ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2012, 02:55:13 pm »



                   

เสฐียรพงษ์ วรรณปก : เทคนิคการสอนแบบเซน
คอลัมน์ รื่นร่ม รมเยศ
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก >> มติชน 28 ตุลาคม 2555

ความรับรู้ของคนไทยส่วนมากเกี่ยวกับพุทธศาสนานิกายเซน ก็คือ คำพูดอะไรก็ตามที่เป็นในทำนอง "ปริศนา" ซ่อนเงื่อน ให้แปลความหลายๆ ชั้นจึงจะเข้าใจ อันนั้นแหละเรียกว่า "เซน" ทั้งนี้ เพราะได้รับบอกเล่าว่า ในนิกายเซนอาจารย์จะไม่สอนเป็นเรื่องเป็นราว ไม่เน้นหลักทฤษฎีวิชาการอะไรนัก หากจะคอยกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดค้นด้วยตนเอง

หน้าที่ของอาจารย์จึงเป็น "ผู้กระตุ้นให้คิด" เช่นให้ปริศนาไปให้ขบคิดปริศนา (โกอาน หรือ กงอั้น) ที่ขึ้นชื่อก็คือ "เสียงของมือข้างเดียวเป็นเช่นไร" ศิษย์ก็จะนำไปขบคิดหาคำตอบ
ที่จริงก็เป็นสมถะวิธีหนึ่งนั้นเอง อาจารย์สอนให้คิดปริศนาก็คือสอนให้ฝึกสมาธินั่นเอง แต่ไม่บอกว่ากำลังให้ฝึกสมาธิ เมื่อศิษย์นั่งสงบ คิดหาคำตอบ เพ่งพินิจอยู่กับประเด็นปัญหา นานเข้า จิตก็จะสงบเป็นเอกัคคตา
เมื่อจิตสงบ ปัญญาก็เกิด ในที่สุดก็จะได้คำตอบ เป็นการแก้ปริศนาธรรมได้

พุทธศาสนานิกายเซน มีเทคนิควิธีกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติบรรลุธรรมหลายแบบ แต่ที่คุ้นกันในแวดวงชาวพุทธไทย ก็คือ การสอนด้วยปริศนาธรรม และการทำให้ "ฉุกคิด" ด้วยคำโต้ตอบหรือปฏิกิริยาแปลกๆ
เช่น เรื่องพระนั่งกรรมฐานบนต้นไม้ อาจารย์ไปพบเข้าถามว่าทำอะไร ศิษย์บอกว่านั่งกรรมฐานเพื่อเป็น "พุทธะ"

อาจารย์จึงหยิบก้อนอิฐขึ้นมาถูมืออย่างแรงจนเลือดไหล ศิษย์ถามว่าท่านอาจารย์ทำอะไร อาจารย์ตอบว่าจะถูให้มันกลายเป็นกระจกใส
ศิษย์จึงว่าอาจารย์จะบ้าหรือ ถูจนมือขาดมันก็เป็นกระจกไม่ได้ อาจารย์ย้อนถามว่า เช่นเดียวกัน คุณนั่งบนนั้นจนกลายเป็นลิงก็เป็นพุทธะไปไม่ได้ !
นี้แหละครับ ที่เราได้ยินได้ฟังมาว่าเป็นวิธีถ่ายทอดแบบเซนวิธีหนึ่งในหลายวิธี

ในคัมภีร์ฝ่ายเถรวาทเล่ามีวิธีการเช่นนี้บ้างไหม ความจริงเซนก็แตกแขนงไปจากเถรวาทนั่นแหละ จะมาจากที่ไหนเสียอีกล่ะ เมื่อเกิดมหายานขึ้นแล้ว มหายานก็แยกออกเป็นหลายสาขา เซนก็เป็นสาขาหนึ่งของมหายาน
เขียนมาถึงตรงนี้นึกถึงนิทานธรรมบทเรื่อง "ธิดานายช่างหูก" จึงขอนำมาถ่ายทอดเสียเลย เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิธีการแห่งเซนของพระพุทธเจ้าชัดเจนเรื่องหนึ่ง

เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดประชาชนชาวเมืองอาฬวี ทรงแสดงธรรมเรื่อง "มรณัสสติ" สอนชาวเมืองอาฬวีว่า ชีวิตเราไม่แน่นอน แต่ความตายเป็นสิ่งแน่นอน ชีวิตคนเราไม่เที่ยง แต่ความตายเที่ยง
ถ้าใครไม่เจริญมรณัสสติ เวลาตายจะหวาดสะดุ้งร้องอย่างขลาดกลัว แต่ถ้าเจริญมรณัสสติประจำ ถึงคราวตายจะไม่หวาดสะดุ้ง ตายด้วยอาการสงบเหมือนนอนหลับไปก็มิปาน
ในจำนวนผู้ฟังธรรมครั้งนั้น มีเด็กสาวอายุ 16 ปี นางหนึ่ง เป็นบุตรสาวนายช่างหูก นั่งฟังธรรมอยู่ด้วย นางได้เกิดปีติในธรรมอย่างลึกซึ้ง เมื่อพระศาสดาจากไปแล้ว นางก็ได้ฝึกอบรมมรณัสสติทุกคืนวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี

