ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2012, 10:18:24 pm »

"ฎีกาน่าสนใจ"
-http://www.ecdpolice.com/index.php?modules=article&f=view&cat_id=1&id=26&lang=th-

คำพิพากษาฎีกาที่ 4301/2543 (การล่อซื้อ/ความผิด ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ) คำพิพากษาฎีกาที่ 8220/2553 (ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31, 70 วรรคสอง)

คำพิพากษาฎีกาที่ 4301/2543

คำพิพากษาฎีกาที่ 4301/2543 (การล่อซื้อ/ความผิด ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ)เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิ์ดำเนินคดีกับผู้ละเมิดได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญาซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีและการรับฟังพยานหลักฐานที่แตกต่างกัน เมื่อโจทก์เลือกดำเนินคดีอาญาจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม ในการที่ศาลจะลงโทษจำเลยตามฟ้องนั้น นอกจากโจทก์จะต้องนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ให้ศาลเห็นโดยปราศจากข้อสงสัย ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องแล้ว ยังต้องให้ได้ความว่าโจทก์เป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ด้วย
จำเลยที่ 1 ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องก่อนที่ ส. ซึ่งรับจ้างทำงานให้โจทก์จะไปล่อซื้อ แต่จะมีการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วมีการทำซ้ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากที่ ส. ตกลงซื้อกับจำเลยที่ 3 แล้ว จำเลยที่ 3 ต้องการแถมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้แก่ ส. ตามที่ได้ตกลงกันในวันที่ ส.ไปล่อซื้อ พนักงานของจำเลยที่ 1อาจนำแผ่นข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่ ส. ล่อซื้อในช่วงเวลาหลังจากที่จำเลยที่ 1 ประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่โรงงานเสร็จและส่งไปที่สำนักงานของจำเลยที่ 1 เพื่อรอส่งมอบแก่ลูกค้าที่สั่งซื้อตามเวลาที่นัดไว้ การทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของโจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ ส. ล่อซื้อนั้น เป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์หลังจากวันที่ ส. ไปล่อซื้อแล้ว เพื่อมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำซ้ำให้กับ ส. มิใช่การทำซ้ำโดยผู้กระทำผิดมีเจตนากระทำอยู่ก่อนแล้วก่อนการล่อซื้อ น่าเชื่อว่าการกระทำผิดดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของ ส. ซึ่งได้รับจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
กรณีเป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

//////////////////////////////////////////



คำพิพากษาฎีกาที่ 8220/2553

คำพิพากษาฎีกาที่ 8220/2553 (ความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 31, 70 วรรคสอง) - จำเลยประกอบกิจการค้าชายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้” อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยได้ฟัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงดังกล่าวเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลงดังกล่าว หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์

//////////////////////////////////////////////////
เมื่อ : 12 พ.ย. 2555 - 16:32:16 น. จำนวนผู้เข้าอ่าน : 20 ครั้ง

-----------------------------------------------


เปิดเพลงในร้านอาหาร ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง
-http://www.chusaklaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539372714&Ntype=2-

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553
พนักงานอัยการจังหวัดระยอง
โจทก์

นางสุรินทร์ คำพวง
จำเลย

ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31, 70 วรรคสอง

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้” อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฎว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

________________________________


โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6, 8, 15, 27, 28, 29, 30, 31, 69, 70, 75, 76 ริบโทรทัศน์สี เครื่องเล่นซีดี ดีวีดี และให้แผ่นซีดีเพลงจำนวน 19 แผ่น ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ของกลางตกเป็นของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และสั่งจ่ายเงินค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง ของกลางคืนให้แก่เจ้าของ

โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เห็นว่า พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน...” ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการเผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน “เพื่อหากำไร” ซึ่งหมายความว่า กำไรนั้นหากจำเลยได้มาหรือจะได้มาจะต้องเกิดจากการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องได้ความว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้” อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลง โดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลง หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน

-http://www.chusaklaw.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539372714&Ntype=2-
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2012, 10:17:55 pm »

ตัวแทนลิขสิทธิ์แกรมมี่ รีดทรัพย์ร้าน"ทุกอย่าง 20 บาท"เปิดเพลงให้ลูกค้าฟัง
-http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000139493-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
15 พฤศจิกายน 2555 10:23 น.

