ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2012, 01:35:33 am »ภาคปฏิบัติของความยั่งยืนยาวนาน : ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบใหม่
การสร้างสังคมแนวนิเวศไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความห่วงใยในธรรมชาติเท่านั้น หากแต่มีความเชื่อมโยงไปถึงเรื่องของมนุษย์และชมชนซึ่งเป็นส่วนสำคัญของสังคมด้วย มองในแง่นี้เป้าหมายที่สำคัญของความยั่งยืนยาวนานก็คือ การสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในวิถีทางที่ไม่ละเมิดขีดจำกัดของระบบนิเวศ หลักการข้อนี้ (ผสมผสานกับ “ปรัชญาเพื่อชีวิตและธรรมชาติ” ตามความคิดแบบพุทธ หรือแบบนิเวศวิทยาแนวลึก) จึงนับว่ามีความสำคัญอย่างมากในการเป็นพื้นฐานเพื่อแสวงหายุทธศาสตร์ใหม่ของ “การพัฒนา” ในภาคปฏิบัติ
ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ยุทธศาสตร์การพัฒนาของเรามีเนื้อหาค่อนข้างคับแคบมาก คือมุ่งไปในทิศทางของการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือการเพิ่มรายได้ประชาชาติเท่านั้น การพัฒนาเป็นเรื่องของการใช้แรงงานมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติอย่างสุดขีด จนกระทั่งทั้งมนุษย์และธรรมชาติต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสภาพทรุดโทรม เพื่อมิให้วิกฤตการณ์ของโลกชีวิตต้องขยายตัวรุนแรงยิ่งขึ้น เราจำเป็นที่จะต้องยุติวิถีทางการพัฒนาแบบเก่าที่มีลักษณะทำลายล้างอย่างสิ้นเชิง และหันไปใช้วิถีทางที่ตั้งอยู่บนหลักการของความยั่งยืนยาวนาน
ยุทธศาสตร์ใหม่นี้อาจเรียกได้ว่าเป็นเรื่องของ “การพัฒนาที่ยั่งยืนยาวนาน” (sustainable development) ซึ่งมีเนื้อหากว้างกว่าเรื่องของเศรษฐกิจและธุรกิจ โดยจะครอบคลุมไปถึงมิติของสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และชีวิตของมวลชนผู้ยากไร้ ในขณะเดียวกันยุทธศาสตร์ใหม่นี้จะเน้นว่า การตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาใด ๆ ก็ตามในช่วงเวลาแห่งปัจจุบันจะต้องไม่ทำลายลู่ทางการยกระดับคุณภาพชีวิตในอนาคต หลักการปฏิบัติข้อนี้จะมีผลสะเทือนไปถึงเรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างที่สุด นั่นคือ กฎที่บ่งว่าเราจะใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในช่วงปัจจุบันในขอบเขตที่ไม่ทำลายลู่ทาง การใช้ในช่วงอนาคตเมื่อเป็นเช่นนี้ ระบบเศรษฐกิจของเราจะต้องได้รับการจัดการไปในทิศทางที่เราได้รับประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติในระดับที่เหมาะสม พอดีพอควรเท่านั้น ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการอนุรักษ์และ ปรับปรุงฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ชนรุ่นหลังเราสามารถดำรงชีวิต อยู่ต่อไปได้ในอนาคต
สรุปแล้ว ยุทธศาสตร์ใหม่นี้ให้ความสำคัญสูงแก่เรื่องความยุติธรรมและความเสมอภาคระหว่างกลุ่มชนต่างยุคสมัย (ปัจจุบันและอนาคต) ซึ่งมีความสำคัญพอ ๆ กับเรื่องความเท่าเทียมกันของผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ในยุคปัจจุบัน ในแง่นี้แล้วเราจึงให้ความหมายว่า
“การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน คือ การพัฒนาที่สนองความต้องการและความใฝ่ฝันของผู้คนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำลายโอกาส ความสามารถ และอนาคตของชนรุ่นหลังของเรา
หลักการพื้นฐานของยุทธศาสตร์
สิ่งที่เราต้องเน้นมากที่สุดคือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานจะมีแนวทางหลัก 2 ข้อด้วยกัน คือ :
1. จะต้องมีการสนองความต้องการของมวลชนผู้ยากไร้ ซึ่งถูกละเลยหรือถูกทอดทิ้งมาตลอดในกระบวนการพัฒนาที่ผ่านมา
2. จะต้องมีการวางขีดจำกัดบางอย่าง เพื่อปกป้องพิทักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติในระบบสิ่งแวดล้อมของเรา
สรุปได้ง่าย ๆ คือ การพัฒนา (การผลิต และการบริโภค การดำรงชีวิต) จะต้องมีบรรทัดฐานและวิถีทางภายใต้ขอบเขตของความเป็นไปได้ทางนิเวศ
เมื่อเป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจะแยกออกจากกันไม่ได้เลย เศรษฐศาสตร์และนิเวศวิทยาจะต้องรวมเข้ากันเป็น “ศาสตร์แห่งการพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน”
ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั้งยืนยาวนาน อย่างน้อยที่สุดจะต้องครอบคลุม “หลักการพื้นฐาน” ดังต่อไปนี้
1. ต้องถือว่า การสร้างวัตถุเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งในการยกระดับชีวิตเป็นอยู่ของมวลชนผู้ยากไร้ ความยากจนที่ดำรงอยู่มีส่วนสำคัญ ในการก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ถูกต้อง
2. การสนองความต้องการพื้นฐานของมวลชน เป็นภารกิจที่สำคัญ และสามารถทำได้ โดยไม่ต้องมีการทำลายล้างทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
3. ต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต และการบริโภคเพื่อลดแรงกดดันที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ
4. วิถีทางพัฒนาแบบใหม่จะต้องใช้พลังงานแบบน้อยลง และอย่างประหยัด ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะเป็นปัจจัยสำคัญในการสนองความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น โดยใช้พลังงานในขอบเขตจำกัด
