ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 21, 2012, 04:48:56 pm »




[วรรคที่ ๘ วรุณวรรค มีชาดก ๑๐ เรื่อง]
๑. ลูกศิษย์สันหลังยาว (วรุณชาตกํ)

[๗๑] โย  ปุพฺเพ  กรณียานิ          ปจฺฉา  โส  กาตุมิจฺฉติ
วรุณกฏฺฐํ     ภญฺโชว              ส  ปจฺฉา  อนุตปฺปตีติฯ
ความนำ
      พระพุทธเจ้าเมื่อประทับอยู่ในวัดพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระผู้เป็นบุตรกุฎุมพี ได้ตรัสพระธรรมเทศนาคือคาถาที่ปรากฏ ณ เบื้องต้น 
ปัจจุบันชาติ
      มีเรื่องเล่ากันมาว่า วันหนึ่ง มีชายชาวเมืองสาวัตถีผู้เป็นเพื่อนรักกันประมาณ              ๓๐ คน ได้ถือเครื่องสักการะไปวัดด้วยตั้งใจว่า จักไปฟังเทศน์ของพระพุทธเจ้า จึงพากันไปยังวัดพระเชตวัน นั่งพักรอคอยเวลาอยู่
      ตกเย็น เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกมาแสดงธรรม พวกเขาฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใส  จึงไปขอบรรพชาในสำนักพระศาสดา
       ต่อมา ได้อุปสมบทอยู่ในสำนักพระอาจารย์และอุปัชฌาย์จนครบ ๕ พรรษา จึงไปถวายบังคมลาโดยได้ขอเรียนกรรมฐานว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ รู้สึกเอือมระอาต่อการที่จะต้องไปเกิด แก่ เจ็บ ตาย ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกพระกรรมฐานเพื่อจะได้ปลดเปลื้องตนออกจากสังสารทุกข์แก่พวกข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า
      พระพุทธเจ้าทรงประทานกรรมฐานเป็นที่สบายข้อหนึ่งแก่พวกเขา ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลลาพระพุทธองค์เข้าไปสู่ป่าเพื่อเจริญสมณธรรม ในภิกษุเหล่านั้น มีภิกษุรูปหนึ่งมีชื่อเรียกกันว่า กุฏุมพิกปุตตติสสเถระ เป็นผู้เกียจคร้าน ฉันจุ เธอคิดว่า ถ้าเราจะต้องไปอยู่ในป่ากับเพื่อนฝูงคงไม่ไหวแน่เพราะในป่าหาอาหารได้ลำบาก กลับดีกว่า คิดดังนั้นแล้ว จึงขอลาเพื่อนกลับวัดพระเชตวัน
      ฝ่ายพระภิกษุผู้เป็นสหายของท่าน ได้จาริกไปแคว้นโกศลจนถึงหมู่บ้านชายแดนตำบลหนึ่ง พากันเข้าไปจำพรรษาอยู่ที่ชายป่าแห่งหนึ่ง เป็นผู้ไม่ประมาทพากเพียรอยู่ตลอดพรรษา ในที่สุด สามารถทำโลกธาตุให้หวั่นไหวด้วยการบรรลุอรหัตต์
      พอออกพรรษาปวารณาเสร็จแล้วจึงปรึกษากันว่า จะไปกราบทูลพระศาสดาให้ทรงทราบถึงคุณวิเศษที่พวกตนได้บรรลุแล้ว ต่างก็พากันไปยังสำนักพระบรมศาสดา                ถวายบังคมแล้วกราบทูลถึงคุณวิเศษที่พวกตนบรรลุแล้ว พระพุทธองค์ได้ทรงกระทำปฏิสันถารด้วยพระดำรัสที่ไพเราะกับภิกษุเหล่านั้นพร้อมทั้งสรรเสริญในความสำเร็จของพวกเธอ
      คืนนั้น พวกภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อจะกลับไปอยู่ในวัดป่าตามเดิมในเช้าวันรุ่งขึ้น
      ฝ่ายพระเถระนั้น เมื่อทราบว่าเพื่อนบรรลุธรรมก็อยากจะหมดกิเลสเหมือนเพื่อน จึงเร่งบำเพ็ญเพียรตลอดทั้งคืน พอถึงมัชฌิมยาม ด้วยความง่วงนอนจึงเผลอยืนหลับและกลิ้งตกลงมากระดูกขาแตกเกิดทุกขเวทนามากมาย
