ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 28, 2012, 09:23:29 am »

ธรรมขันธ์

-http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNekk0TVRBMU5RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHhNQzB5T0E9PQ==-


คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร watdevaraj@hotmail.com โทร. 0-2281-2430


คําว่า ธรรมขันธ์ แปลว่า กองธรรม หรือ หมวดธรรม ท่านจำแนกไว้ 5 ประการคือ

1. สีลขันธ์ หมวดศีล ได้แก่ การที่บุคคลทำกายวาจาให้เรียบ ร้อย ปราศจากวีติกมโทษ คือ โทษที่จะก้าวล่วงได้ทางกาย และทางวาจา เพื่อกำจัดเสียซึ่งความโหดร้ายหยาบคายทางกายและทางวาจา ปิดทางที่ตนเองจะทำชั่วอย่างหยาบเสียได้ ทำให้เป็นคนสะอาดกาย สะอาดวาจา ไม่มีมลทินโทษ ตัดเวรภัยเสียได้ และทำให้เป็นคนมีระเบียบวินัย พร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าในการดำเนินชีวิตต่อไป

2. สมาธิขันธ์ หมวดสมาธิ ได้แก่ บุคคลผู้รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย ย่อมไม่หวาดหวั่นครั่นคร้าม สะทกสะท้านต่อภัยอันตรายต่างๆ มีจิตดิ่งแน่วแน่เป็นหนึ่งเพื่อกำจัดปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสภายนอกที่กลุ้มรุมจิตอยู่ มีความตั้งใจมั่นไม่ปล่อยใจให้ตกอยู่ในอำนาจของนิวรณ์ทั้ง 5 คือ

กามฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจ มี รูป เป็นต้น

พยาบาท ความคิดปองร้ายผู้อื่น

ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม

อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ

วิจิกิจฉา ความลังเลไม่ตกลงใจได้

ซึ่งทั้ง 5 นี้ ล้วนเป็นสิ่งที่บั่นทอนกำลังใจให้หย่อนสมรรถภาพ ไม่สามารถรวมกำลังใจให้เด็ดเดี่ยวได้ เพราะเหตุนั้น ต้องละอารมณ์เช่นนั้นให้ได้ ด้วยอำนาจสมาธิ คือความตั้งใจมั่น

3. ปัญญาขันธ์ หมวดปัญญา ได้แก่ เมื่อบุคคลกำจัดกิเลสภายนอกที่กลุ้มรุมจิตได้แล้วพิจารณาไปก็จะเกิดปัญญากำจัดอนุสัย คือกิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานให้หมดสิ้นไป และปัญญานั้นนั่นแหละ ช่วยให้มองเห็นทางถูกทางผิดได้ด้วย

4. วิมุตติขันธ์ หมวดวิมุตติ ได้แก่ ความทำจิตให้หลุดพ้นจากกิเลสาสวะ คือ อุดหนุนจิตให้พ้นจากกิเลสทั้งปวงอย่างสิ้นเชิง หลุดพ้นได้โดยประการทั้งปวง

5. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ หมวดวิมุตติญาณทัสสนะ ได้แก่ เมื่อบุคคลรู้เห็นว่า จิตหลุดพ้นแล้ว สืบเนื่องมาจากวิมุตติ ชื่อว่า ญาณทัสสนะ

.