ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2012, 11:24:25 am »




   ๓๔. เธออยู่ที่ไหน ?

   ครั้งหนึ่ง พอท่านครูบาของเราเลิกการประชุมเทศนารอบประจำวันที่อาวาส กาย-ยวน ใกล้ ๆ กับฮุงเจา บังเอิญข้าพเจ้า (เป่ย-สุ่ย ผู้บันทึกเรื่องนี้) ได้ไปถึงบริเวณนั้นพอดี ทันใดนั้นเอง ข้าพเจ้าได้เหลือบเห็นภาพเขียนที่ฝาผนังภาพหนึ่ง และเมื่อได้ถามภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลสถานที่นั้นก็ได้ทราบว่าเป็นภาพ ของภิกษุผู้มีชื่อเสียงรูปหนึ่ง

   ข้าพเจ้าได้พูดว่า “จริงหรือนี่ ? ถูกแล้ว กระผมได้เห็นภาพเหมือนของท่านผู้นั้นอยู่ตรงหน้าผม แต่ตัวจริงของบุคคลนั้นเล่าอยู่ที่ไหน ?” คำถามของข้าพเจ้าได้รับคำตอบเป็นเพียงดุษณีภาพ
   ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงท้วงว่า “แต่ที่แท้นั้น ภิกษุที่บรรลุเซ็น ก็มีอยู่ในวิหารนี้มิใช่หรือ ?”
   “ถูกแล้ว” มีอยู่หนึ่ง

   หลังจากนั้น ข้าพเจ้าได้ขอพบในที่ประชุมใหญ่พร้อมทั้งท่านครูบา และได้เล่าถึงการสนทนาเมื่อตะกี้หยก ๆ แก่ท่าน
   “เป่ย สุ่ย !” ท่านร้องขึ้นดัง ๆ
   “ขอรับ !” ข้าพเจ้าขานรับด้วยความเคารพ
   “เธออยู่ที่ไหน ?”

   เมื่อได้เห็นว่าไม่มีคำตอบใด ๆ ที่อาจตอบแก่คำถามเช่นนั้นได้ ข้าพเจ้าก็ได้ขอร้องให้ท่านครูบาของเรา กลับเข้าไปในโรงแสดงธรรมและแสดงธรรมต่อไป



นำมาแบ่งปันโดย.. baby@home - http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=320.0

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2012, 11:00:16 am »




   ๓๓. ภิกษุผู้เป็นนักล่าเลียงผา

   วันหนึ่ง ภิกษุผู้มาใหม่ห้ารูปด้วยกัน ได้ปรากฏตัวต่อหน้าครูบาของเราคราวเดียวกันทั้งหมู่ ภิกษุองค์หนึ่งในบรรดาภิกษุเท่านั้นแทนที่จะทำความเคารพตามธรรมเนียม กลับยืนเอามือเขียนอากาศเป็นรูปวงกลมอยู่ตรงหน้า

   “ท่านทราบไหมว่า ทำอย่างไรจึงจะเป็นสุนัขไล่เนื้อที่ดี ?” ท่านครูบาของเรา ได้กล่าวถามภิกษุรูปนั้น
   “ข้าพเจ้าต้องติดตามกลิ่นของเลียงผา ซิครับ”
   “ถ้าเลียงผาเป็นสัตว์ที่ไม่มีกลิ่นเล่า เธอจะติดตามอะไร ?”
   “ถ้าดังนั้น ผมต้องติดตามรอยกีบของมัน ซิครับ”

   “ถ้ารอยกีบของมันไม่มีเล่า เธอจะทำอย่างไร ?”
   “ข้าพเจ้าก็ยังติดตามร่องรอยอย่างอื่น ๆ ของสัตว์นั้นได้อยู่นี่ครับ”
   “ถ้าร่องรอยอะไร ๆ ก็ไม่มีเล่า เธอจะติดตามอะไรได้อย่างไร ?”
   “ในกรณีเช่นนั้น มันต้องเป็นเลียงผาที่ตายแล้ว โดยแน่นอน” ภิกษุรูปนั้นได้ตอบไปในที่สุด

   ท่านครูบาของเราไม่ได้กล่าวอะไรอีกเลยในขณะนั้น แต่ในวันรุ่งขึ้น ครั้นเสร็จจากการแสดงธรรมแล้ว ท่านได้ขอร้องว่า “ภิกษุผู้เป็นนักล่าเลียงผาเมื่อวานนี้ โปรดก้าวออกมาที่นี่” ภิกษุรูปนั้นกระทำตามและท่านครูบาของเราได้ถามขึ้นว่า “สหายที่เคารพของข้าพเจ้าเมื่อวานนี้ท่านถูกปล่อยไปโดยไม่มีการพูดอะไร ท่านทราบไหมว่ามันหมายความว่าอย่างไร ?"

   เมื่อเห็นว่าภิกษุนั้นไม่มีคำตอบอะไร ท่านครูบาได้กล่าวต่อไปว่า “อ้าว ท่านจะเรียกตัวเองว่าเป็นภิกษุที่แท้จริงรูปหนึ่ง ก็ได้ แต่ที่แท้ท่านเป็นเพียงสามเณรปริยัติสมัครเล่นรูปหนึ่งเท่านั้น”

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2012, 10:57:13 am »



     
   ๓๒. จะใช้อะไรตัดผักเหล่านั้นเล่า ?