5. จะต้องรักษาความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การขยายตัวประชากรและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
หลักการอาจจะมีมากกว่านี้ แต่ 5 ข้อนี้เราถือได้ว่า เป็นหลักการพื้นฐานที่จะเป็นต้องมี และจะต้องได้รับการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย “การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน”
เงื่อนไขของการปรับระบบทั้งหมด
การที่เราจะทำให้ “การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน” กลายเป็นความจริงได้นั้น เราจำเป็นต้องสร้างเงื่อนไขหลายประการขึ้นมาเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะต้องเปลี่ยนวิธีการคิด การมองโลกและการมองสังคม ในขณะเดียวกันก็ต้องแสวงหาวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่ที่สอดคล้องกับธรรมชาติซึ่งจะเป็นการลบล้างวิถีการผลิตและบริโภคแบบเก่า ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเบื้องต้นนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกเสียก่อน แล้ววิถีการพัฒนาแบบธรรมชาติจึงจะก่อกำเนิดขึ้นมาได้
นอกจากนั้น ยังต้องมีการปรับเปลี่ยนทางด้านสถาบันต่าง ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง :
1. ระบบการเมืองของเรา จะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ECO-POLITICS หรือ “การเมืองแนวนิเวศ” ซึ่งเป็นกระบวนการเคลื่อนไหวสังคม เพื่อเร่งเร้าให้ประชาชนหลายวง การเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางนิเวศของเรา
2. ระบบเศรษฐกิจต้องมีความสามารถในการผลิตส่วนเกิน ต้องมีประสิทธิภาพมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เหมาะสม และมีความรับผิดชอบในการรักษาฐานทางนิเวศวิทยา
3. ระบบสังคมจะต้องมีวิธีการแก้ไขความขัดแย้ง อันเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจสังคม (เช่นการแบ่งรายได้) และความขัดแย้งทางนิเวศอันเกิดจากการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติหรือมลภาวะ
เราสามารถสร้างระบบเหล่านี้ขึ้นมาได้หรือเปล่า ?
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่เรียกว่า “ความยั่งยืนทางนิเวศ” (ecological sustainability)
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญแก่สิ่งต่อไปนี้ คือ
o ต้องมีการประเมินผลทางสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะดำเนินโครงการพัฒนาต่าง ๆ และในโครงการพัฒนาตามพื้นที่ต่าง ๆ จะต้องมีการจัดการทางสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
o หลักการประเมินผลทางนิเวศ ต้องนำมาใช้ในการวางนโยบายและแผนงานหลักด้วย
o การพัฒนาเทคโนโลยี ต้องมีลักษณะเหมาะสมสอดคล้องกับท้องถิ่น และประหยัดพลังงาน
o ระบบการอนุรักษ์พลังงานและ Recycling ควรได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่
o จะต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นสมบัติส่วนรวมอย่างจริงจัง เช่น ป่าไม้ ท้องทะเลแม่น้ำ
ทั้งหมดนี้เป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จะก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เราเรียกว่า “ความยั่งยืนยาวนานทางนิเวศ” ซึ่งก็คือ การประสานกันระหว่างการตัดสินใจทางเศรษฐกิจกับการประเมินผลทางนิเวศนั่นเอง
ความยั่งยืนยาวนานและการพัฒนาแนวนิเวศ
นอกจากเงื่อนไขทางสถาบันหลัก เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย รวมทั้งเงื่อนไขทางด้าน “ความยั่งยืนยาวนานทางนิเวศ” แล้วการพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานยังต้องคำนึงหลักปฏิบัติพื้นฐานบางอย่างอีกด้วย กล่าวคือ
1. การมองภาพกว้างของสังคม จะต้องเป็นลักษณะระยะยาว (ไม่ใช่ 5 ปีเท่านั้น) การคาดการเกี่ยวกับพัฒนาการ 10 ปี 50 ปี 100 ปีข้างหน้า จะช่วยให้เรามองเห็นทางเลือกของสังคมได้อย่างชัดเจน
2. การวางแผนวางนโยบาย จะต้องแสดงภาพทั้งหมดของปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวโยงกัน (ไม่ใช่มองบางส่วน บางเรื่องเท่านั้น)
3. วัตถุประสงค์หลักจะต้องเน้นเรื่องการสร้างระบบเศรษฐกิจสังคมให้มีทนทานและแข็งแกร่งต่อการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่าง ๆ ได้ รวมทั้งต้องแสดงทางเลือกหลายทางไปสู่วัตถุประสงค์ที่วางไว้
4. เราต้องเข้าใจว่า การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานโดยเนื้อแท้แล้วก็คือการพัฒนาแนวนิเวศ (หรือ Eco-Development) นั่นเอง ซึ่งหมายความว่า เราควรจะใช้ทรัพยากรทังหมดไม่ว่าจะเป็นแรงงานมนุษย์หรือธรรมชาติที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดความสุขสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมโดยให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด
แนวคิดทั้งหมดนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมประจำวัน หากแต่เป็นการแสวงหาวิถีแห่งการพัฒนาที่มีมิติกว้างยาวไกล ดังคติพจน์ทางนิเวศที่รู้จักกันดีกล่าวไว้ว่า
“คิดให้กว้างไกล ทำในสิ่งที่ใกล้ตัว !” และ
“คิดให้ยาวนาน ลงมือทำเดี๋ยวนี้ !”