ความคิดเห็นที่ 78

คำสั่งศาลมาแล้วครับ แล้วช่วยแจ้งกลับร้านทุกๆทีด้วยครับ เพื่อป้องกันพนักงบริษัท และ เจ้าหน้าที่รัฐรวมหัวกันปล้นประชาชน

-----------------------------------------------------------

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8220/2553
พนักงานอัยการจังหวัดระยอง
โจทก์

นางสุรินทร์ คำพวง
จำเลย

ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31, 70 วรรคสอง

พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้” อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฎว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าฟังเพลงโดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนหรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าว ซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง

________________________________

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 4, 6, 8, 15, 27, 28, 29, 30, 31, 69, 70, 75, 76 ริบโทรทัศน์สี เครื่องเล่นซีดี ดีวีดี และให้แผ่นซีดีเพลงจำนวน 19 แผ่น ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ของกลางตกเป็นของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และสั่งจ่ายเงินค่าปรับฐานละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งหนึ่งให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์

จำเลยให้การรับสารภาพ

ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง ของกลางคืนให้แก่เจ้าของ

โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ที่โจทก์อุทธรณ์การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เห็นว่า พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ซึ่งบัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานนั้นเพื่อหากำไร ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ (2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน...” ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงต้องเป็นการเผยแพร่งานนั้นต่อสาธารณชน “เพื่อหากำไร” ซึ่งหมายความว่า กำไรนั้นหากจำเลยได้มาหรือจะได้มาจะต้องเกิดจากการกระทำแก่งานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ตามที่โจทก์บรรยายฟ้องได้ความว่า จำเลยประกอบกิจการค้าขายอาหารตามสั่งและเครื่องดื่ม จำเลยเปิดแผ่นวีซีดีเพลง “กำลังใจที่เธอไม่รู้” อันเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ซึ่งได้มีผู้ทำขึ้นหรือดัดแปลงขึ้นให้ลูกค้าในร้านอาหารของจำเลยฟัง ไม่ปรากฏว่าจำเลยเปิดเพลงเพื่อหากำไรโดยตรงจากการที่ให้ลูกค้าได้ฟังเพลง โดยการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากลูกค้าในการเปิดเพลง หรือเรียกเก็บเพิ่มรวมไปกับค่าอาหารและเครื่องดื่มแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 ประกอบมาตรา 70 วรรคสอง เพราะไม่ครบองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวซึ่งต้องเป็นการกระทำเพื่อหากำไรโดยตรงจากการละเมิดลิขสิทธิ์ แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ไม่อาจลงโทษจำเลยได้ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์ชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น

พิพากษายืน


ความคิดเห็นที่ 78 มด
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2012, 10:17:25 pm »

ตัวแทนลิขสิทธิ์แกรมมี่ รีดทรัพย์ร้าน"ทุกอย่าง 20 บาท"เปิดเพลงให้ลูกค้าฟัง
-http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000139493-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
15 พฤศจิกายน 2555 10:23 น.
 

นางชุติมา พนาอภิชน เจ้าของร้านจำหน่ายสินค้า ทุกอย่าง 20 บาท 


นายนิสัย คงทน พนักงานร้าน 







ศูนย์ข่าวศรีราชา - ตัวแทนลิขสิทธิ์ค่ายเพลงแกรมมี่ นำตำรวจคุมตัวพนักงานร้านขายของทุกอย่าง 20 บาท ในอำเภอบ่อวิน ชลบุรี หลังเปิดเพลงให้ลูกค้าฟัง เพื่อไม่ให้ร้านเงียบ อ้างละเมิดลิขสิทธิ์ รีดเงิน 4 หมื่นบาท แลกยุติคดี
       
