ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2012, 12:45:50 pm »




ในปัจจุบันถึงแม้โลกจะมีความก้าวหน้าในด้านวัตถุในทุกแขนง รวมทั้งในด้านการแพทย์
    
     แต่สิ่งหนึ่งที่มนุษย์พบว่าเป็นสาเหตุความทุกข์ อันเกิดจากการเจ็บป่วย ก็คือพฤติกรรมการกินและการอยู่ของมนุษย์ นอกเหนือจากพันธุกรรม เช่น โรคอ้วน และโรคเบาหวาน เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีพฤติกรรมการกินเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยแทบทุกคน
    
     เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าท่านผู้อ่านเป็นชาวพุทธหรือมิใช่ชาวพุทธ แต่สนใจเรียนรู้คำสอนของพระพุทธเจ้าในแง่ของปรัชญาชีวิต ก็จะพบว่ามีคำสอนอย่างน้อย 2 ข้อ ที่สอนเกี่ยวกับการกินและการอยู่ เพื่อให้การดำรงชีวิตพ้นทุกข์จากการเจ็บป่วยได้
    
     คำสอนประการแรกที่เกี่ยวกับการกิน ก็คือ
    
     1. โภชนสัปปายะ หมายถึง การกินอาหารที่เหมาะสมกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ
    
     2. โภชนมัตตัญญุตา หมายถึง การรู้จักประมาณในการกิน ไม่กินมากเกินไปหรือน้อยเกินไป แต่ให้กินพอดีกับที่ร่างกายต้องการ
    
     จากธรรม 2 ประการนี้ จะเห็นได้ชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าได้ค้นพบคุณและโทษของการกินอาหาร รวมไปถึงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารด้วย
    
     แต่ในปัจจุบัน ถึงแม้ผู้คนจะเจริญแล้วด้วยวิทยาการแขนงต่างๆ รวมทั้งแขนงโภชนาการด้วย แต่มีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีจำนวนไม่น้อย เป็นทาสของการกิน จนเป็นเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยก่อนวัยอันควร อันได้แก่ โรคอ้วน อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการกินที่เกินพอดี ผสมกับมีโรคอ้วนทางพันธุกรรมอยู่ด้วยในบางราย
    
     ถ้าทุกคนที่เจ็บป่วย อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการกิน ได้ศึกษาและปฏิบัติตามธรรม 2 ประการนี้ รับรองได้ว่า อาการเจ็บป่วยก็จะทุเลาลง และคนที่ยังไม่ป่วยก็มีโอกาสป้องกันจากการป่วยด้วยโรคนี้ได้ แม้กระทั่งในบุคคลที่ป่วยด้วยมีผลสืบเนื่องจากพันธุกรรม แต่ถ้าปฏิบัติตามก็สามารถป้องกันได้ในระดับหนึ่ง
    
     อีกประการหนึ่ง แม้ในแนวทางการดำเนินชีวิตทั่วๆไป ก็ได้วางหลักการในการกินการอยู่ไว้ค่อนข้างจะแยบยล ประกอบด้วย 4 อ. 1 ส.
    
     4 อ. คือ 1. อาหาร 2. อากาศ 3. อารมณ์ 4. ออกกำลังกาย
    
     และ 1 ส. คือ สถานที่อยู่อาศัย จะต้องเหมาะแก่การดำรงชีวิต หรือที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า อาวาสสัปปายะ ที่อยู่อันเหมาะสม ไม่แออัดและพลุกพล่าน จนเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตและสุขภาพกาย
    
     จากธรรมและหลักการดำเนินชีวิตดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่า ถ้าจะให้ชีวิตอยู่ได้โดยปราศจากทุกข์ ทั้งทางกาย อันได้แก่ การเจ็บป่วย และทุกข์ใจ อันได้แก่ ความเดือดร้อนวุ่นวายไม่สงบ ทุกคนในสังคมจะต้องกินอย่างมีธรรม และอยู่อย่างมีธรรม
    
     โดยยึดหลักสันโดษ คือยินดีในสิ่งที่เป็นของตน และได้มาด้วยความชอบธรรม ก็จะช่วยให้อายุยืนยาว และไม่เดือดร้อน ทำให้การอยู่การกินมีค่า ทั้งแก่ตนเอง และสังคมโดยรวมได้
    
     (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 143 พฤศจิกายน 2555 โดย สามารถ มังสัง)
"พุดน้ำบุศย์" -http://www.baanpud.net/forum/viewtopic.php?f=31&t=6316