ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2012, 11:27:20 am »

.
นกศักดิ์สิทธิ์ ในพิธีศพดึกดำบรรพ์
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1351762484&grpid=03&catid=&subcatid=-



นกศักดิ์สิทธิ์ เป็นลายเส้นบนขอบวงกลมหน้ากลองทองสัมฤทธิ์(มโหระทึก) อายุราว 3,000 ปีมาแล้ว ในวัฒนธรรมดงเซิน พบที่เวียดนาม

คนในอุษาคเนย์ราว 3,000 ปีมาแล้ว นับถือนกชนิดหนึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ดังมีหลักฐานสำคัญเป็นลายเส้นอยู่บนวงกลมหน้ากลองทองสัมฤทธิ์(มโหระทึก) พบในวัฒนธรรมดงเซิน ที่เวียดนาม

นักมานุษยวิทยาโบราณคดีมักอธิบายว่าลายเส้นรูปนกศักดิ์สิทธิ์ คล้ายนกกระเรียน ลำตัวใหญ่ ปากยาว คอยาว ขายาว หากินตามหนองบึงโดยใช้ปากยาวจิกจับสัตว์ในน้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ

แต่เป็นรูปนกกระเรียนจริงหรือเปล่า? ยังถือเป็นยุติไม่ได้

ที่เห็นพ้องต้องกันได้เพราะมีลายเส้นรูปนกเป็นพยานเห็นแก่ตา คือ คนดึกดำบรรพ์ยกย่องนกเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ใช้ในพิธีกรรมสำคัญ เช่น ขอฝนเพื่อความอุดมสมบูรณ์, ฯลฯ แล้วใช้ในพิธีศพด้วย แต่ใช้เพื่ออะไร? อย่างไร? ยังไม่มีใครศึกษาวิจัยจริงจัง

ผู้ดีไทยสมัยก่อนเมื่อมีงานศพต้องให้มีปี่พาทย์นางหงส์ประโคม

ปี่พาทย์นางหงส์ เป็นชื่อสมมติเพื่อเรียกวงประโคมงานศพ ตามประเพณีให้หงส์ส่งวิญญาณขึ้นสู่สรวงสวรรค์ เพราะหงส์เป็นสัตว์มีปีก บินสู่สวรรค์ได้ แล้วเรียกเป็นนางตามประเพณียกย่องเพศหญิงเป็นใหญ่ในพิธีกรรม

นางหงส์ เป็นชื่อเรียกจังหวะหน้าทับกลองที่ตีกำกับทำนองเพลงประโคมตอนเผาศพ ต่อมาเลยเรียกปี่พาทย์ที่ใช้ประโคมงานศพว่า ปี่พาทย์นางหงส์

คำว่า "นางหงส์" หมายถึง (นาง)นก(ตัวเมีย) เช่น (อี)แร้ง, (อี)กา, ฯลฯ ตามประเพณีดึกดำบรรพ์ว่า "ปลงด้วยนก" หมายถึงให้แร้งกากินศพแล้วขึ้นฟ้า(สวรรค์) ดังหลักฐานลายเส้นรูปนกบนหน้ากลองทอง(มโหระทึก) ราว 3,000 ปีมาแล้ว

แต่เมื่อเปลี่ยนคติทำพิธีเผาศพตามอินเดียก็ยังรักษาร่องรอยดั้งเดิม คือให้นางนกแร้ง-กา พาขวัญและวิญญาณสู่ฟ้า กลายเป็น"ผีฟ้า" จึงเรียกนางนกแร้ง-กาอย่างยกย่องว่า "นางหงส์"

หงส์ตัวเมียให้หงส์ตัวผู้เกาะหลังเมื่อยืนบนพื้นที่จำกัด เป็นสัญลักษณ์ของเมือง หงสาวดีในพม่า จะเกี่ยวข้องอย่างไรกับชื่อปี่พาทย์นางหงส์ ยังไม่พบร่องรอยเชื่อมโยง จึงยังหาข้อยุติไม่ได้

หากใครอธิบายได้ กรุณาบอกด้วย จะเป็นพระคุณสูงยิ่ง
.