      เหล่าเพื่อนพระมัวแต่ต้องคอยดูแลพยาบาลท่าน จึงทำให้การเดินทางต้องล่าช้าออกไป พระศาสดาพอพบท่านเหล่านั้น จึงตรัสทักว่า พวกเธอยังไม่กลับวัดป่าอีกหรือ                พวกท่านจึงกราบทูลให้ทรงทราบถึงเหตุผลที่ต้องล่าช้า
      พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่เฉพาะแต่ในบัดนี้เท่านั้นที่ภิกษุรูปนี้รีบเร่งกระทำความเพียรในเวลาอันไม่เหมาะสมเพราะความที่ตนเป็นคนเกียจคร้าน จึงทำให้พวกเธอต้องล่าช้าในการเดินทาง แม้ในครั้งก่อนภิกษุรูปนี้ก็เคยทำอย่างนี้มาแล้วเหมือนกัน      จากนั้น  จึงทรงนำเรื่องราวในอดีตมาสาธกยกอธิบายให้ฟัง ดังต่อไปนี้
อดีตชาติเนื้อหาชาดก
      ในอดีตกาล มีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ท่านหนึ่งได้สอนวิชาความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ประมาณ ๕๐๐ คนอยู่ที่เมืองตักกสิลา ในแคว้นคันธาระ
      วันหนึ่ง พวกลูกศิษย์ของท่านได้เข้าไปในป่าเพื่อรวบรวมฟืนอยู่ มีลูกศิษย์เกียจคร้านคนหนึ่งเห็นต้นกุ่มใหญ่ก็คิดว่าเป็นต้นไม้แห้ง จึงคิดว่า ขอนอนพักสักครู่หนึ่ง ตื่นขึ้นมาค่อยขึ้นไปหักฟืนหอบเอากลับไป จึงนอนหลับกรนเสียงดัง
      เพื่อน ๆ ของเขา ผูกฟืนมัดแบกขึ้นบ่า พอเดินผ่านเขาก็เอาเท้าสะกิดปลุกให้เขาตื่น เขาสะดุ้งตื่นขึ้น กำลังงัวเงีย รีบปีนขึ้นไปบนต้นกุ่มจับกิ่งเหนี่ยวมาตรงหน้าตนเพื่อจะหัก            ปลายกิ่งไม้ก็ดีดเอานัยน์ตาบอดไปข้างหนึ่ง เขาเอามือกุมตาไว้ข้างหนึ่ง มืออีกข้างหนึ่งหักฟืนสด ๆ ลงจากต้น มัดแบกเอาไปทิ้งทับกองฟืนที่เพื่อนกองกันเอาไว้
      ในวันนั้น ตระกูลหนึ่งจากบ้านในชนบทได้เชิญอาจารย์เอาไว้ว่า พรุ่งนี้ พวกผมจักเชิญพราหมณ์ให้มาสวดมนต์ อาจารยจึงบอกมาณพว่า ลูกศิษย์ทั้งหลาย พรุ่งนี้ พวกเราจะต้องไปงานกัน  พวกเธอควรจะต้องทานอาหารเช้ากันให้เรียบร้อยก่อน ขอให้พวกเธอไปสั่งแม่ครัวให้หุงข้าวต้มไว้แต่เช้าตรู่
      พวกมาณพเหล่านั้น จึงไปบอกให้นางทาสีลุกมาหุงข้าวต้มแต่เช้ามืด นางจึงไปนำฟืนที่เป็นไม้กุ่มสดมาทำเป็นเชื้อเพลิง แม้ว่านางจะใช้ปากเป่าลมบ่อย ๆ ก็ไม่อาจทำให้ไฟลุกขึ้นมาได้ จนตะวันสายโด่ง
      พวกลูกศิษย์เห็นว่าช้าไม่ทันเวลาแล้วจึงพากันไปสำนักอาจารย์ อาจารย์พอเห็นพวกลูกศิษย์ก็แปลกใจถามว่า พวกเจ้าไม่ได้ไปงานตามที่อาจารย์สั่งไว้หรือ  พวกเขาจึงเรียนให้ทราบว่า ไม่ได้ไป พร้อมทั้งให้เหตุผลว่า เจ้าเพื่อนขี้เกียจของผม ตอนไปหาฟืนก็มัวแต่นอนหลับ ตอนหาฟืนก็ไม่ทันระวังไปหักต้นไม้สดจนทำให้ตาบอดไปข้างหนึ่ง ที่สำคัญเขาไปหอบเอาฟืนสดมามัดหนึ่ง ฝ่ายแม่ครัวไม่ทันได้สังเกตเพราะเป็นเวลาเช้ามืด จึงเอาไปทำฟืนทำให้หุงข้าวไม่ทัน จนพวกผมไปงานไม่ทันครับ
      ท่านอาจารย์ เมื่อได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดจบจึงกล่าวว่า เพราะอาศัยการกระทำของคนโง่เขลาเพียงคนเดียว ความวุ่นวายจึงได้เกิดขึ้นมากมาย จากนั้น ได้กล่าวคาถานี้ว่า   