   ครั้งหนึ่ง ท่านครูบาของเราได้ขออนุญาตเพื่อออกไปข้างนอกสักครู่และท่าน นาน-ซาน ได้ถามว่าจะไปไหน
   “ข้าพเจ้าจะออกไปเอาผักสักหน่อยเท่านั้นเอง” ท่านครูตอบ
   “ท่านจะใช้อะไรตัดผักเหล่านั้นเล่า ?” ท่าน นาน-ซาน ถาม

   ท่านครูบาของเราได้ชูมีดของท่านขึ้น ทันใดนั้น ท่าน นาน-ซาน ได้ท้วงว่า “อ้าว การทำอย่างนั้น ใช้ได้สำหรับแขกแต่ใช้ไม่ได้สำหรับเจ้าของบ้าน”
   ท่านครูบาของเราได้แสดงความชอบใจด้วยการโค้ง ๓ ครั้ง

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2012, 10:53:59 am »




   ๓๑. ความนิ่งเงียบ

   อีกคราวหนึ่ง ท่านครูบาของเรานั่งอยู่ในห้องน้ำชา ท่าน นาน-ฉึ่น ได้ลงมาและถามท่านว่า “ข้อที่ว่า ญาณทัศนะอันแจ่มแจ้งต่อพุทธสภาวะย่อมเป็นผลเกิดมาจากการศึกษาธฺยานะ และปรัชญา นั้นมันหมายความว่าอย่างไรกัน ?

   ท่านครูบาของเราได้ตอบว่า “มันหมายความว่า ตั้งแต่เช้าจนค่ำเราตั้งไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดเลยแม้แต่สิ่งเดียว
   “แต่นั่น มิใช่เป็นเพียงการตีความหมายเอาตามความเห็นส่วนตัวของท่านที่เคารพเอง ดอกหรือ ?” ท่าน นาน-ฉึ่น กล่าว
   “ข้าพเจ้าเป็นคนทะลึ่งอวดดีถึงเพียงนั้นได้อย่างไรกันหนอ ?” ท่านครูบาของเราตอบ

   “ดีแล้ว ท่านที่เคารพ คนเป็นอันมากอาจจะยอมจ่ายเงินสด ๆ ออกไปเพื่อเป็นค่าน้ำข้าว แต่กับคนพวกไหนนะ ที่ท่านจะขอร้องให้เขาบริจาคอะไร ๆ เพื่อรองเท้าฟางที่ถักเองในครัวเรือนชนิดนั้นสักคู่หนึ่ง ?”
   ตอนนี้ ท่านครูบาของเราคงนิ่งเงียบอยู่

   ต่อมา เว่ยซานได้เอ่ยถึงเหตุการณ์ตอนนี้กับยางซาน และถามว่า การนิ่งของครูบาของเรานั้น หมายถึงการแพ้ได้หรือไม่
   “โอ ไม่ได้ดอก ! คุณก็รู้อยู่แน่ ๆ แล้วนี่ว่า ท่านครูบาฮวงโปนั้นมีความเฉลียวฉลาดอย่างกะเสือ มิใช่หรือ ?”
   “ความลึกซึ้งของคุณช่างไม่มีขอบเขตเสียจริง ๆ” เว่ยซานอุทาน

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2012, 10:50:53 am »



   ๓๐. ผู้แก่อาวุโส

   ในคราวท่องเที่ยวไปตามที่ต่าง ๆ ท่านครูบาของเราได้ไปเยี่ยมครูบา นาน-ฉึ่น ซึ่งเป็นผู้แก่อาวุโส วันหนึ่งในเวลาอาหาร ท่านถือเอาภาชนะอาหารของท่านแล้ว นั่งลงตรงข้ามเก้าอี้อันสูงของท่าน นาน-ฉึ่น เป็นการนั่งคู่กัน

   ท่าน นาน-ฉึ่น เห็นดังนั้น ก็ได้ก้าวลงมาเพื่อทำการต้อนรับท่านและได้ถามท่านว่า ท่านที่เคารพ ท่านได้ดำเนินตาม ทาง นี้มาเป็นเวลานานเท่าไหร่แล้ว ?”
   ตั้งแต่ก่อนศักราชชองภิศมราชามาทีเดียว” ท่านครูบาตอบ
   ท่าน นาน-ฉึ่น ได้ร้องขึ้นว่า “แน่น๊ะ ? มันก็ดูราวกะว่าท่านครูบาหม่ามีหลานปู่ที่เข้าทีอยู่ที่นี่คนหนึ่ง” ดังนั้นท่านครูบาของเราได้เดินออกไปเสียอย่างเงียบกริบ

   ต่อมาสองสามวัน เมื่อท่านครูบาของเรากำลังจะออกเดินทางไป ท่าน นาน-ฉึ่น ได้ท้วงว่า “ท่านเป็นคนใหญ่โต ทำไมจึงสวมหมวกขนาดน่าหัวเราะเช่นนั้นเล่า ?”

   “อ้อ เพราะมันบรรจุโลกธาตุไว้จำนวนมหึมานั่นเอง” ท่านครูบาตอบ
   “เอ้า แล้วของผมเล่า เป็นยังไง ?” ท่าน นาน-ฉึ่น ถาม แต่ท่านครูบาของเราได้สวมหมวกและได้เดินออกไปเสียแล้ว


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2012, 10:47:32 am »



                 

   ๒๙. การแสดงความเคารพ
   
   ครั้งหนึ่ง ท่านครูบาของเราได้เข้าร่วมในที่ประชุมแห่งหนึ่งที่สำนักงานของข้าหลวงควบคุมเกลือแห่งพระจักรพรรดิ ซึ่งในการประชุมคราวนั้นมีจักรพรรดิไต้-ซุง ในขณะที่สมาทานศีลอย่างสามเณรรวมอยู่ด้วยคนหนึ่ง
   สามเณรได้สังเกตเห็นท่านครูบาของเรา เข้าไปในห้องโถงที่ตั้งเครื่องบูชาและทำการหมอบกราบต่อพระพุทธรูปสามครั้ง