กล่าวโดยสรุปแล้ว การสร้างแนวทางการพัฒนาใหม่ระดับชาติเป็นเรื่องที่ใหญ่โตมากในการวิเคราะห์ที่มองทางด้านมหภาค การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานจะเป็นจริงขึ้นมาได้ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบกันอย่างกว้างขวาง มีเงื่อนไขทางสถาบันมากมายทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และกฎหมาย ซึ่งเป็นการยากมากในภาคปฏิบัติในประเทศไทย แต่แนวคิด “ความยั่งยืนยาวนาน” มีคุณค่าในแง่ที่เป็นการเตือนเราให้คำนึงถึงว่าการพัฒนาและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันอย่างแยกไม่ออกจากกันได้เลย
สิ่งที่เป็นไปได้คือ ในระดับจุลภาคเราอาจมีโครงการทดลองบางแห่งบางเรื่องบางพื้นที่ที่เน้นหลักการ “ความยั่งยืนยาวนาน” ได้ เช่น “เกษตรกรรมธรรมชาติ” เมื่อฟูกูโอกะมาเยือนเมืองไทย เขายังมองเห็นศักยภาพการพัฒนาแบบยั่งยืน ระดับจุลภาคในเขตต่าง ๆ ของชนบทไทย
ฟูกูโอกะ มีความเห็นว่า เมืองไทยยังมีไม้ใหญ่สีเขียวอยู่ในนามาก เราสามารถทำเกษตรกรรมธรรมชาติสำเร็จภายใน 4 – 5 ปี สร้างแถบสีเขียวขึ้นในนา โดยการปลุกต้นไม้หลายสิบชนิดขึ้นไป
คุณคำเดื่อง ภาษี ชาวนาที่มีแนวคิดแบบฟูกูโอกะบอกว่า วิธีทำเกษตรกรรมธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่ยาก แต่เรื่องยากอยู่ที่ “ใจ” อยู่ที่จิตสำนึกมากกว่า นี่คือปัญหาใหญ่ของการพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน ซึ่งหมายความว่า ท่ามกลางการครอบงำความคิดแบบเก่าที่เน้นการเพิ่มผลผลิตการเพิ่มยอดขายและรายได้ ผู้คนยังหลงอยู่กับเกษตรกรรมแผนใหม่ที่อาศัยปัจจัยเทคโนโลยี เราจะพบอยู่บ่อย ๆ ว่านักวิชาการเกษตร และผู้วางนโยบายส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อว่า “ข้อคิดทางนิเวศวิทยา ไม่ควรมีความสำคัญอยู่เหนือหลักการของการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ”
ปัญหาเรื่องจิตสำนึกก็เป็นปัญหาของการพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานในระดับมหภาคเช่นเดียวกัน นักนิเวศวิทยา “ชุนเดอลาล บาฮูกูนา” แห่งขบวนการ “โอบกอด” ต้นไม้ในป่าหิมาลัยกล่าวว่า มีแนวคิดจากตะวันตก 3 เรื่องกำลังครอบงำประเทศโลกที่สามอย่างหนาแน่น กล่าวคือ
1. มนุษย์มองธรรมชาติเป็นสินค้า มีไว้สำหรับซื้อขายหรือทำประโยชน์ทางธุรกิจและการสร้างกำไร
2. มนุษย์มีอำนาจเหนือธรรมชาติ และพิชิตธรรมชาติ เพื่อสร้างความเจริญทางวัตถุให้แก่ตนเอง
3. มนุษย์เน้นเรื่องความมั่งคั่งและการเพิ่มวัตถุโภคทรัพย์โดยไม่ต้องคำนึงการสูญเสียทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
แนวคิดทั้ง 3 ล้วนแต่มีส่วนสนับสนุนการทำลายล้างธรรมชาติ ถ้าจิตสำนึกของเรายังถูกครอบงำจากแนวคิดดังกล่าวอยู่ การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยมองจากแง่นี้แล้วเราอาจสรุปได้ว่า การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานต้องมี “จริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม” เป็นพื้นฐานทางความคิดนั่นย่อมหมายถึงการปฏิบัติโลกทรรศน์ของเราโดยสิ้นเชิงและแบบถอนรากถอนโคน (ดังที่เราได้วิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วในตอนต้น)
จิตสำนึกแห่งการอนุรักษ์
ในยุทธศาสตร์ “การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน” เราได้ให้ความสำคัญสูงสุดแก่หลักการ “การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” และได้มีการย้ำว่า หลักการทั้ง 2 ข้อ “การอนุรักษ์” และ “การพัฒนา” เป็นสิ่งที่มีความสอดคล้องเข้ากันได้ เพราะทั้ง 2 หลักการก็มีเป้าหมายเดียวกันนั่นคือการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีเหตุผลเพื่อบรรลุเป้าหมาย “คุณภาพชีวิตสูงสุดของประชาชน”
อย่างไรก็ตาม ในภาคปฏิบัติการอนุรักษ์และการพัฒนาอาจมีความขัดแย้งกันได้ ทั้งนี้เป็นเพราะในสังคมของเรามีกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มที่มีเหตุผลและความใฝ่ฝันไม่เหมือนกัน คนบางกลุ่มต้องการให้มีโครงสร้างเขื่อนให้ได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจมีความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด นั่นคืน ความมีเหตุผลทางเศรษฐกิจ แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งต่อต้านการสร้างเขื่อนอย่างเด็ดขาด เพื่อที่จะปกป้องคุ้มครองธรรมชาติ นี่ก็คือเหตุผลเหมือนกันซึ่งเป็นเรื่องของ “ความมีเหตุผลทางนิเวศ” (Eco-Rationality)
