ตอบ

ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2012, 12:05:29 am »

     

ภูเขากับแม่น้ำ
Published: October 23, 2011

กล่าวกันว่า ก่อนที่คนเราจะศึกษาและปฏิบัติธรรมนั้น เมื่อมองดูภูเขา
ก็เห็นเป็นภูเขาธรรมดาๆ มองดูแม่น้ำก็เป็นแม่น้ำธรรมดาๆ

ครั้นเมื่อศึกษาและปฏิบัติธรรมไประยะหนึ่ง จะมองภูเขาไม่ใช่ภูเขา
และแม่น้ำไม่ใช่แม่น้ำแล้ว เพราะจะเห็นสิ่งที่ลึกซึ้งกว่าธรรมดา

แต่เมื่อสำเร็จได้บรรลุธรรมแล้ว จะเห็นภูเขาเป็นภูเขา แม่น้ำเป็นแม่น้ำอีก
แต่เห็นคนละลักษณะกับก่อนปฏิบัติธรรม เพราะเห็นความจริงแท้หรือสัจธรรมนั่นเอง

             
             -http://kitty.in.th/index.php/zen/
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2012, 11:00:52 pm »


     


เมื่อท่านพบอาจารย์เซ็นเดินมาตามถนน ท่านจะทักทายว่าอย่างไร
Published: October 23, 2011

ท่านโกโสะ เคยตั้งคำถามว่า
“เมื่อท่านพบอาจารย์เซ็นเดินมาตามถนน ท่านจะทักทายว่าอย่างไร?”

คำถามนี้ไม่ต้องการคำตอบ

สำหรับอาจารย์เซ็นผู้รู้แจ้งแล้ว การจะทักทายท่านด้วยคำพูดหรือนิ่งเงียบ
ก็ไม่ต่างกันเลย ในโลกของธรรมชาติย่อมมีความสงบร่มรื่น และความงาม
อยู่ในตัวเองแล้ว ในโลกแห่งการรู้แจ้งธรรมย่อมอยู่เหนือทั้งคำพูดและการนิ่งเงียบ


         

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2012, 10:31:24 pm »



     

พระใบลานเปล่า
Published: October 23, 2011

ในสมัยพุทธกาล มีพระสาวกองค์หนึ่งชื่อ ตุจโฉโปฏฐิละ เป็นผู้คงแก่เรียน แตกฉานในคำสอนของพระพุทธองค์ เมื่อท่านอธิบายธรรม ก็ไม่มีใครกล้าพูดหรือเถียงท่าน เป็นที่นับหน้าถือตาโดยทั่วไปวันหนึ่ง ท่านไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า ขณะก้มลงกราบ พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า
“มาแล้วหรือ พระใบลานเปล่า”
เมื่อท่านเสร็จกิจทูลลากลับ พระพุทธองค์ก็ตรัสอีกว่า
“กลับแล้วหรือ พระใบลานเปล่า”

ท่านตุจโฉโปฎฐิละสงสัยว่า ทำไมพระพุทธองค์จึงตรัสเช่นนั้น เมื่อพิจารณาดูแล้วก็เห็นว่าจริง ท่านเป็นพระเรียนอย่างเดียว ไม่ได้ปฏิบัติอะไรเลย เมื่อมองดูจิตใจของตน ก็ไม่ต่างจากฆราวาสเลย ฆราวาสยินดีอะไรอยากได้อะไร ตนก็เป็นเช่นนั้น ความเป็นสมณะไม่มีเลย ท่านจึงสนใจจะปฏิบัติบ้าง เมื่อไปหาอาจารย์ตามที่ต่างๆ ก็ไม่มีใครกล้ารับ เพราะเห็นว่าท่านร่ำเรียนมามาก ไม่มีใครกล้าสอน ในที่สุดท่านได้ไปขอปฏิบัติกับสามเณรน้อยซึ่งเป็นอริยบุคคล เณรจึงขอทดลองดูก่อน โดยสั่งให้ท่านห่มผ้าให้เรียบร้อย แล้วสั่งให้วิ่งลงไปลุยในหนองที่เป็นโคลนตม เมื่อเณรเห็นว่าท่านละทิฐิได้แล้ว จึงสอนวิธีกำหนดอารมณ์จับอารมณ์ให้รู้จักจิตของตน โดยยกอุบายขึ้นว่า