วันหนึ่งพระบรมศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกก่อนรุ่งสว่าง ภาพธิดาสาวของนายช่างหูกปรากฏในข่ายคือพระญาณ พระองค์จึงเสด็จจากพระเชตวันเมืองพาราณสี มายังเมืองอาฬวี เพื่อโปรดนาง
ชาวเมืองอาฬวีได้ทราบข่าวพระองค์เสด็จมา ก็พากันกราบทูลอาราธนาให้เสวยภัตตาหาร และทรงแสดงธรรม ธิดานายช่างหูกก็ดีใจที่จะได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์อีก พอดีบิดาของนางสั่งนางว่า "ผ้าที่ลูกค้ามาสั่งให้ทอ ยังทอค้างอยู่ในหูก พ่อจะไปทอให้เสร็จ ลูกจงกรอด้ายหลอดไว้จำนวนหนึ่ง เสร็จแล้วให้นำไปให้พ่อ"

ชาวเมืองต่างพากันไปฟังธรรม นางว้าวุ่นใจขนาดหนัก จะทำงานให้พ่อ ก็จะอดฟังธรรม ครั้นจะไปฟังธรรม งานก็จะไม่เสร็จ พ่อกลับมาอาจดุด่าตีอีก นางจึงตัดสินใจรีบทำงานให้พ่อ กะไปฟังธรรมภายหลังถึงจะไม่ทันฟังตั้งแต่ต้นก็ยังดี
เมื่อกรอด้ายหลอดเสร็จแล้ว เอาใส่กระเช้าถือไปให้บิดาที่โรงทอหูก บังเอิญทางไปโรงทอหูกผ่านสถานที่ที่พระพุทธองค์แสดงธรรมด้วย
พระพุทธเจ้าทรงชะเง้อทอดพระเนตรนาง นางเห็นพระพุทธองค์ทรงชะเง้อมองเช่นนั้น ก็เกิดปีติปราโมทย์เหลือจะพรรณนา "พระศาสดาประทับท่ามกลางพุทธบริษัทปานฉะนี้ ยังทรงมองมาทางเรา" จึงเข้าไป วางกระเช้าด้ายหลอด ถวายบังคม

พระพุทธเจ้าตรัสสนทนากับนางด้วยถ้อยคำที่บรรดาประสกสีกาที่นั่งอยู่ไม่เข้าใจบทสนทนานั้นมีดังนี้ครับ
พระศาสดา "กุมาริกา เธอมาจากไหน"
กุมาริกา "ไม่ทราบ พระเจ้าข้า"
พระศาสดา "เธอจะไปไหน"

กุมาริกา "ไม่ทราบ พระเจ้าข้า"
พระศาสดา "เธอไม่ทราบหรือ"
กุมาริกา "ทราบ พระเจ้าข้า"
พระศาสดา "เธอทราบหรือ"
กุมาริกา "ไม่ทราบ พระเจ้าข้า"

ประชาชนต่างเอ็ดอึงตำหนิกุมาริกาว่า สาวน้อยเป็นแค่ธิดาช่างหูก ไฉนบังอาจพูดจา "เล่นลิ้น" กับพระบรมศาสดาปานฉะนี้ พระพุทธเจ้าให้ประชาชนเงียบเสียง ตรัสถามนางว่า ทำไมเวลาพระองค์ถามจึงตอบกลับไปกลับมาอย่างนั้น
ธิดาช่างหูกกราบทูลว่า พระองค์ย่อมทรงทราบว่าหม่อมฉันมาจากบ้าน ที่พระองค์ตรัสว่ามาจากไหน คงทรงต้องการถามว่าหม่อมฉันมาจากชาติภพไหน จึงมาเกิดในบัดนี้ หม่อมฉันจึงกราบทูลว่า หม่อมฉันไม่ทราบ

เมื่อพระองค์ตรัสถามว่าจะไปไหน คงทรงหมายถึงว่า หม่อมฉันตายแล้วจะไปเกิดที่ไหน หม่อมฉันจึงกราบทูลว่า หม่อมฉันไม่ทราบ
เมื่อพระองค์ตรัสถามว่าไม่ทราบหรือ คงหมายถึงว่า ไม่ทราบหรือว่าตัวจะตาย หม่อมฉันจึงกราบทูลว่า ทราบ
ครั้นตรัสถามอีกว่า ทราบหรือ คงหมายถึงว่าทราบหรือว่าจะตายเมื่อใด หม่อมฉันจึงกราบทูลว่า หม่อมฉันไม่ทราบ
ประชาชนส่งเสียงเอ็ดอึงอีก คราวนี้เอ็ดอึงเพราะทึ่งในปฏิภาณการโต้ตอบอันเฉียบคมของสาวน้อยคนนี้

พระพุทธองค์หันมาตรัสกับประชาชนทั้งหลายว่า พวกเธอไม่เข้าใจนัยแห่งถ้อยคำของนางกุลธิดา ก็ตำหนิเธอ ความจริงแล้วคนที่มีปัญญาย่อมเข้าใจได้ ส่วนคนไม่มีปัญญาก็เหมือนคนตาบอด แล้วตรัสคาถาประพันธ์ความว่า

สัตว์โลกเหมือนคนตาบอด น้อยคนจักเห็นแจ้ง
น้อยคนจะไปสวรรค์ ดุจนกติดข่ายพราน น้อยตัวจะหลุดรอดไปได้
ธิดาช่างหูกฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน แล้วรีบถือกระเช้าด้ายหลอดไปยังโรงทอหูก เห็นบิดานั่งหลับอยู่กับหูก จึงยื่นกระเช้าด้ายไปให้

บิดาตกใจตื่นเอามือกระชากฟืมที่จับค้างอยู่ กระชากเข้ามาเต็มแรง ปลายฟืมกระแทกหน้าอกลูกสาวล้มลงตาย ณ ที่นั้นเอง สร้างความเศร้าโศกแก่บิดา และผู้คนที่พบเห็นหาที่สุดมิได้
ครับ ชีวิตไม่แน่นอน ความตายเท่านั้นแน่นอน


-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1351438442&grpid=03&catid=03