       วันนี้ (15 พ.ย.) นางชุติมา พนาอภิชน เจ้าของร้านจำหน่ายสินค้า ทุกอย่าง 20 บาท ที่ ต.บ่อวิน กล่าวว่า ตนได้รับโทรศัพท์จากลูกน้องที่เฝ้าร้านว่า มีเจ้าหน้าที่ซึ่งอ้างว่าเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์จากค่ายเพลงแกรมมี่ พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประมาณ 7-8 คนเข้ามาที่ร้าน โดยอ้างว่าร้านกระทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์เพลง และบังคับให้ นายนิสัย คงทน พนักงานร้านขึ้นรถยนต์เพื่อนำตัวไปดำเนินคดีที่สถานีตำรวจภูธรบ่อวิน
       
       ในระหว่างอยู่บนรถยนต์นั้น กลุ่มลิขสิทธิ์เพลงได้ข่มขู่ ให้นายนิสัย เซ็นชื่อ รับผิด พร้อมทั้งกล่าวถึงโทษทางคดีว่าจะต้องถูกฟ้อง และดำเนินคดีทางกฎหมายที่รุนแรง และอาจจะต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวนเงินหลายแสนบาท พร้อมยังกล่าวอีกว่า แต่หากไม่ให้เรื่องวุ่นวาย หรือเสียค่าใช้จ่ายเป็นแสนบาท ก็ให้นำเงินมาจ่ายในช่วงนี้เพียง 40,000 บาทเท่านั้น แล้วทุกอย่างก็จะจบ
       
       นางชุติมา กล่าวต่อไปว่า นายนิสัย ขอโทรศัพท์ติดต่อตนก่อน ทางกลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากแกรมมี่ก็ไม่ให้ ซึ่งในขณะนั้น ตนกำลังเดินทางไปที่ร้าน โดยให้นายนิสัย สอบถามว่ากลุ่มดังกล่าวเป็นใคร มาจากไหน และมีอะไรมาแสดงว่าเป็นเจ้าหน้าที่ลิขสิทธิ์จริงหรือไม่ โดยขอดูเอกสารหลักฐานต่างๆ แต่ทางเจ้าหน้าที่ที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ลิขสิทธิ์ฯ พยายามบ่ายเบี่ยงไม่ให้ดูเอกสารอย่างชัดเจน พร้อมอ้างว่าจับดำเนินคดีมาหลายร้านแล้ว
       
       ระหว่างลูกน้องนั่งมาในรถก็พยายามข่มขู่ และเร่งรัดว่าเมื่อไรจะติดต่อเจ้าของร้านได้ ตกลงจะจ่าย 40,000 บาท เพื่อจบคดีหรือไม่ จนมาถึงสถานีตำรวจ สภ.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี แต่ยังไม่นำตัวขึ้นไปบนสถานี โดยมีการเจรจาพูดคุยกันด้านล่างสถานี หลังจานั้นก็มีการต่อรองราคาว่าถ้าจ่าย 30,000 บาท ก็จะไม่ถูกดำเนินคดี ซึ่งลูกน้องบอกว่าต้องรอเจ้านาย จนเวลาล่วงเลยไปกว่า 4 ทุ่มแล้ว ทางกลุ่มลิขสิทธิ์ฯ ก็พยายามต่อรองราคาอีก และเหลือเพียง 20,000 บาท ทุกอย่างจะจบ ไม่ต้องไปขึ้นศาลให้เสียเวลา
       
       “ขณะนั้นตนได้เดินทางมาถึงสถานีตำรวจ แต่กลุ่มเจ้าหน้าที่ลิขสิทธิ์ดังกล่าวไม่มีใครอยู่แล้ว เนื่องจากได้ส่งบันทึกการจับกุมให้พนักงานสอบสวน สภ.บ่อวิน คือ พ.ต.ท.คมกฤต ขำเสถียร สารวัตรเวรเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ ในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่นโดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อการค้า”
       
       นางชุติมา กล่าวต่อไปว่า หลังจากแจ้งข้อกล่าวหา ตนได้ขอยื่นประกันตัวลูกน้อง โดยใช้เงินจำนวน 50,000 บาท ประกันตัว ซึ่งจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่สารวัตรเวร พร้อมขอหลักฐานการจ่ายเงินจากเจ้าหน้าที่ แต่ไม่มีใบเสร็จจึงได้ถ่ายภาพบันทึกไว้เป็นหลักฐานเพื่อยืนยันว่ามีการจ่าย และรับเงินกันจริง ซึ่งใช้เวลานานกว่า 2 ชั่ว จึงจะสามารถประกันตัวได้
       