ข้อขัดแย้งดังกล่าวปรากฏให้เราเห็นอยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานในภาคปฏิบัติ ดังนั้น เพื่อให้การอนุรักษ์เกิดขึ้นได้ เราจำเป็นที่จะต้องให้จิตสำนึกใหม่ทรรศนคติแบบใหม่และโลกทรรศน์แบบใหม่กระจายไปสู่กลุ่มชนต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เราจะต้องถือว่า เป้าหมายสูงสุดของการดำรงอยู่ของชีวิตมนุษย์ ไม่ใช่อยู่ที่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจหรือธุรกิจ ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การผลิตเชิงปริมาณที่สามารถวัดออกมาได้ (เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อเพิ่มเนื้อชลประทาน เพิ่มกำลังผลิตกระแสไฟฟ้า เพิ่มกำไรรายได้ ฯลฯ) ความห่วงใยในเรื่องการสูญเสียทางนิเวศและทางสังคมเป็นเรื่องที่สำคัญกว่ามาก นั่นคือ ผู้คนส่วนใหญ่ต้องมีความใฝ่ฝันร่วมกันในการที่จะบรรลุเป้าหมายแห่งความยั่งยืนยาวนานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการเรียกร้องให้มีการจัดการทางด้านคุณภาพเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความหมายให้แก่ชีวิตมนุษย์ด้วย
มองจากแง่นี้แล้ว การอนุรักษ์จะกลายเป็นหลักการสำคัญในการสร้างวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมการพัฒนาจะคำนึงถึงหลักการทางนิเวศเหนือสิ่งอื่นใด ค่าของสิ่งแวดล้อมย่อมสูงกว่าค่าของเศรษฐกิจและธุรกิจ สรุปแล้ว ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานต้องการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ บนพื้นฐานของการสร้างจิตสำนึกใหม่ที่เน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติ
สังคมแห่งความยั่งยืนยาวนานและนิเวศวิทยาการเมือง
ในปัจจุบันนี้ได้มีการให้ความสำคัญแก่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองก็ยังคงดำเนินการเพื่อรักษาระบบเก่าให้ดำรงอยู่ต่อไป การพัฒนายังคงมุ่งไปในทิศทางของการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีการเอ่ยถึงเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพเท่านั้นเอง เมื่อมีความขัดแย้งระหว่างหลักการ “การอนุรักษ์” กับ “การพัฒนา” เกิดขึ้นในภาคปฏิบัติ การตัดสินปัญหาจะจบลงด้วยข้อสรุปที่ว่าความต้องการทางธุรกิจและเศรษฐกิจการผลิตสำคัญกว่าการอนุรักษ์ รายได้ประชาชาติต้องขยายตัวต่อไป การแสวงหากำไรสูงสุดต้องดำเนินต่อไป
แนวคิดและยุทธศาสตร์ “การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน” ในความหมายของเราไม่ใช่เป็นการทำระบบเก่าให้มีมิติทางสิ่งแวดล้อม (ตามแบบแฟชั่น) หากแต่เป็นการเสนอแบบจำลองของสังคมใหม่อย่างสิ้นเชิง นั่นคือ ไม่มีการยึดติดกับระบบที่ดำรงอยู่ไม่ว่าจะเป็น “หนทางสีแดง” (สังคมนิยมแบบสตาลิน อำนาจรัฐนิยมแบบโซเวียต หรือ “หนทางสีน้ำเงิน” (ทุนนิยมเสรี) การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานต้องการระบบใหม่ซึ่งเป็น “หนทางสีเขียว” (หรือวิถีแห่งนิเวศ)
วิถีการพัฒนาแบบใหม่นี้ ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับปรัชญาความคิดทางเศรษฐกิจสังคมทุกแนวที่สนับสนุนให้กลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ทำลายล้างสิ่งแวดล้อมและโลกธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะเห็นว่า กลุ่มคนเหล่านั้นสามารถกอบโกยความมั่นคั่งจากธรรมชาติเอามาครอบครองเป็นสมบัติของตนแบบผูกขาด และทอดทิ้งให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ทรุดโทรม
