ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 29, 2012, 09:53:21 pm »

ตะลึง! ทุก 6 วิ มีคนตายเพราะโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน
-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000132223-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
29 ตุลาคม 2555 18:22 น.


    ตะลึง! ทุก 6 วินาที ทั่วโลกจะมีคนตายเพราะโรคหลอดเลือดสมอง 1 คน คาด ปี 2015 ยอดตายจะพุ่งเป็น 6.5 ล้านต่อปี ส่วนในไทยขึ้นแท่นสาเหตุการตายอันดับ 1 แนะสังเกตอาการแขน ขา และหน้าอ่อนแรงทันทีแบบซีกเดียว สับสน พูดไม่รู้เรื่อง มองเห็นลดลง มึนงง และสูญเสียสมดุลการเดิน
       
       วันนี้ (29 ต.ค.) นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า วันที่ 29 ต.ค.ของทุกปีจะเป็นวันรณรงค์อัมพาตโลก เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกตระหนักและระวังภัยอันตรายของโรคหลอดเลือดสมอง โดยพบว่า ทุกๆ 6 วินาที ทั่วโลกจะมีคนเสียชีวิตอย่างน้อย 1 คน จากโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น ปีนี้จึงทำการรณรงค์ในประเด็น “One in Six” หรือ “1 ใน 6 จะไม่ใช่คุณ” ทั้งนี้ จากข้อมูลขององค์การอัมพาตโลก (World Stroke Organization :WSO) รายงานสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองทั่วโลก ว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 2 ของประชากรอายุมากกว่า 60 ปีทั่วโลก และเป็นสาเหตุการตายเป็นอันดับ 5 ของประชากรอายุระหว่าง 15-59 ปี โดยในแต่ละปีมีคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองประมาณ 6 ล้านคน ซึ่งมากกว่าคนทั่วโลกที่เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ วัณโรค และโรคมาลาเรียรวมกัน ทั้งนี้ องค์การอัมพาตโลกคาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ.2015 หรือ พ.ศ.2558 คนทั่วโลกจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองถึง 6.5 ล้านคน
       
       นพ.พรเทพ กล่าวอีกว่า ส่วนสถานการณ์โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย ข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานสถิติสาธารณสุขในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2544-2553) พบว่า อัตราตายด้วยโรคหลอดเลือดสมองต่อประชากรแสนคน ในปีพ.ศ.2544 คือ 18.2 ต่อมามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งปี พ.ศ.2553 เป็น 27.5 นอกจากนี้ ข้อมูลจากสำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ได้รายงาน 10 ลำดับแรกของการตายในประชากรไทย ปี พ.ศ.2547 พบว่า การตายในประชากรเพศชายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง พบอยู่ในลำดับ 3 และ ในประชากรเพศหญิงพบอยู่ในลำดับ 1 ส่วนในปี พ.ศ.2552 พบว่า การตายด้วยโรคหลอดเลือดสมอง นำขึ้นมาอยู่ในลำดับ 1 ทั้งในประชากรเพศชายและเพศหญิง

   นพ.พรเทพ กล่าวต่อไปว่า ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพฤกษ์ อัมพาต ประกอบด้วย 8 ปัจจัย ดังนี้ 1.ภาวะความดันโลหิตสูง 2.การเป็นโรคเบาหวาน 3.ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง 4.ประวัติญาติสายตรงเคยเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 5.ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม 6.มีภาวะน้ำหนักเกิน 7.สูบบุหรี่ และ 8.ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Atrial Fibrillation) สำหรับสัญญาณเตือนที่สำคัญ คือ 1.การอ่อนแรงของหน้า แขน ขา อย่างทันทีทันใด ซึ่งจะเป็นซีกเดียวของร่างกาย 2.สับสน ลำบากในการพูด พูดไม่รู้เรื่องอย่างทันทีทันใด 3.การมองเห็นลดลง อาจเป็นตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างอย่างทันทีทันใด 4.มีปัญหาการเดิน มึนงง สูญเสียความสมดุลของการเดินอย่างทันทีทันใด
       
       “แนวทางปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองอย่างง่าย ได้แก่ รับรู้ความเสี่ยงของตนเอง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น และปฏิบัติตนเพื่อป้องกันควบคุมโรค/ความเสี่ยงของตน ออกกำลังกายอย่างเพียงพอโดยออกกำลังกายวันละ 30 นาที อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์ ควบคุมตนเองไม่ปล่อยให้อ้วน และลดการบริโภคอาหารหวาน มัน เค็ม และเพิ่มผักผลไม้ ควรงดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ สุดท้ายต้องลดความเครียดและพักผ่อนให้เพียงพอ” อธิบดี คร.กล่าว
       
       นพ.พรเทพ กล่าวด้วยว่า โรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพฤกษ์ อัมพาต สามารถป้องกันได้ โดยประชาชนทุกคนต้องเรียนรู้ สัญญาณเตือนของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและปฏิบัติตามแนวทางเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ถ้ามีปัญหาโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน หรือพบผู้ที่มีอาการตามสัญญาณเตือนข้างต้นให้รีบปรึกษาแพทย์และรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่จะเกิดได้ในภายหลัง ซึ่งจะช่วยลดอัตราตาย และลดความพิการลงได้

http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000132223

.