“เหี้ยตัวหนึ่งเข้าไปอยู่ในโพรงจอมปลวกซึ่งมีรูอยู่หกรู ถ้าเหี้ยเข้าไปในนั้น ทำอย่างไรจึงจะจับเหี้ยได้?” เณรแนะอีกว่า
“จะจับเหี้ย ก็ต้องหาอะไรมาปิดรูไว้ก่อนห้ารู เหลือเพียงรูเดียวให้เหี้ยออก แล้วคอยจ้องมองดูที่รูนั้น เมื่อเหี้ยวิ่งออกมาเมื่อไร ก็คอยจับเอาเท่านั้น”
การกำหนดจิตก็เหมือนกับการจับเหี้ย ต้องปิดทวารทั้งห้า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เสียก่อน คงเหลือกำหนดแต่จิตหรือใจเพียงอย่างเดียว แล้วใช้สติเป็นตัวคอยควบคุม

ท่านคิดจะจับเหี้ยหรือยัง ?

           

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2012, 10:22:53 pm »



     

สิ่งที่เหนือกว่าพุทธะ
Published: October 23, 2011

ท่านอาจารย์โตซาน ได้สอนบรรดาศิษย์ของท่านว่า
“พวกเธอควรจะรู้ว่า ย่อมมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งและสูงกว่าอยู่เสมอในพระพุทธศาสนานี้”

“อะไรคือสิ่งที่ลึกซึ้งและสูงกว่า พุทธะ?” พระรูปหนึ่งถาม
“สิ่งนั้นคือ ไม่ใช่พุทธะ” ท่านอาจารย์ตอบ

ก็คงเช่นเดียวกับคำกล่าวที่ว่า
“พึงเห็นความไม่มีในความมี และพึงเห็นความมีในความไม่มี”

           

คำสอนในพระพุทธศาสนาส่วนมาก จะสอนให้รู้จักมองความจริงในสองระดับ
แล้วแต่สติปัญญาของแต่ละคน ระดับแรกก็มองแบบสมมุติสัจจะไปก่อน
เมื่อต้องการแสวงหาความรู้แจ้งจริงๆ แล้ว
ก็ต้องมองให้สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง คือมองแบบปรมัตถ์สัจจะหรือวิมุติสัจจะ



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2012, 02:25:31 pm »






ร้อยกรองแม่ชีโยเน็น
Published: October 23, 2011

“ฉากการเลื่อนไหลแห่งฤดูใบไม้ร่วงปีแล้วปีเล่าเวียนผ่าน
ประจักษ์ต่อตาถึง 66 ครั้งแล้ว
เราได้เพรียกพร่ำถึงประภัสสรแห่งเดือนเพ็ญมามากพอแล้ว
พวกเธออย่าได้มาซักถามอีกเลย

เพียงให้เธอไปเฝ้า เงี่ยฟังให้ได้ยิน
เสียงใบไผ่และใบสีดา เมื่อยามไม่มีลมพัดดูที”




ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2012, 02:06:30 pm »



     

วิมลเกียรติสูตร
Published: October 23, 2011

ในวิมลเกียรติสูตร ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
โรคของสัตว์โลก เกิดจากกิเลส
โรคของพระโพธิสัตว์ เกิดจากมหาเมตตา
คนเรานอกจากมีโรคทางกายแล้ว ยังมีโรคทางจิตใจอีกด้วย

   

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2012, 01:58:22 pm »


           

มณีที่แท้จริง
Published: October 23, 2011

สมัยหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงชูดวงมณีซึ่งมีสีต่างๆกันขึ้น
แล้วทรงถามท้าวมหาราชทั้ง 5 ว่า “มณีนี้ มีสีเป็นอะไร ?”

