ถ้ามีความรู้ที่ถูกต้องอย่างนี้
.........................................2.สัททรูป........................................
หรือสัททายตนะ คือ เสียง หรือคลื่นเสียงที่มากระทบโสตปสาท เสียงได้แก่ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงขับร้อง เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้า เสียงนี้เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ เสียงถึงแม้ว่าจะมีมากมายหลายอย่าง แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว เสียงจะมีลักษณะเหมือนกันหมด คือ มีการกระทบโสตปสาท เป็นลักษณะ เมื่อกระทบแล้วก็ทาให้โสตวิญญาณจิตเกิดสามารถรับรู้เสียงนั้นได้บุคคลทั้งหลายที่ยังมีตัณหา คือ ความยินดีพอใจ ยังมีอุปาทานคือ ความยึดมั่นเป็นตัวเป็นตนอยู่ยังมีโทสะ คือความไม่พอใจอยู่ ทาให้เข้าใจว่านี้เป็นเสียงของเรา เสียงนี้เป็นเสียงของคนที่เรารัก หรือเกลียด มันจึงทาให้เราไม่สามารถระลึกรู้ถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้ ปุถุชนจึงต้องทุกข์อยู่อย่างนี้ไม่สามารถพ้นไปจากวัฏฏทุกข์ได้ แต่ถ้าได้ศึกษาแล้วก็สามารถที่จะพิจารณาลักษณะที่แท้จริงของเสียงได้ เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องปัญญาก็จะเกิดขึ้นกับท่านได้ การพิจารณาสภาพธรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว เมื่อพิจารณาอยู่บ่อย ๆ ก็จะรู้จักว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม

...........3.คันธารูป.......................................
หรือคันธายตนะ ได้แก่ กลิ่น ซึ่งเป็นไอระเหยของวัตถุสิ่งของที่มีกลิ่น ที่มากระทบกับจมูก (ฆานปสาทรูป) ฆานวิญญาณจิตเกิดขึ้นทาให้รู้กลิ่นเช่น กลิ่นหอมของดอกไม้ หรือน้าหอมเป็นต้น กลิ่นทั้งหลายเมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบฆานปสาทเป็นลักษณะ เหมือนกันหมด
.............................................4.รสรูป...........................................
หรือ รสายตนะ ได้แก่ รสต่าง ๆ เช่น รสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ขม ฝาด ที่ปรากฏที่ลิ้น (ชิวหาปสาทรูป) ชิวหาวิญญาณจิตก็จะทาหน้าที่รู้รสต่าง ๆ ได้ รสต่าง ๆ เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบชิวหาปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด คาว่า รส ยังใช้ในความหมายต่าง ๆ ได้อีก ๔ ประการ 1.ธรรมรส หมายถึง การทาบุญ - ทาบาป ที่เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม 2.อรรถรส หมายถึง ผลของบุญ - บาป ที่บุคคลได้กระทาไว้แล้วจะทาให้เกิดรสชาติ ของความทุกข์ความระทมขมขื่น หรือความสุขความสาราญใจตามมา 3.วิมุตติรส หมายถึง รสของการเข้าถึงนิพพาน พ้นจากกิเลสซึ่งทาให้เศร้าหมอง 4. อายตนรส หมายถึง รสต่าง ๆ ที่มากระทบกับลิ้น
......................................โผฏฐัพพารูป................................
หรือ โผฏฐัพพายตนะ ถ้านับว่าวิสยรูป 4 หรือ โคจรรูป 7 ตามที่ได้อธิบายแล้วในหัวข้อรูปประเภทที่สาม ก็ต้องอธิบายถึง โผฏฐัพพายตนะต่อไปว่า โผฏฐัพพายตนะได้แก่ สิ่งที่มากระทบกับร่างกาย มีลักษณะ แข็ง - อ่อน ได้แก่ ปถวีธาตุ ร้อน - เย็น ได้แก่ เตโชธาตุ และหย่อน - ตึง ได้แก่ วาโยธาตุ (ส่วนลักษณะของธาตุน้านั้นไม่สามารถรู้ได้ทางกาย แต่รู้ได้โดยทางใจเท่านั้น)