“การงานที่ควรจะต้องรีบกระทำให้เสร็จก่อน แต่บุคคลกลับไปทำเสียในภายหลัง
ผู้นั้นย่อมจะต้องเดือดร้อนในภายหลัง เหมือนมาณพหักไม้กุ่มเดือดร้อนอยู่นั่นเอง”

ความหมายของคาถา
      ในการทำงานบุคคลควรจะต้องใช้ปัญญาพิจารณาว่า งานใดควรทำก่อนหรืองานใดควรทำในภายหลัง แต่ถ้ามัวเกียจคร้าน เช่น ขี้เกียจแอบไปนอนเสียในขณะที่คนอื่นกำลังทำงาน พอถึงเวลา ก็จะรีบเร่งเพื่อจะทำให้ทันเขา จะทำให้เกิดความผิดพลาดต้องลำบากเสียใจในภายหลัง เหมือนมาณพที่หักไม้กุ่มนั้นเอง      
      พระศาสดาตรัสสรุปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุรูปนี้ทำให้พวกเธอต้องเสียเวลา แม้ในอดีตชาติ เธอก็เคยทำอย่างนี้มาแล้วเหมือนกัน ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า มาณพที่ตาบอดเพราะความขี้เกียจในครั้งนั้นได้กลับชาติมาเกิดเป็นภิกษุผู้กระดูกแตกในบัดนี้  เหล่ามาณพผู้เป็นลูกศิษย์ในครั้งนั้นได้กลับชาติมาเกิดเป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนพราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ได้กลับชาติมาเกิดเป็นเราตถาคต
            
สรุปสุภาษิตจากชาดกนี้
       น้ำขึ้นให้รีบตัก
วิเคราะห์แนวคิดเชิงจริยธรรมอันเป็นหัวใจหลักในชาดกนี้   
      ชาดกนี้ชี้ให้เห็นโทษของความเกียจคร้านว่าไม่เคยให้คุณแก่ใคร ในอดีตชาติทำให้ตาบอด ส่วนในชาติปัจจุบันในขณะที่เพื่อนหมดกิเลส หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด ตัวเองก็กลับมาเร่งทำความเพียรเพื่อจะให้หมดกิเลสเหมือนกัน แต่เป็นการเร่งความเพียรมากไปจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุจนถึงกับกระดูกขาหัก แสดงให้เห็นว่าความขี้เกียจที่สั่งสมอยู่ในจิตนั้น ทำให้เกิดความขี้เกียจข้ามชาติได้เหมือนกัน
      ดังนั้น จึงควรรีบเร่งขวนขวายที่จะทำกิจการงานทุกอย่างให้เสร็จเรียบร้อย ไม่ควรทำให้เกิดดินพอกหางหมู จะทำให้เสียงานและเวลาเหมือนในชาดกนี้ฯ
            
๑/๘/๒๕๕๐
***********************


อาจารย์ชัชวาลย์ ชิงชัย-http://www.buddhism.rilc.ku.ac.th/chachawarn/part_4.html