ทุกวันนี้ จิตสำนึกใหม่แห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติกำลังขยายตัวแพร่กระจายมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมยังไม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คนส่วนใหญ่ยังคงเดินบนหนทางของการทำลายล้างสิ่งแวดล้อมต่อไป ความตื่นตัวทางนิเวศยังไม่หยุดยั้งพลังอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองที่มีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนระบบที่ดำรงอยู่ ย่อมไม่ได้รับความสนใจอย่างจริงจังจากกลุ่มพลังอำนาจเหล่านี้ ทั้งนี้เป็นเพราะแนวคิดนี้ต้องการล้มล้างปรัชญาการขยายตัวทางธุรกิจที่ใช้ทรัพยากร ธรรมชาติแบบฟุ่มเฟือยอย่างมากนั่นเอง นอกจากนั้นวิถีทางพัฒนาแบบใหม่นี้ยังเร่งเร้าให้มีการอนุรักษ์ธรรมชาติบนพื้นฐานของความยุติธรรม และความเสมอภาค ซึ่งความคิดทั้งหมดนี้เป็นการท้าทายและกระเทือน “โครงสร้างอำนาจ” ที่ดำรงอยู่โดยตรง แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างระบบใหม่ที่ใช้หลักการ “ความยั่งยืนยาวนาน” จึงต้องพบกับการต่อต้านในภาคปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น สิ่งที่เหลืออยู่ก็เห็นจะเป็น “ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม” อย่างยั่งยืนยาวนานต่อไป
อ้างอิง : ปรีชา เปลี่ยนพงศ์สานต์. 2547. นิเวศวิทยาการเมืองและมโนทัศน์แห่งความยั่งยืนยาวนาน. [Online]. Available. URL : http://www.seub.ksc.net/datacenter/datacenter10/vision.html
การสร้างสังคมแนวนิเวศไม่ใช่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความห่วงใยในธรรมชาติเท่านั้น หากแต่มีความเชื่อมโยงไปถึงเรื่องของมนุษย์และชมชนซึ่งเป็นส่วนสำคัญของสังคมด้วย มองในแง่นี้เป้าหมายที่สำคัญของความยั่งยืนยาวนานก็คือ การสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในวิถีทางที่ไม่ละเมิดขีดจำกัดของระบบนิเวศ หลักการข้อนี้ (ผสมผสานกับ “ปรัชญาเพื่อชีวิตและธรรมชาติ” ตามความคิดแบบพุทธ หรือแบบนิเวศวิทยาแนวลึก) จึงนับว่ามีความสำคัญอย่างมากในการเป็นพื้นฐานเพื่อแสวงหายุทธศาสตร์ใหม่ของ “การพัฒนา” ในภาคปฏิบัติ
ในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ยุทธศาสตร์การพัฒนาของเรามีเนื้อหาค่อนข้างคับแคบมาก คือมุ่งไปในทิศทางของการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือการเพิ่มรายได้ประชาชาติเท่านั้น การพัฒนาเป็นเรื่องของการใช้แรงงานมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติอย่างสุดขีด จนกระทั่งทั้งมนุษย์และธรรมชาติต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสภาพทรุดโทรม เพื่อมิให้วิกฤตการณ์ของโลกชีวิตต้องขยายตัวรุนแรงยิ่งขึ้น เราจำเป็นที่จะต้องยุติวิถีทางการพัฒนาแบบเก่าที่มีลักษณะทำลายล้างอย่างสิ้นเชิง และหันไปใช้วิถีทางที่ตั้งอยู่บนหลักการของความยั่งยืนยาวนาน
ยุทธศาสตร์ใหม่นี้อาจเรียกได้ว่าเป็นเรื่องของ “การพัฒนาที่ยั่งยืนยาวนาน” (sustainable development) ซึ่งมีเนื้อหากว้างกว่าเรื่องของเศรษฐกิจและธุรกิจ โดยจะครอบคลุมไปถึงมิติของสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และชีวิตของมวลชนผู้ยากไร้ ในขณะเดียวกันยุทธศาสตร์ใหม่นี้จะเน้นว่า การตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาใด ๆ ก็ตามในช่วงเวลาแห่งปัจจุบันจะต้องไม่ทำลายลู่ทางการยกระดับคุณภาพชีวิตในอนาคต หลักการปฏิบัติข้อนี้จะมีผลสะเทือนไปถึงเรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างที่สุด นั่นคือ กฎที่บ่งว่าเราจะใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในช่วงปัจจุบันในขอบเขตที่ไม่ทำลายลู่ทาง การใช้ในช่วงอนาคตเมื่อเป็นเช่นนี้ ระบบเศรษฐกิจของเราจะต้องได้รับการจัดการไปในทิศทางที่เราได้รับประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติในระดับที่เหมาะสม พอดีพอควรเท่านั้น ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการอนุรักษ์และ ปรับปรุงฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ชนรุ่นหลังเราสามารถดำรงชีวิต อยู่ต่อไปได้ในอนาคต
สรุปแล้ว ยุทธศาสตร์ใหม่นี้ให้ความสำคัญสูงแก่เรื่องความยุติธรรมและความเสมอภาคระหว่างกลุ่มชนต่างยุคสมัย (ปัจจุบันและอนาคต) ซึ่งมีความสำคัญพอ ๆ กับเรื่องความเท่าเทียมกันของผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ในยุคปัจจุบัน ในแง่นี้แล้วเราจึงให้ความหมายว่า
“การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน คือ การพัฒนาที่สนองความต้องการและความใฝ่ฝันของผู้คนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำลายโอกาส ความสามารถ และอนาคตของชนรุ่นหลังของเรา