ท้าวมหาราชทั้ง 5 ต่างก็กราบทูลว่ามีสีต่างๆ กันไป
พระโลกนาถทรงเก็บดวงมณีนั้น
แล้วทรงยกพระหัตถ์เปล่าชูขึ้น ตรัสถามว่า
“มณีนี้ มีสีอะไร ?”

ท้าวมหาราชทั้งหลายทูลว่า
“ในพระหัตถ์ของพระองค์มิได้มีดวงมณี จะมีสีมาแต่ไหนเล่า?”
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
“เธอทั้งหลายเหตุใดจึงหลงนัก ตถาคตนำเอามณีของโลกออกแสดง
เธอต่างก็กล่าวว่า มีสี เขียว แดง เหลือง ขาว ต่างๆกันไป
ครั้นตถาคตนำเอาดวงมณีที่แท้จริงออกแสดง เธอทั้งหลายกลับไม่รู้”
               ท่านล่ะ ว่ามีสีอะไร?


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2012, 01:38:22 pm »



           

หัวใจแห่งธรรม
Published: October 23, 2011

ท่านฮุ่ยค้อ ได้ถามท่านโพธิธรรมเถระผู้เป็นพระสังฆปรินายกองค์แรก (สายจีน) ว่า
“หัวใจแห่งธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นสิ่งที่จะแสดงให้ฟังได้ไหม ? ”
ท่านโพธิธรรมตอบว่า
“หัวใจแห่งธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ใช่ได้มาจากผู้อื่น”

ท่านฮุ่ยค้อได้ถามอีกว่า
“จิตของกระผมยังไม่สงบ ขอท่านอาจารย์โปรดทำให้มันสงบด้วย”
ท่านโพธิธรรมตอบว่า
“เธอเอาจิตของเธอออกมาซิ ฉันจะทำให้มันสงบ”

ท่านฮุ่ยค้อ นิ่งอยู่ครู่ใหญ่ แล้วกล่าวว่า
“กระผมหาจิตไม่พบ”
ท่านโพธิธรรมจึงกล่าวว่า
“ฉันได้ทำจิตของเธอให้สงบแล้ว”



ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2012, 01:13:24 pm »



             

อภินิหารของเซ็น
Published: October 23, 2011

นิกายชินชูในประเทศญี่ปุ่น เป็นนิกายที่ถือปฏิบัติว่า การสวดสรรเสริญพระเมตตาคุณของพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ จะทำให้ถึงซึ่งความหลุดพ้นได้ มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระในนิกายนี้เกิดพากันอิจฉาริษยาท่านอาจารย์บันไกแห่งวัดริยูมอน ที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย จึงได้คัดเลือกพระที่ปราชญ์เปรื่ององค์หนึ่ง มาโต้วาทีกับท่านอาจารย์บันไก พระนิกายชินชูเดินทางไปที่วัดริยูมอน ในขณะนั้นท่านอาจารย์บันไกกำลังเทศน์สั่งสอนศิษย์อยู่ จึงได้หยุดเทศนามองดูพระอาคันตุกะด้วยอาการสงบ พระนิกายชินชูเข้าไปยืนตรงหน้าด้วยอาการท้าทายแล้วกล่าวว่า

“นี่แน่ะ อาจารย์บันไก อาจารย์ผู้ก่อตั้งนิกายของเรานั้นสามารถแสดงอภินิหารได้อย่างมหัศจรรย์ โดยตัวท่านจะยืนชูพู่กันอยู่บนฝั่งแม่น้ำด้านนี้ แล้วให้ลูกศิษย์ชูกระดาษอยู่อีกฝั่งหนึ่ง ท่านสามารถเขียนพระนาม พระอมิตาภาพุทธะ ให้ผ่านอากาศไปติดในกระดาษได้ ท่านล่ะ ทำอภินิหารแบบนั้นได้ไหม ? ”