       ในความเป็นจริงแล้ว ตนทราบว่าการจะดำเนินคดีในเรื่องลิขสิทธิ์เพลงนั้นจะต้องนำเพลงนั้นไปแสวงหาผลประโยชน์ เช่น ตามสถานบันเทิง ร้านคาราโอเกะ ส่วนร้านตนนั้นเป็นเพียงการจำหน่ายสินค้าจำพวกเครื่องพลาสติก ของใช้ราคาอย่างละ 20 บาท ซึ่งในความเป็นจริงลูกค้าไม่ต้องมารอฟังเพลงเพื่อเลือกซื้อสินค้า แต่เพียงเปิดเพลงเพื่อไม่ให้ร้านค้าเงียบเท่านั้น และทางนายนิสัย ชื่นชอบในตัวศิลปิน และอยากฟังเพลง
       
       นางชุติมากล่าวว่า ตนรู้สึกเสียใจที่ค่ายเพลงแกรมมี่มอบอำนาจให้แก่ตัวแทนลิขสิทธิ์ไปใช้ในทางที่ผิด เพื่อเรียก หรือขู่กรรโชกทรัพย์จากประชาชน ส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เป็นผู้รักษากฎหมายควรจะคุ้มครอง และให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน แต่กลับไปให้ความร่วมมือกับตัวแทนลิขสิทธิ์ในการช่วยเหลือการกระทำผิดในครั้งนี้อย่างเป็นระบบ
       
       “ตนได้สอบถามไปยังบริษัทแกรมมี่ ซึ่งพบว่า การซื้อเทปเพลงนั้นมี 2 รูปแบบ คือ การซื้อเทปเปิดฟังอยู่ในบ้าน และการซื้อเทปเปิดนอกบ้าน โดยประชาชน ส่วนมากไม่มีใครทราบ และทางค่ายเพลงก็ไม่เคยประชาสัมพันธ์ หรือชี้แจงให้ใครทราบ นอกจากนั้น ข้อห้ามต่างๆ บนปกเทปก็มองแทบไม่เห็น จึงกลายเป็นช่องทางที่ถูกดำเนินคดี ซึ่งตนก็พร้อมที่จะดำเนินคดีแทนการจ่าย 40,000 บาท เพื่อต้องการจะทราบว่า ความจริงแล้วเรื่องอะไรมันคือสิ่งที่ถูกต้องกันแน่ ในการฟังเพลงที่เราซื้อมาจากตัวแทนจัดจำหน่ายของค่ายเพลงอย่างถูกต้อง ไม่ได้เป็นแผ่นก๊อบแต่อย่างใด” นางชุติมากล่าว
       
       สำหรับผู้ที่อ้างเข้ามาจับกุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย ด.ต.มานพ ถาวร ผบ.หมู่ (ป.) สภ.บ่อวิน ส.ต.อ.ยุทธพงษ์ อบเชย ผบ.หมู่ กก.2 บก.ส.3 พร้อมด้วยนายสมนึก กรมภักดิ์ ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท จี-พาวเทนท์ จำกัด โดยร่วมกันจับกุมนายนิสัย คงทน อายุ 26 ปี โดยในข้อกล่าวหาว่า “ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น โดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อการค้า”
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ลักษณะการก่อเหตุของกลุ่มแก๊งที่อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ลิขสิทธิ์ที่กระทำการกรรโชกทรัพย์กับกลุ่มผู้ประกอบการที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในพื้นที่จังหวัดชลบุรี โดยเฉพาะที่เมืองพัทยาซึ่งมีผู้ประกอบการทำมาหากินอยู่มาก ก็จะมีกลุ่มแก๊งที่อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ลิขสิทธิ์เรียกเก็บเงินมาแล้วหลายราย จนมีกระแสจากผู้ประกอบการให้รวมกลุ่มตรวจสอบกลุ่มแก๊งดังกล่าว จนกลุ่มลิขสิทธิ์เริ่มหายไปจากพื้นที่เมืองพัทยา ก่อนมาเป็นข่าวก่อเหตุอีกครั้งในพื้นที่ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา



.