   เนื่องจากเหตุนั้น สามเณรจึงได้ถามท่านครูบาว่า “ถ้าเราไม่ต้องแสวงหาอะไรจากพุทธะ ธรรมะ หรือสังฆะแล้ว พระคุณเจ้าหมอบกราบสามครั้งเช่นนั้น เพื่อแสวงหาอะไร ?
   ท่านครูบาได้ตอบว่า “แม้ว่าเราไม่แสวงหาอะไรจากพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์ก็ตาม มันเป็นธรรมเนียมของเรา ที่จะต้องแสดงความเคารพโดยวิธีนี้”

   “แล้วการกระทำเช่นนั้นมันได้สนองเจตนาอะไรของเราให้สมประสงค์ได้บ้าง ?” สามเณรได้ขืนซักต่อไป จนทำให้ถูกตบโดยกะทันหันเข้าครั้งหนึ่ง
   สามเณรได้ร้องขึ้นว่า “โอ ท่านนี่หยาบจริง !”

   ท่านครูบาได้ร้องขึ้นว่า “หยาบชนิดไหนกัน ? จงนึกว่าเป็นการทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างละเอียดกับหยาบ ก็แล้วกัน” กล่าวดังนั้นแล้ว ก็ตบหน้าสามเณรเข้าอีกฉาดหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สามเณรเองต้องแจวอ้าวไปที่อื่น !

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2012, 10:44:11 am »




   ๒๘. การแก้เผ็ด
   
   ครั้งหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อเข้าไปขออนุญาตต่อครูบา เกว่ย-สุ่ง เพื่อออกเดินทางต่อไป
   ได้ถูกท่านครูบานั้นถามว่าเขาตั้งใจจะไปที่ไหน ?
   ภิกษุนั้น ตอบ ว่า “กระผมตั้งใจจะไปเยี่ยมสำนักทุกสำนักที่มีการสอนเซ็นครบทั้ง ๕ แบบ”
   ครั้น ภิกษุนั้นถามขึ้นว่าแบบนั้นเป็นอย่างไร เขาก็ได้รับการฟาดเข้าให้โป้งหนึ่ง เขาร้องลั่นด้วยความตกใจว่า ผมทราบแล้วครับ ผมทราบแล้วครับ !

   ท่าน เกว่ย-สุ่ง คำรามออกมาว่า “พูดออกมาซี่ พูดออกมาซี่ !” ภิกษุนั้นก็ทำท่าว่าจะพูดต่อไป ในทันใดนั้นเขาก็ได้รับการฟาดเข้าให้อีกโป้งหนึ่ง
   หลังจากนั้น ภิกษุนั้นไปสำนักครูบาของเรา และเมื่อถูกถามโดยท่านครูบาฮวงโปว่ามาจากไหน เขาก็ตอบว่าเพิ่งมาจากสำนักของท่านครูบา เกว่ย-สุ่ง หยก ๆ นี่เอง
   ท่านครูบาของเราได้ถามว่า “เธอได้รับคำสอนอะไรจากท่านผู้นั้น ?” เมื่อเป็นดังนั้น ภิกษุรูปนั้นก็เล่าเรื่องดังกล่าวแล้วข้างต้นให้ฟังทุกประการ

   ในท่ามกลางที่ประชุมครั้งต่อมา ท่านครูบาขอเราได้ถือเอาเรื่องของภิกษุนั้นเป็นหัวข้อสำหรับบรรยาย และได้พูดว่า “ท่านครูหม่านี้ช่างเลิศกว่าบรรดาท่านที่รู้อย่างลึกซึ้งทั้ง ๘๔ รูป เสียจริง ๆ ! ปัญหา ต่าง ๆ ที่คนเขาถามกันทั้งหมดนั้น ไม่ดีไปกว่าปุ๋ยคอกที่เปียกแฉะชุ่มไปทั้งพื้นดิน ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งอยู่ทั่วไป มีแต่ท่าน เกว่ย-สุ่ง ผู้เดียวเท่านั้นที่คู่ควรต่อการแก้เผ็ดกับมัน

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 27, 2012, 10:39:13 am »




   ๒๗. เพื่อนรัก
   
   ครั้งแรกทีเดียว ท่านครูบาของพวกเราได้มาจากฟู่เกียน แต่ท่านได้ปฏิญญา (ที่จะอยู่) บนภูเขาฮวงโป ในเขตซึ่งปกครองโดยข้าหลวงประจำเขต ๆ นี้ ตั้งแต่ท่านยังหนุ่มมากที่กลางหน้าผากของท่านมีก้อนเล็ก ๆ ก้อนหนึ่งโผล่ขึ้นมามีรูปคล้ายไข่มุก น้ำเสียงของท่านนุ่มนวลและน่าฟัง มรรยาทของท่านเสงี่ยมและสงบ

   หลังจากการการบวชของท่านไม่กี่ปีนัก ขณะที่เดินทางไปยังภูเขาเทียนไห้ ท่านได้พบกับภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งในไม่ช้าก็สนิทสนมกันราวกะว่าเพื่อนรักเก่าแก่ ดังนั้นท่านจึงร่วมเดินทางต่อไปด้วยกันสองรูป
   เมื่อได้เห็นว่าหนทางนั้น มีกระแสน้ำเชี่ยวที่ไหลมาจากภูเขาขวางหน้าอยู่ ท่านครูบาของเราได้หยุดยืนค้ำกายด้วยไม้เท้านิ่งอยู่ซึ่ง ณ ที่นั้นเอง เพื่อนของท่านได้ขอร้องให้ท่านเดินทางต่อ