หลักการพื้นฐานของยุทธศาสตร์
สิ่งที่เราต้องเน้นมากที่สุดคือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานจะมีแนวทางหลัก 2 ข้อด้วยกัน คือ :
1. จะต้องมีการสนองความต้องการของมวลชนผู้ยากไร้ ซึ่งถูกละเลยหรือถูกทอดทิ้งมาตลอดในกระบวนการพัฒนาที่ผ่านมา
2. จะต้องมีการวางขีดจำกัดบางอย่าง เพื่อปกป้องพิทักษ์ฐานทรัพยากรธรรมชาติในระบบสิ่งแวดล้อมของเรา
สรุปได้ง่าย ๆ คือ การพัฒนา (การผลิต และการบริโภค การดำรงชีวิต) จะต้องมีบรรทัดฐานและวิถีทางภายใต้ขอบเขตของความเป็นไปได้ทางนิเวศ
เมื่อเป็นเช่นนี้ เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมจะแยกออกจากกันไม่ได้เลย เศรษฐศาสตร์และนิเวศวิทยาจะต้องรวมเข้ากันเป็น “ศาสตร์แห่งการพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน”
ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั้งยืนยาวนาน อย่างน้อยที่สุดจะต้องครอบคลุม “หลักการพื้นฐาน” ดังต่อไปนี้
1. ต้องถือว่า การสร้างวัตถุเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งในการยกระดับชีวิตเป็นอยู่ของมวลชนผู้ยากไร้ ความยากจนที่ดำรงอยู่มีส่วนสำคัญ ในการก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่ถูกต้อง
2. การสนองความต้องการพื้นฐานของมวลชน เป็นภารกิจที่สำคัญ และสามารถทำได้ โดยไม่ต้องมีการทำลายล้างทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
3. ต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งหมายความว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต และการบริโภคเพื่อลดแรงกดดันที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ
4. วิถีทางพัฒนาแบบใหม่จะต้องใช้พลังงานแบบน้อยลง และอย่างประหยัด ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีที่เหมาะสมจะเป็นปัจจัยสำคัญในการสนองความต้องการของประชาชนได้มากขึ้น โดยใช้พลังงานในขอบเขตจำกัด
5. จะต้องรักษาความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การขยายตัวประชากรและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
หลักการอาจจะมีมากกว่านี้ แต่ 5 ข้อนี้เราถือได้ว่า เป็นหลักการพื้นฐานที่จะเป็นต้องมี และจะต้องได้รับการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย “การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน”
เงื่อนไขของการปรับระบบทั้งหมด
การที่เราจะทำให้ “การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน” กลายเป็นความจริงได้นั้น เราจำเป็นต้องสร้างเงื่อนไขหลายประการขึ้นมาเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะต้องเปลี่ยนวิธีการคิด การมองโลกและการมองสังคม ในขณะเดียวกันก็ต้องแสวงหาวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่ที่สอดคล้องกับธรรมชาติซึ่งจะเป็นการลบล้างวิถีการผลิตและบริโภคแบบเก่า ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเบื้องต้นนี้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกเสียก่อน แล้ววิถีการพัฒนาแบบธรรมชาติจึงจะก่อกำเนิดขึ้นมาได้
นอกจากนั้น ยังต้องมีการปรับเปลี่ยนทางด้านสถาบันต่าง ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง :
1. ระบบการเมืองของเรา จะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางและต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ECO-POLITICS หรือ “การเมืองแนวนิเวศ” ซึ่งเป็นกระบวนการเคลื่อนไหวสังคม เพื่อเร่งเร้าให้ประชาชนหลายวง การเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางนิเวศของเรา
2. ระบบเศรษฐกิจต้องมีความสามารถในการผลิตส่วนเกิน ต้องมีประสิทธิภาพมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เหมาะสม และมีความรับผิดชอบในการรักษาฐานทางนิเวศวิทยา
3. ระบบสังคมจะต้องมีวิธีการแก้ไขความขัดแย้ง อันเกิดจากปัญหาเศรษฐกิจสังคม (เช่นการแบ่งรายได้) และความขัดแย้งทางนิเวศอันเกิดจากการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติหรือมลภาวะ
เราสามารถสร้างระบบเหล่านี้ขึ้นมาได้หรือเปล่า ?