รูปประเภทที่ 4 ภาวรูป 2
ภาวรูปหมายถึง รูปที่แสดงความเป็นหญิงหรือชาย เป็นรูปที่รู้ได้ด้วยใจ (ไม่ใช่เห็นด้วยตา) โดยอาศัย รูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่าง ๆ ให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย ภาวรูป 2 ได้แก่ อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ (อ่านว่า อิด - ถี - ภา -ว ะ ปุ - ริ - สะ - ภา - วะ)
1.อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความ
เป็นเพศหญิง
2.ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความ
เป็นเพศชาย
รูปทั้ง 2 เป็นสุขุมรูป คือ รูปที่ละเอียดที่เกิดมาจากกรรม(มีกรรมเป็นสมุฏฐาน) เป็นรูปที่เกิดครั้งแรกในชีวิต มีอยู่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจเห็นไม่ได้ด้วยตา อุปมาเหมือนต้นไม้เมื่อได้โอกาสงอกหยั่งรากแล้วก็ทาให้เติบโตสมบูรณ์แผ่กิ่ง ก้านสาขา
อิตถินทรีย์ หรือสภาวะความเป็นหญิงมีอยู่ย่อมเป็นปัจจัยให้ปรากฏทรวดทรงหญิง เครื่องหมายให้รู้ว่าหญิง เป็นต้น
ทากรรมอะไรจึงต้องเกิดมาเป็นหญิงหรือ ชาย เกิดเป็นชายก็เพราะกาลังของการทากุศลในชาติก่อนมีกาลังแรง เข้มแข็ง การตัดสินใจและการตั้งใจเด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว เกิดเป็นหญิงเพราะกาลังของกุศลอ่อน การตัดสินใจและการตั้งใจไม่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็งเหมือนชาย ฉะนั้นการเกิดมาเป็นหญิงหรือชายก็ขึ้นอยู่กับกาลังของบุญกุศลที่เราได้กระทา มาแล้วนั่นเอง แต่อีกนัยหนึ่งการเกิดเป็นหญิงเพราะการประพฤติผิดศีลข้อ ๓ และในบุคคลบางคนก็มีความพอใจในความเป็นหญิงก็ทาให้เกิดมาเป็นหญิงได้เช่นกัน
รูปประเภทที่ 5 หทยรูป
คาว่า หทัย เป็นชื่อของก้อนเนื้อหัวใจ ในก้อนเนื้อหัวใจนั้นข้างในมีหลุมขนาดบรรจุเมล็ดดอกบุนนาคได้ มีโลหิตขังอยู่ประมาณกึ่งซองมือ หทยรูปก็อยู่ในโลหิตกึ่งซองมือนี้นั่นเอง หทยรูปนี้ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นแหล่งที่อาศัยเกิดของจิต (มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุและธรรมอื่นที่เกิดประกอบ)
หทยรูปนี้มี 2 อย่าง คือ 1.มังสหทยรูป ได้แก่ ก้อนเนื้อที่เป็นรูปหัวใจ มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม 2.วัตถุหทยรูป ได้แก่ เป็นรูปพิเศษที่อยู่ในมังสหทยรูปอีกทีหนึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา........................................................
......................................รูปประเภทที่ 6 ชีวิตรูป...............................................
ชีวิตรูป คือ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม ชีวิตรูปมีหน้าที่รักษารูปทั้งหลายมิให้เน่าเปื่อยแตกสลาย
ทำให้คนเรามีชีวิตอยู่ได้ ทำให้สร้างกุศลกรรม อกุศลกรรมต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คาว่าชีวิต มี 2 อย่าง คือ รูปชีวิต และ นามชีวิต รูปชีวิต
ได้แก่ ชีวิตรูปนี้เอง ส่วนนามชีวิต ได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิก


ที่มา - http://www.sookjai.com/index.php?topic=1477.0
คลิ๊กอ่านต่อ - http://www.buddhism-online.org/pdf/section5.1.pdf