   ท่านครูบาได้ตอบว่า “ไม่ละ ท่านไปก่อนเถอะ” ดังนั้นเพื่อนของท่านจึงลอยหมวกฟางกันฝนใบใหญ่ของเขาลงในกระแสน้ำเชี่ยวข้ามไปสู่ฟากโน้นได้โดยง่าย
   ท่านครูบาได้ถอนใจ กล่าวว่า “เรายอมให้คนอย่างนี้ติดตามเรามาแล้วตลอดทาง ! เราควรจะได้ฆ่าเขาเสียก่อนหน้านี้ ด้วยไม้เท้านี้ !”


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 22, 2012, 11:11:13 pm »




   ๒๖.ทางแ่ห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
   
   ถาม   ถ้าเป็นดังนั้น คนเราควรทำความเข้าใจใน จิต ของตนเองให้สำเร็จได้อย่างไร ?
   ตอบ   ก็อ้ายสิ่งที่ถามปัญหาที่ออกมานั่นแหละ คือ จิต ของเธอเองแล้วละ แต่ถ้าเธอทำความสงบอยู่จริง ๆ และเว้นขาดจากการคิดนึกซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิตแม้ที่น้อยที่สุดเสียให้ ได้จริง ๆ แล้วตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นของว่าง แล้วเธอจะได้พบว่ามันเป็นสิ่งปราศจากรูป มันมิได้กินเื้นื้อที่อะไร ๆ ในที่ไหนแม้จุดเดียว และมิได้ตกลงสู่การบัญญัติว่า เป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย

   เพราะ เหตุที่สิ่งนี้ เป็นสิ่งที่เรารู้สึกต่อมันไม่ได้โดยทางอายตนะ ท่านโพธิธรรมจึงกล่าวว่า จิต ซึ่งเป็นธรรมชาติแท้ ของคนเรานั้นเป็น ครรภ์ ซึ่งมิได้มีใครทำให้เกิดขึ้น และเป็นสิ่งทำลายไม่ได้ ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปตัวมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่าง ๆ

   เพื่อความสะดวกในการพูด เราพูดถึง จิต ในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันมิได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม (คือมิได้เป็นตัวสติปัญญาที่คิดนึก หรือสร้างสิ่งต่าง ๆ) นั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึง ในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่หรือมิใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นอีก แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกต่อมันไม่ได้โดยทางอายตนะ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร) อยู่นั่นเอง

   ถ้าเธอทราบความจริงข้อนี้ และทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเธอกำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย โดยแท้จริง เพราะเหตุฉะนี้เองในสูตรจึงกล่าวไว้อย่างจริงจังว่า “จงเจริญจิตซึ่งหยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น” ดังนี้
   บรรดาสัตว์ทั้งหลาย ที่ผูกพันอยู่กับวงล้อมแห่งการเวียนเกิดเวียนตายนั้น เป็นสิ่งที่ถูกสร้างย้อนกลับมาจากกรรมแห่งตัณหาของเขาเอง ! หัวใจของเขายังผูกพันอยู่กับภูมิแห่งกำเนิดทั้งหกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้นจึงยังผูกพันตนอยู่กับความทุกข์กายทุกข์ใจ ทุก ๆ ชนิด

   ฉิ่งหมิง พูดว่า “มี คนจำพวกหนึ่งที่มีจิตเหมือนจิตของวานร ซึ่งเป็นพวกที่สอนได้ยากนัก เป็นพวกที่ต้องการข้อบัญญัติและคำสอนทุกชนิด ที่จะเอาไปใช้บีบบังคับจิตของตนให้ยอมจำนนเท่านั้นเอง” ดัง นั้นเมื่อความคิดเกิดขึ้น ธรรมะต่าง ๆ ที่เขาศึกษาอัดเข้าไว้ทุกชนิดก็ตามมา แต่แล้วมันก็สุญสิ้นไปเพราะการหยุดลงของความคิดนั่นเอง
   เราเห็นได้จากข้อนี้เองว่า ธรรมแต่ละชนิด ทุกชนิดเป็นเพียงการสร้างสรรค์ของ จิต สัตว์ทุกจำพวก คือจะเป็น มนุษย์ เทวดา สัตว์ทนทุกข์ในนรก อสูร และสัตว์อื่น ๆ ทุกชนิด บรรดาที่เกิดอยู่ในภูมิกำเนิดทั้งหกก็ตาม ทุก ๆ จำพวกล้วนแต่เป็นสิ่งที่ จิต เสกสรรค์ขึ้น

   ถ้าพวกเธอจะเพียงแต่ศึกษาให้ทราบว่า ทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จในการที่จะไม่ให้สติปัญญาทำหน้าที่ของมันเท่า นั้น โซ่แห่งสังสารวัฏก็จะหักเผาะออกไปทันที
   จงเลิกละความคิดผิด ๆ ที่นำไปสู่การจำแนกต่าง ๆ อย่างผิด ๆ เหล่านั้นเสียให้หมดสิ้นเถิด ! ไม่มีตัวเอง ไม่มีผู้อื่น ไม่มีอยากอย่างผิด อยากอย่างถูก ไม่มีเกลียด ไม่มีรัก ไม่มีชนะ ไม่มีล้มเหลว
   เพียงแต่สลัดขบวนการแห่งความคิด ทั้งทางสติปัญญาและความคิดปรุงแต่งเสียเท่านั้น
ธรรมชาติเดิมแท้ของพวกเธอก็จะแสดงความบริสุทธิ์ดั้งเดิมของมันออกมา วิธีนี้วิธีเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้ลุถึงความตรัสรู้ ที่จะทำให้เห็นธรรม ที่จะทำให้เป็นพุทธะขึ้นมา และอื่น ๆ ที่เหลืออีกทั้งหมด


