ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ดอกไม้ในที่ลับตา ~ ღ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2012, 01:52:38 pm »

... :07:  ... :43:  ขอบคุณ & อนุโทนามากมายนะคะ พี่น้องม๊ดด ขอนุญาตแชร์ ลิงค์ดีๆนี้ ไปแบ่งปัน ต่อด้วยนะคะ  :13:
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2012, 10:41:05 pm »



Buddha's Brain สมองแห่งพุทธะ

จิตและสมองเป็นคนละส่วนกัน แต่ทำงานร่วมกันเหมือนเป็นหนึ่งเดียวกัน การทำงานของจิตมีผลต่อสมอง และเช่นเดียวกัน การทำงานของสมอก็มีผลต่อจิตด้วย

Rick Hanson เป็น ดร.จิตวิทยาระบบประสาท ส่วนผู้เขียนร่วมคือ Richard Mendius เป็น แพทย์ระบบประสาท ผมอ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว เหมือนอ่านหนังสือธรรมะเลยครับ เพียงแต่ผู้เขียนอ้างอิงหลักฐานทางการแพทย์ ที่เชื่อมโยงเรื่องของการฝึกจิตแนวพุทธ เข้ากับการทำงานของสมองและระบบประสาทได้ดีอย่างน่าทึ่ง

   ผมสรุปย่อๆแบบง่ายๆสบายๆนะครับ ถ้าอยากรู้รายละเอียดต้องอ่านฉบับเต็ม แต่สิ่งที่ผมว่าสำคัญมากยิ่งกว่าก็คือ การฝึกปฏิบัติครับ รู้ไม่ต้องมากแต่ทำได้บ้าง ยังดีกว่ารู้เยอะแต่ไม่ได้ทำนะครับ

   1. การทำงาน(พฤติกรรม)ของจิตมีผลต่อการทำงานของเซลล์สมอง และในทำนองเดียวกัน การทำงานของเซลล์สมองก็มีผลต่อการทำงานของจิต นั่นหมายถึง ถ้าจิตของเราคิดหรือตั้งใจจะทำอะไร (Intention consciouness) ก็จะไปมีผลต่อการทำงานของเซลล์สมอง เชื่อมโยงเส้นใยประสาท และการหลั่งสารเคมีในสมอง และถ้าสมองเราเกิดประสบการณ์การรับรู้เรื่องใดๆ(Experiences via sensory-motor organs) ก็จะไปมีผลต่อการเปลี่ยนสภาวะของจิตด้วย

    การฝึกจิตให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ จะช่วยการทำงานของสมองให้ดีขึ้นด้วย (Train your mind change your brain)

    การให้สมองได้รับรู้ประสบการณ์ที่ดีๆ ก็จะมีผลต่อสภาพจิตใจที่ดีไปด้วย ให้เอาตาไปดูไปอ่านสิ่งที่ดีๆ เอาหูไปฟังสิ่งที่ดีๆ ใช้ปากพูดแต่สิ่งที่ดีๆ  ใช้มือทำแต่สิ่งที่ดีๆ แล้วเดี๋ยวสภาพจิตมันจะดีตามไปเองครับ

   2. การฝึกสติ การฝึกสมาธิ การฝึกสร้างจินตภาพ(ที่ดีตามที่เราต้องการ) การฝึกเจริญเมตตา-กรุณา จะกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมองให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ขอให้ฝึกบ่อยๆ เป็นประจำ จนเป็นนิสัย จะเกิดผลดีต่อสมอง และเพราะสมองเป็นศูนย์บัญชาการทำงานของร่างกาย สุขภาพร่างกายจึงพลอยดีตามไปด้วย

   3. ถ้าเรามีพฤติกรรมหรือความคิดที่ไม่ดี อย่าพยายามไปกด ข่ม หรือเปลี่ยนแปลง เพราะนั่นเท่ากับเรากำลังเอาน้ำมันไปราดไฟ เราเพียงแต่ตระหนักรู้เท่านั้น จากนั้นให้เติมพฤติกรรมหรือความคิดที่ดีลงไป ทำเช่นนี้บ่อยๆ สมองจะเริ่มรับรู้ แล้วสร้างเส้นทางใหม่ขึ้นมาให้เอง เปรียบเสมือนทางน้ำที่เป็นร่องลึก เราอย่าพยายามไปเปลี่ยนเส้นทางมันเลย ขอเพียงสร้างเส้นทางใหม่เพิ่มให้มันไหลเท่านั้น นานเข้าก็จะกลายเป็นร่องลึกขึ้นมาเอง

    นอกจากการปฏิบัติธรรมแล้ว เครื่องมือฝึกจิตอื่นยังมีอีก เช่น การฝึกชี่กง โยคะ งานศิลปะ เล่นดนตรี  เป็นต้น การฝึกกิจกรรมเหล่านี้ล้วนมีผลต่อจิตและสมองอย่างมากทีเดียว และเเน่นอนครับ เมื่อจิตดี สมองดี กายย่อมดีด้วยอย่างไม่ต้องสงสัยเลย ถ้าเป็นเช่นนั้น เริ่มฝึกตอนนี้ได้เลยครับ ... ^_^

 :19: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/500964
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2012, 10:40:30 pm »



