ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2012, 05:48:46 am »

สั่งสสจ.จับตา 5 โรคที่มากับภัยแล้งใน 12 จังหวัด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
11 พฤศจิกายน 2555 16:07 น.

-http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000137739-

รมว.สธ. ห่วงภัยแล้งใน 12 จังหวัด กำชับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิต และโรคที่มากับอาหารและน้ำโดยเฉพาะ 5 โรคที่พบบ่อย เช่นอุจจาระร่วงเฉียบพลัน บิด ไทฟอยด์ หากพบให้เร่งควบคุมโรคป้องกันการแพร่ระบาด และให้โรงพยาบาลทุกระดับสำรองน้ำใช้ เพื่อให้บริการผู้เจ็บป่วยอย่างเพียงพอ
       
       นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 12 จังหวัด 94 อำเภอ ตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร อุดรธานี บึงกาฬ มุกดาหาร หนองคาย หนองบัวลำภู มหาสารคาม ยโสธร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ดและนครพนม ซึ่งสภาพความแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำใช้ อาจมีความเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพอนามัยประชาชน เนื่องจากการดูแลความสะอาดทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ซึ่งมี 5โรคสำคัญได้แก่โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคอาหารเป็นพิษ โรคบิด ไข้ไทฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อยและโรคอหิวาตกโรค และขณะเดียวกันในสภาพอากาศหนาวเย็นจะเอื้อให้การเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสหลายชนิด โดยเฉพาะโรต้าไวรัส (Rota virus)ที่เป็นต้นเหตุของการป่วยโรคอุจจาระร่วงในฤดูหนาวพบได้ทุกปี


       นายแพทย์ประดิษฐ กล่าวต่อว่า ในการป้องกันโรคดังกล่าว ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ประสบภัยดำเนินการตาม 6 มาตรการดังนี้ 1.เฝ้าระวังด้านสุขภาพจิตประชาชนที่ประสบภัย โดยเฉพาะความเครียดที่อาจเกิดขึ้นจากความเสียหายทางการเกษตร 2.เฝ้าระวังโรคในพื้นที่ หากพบมีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเกิดขึ้น ให้รีบดำเนินการควบคุมป้องกันไม่ให้โรคแพร่ระบาดทันที 3.ดูแลควบคุมมาตรฐานน้ำประปาโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด โรงงานผลิตน้ำแข็ง4.ดูแลกวดขันความสะอาดโรงอาหารโรงเรียน ร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และตลาดสด5.ขอความร่วมมือผู้ประกอบการดูแลความสะอาดส้วมสาธารณะต่างๆเช่นส้วมในร้านอาหาร ปั๊มน้ำมัน เป็นต้น และ6.ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนให้รู้จักอาการของโรควิธีการปฏิบัติตัวไม่ให้ป่วยโดยเฉพาะมาตรการกินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือ และขอความร่วมมือให้ดูแลความสะอาดห้องส้วมห้องครัวในบ้านเป็นพิเศษ
       
       สำหรับในโรงพยาบาลทุกระดับที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ให้ทุกแห่งสำรองน้ำใช้ไว้อย่างเพียงพอในการให้บริการผู้ป่วยและญาติ ดูแลระบบการบำบัดน้ำเสียให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่รอบโรงพยาบาล และนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น รดต้นไม้เพื่อร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัด
       
       ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จากการวิเคราะห์สถานการณ์การเจ็บป่วยของประชาชนจากกลุ่มโรคระบบทางเดินอาหาร 5 โรคที่กล่าวมา ในปี 2555 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงต้นพฤศจิกายน มีผู้ป่วยทั้งหมด 1,164,902ราย เสียชีวิต 38 ราย โรคที่พบมากอันดับ 1 กว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยทั้งหมด ได้แก่ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน จำนวน 1ล้านกว่าราย เสียชีวิต37 ราย รองลงมาคือโรคอาหารเป็นพิษ พบผู้ป่วยประมาณ 98,000ราย เสียชีวิต 1 ราย และโรคบิด จำนวน 5,645ราย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ทำหนังสือกำชับให้จังหวัดดำเนินการตามมาตรการที่กำหนดแล้ว และจะมีการประชุมทางระบบวิดีทัศน์เพื่อติดตามสถานการณ์ในพื้นที่เป็นระยะๆ
       
       ในการป้องกันขอให้ประชาชนดูแลความสะอาดอาหาร น้ำดื่ม ภาชนะใส่อาหาร ใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะกำจัดขยะมูลฝอย แยกเขียงและมีดหั่นอาหารดิบกับอาหารสุก กินอาหารที่ปรุงสุกและปรุงเสร็จใหม่ๆ หากอาหารข้ามมื้อให้อุ่นให้ร้อนหรือเดือดก่อนใช้ช้อนกลางตักอาหาร ล้างมือฟอกสบู่ทุกครั้งหลังจากใช้ห้องส้วมก่อนรับประทานอาหารหรือก่อนเตรียมนมให้เด็กทุกครั้ง หากมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำติดต่อกันมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ขอให้ดื่มน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ดื่มแทนน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์ใกล้บ้าน