   ถ้าเว้นความเข้าใจในข้อนี้เสียแล้ว ความรู้อันมากมายทั้งหมดทั้งสิ้นของพวกเธอก็ดี ความพยายามอย่างเจ็บปวดเพื่อให้ก้าวหน้าของเธอก็ดี การบำเพ็ญตบะต่าง ๆ เกี่ยวกับอาหารและการนุ่งห่มของเธอก็ดี จะไม่ช่วยเธอให้มีความรู้สึกเรื่อง จิต ของเธอเองได้เลย
   สิ่งเหล่านั้นทั้งหมดทั้งสามอย่าง ต้องจัดไว้ว่าเป็นของมายา เพราะอย่างไหนก็ตามในสามอย่างนั้น ย่อมนำพวกเธอไปสู่การเกิดใหม่ในหมู่พวกมารร้าย ซึ่งเป็นศัตรูของธรรม หรือมิฉะนั้นก็เกิดในบรรดาปีศาจซึ่งสันดานหยาบ ผลสุดท้ายชนิดไหนกันเล่าที่จะถูกสนองด้วยการแสวงหาทำนองนั้น ?

   ฉิกุง กล่าวว่า “ร่างกายของเราทั้งหลาย เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นด้วยจิตของเราเอง” แล้วใครหวังที่จะได้รับความรู้เช่นนี้จากตำราได้อย่างไร ? ถ้าพวกเธอเพียงแต่เข้าใจธรรมชาติแห่ง จิต ของเธอเองให้ได้และทำที่สุดจบให้แก่การคิดจำแนกแจกแจงต่าง ๆ เสียให้ได้เท่านั้น มันก็ไม่มีเนื้อที่เหลือไว้ให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ แม้แต่เมล็ดเดียว
   ฉิ่ง หมิง ได้บรรยายความข้อนี้ไว้ เป็นโศลกบทหนึ่งว่า ...
   เพียงแต่ปูเสื่อออกเท่านั้น
   เพื่อจะได้นอนลงให้ราบจริง ๆ
   เมื่อความคิดผูกติดอยู่กับเตียง
   เหมือนคนไข้หนักนอนแบะอยู่กับเตียง

   กรรมทั้งหลายจะสิ้นสุดลง
   และความคิดต่าง ๆ ย่อมสลายไป

   นั่นแหละคือสิ่งที่หมายถึงด้วยคำ โพธิ !


   ตามที่มันเป็นอยู่จริงนั้น คือ ตลอดเวลาที่จิตของพวกเธอยังอยู่ในวิสัยที่จะต้องเคลื่อนไหวในการคิดแม้แต่ นิดเดียว เธอก็จะยังคงถูกปิดล้อมอยู่ในวงของความหลงผิด ในการที่จะถือว่า “ยังหลงใหล” และ “ตรัสรู้แล้ว” ว่าเป็นภาวะที่แตกแยกต่างกัน

   ความหลงผิดอันนี้
จะยืนกรานอยู่เช่นนั้นโดยไม่คำนึงถึงความรู้มหายานอันกว้างของเธอ หรือความมีอุปนิสัยที่สมารถจะผ่านอรหัตตภูมิทั้งสี่ และโพธิสัตว์ภูมิทั้งสิบอยู่แล้ว ของพวกเธอเลย ทั้งนี้เพราะว่า การแสวงหาทำนองนั้น เป็นของชั่วแล่น แม้ความเพียรอันแข็งขันของเธอ ก็จะต้องประสบโชคเป็นความล้มเหลวเหมือนกันแท้กับลูกศรที่เพลี่ยงพลาดในวิธี ยิง มันขึ้นไปไม่ได้สูงต้องลงนอนหมดแรงอยู่กลางดินใกล้ ๆ ผู้ยิงนั่นเอง

   แม้ว่าความรู้และอุปนิสัยเหล่านั้นจะมีอยู่เธอก็ยังเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องพบตนเองวกกลับมาสู่วงล้อของความเกิด และความตายอยู่ร่ำไป การปล่อยตนให้เดินปตามทางปฏิบัติเช่นนี้ ย่อมเป็นการแสดงอยู่แล้วโดยปริยาย ถึงความล้มเหลวของเธอ ในการที่จะเข้าใจถึงความหมายอันแท้จริงของพระพุทธะ แน่นอนทีเดียว การยอมทนทุกข์ทรมานอย่างใหญ่หลวงโดยไม่จำเป็นเช่นนี้มิใช่อะไรอื่นนอกจาก ความผิดพลาดอันมหาศาล จริงไหมเล่า ?
   ฉิกุง ได้กล่าวไว้ในที่อื่นอีกว่า “ถ้าท่านไม่ได้พบกับศาสดาผู้สามารถข้ามขึ้นเหนือโลกทั้งหลายแล้ว ท่านก็จะต้องกลืนยาของมหายานธรรมเรื่อยไป โดยไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย

   บัดนี้ หากพวกเธอได้ปฏิบัติ ในการรักษาจิตของพวกเธอให้ปราศจากพฤติการณ์เคลื่อนไหวใด ๆ อยู่ตลอดเวลา ทั้งเดิน ยืน นั่ง นอน ก็ดี ในการเพ่งจิตทั้งหมด เฉพาะต่อการที่จะไม่สร้างความคิดใด ๆ ขึ้น ต่อความไม่ยึดถือว่ามีของคู่ ต่อความไม่อิงอาศัยสิ่งอื่นใดในภายนอก หรือต่อความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดก็ดี ในการปล่อยให้สิ่งทั้งปวงเป็นไปตามเรื่องตามราวของมันทั้งวัน ๆ ราวกะว่าเธอเจ็บหนักเกินไปกว่าที่จะไปเป็นห่วงด้วยได้ก็ดี และในการมีจิตของเธอเหมือนหินแท่งทึบ ที่มีมีรอยต้องอุดต้องซ่อมแล้ว เมื่อนั้นแหละ ธรรมทั้งหลายจะซึมเข้าไปในความเข้าใจของเธอทะลุปรุโปร่งแล้วปรุโปร่งอีก และชั่วเวลาอีกเล็กน้อย เธอก็จะได้พบว่าตัวเองเป็นอิสระแล้วอย่างมั่นคง

   เมื่อเป็นดังนั้น เธอจะได้พบเป็นครั้งแรกในชีวิตอันมากมายหลายชนิดของเธอว่า ปฏิกิริยาของเธอต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ได้ลดลงและในที่สุดเธอจะได้ข้ามขึ้นเหนือโลกทั้งสาม และมหาชนจะได้กล่าวกันว่าพุทธะองค์หนึ่ง ได้ปรากฏขึ้นในโลกแล้ว
   ความรู้อันบริสุทธิ์และปราศจากกิเลสย่อมแสดงโดยปริยายอยู่แล้วว่า เป็นการทำความสิ้นสุดให้แก่ความคิดและความฝันอันไหลเรื่อย ทั้งนี้เพราะว่า โดยทางนั้นเอง เธอได้หยุดสร้างกรรมอันนำไปสู่การเกิดใหม่ ไม่ว่าจะเกิดเป็นเทวดาหรือมนุษย์ หรือเป็นสัตว์ที่ทนทุกข์อยู่ในนรก

   คราใดที่กรรมวิธีของจิตทุกชนิดหยุดลงแล้ว กรรมก็จะไม่ถูกสร้างขึ้นแม้แต่สักอนุภาคเดียว เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว แม้ในชาตินี้ ใจและกายของเธอก็เป็นสิ่งที่เป็นอิสระแล้ว โดยสมบูรณ์
   แม้สมมติว่าข้อนี้ยังไม่ให้ผลแก่เธอ ถึงกับปลดเปลื้องเธอเธอจากการเกิดใหม่ได้ทันที อย่างน้อยที่สุดเธอก็ยังแน่ใจได้ว่า การเกิดใหม่นั้นจะเป็นไปในลักษณะที่เธอปรารถนาทุกประการ สูตรมีข้อความปรากฏอยู่ว่า “โพธิสัตว์ทั้งหลาย มีการเกิดใหม่ในรูปตามที่ตนปรารถนาทุกประการ”

   แต่ถ้าเผอิญโพธิสัตว์เหล่านั้นเกิดถอยกำลัง ในการรักษาจิตของท่านให้เป็นอิสระจากความคิดปรุงแต่ง ความคิดยึดมั่นถือมั่นในรูปก็จะลากตัวท่านกลับมาสู่โลกแห่งปรากฏการณ์อีก แล้วรูปเหล่านั้นแต่ละอย่างก็จะสร้างกรรมของมารขึ้นสำหรับท่าน !

   ลักษณะเช่นนั้น ย่อมมีอยู่ในการปฏิบัติของพวกนิกายดินแดนบริสุทธิ์ (Pure Land Sect) ด้วยเหมือนกัน เพราะปฏิบัติเหล่านี้ทั้งหมด เป็นไปเพื่อการสร้างกรรม ดังนั้นเราอาจเรียกข้อปฏิบัติเหล่านั้นได้ว่า เป็นเครื่องปิดบังพุทธะ ครั้นเครื่องปิดบังเหล่านี้ได้ปิดกั้นจิตของเธอเสียแล้ว โซ่แห่งความคิดปรุงแต่งโดยความเป็นเหตุและผลแก่กันและกัน ก็จะรึงรัดเธอเข้าอย่างแน่นแฟ้นขึ้นอีก มันจะลากตัวเธอกลับไปยังภาวะแห่งบุคคลที่ยังไม่มีการหลุดพ้นแต่ประการใดเลย

   ด้วยเหตุดังกล่าวนั้น ธรรมะทั้งหมดดังที่คนเหล่านั้นอวดอ้างไปในทำนองว่าสามารถนำคนไปสู่การตรัสรู้ ได้นั้น ไม่มีความจริงอยู่ในนั้นเลย พระพุทธวจนะทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ประสงค์ให้เห็นเครื่องล่อที่เหมาะสมสามารถเกิดผลได้จริง ในการจูงคนออกมาเสียจากความมืดบอดของอวิชชาอันเลวร้ายเท่านั้น มันเหมือนกันแท้กับที่คนเลี้ยงเด็ก เอาใบไม้เหลือง ๆ ชูขึ้นบอกว่าเป็นทองคำ เพื่อล่อให้เด็กหยุดร้องไห้

   สัมมาสัมโพธิเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของการเห็นแจ้งชัดว่าไม่มีธรรมใดเลยที่ไม่เป็น โมฆะ เมื่อเธอเข้าใจความจริงข้อนี้แล้ว ของหลอกเล่นเหล่านั้น จะมีประโยชน์อะไรแก่เธอ ?
   เธอควรดำเนินตนต่อไป ในลักษณะที่อนุโลมกันได้อย่างกลมกลืนกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตปัจจุบันของเธอ ตามที่โอกาสอันเหมาะสมจะเกิดขึ้น จงไถ่ถอนกรรมเก่าที่เคยสะสมไว้แต่ปางก่อนให้น้อยลงไป และที่ยิ่งกว่าสิ่งใดทั้งหมดนั้นเธอต้องหลีกเลี่ยงการสร้างกรรมใหม่ ๆ ที่จะตอบสนองแก่เธอขึ้นมาอีกอย่างเด็ดขาด

   จิตย่อมเต็มไปด้วยความใสกระจ่างอย่างมีประภัสสร ดังนั้นมันย่อมขจัดเสียซึ่งความมืดแห่งความคิดดั้งเดิมทั้งหลายของพวกเธอ ฉิ หมิ่ง กล่าวไว้ว่า “จงปลดเปลื้องตัวท่านทั้งหลาย ออกเสียจากทุก ๆ สิ่ง” ข้อความในสัทธรรมปุณฑริกสูตร ซึ่งกล่าวถึงการเสียเวลาไปตั้งยี่สิบปีเต็ม ในการโกยปุ๋ยทิ้งเสีย ย่อมแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการที่จะขับไล่สิ่งทุกสิ่งซึ่งเอียงไปในทาง การคิดปรุงแต่งออกไปเสียจากใจของพวกเธอ

   ข้อความอีกแห่งหนึ่งในสูตรเดียวกันนั่นเอง ได้ระบุให้เห็นว่ากองปุ๋ยคอกเหล่านั้น ต้องขนใส่เกวียนไปทิ้งเสียด้วยอภิปรัชญาและเล่ห์อุบายอันแยบควาย ดังนั้น “ครรภ์แห่งพระตถาคตทั้งหลาย” จึงเป็นสิ่งว่างและสงบเงียบอย่างแท้จริง ไม่ประกอบอยู่กับสิ่ง (ธรรม) ใด ๆ ที่เป็นตัวตน แต่อย่างใดหรือชนิดใดเลย และเพราะเหตุนั้นเองสูตรซึ่งมีคำกล่าวว่า “ทั่วทุก ๆ อาณาจักรแห่งพุทธะทั้งหลายย่อมเป็นของว่างโดยเสมอกัน”

   แม้คนพวกอื่นอาจจะพูดกัน ถึงเรื่องทางของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่าเป็นสิ่งที่อาจลุถึงได้ด้วยการบำเพ็ญบุญ มีประการต่าง ๆ หรือด้วยศึกษาสูตรทั้งหลายก็ตาม เธอต้องไม่มีอะไรที่จะต้องทำเกี่ยวกับความคิดชนิดนั้น
   การเกิดความรู้สึกซึมซาบได้ในเวลาชั่วกระพริบตาเดียว ว่าผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ (จิตและวัตถุ) เป็นของสิ่งเดียวกัน นั่นแหละ จะนำไปสู่ความเข้าใจอันลึกซึ้งและลึกลับเหนือคำพูด และโดยความเข้าใจอันนี้เอง พวกเธอจะลืมตาต่อสัจจะของเซ็น

   เมื่อเธอบังเอิญพบกับคนบางคน ซึ่งไม่มีความเข้าใจอะไรเลยเธอต้องยืนยันที่จะขอเป็นผู้ไม่รู้อะไร แม้เขาผู้นั้นอาจดีอกดีใจอยู่ด้วยการค้นพบ “ทางเพื่อการตรัสรู้” อะไรบางอย่างของเขา แม้กระนั้นเธอก็จะต้องไม่ยอมให้เขาจูงไป เธอจะไม่ได้รับความยินดีปรีดาอะไร แต่จะต้องทนรับความโทมนัสและความผิดหวัง ความคิดชนิดนั้นของเขาจะมีอะไรที่เกี่ยวกับการศึกษาเซ็นด้วยเล่า ?
   แม้หากว่าเธอได้รับ “วิธีการ” อะไรบางอย่างเล็ก ๆ น้อย ๆ มาจากเขาจริง มันก็จะเป็นแต่เพียงสิ่ง (ธรรม) ที่สร้างขึ้นจากความคิด หามีอะไรเกี่ยวกับเซ็นไม่เลย เพราะเหตุนั้นเอง ท่านโพธิธรรมจึงได้เข้าฌานนิ่ง ๆ หันหน้าเข้าผนังถ้ำเสีย ท่านไม่หาทางที่จะนำคนให้มีความคิดเห็นต่าง ๆ นานา ดังนั้น จึงมีคำจารึกไว้ว่า การนำออกมาจากใจเสียให้หมดสิ้น แม้กระทั่งหลักซึ่งเป็นที่เกิดแห่งการประกอบกรรมต่าง ๆ นั่นแหละคือคำสอนที่แท้จริง ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ส่วนคติทวินิยมนั้น เป็นเรื่องในวงของหมู่มารในขณะเดียวกันนั่นเอง”

   ธรรมชาติเดิมแท้ของเธอนั้น เป็นสิ่งซึ่งมิได้หายไปจากเธอแม้ในขณะที่เธอกำลังหลงผิดด้วยอวิชชา และมิได้รับกลับมาในขณะที่เธอมีการตรัสรู้ มันเป็น ธรรมชาติ แห่ง ภูตตถตา ในธรรมชาตินี้ไม่มีทั้งอวิชชา ไม่มีทั้งสัมมาทิฏฐิ มันเต็มอยู่ในความว่างทั่วทุกหนทุกแห่งและเป็นเนื้อหาอันแท้จริงของ จิตหนึ่ง นั่นเอง เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว อารมณ์ต่าง ๆ ที่จิตของพวกเธอได้สร้างขึ้น (ทั้งฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม) จะเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกของ ความว่าง นั้นได้อย่างไรกันเล่า ?