ท่านอาจารย์บันไกตอบอย่างสงบว่า
“ฉันคิดว่า อาจารย์ของท่านอาจจะแสดงกลอย่างนั้นได้ แต่ไม่ใช่วิธีการของเซ็น อภินิหารของฉันมีอยู่ คือ เมื่อฉันรู้สึกหิวฉันก็กิน และเมื่อฉันรู้สึกกระหายน้ำฉันก็ดื่ม”

สัจจะธรรมของเซ็น ก็คือการปฏิบัติตนตามกฏความเป็นจริงของธรรมชาติ จะไม่สนใจในเรื่องอภินิหารใดๆ เลย

         

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2012, 12:52:51 pm »

           

สัจมรรค
Published: October 23, 2011

ท่านอาจารย์นินากาวะ เป็นอาจารย์ของท่านอิคกุยุ ในวาระที่ท่านอาจารย์นินากาวะใกล้จะสิ้นลมหายใจ ท่านอาจารย์อิคกุยุ ก็ได้ไปเยี่ยม และถามท่านนินากาวะว่า

“ท่านอาจารย์ต้องการให้ผมนำทางให้ไหม?”
ท่านอาจารย์นินากาวะ ตอบว่า
“ท่านจะช่วยอะไรผมได้ เวลามาผมมาตัวคนเดียว เวลาผมจะไป ผมก็ต้องไปคนเดียว”

ท่านอิคกุยุได้ยินดังนั้นจึงตอบว่า
“ถ้าท่านอาจารย์ยังคิดว่า ท่านมาคนเดียว และไปคนเดียวอยู่ละก้อ แสดงว่าท่านหลงทางแล้ว ให้ผมนำทางท่านดีกว่า เพราะความจริงแล้ว ไม่มีการมาและการไปเลยต่างหาก”
ด้วยคำแนะนำของท่านอิคกุยุ เพียงเท่านี้ ท่านนินากาวะ ก็ถึงซึ่งความหลุดพ้น และมรณภาพไปด้วยความสงบ

สำหรับคำสอนทางพระพุทธศาสนา ความเชื่อที่ว่าตายแล้วเกิดแบบมีวิญญาณออกจากร่าง แล้วไปแสวงหาที่เกิดใหม่ เป็นมิจฉาทิฐิ และความเชื่อที่ว่าตายแล้วดับสูญ ก็เป็นมิจฉาทิฐิเช่นกัน ความจริงคนเราเป็นเพียงปัจจัยต่างๆ ที่รวมตัวกัน เมื่อคงอยู่ไม่ได้ก็สลายตัวไปรวมกับปัจจัยตัวอื่นๆ ซึ่งเมื่อรวมตัวครบก็เกิดเป็นคนใหม่ขึ้นมาอีก คนใหม่ก็ไม่ใช่คนเก่าเพราะปัจจัยไม่เหมือนกัน เปรียบเหมือนตอนเป็นเด็ก ปัจจัยที่รวมตัวกันเป็นเด็กก็อย่างหนึ่ง เมื่อแก่ ปัจจัยที่รวมตัวกันเข้าก็ไม่เหมือนกับตอนเป็นเด็ก แม้จะไม่ใช่ชุดเดียวกัน แต่ก็เป็นส่วนสืบเนื่องมาจากปัจจัยเมื่อตอนเป็นเด็กเพราะความยึดติดฝังแน่นเป็นปัจจัยสืบทอดตลอดมา จึงคิดว่าเป็นตัวตนของเราอย่างไม่ยอมเปลี่ยนแปลง .. เชื่อหรือไม่ ?