พื้นที่ชีวิต - สมองแห่งพุทธะ 7Nov12

พื้นที่ชีวิต : สมองแห่งพุทธะ

บางทีการได้ฟังเรื่องพุทธศาสนาจากมุมมองของฝรั่งก็ทำให้เราได้รับมุมมอง การจับประเด็น รวมทั้งวิธีคิดอันแตกต่างจากที่เราคุ้นเคย และหลายครั้งนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกซึ้งขึ้นอย่างคาดไม่ถึง วันนี้"นิ้วกลม"มาอยู่ที่ซานฟรานซิสโก เพื่อคุยกับนักจิตวิทยา นักปฏิบัติธรรม และเป็นผู้เขียนหนังสือขายดีหลายเล่มอย่างเช่น buddha’s brain และ just one thing ที่ช่วยสร้างกระแสความสนใจพุทธศาสนาในหมู่ชาวตะวันตกอย่างกว้างขวางตลอดหลายปีที่ผ่านมา เขาคือ "คุณริค แฮนสัน"   จุดเด่นสำหรับหนังสือของริคคือ นอกจากตัวเขาเองจะเป็นนักจิตวิทยาแล้ว เขายังมีเพื่อนสนิทเป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านสมองและระบบประสาท ทำให้หนังสือที่ทั้งคู่เขียนร่วมกันเป็นการนำเอาประสบการณ์จากการปฏิบัติธรรมมาผสานกับความรู้ทางด้านสมองและระบบประสาท  ติดตามเรื่องราวเหล่านี้ได้ในพื้นที่ชีวิต ตอน สมองแห่งพุทธะ   ติดตามรายการพื้นที่ชีวิต ตอน สมองแห่งพุทธะ วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน 2555 เวลา 22.00 น. และรับชมออนไลน์ได้ที่ www.thaipbs.or.th/Live

 

"ความซับซ้อนของสมองมนุษย์ ที่มีน้ำหนัก 1250 กรัม
แต่มีพื้นที่เพียง2 นิ้วมือที่รับรู้ด้านภาษา ในการเข้าใจอารมณ์ของผู้อื่น หรือของตัวเราเอง ยังมีการทำงานของสมองส่วนอื่นๆอีกมาก ที่ไม่ต้องอาศัยภาษา " ...

ดังนั้นการเรียนรู้ผ่านภาษาไม่ใช่ทางสายเดียวหากเป็นแค่กระผีกหนึ่งที่ช่วยให้เราเข้าถึงสัจธรรมแห่งชีวิต ...

 ความคิดสร้างสมอง... คิดดีสร้างสมองดี ... ชีวีเป็นสุข


พุทธศาสนานิกายต่างๆ ถกเถียงกันมากมายว่าแนวทางใดถูกหรือผิด
แต่คนทุกนิกาย มีสิ่งที่เหมือนกันคือ สมอง
การศึกษาการทำงานของสมองเป็นทางหนึ่งซึ่งช่วยให้เราเข้าใจผลที่มีต่อสมองจากการปฏบัติธรรม วิปัสสนา หรือเจริญสติ
มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยเราให้เข้าถึงสมาธิได้ง่าย แต่ก็เหมือนแพ ที่เราแค่ใช้มันชั่วคราว

คุณริค แฮนสัน บอกเราว่า ทุกขณะที่สมองถูกกระตุ้น ได้เกิดร่องรอยมากมาย แล้วก็วับหายในพริบตา... พินิจดูก็จะรู้ถึงความว่าง แบบที่พระพุทธเจ้าทรงสอน

ข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์มากมายในสมอง มันปรากฏให้เราเห็นเหมือนเป็นแค่เพียงยอดของภูเขาน้ำแข็ง เราไม่อาจรู้ถึงร่องรอยทั้งหมดที่เราได้ทำให้เกิดขึ้นในสมองของเรา

การหม่นทุกข์ วิตก เศร้าหมอง มักโกรธ โทษตนเอง มันก็สร้างร่องรอยที่ไม่ดีได้อีกมหาศาลโดยเราไม่รู้อยู่ใต้สมองของเรา

ส่วนการสร้างนิสัยก่อสุข คิดดี เมตตา สร้างสรรค์ ก็เหนี่ยวนำสมองให้สร้างร่องรอยดีๆ ซึ่งวิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้มากมายแล้ว
.
เราและทุกชีวิตบนโลกล้วนรักสุขหนีทุกข์เหมือนกัน
.
เราดิ้นรนในโลก เหมือนม้าต่างที่ถูกบังตาไว้ แล้วมีบางสิ่งได้ล่อหลอกให้เราวิ่งไปตามแครอท และหากไม่วิ่งก็จะถูกเฆี่ยนตีจากข้างหลัง ...
.
มนุษย์เราปล่อยให้ ความโกรธ ความโลภ และความหลง หรือให้ความทุกข์นำทางเราผิดๆ มานักแล้ว ทำไมไม่ลองใช้...
ให้ความสงบ ความสุข และปัญญา นำทางเราบ้าง ...

สรุปแล้วการเจริญสติ และ เมตตา สร้างสมองดี และชีวิตมีสุขได้จริง

จาก http://www.oknation.net/blog/mettapc/2012/11/08/entry-1