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการที่เรียกว่า “ความยั่งยืนทางนิเวศ” (ecological sustainability)
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เราจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญแก่สิ่งต่อไปนี้ คือ
o ต้องมีการประเมินผลทางสิ่งแวดล้อม ก่อนที่จะดำเนินโครงการพัฒนาต่าง ๆ และในโครงการพัฒนาตามพื้นที่ต่าง ๆ จะต้องมีการจัดการทางสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
o หลักการประเมินผลทางนิเวศ ต้องนำมาใช้ในการวางนโยบายและแผนงานหลักด้วย
o การพัฒนาเทคโนโลยี ต้องมีลักษณะเหมาะสมสอดคล้องกับท้องถิ่น และประหยัดพลังงาน
o ระบบการอนุรักษ์พลังงานและ Recycling ควรได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่
o จะต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นสมบัติส่วนรวมอย่างจริงจัง เช่น ป่าไม้ ท้องทะเลแม่น้ำ
ทั้งหมดนี้เป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่จะก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เราเรียกว่า “ความยั่งยืนยาวนานทางนิเวศ” ซึ่งก็คือ การประสานกันระหว่างการตัดสินใจทางเศรษฐกิจกับการประเมินผลทางนิเวศนั่นเอง
ความยั่งยืนยาวนานและการพัฒนาแนวนิเวศ
นอกจากเงื่อนไขทางสถาบันหลัก เศรษฐกิจ สังคม กฎหมาย รวมทั้งเงื่อนไขทางด้าน “ความยั่งยืนยาวนานทางนิเวศ” แล้วการพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานยังต้องคำนึงหลักปฏิบัติพื้นฐานบางอย่างอีกด้วย กล่าวคือ
1. การมองภาพกว้างของสังคม จะต้องเป็นลักษณะระยะยาว (ไม่ใช่ 5 ปีเท่านั้น) การคาดการเกี่ยวกับพัฒนาการ 10 ปี 50 ปี 100 ปีข้างหน้า จะช่วยให้เรามองเห็นทางเลือกของสังคมได้อย่างชัดเจน
2. การวางแผนวางนโยบาย จะต้องแสดงภาพทั้งหมดของปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวโยงกัน (ไม่ใช่มองบางส่วน บางเรื่องเท่านั้น)
3. วัตถุประสงค์หลักจะต้องเน้นเรื่องการสร้างระบบเศรษฐกิจสังคมให้มีทนทานและแข็งแกร่งต่อการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบต่าง ๆ ได้ รวมทั้งต้องแสดงทางเลือกหลายทางไปสู่วัตถุประสงค์ที่วางไว้
4. เราต้องเข้าใจว่า การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานโดยเนื้อแท้แล้วก็คือการพัฒนาแนวนิเวศ (หรือ Eco-Development) นั่นเอง ซึ่งหมายความว่า เราควรจะใช้ทรัพยากรทังหมดไม่ว่าจะเป็นแรงงานมนุษย์หรือธรรมชาติที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดความสุขสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสมโดยให้มีการสูญเสียน้อยที่สุด
แนวคิดทั้งหมดนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมประจำวัน หากแต่เป็นการแสวงหาวิถีแห่งการพัฒนาที่มีมิติกว้างยาวไกล ดังคติพจน์ทางนิเวศที่รู้จักกันดีกล่าวไว้ว่า
“คิดให้กว้างไกล ทำในสิ่งที่ใกล้ตัว !” และ
“คิดให้ยาวนาน ลงมือทำเดี๋ยวนี้ !”