   โดยหลักมูลฐานแล้ว ความว่าง นั้น เป็นสิ่งซึ่งปราศจากมิติต่าง ๆ แห่งการกินเนื้อที่ ปราศจากกิเลส ปราศจากกรรม ปราศจากอวิชชาและปราศจากสัมมาทิฏฐิ พวกเธอต้องเข้าใจอย่างกระจ่างชัดว่าในสิ่งนี้ไม่มีอะไรเลย ไม่มีคนธรรมดา ไม่มีพระพุทธเจ้า เพราะว่าใน ความว่าง นี้ไม่มีอะไรบรรจุอยู่แม้เท่าเส้นผมที่เล็กที่สุด อันเป็นสิ่งที่จะมองเห็นได้โดยทางมิติ (หรือกฎแห่งการกินเนื้อที่) เลย แม้มันต้องอาศัยอะไรและไม่ติดเนื่องอยู่กับสิ่งใด

   ความว่าง นั้น เป็นสิ่งที่สิงซึมอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง เป็นความงามที่ไร้ตำหนิ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ได้โดยตัวมันเอง และเป็นสิ่งสูงสุดที่ไม่มีอะไรสร้างขึ้น เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว มันจะเกิดเป็นปัญหาที่จะต้องถกเถียงกันขึ้นได้อย่างไรในข้อที่ว่า พระพุทธะ ที่แท้ ไม่มีปากและมิได้ประกาศธรรมใด ๆ เลย และว่า การได้ยิน ที่แท้ นั้น ไม่ต้องการหู เพราะว่าใครหนอ อาจได้ยินมันได้ ? โอ มันเป็นเพชรพลอยที่อยู่เหนือการตีค่าทั้งปวงเสียจริง !

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 22, 2012, 09:43:49 pm »




   ๒๔.การข้ามขึ้นพ้นจากโลกทั้งสาม
   ถาม   “การข้ามขึ้นพ้นจากโลกทั้งสาม” หมายความว่าอย่างไร ?
   ตอบ   การข้ามขึ้นพ้นจากโลกทั้งสาม เล็งถึงการขึ้นอยู่เหนือความเป็นของคู่แห่งความดีและความชั่ว พุทธะทั้งหลายอุบัติขึ้นในโลกก็โดยประสงค์จะทำความสิ้นสุดให้แก่ปรากฏการณ์ ทั้งหลาย ที่เป็น กาม รูป อรูป สำหรับพวกเธอก็เหมือนกัน โลกทั้งสามจะดับหายไป ถ้าหากเธอได้ลุถึงขั้นที่อยู่เหนือการคิด

   โดยทำนองตรงกันข้าม ถ้าพวกเธอยังคงยึดเหนี่ยวอยู่ในความสังเกตเห็นว่า ยังมีอะไรบางอย่าง แม้จะเล็กเท่าเศษหนึ่งส่วนร้อยของธุลีเม็ดหนึ่งก็ตาม อาจตั้งอยู่ได้โดยความเป็นตัวเป็นตนอยู่ดังนี้แล้ว ต่อให้ความเชี่ยวชาญแตกฉานอย่างสมบูรณ์ในคัมภีร์ฝ่ายมหายานทั้งหมด ก็ยังล้มเหลวต่อการที่จะช่วยเธอให้เอาชนะเหนือโลกทั้งสามได้อยู่นั่นเอง

   ต่อเมื่อส่วนที่ละเอียดที่สุดทุก ๆ ส่วน ถูกเห็นเป็นความไม่มีตัวตนไปแล้วทั้งหมดเท่านั้น มหายานจึงจะสามรถทำความสำเร็จให้เธอในเรื่องนี้ได้
   วันหนึ่ง เมื่อได้นั่งในห้องประชุมใหญ่แล้ว ท่านครูบา ได้เริ่มกล่าวข้อความเหล่านี้


   ๒๕.ธรรมะแห่งจิตหนึ่ง
   เนื่องจาก จิต คือ พุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันนับตั้งแต่ พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย เป็นที่สุดในเบื้องสูงลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอก และแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ
   สิ่งเหล่านั้นทุกสิ่ง ย่อมมีส่วนแห่งธรรมชาติของความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับ จิตหนึ่ง นั้น ดังนั้น เมื่อท่านโพธิธรรมได้มาถึงจากตะวันตก ท่านมิได้ถ่ายทอดอะไรให้เลย นอกจาก ธรรมะ แห่ง จิตหนึ่ง นี้เท่านั้น ท่านได้ชี้ตรงไปยังความจริงที่ว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงได้เป็นสิ่งที่มีเนื้อหาเป็นอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่แล้วตลอดเวลา

   ท่านโพธิธรรมมิได้ปฏิบัติตาม “วิธีแห่งการบรรลุ” ผิด ๆ ของคนเหล่าโน้น แม้แต่ประการใดเลย และถ้าพวกเธอ เพียงแต่สามารถทำความเข้าใจใน จิต ของเธอเองนี้ให้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของพวกเธอได้ ด้วยความเข้าใจอันนั้น เท่านั้น มันก็จะเป็นที่แน่นอนว่าไม่มีอะไรที่พวกเธอต้องแสวงหา แม้แต่อย่างใดเลย