กล่าวโดยสรุปแล้ว การสร้างแนวทางการพัฒนาใหม่ระดับชาติเป็นเรื่องที่ใหญ่โตมากในการวิเคราะห์ที่มองทางด้านมหภาค การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานจะเป็นจริงขึ้นมาได้ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบกันอย่างกว้างขวาง มีเงื่อนไขทางสถาบันมากมายทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และกฎหมาย ซึ่งเป็นการยากมากในภาคปฏิบัติในประเทศไทย แต่แนวคิด “ความยั่งยืนยาวนาน” มีคุณค่าในแง่ที่เป็นการเตือนเราให้คำนึงถึงว่าการพัฒนาและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันอย่างแยกไม่ออกจากกันได้เลย
สิ่งที่เป็นไปได้คือ ในระดับจุลภาคเราอาจมีโครงการทดลองบางแห่งบางเรื่องบางพื้นที่ที่เน้นหลักการ “ความยั่งยืนยาวนาน” ได้ เช่น “เกษตรกรรมธรรมชาติ” เมื่อฟูกูโอกะมาเยือนเมืองไทย เขายังมองเห็นศักยภาพการพัฒนาแบบยั่งยืน ระดับจุลภาคในเขตต่าง ๆ ของชนบทไทย
ฟูกูโอกะ มีความเห็นว่า เมืองไทยยังมีไม้ใหญ่สีเขียวอยู่ในนามาก เราสามารถทำเกษตรกรรมธรรมชาติสำเร็จภายใน 4 – 5 ปี สร้างแถบสีเขียวขึ้นในนา โดยการปลุกต้นไม้หลายสิบชนิดขึ้นไป
คุณคำเดื่อง ภาษี ชาวนาที่มีแนวคิดแบบฟูกูโอกะบอกว่า วิธีทำเกษตรกรรมธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่ยาก แต่เรื่องยากอยู่ที่ “ใจ” อยู่ที่จิตสำนึกมากกว่า นี่คือปัญหาใหญ่ของการพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน ซึ่งหมายความว่า ท่ามกลางการครอบงำความคิดแบบเก่าที่เน้นการเพิ่มผลผลิตการเพิ่มยอดขายและรายได้ ผู้คนยังหลงอยู่กับเกษตรกรรมแผนใหม่ที่อาศัยปัจจัยเทคโนโลยี เราจะพบอยู่บ่อย ๆ ว่านักวิชาการเกษตร และผู้วางนโยบายส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อว่า “ข้อคิดทางนิเวศวิทยา ไม่ควรมีความสำคัญอยู่เหนือหลักการของการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ”
ปัญหาเรื่องจิตสำนึกก็เป็นปัญหาของการพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานในระดับมหภาคเช่นเดียวกัน นักนิเวศวิทยา “ชุนเดอลาล บาฮูกูนา” แห่งขบวนการ “โอบกอด” ต้นไม้ในป่าหิมาลัยกล่าวว่า มีแนวคิดจากตะวันตก 3 เรื่องกำลังครอบงำประเทศโลกที่สามอย่างหนาแน่น กล่าวคือ
1. มนุษย์มองธรรมชาติเป็นสินค้า มีไว้สำหรับซื้อขายหรือทำประโยชน์ทางธุรกิจและการสร้างกำไร
2. มนุษย์มีอำนาจเหนือธรรมชาติ และพิชิตธรรมชาติ เพื่อสร้างความเจริญทางวัตถุให้แก่ตนเอง
3. มนุษย์เน้นเรื่องความมั่งคั่งและการเพิ่มวัตถุโภคทรัพย์โดยไม่ต้องคำนึงการสูญเสียทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
แนวคิดทั้ง 3 ล้วนแต่มีส่วนสนับสนุนการทำลายล้างธรรมชาติ ถ้าจิตสำนึกของเรายังถูกครอบงำจากแนวคิดดังกล่าวอยู่ การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานไม่อาจเกิดขึ้นได้เลยมองจากแง่นี้แล้วเราอาจสรุปได้ว่า การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานต้องมี “จริยธรรมทางสิ่งแวดล้อม” เป็นพื้นฐานทางความคิดนั่นย่อมหมายถึงการปฏิบัติโลกทรรศน์ของเราโดยสิ้นเชิงและแบบถอนรากถอนโคน (ดังที่เราได้วิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วในตอนต้น)
จิตสำนึกแห่งการอนุรักษ์
ในยุทธศาสตร์ “การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน” เราได้ให้ความสำคัญสูงสุดแก่หลักการ “การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” และได้มีการย้ำว่า หลักการทั้ง 2 ข้อ “การอนุรักษ์” และ “การพัฒนา” เป็นสิ่งที่มีความสอดคล้องเข้ากันได้ เพราะทั้ง 2 หลักการก็มีเป้าหมายเดียวกันนั่นคือการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีเหตุผลเพื่อบรรลุเป้าหมาย “คุณภาพชีวิตสูงสุดของประชาชน”
อย่างไรก็ตาม ในภาคปฏิบัติการอนุรักษ์และการพัฒนาอาจมีความขัดแย้งกันได้ ทั้งนี้เป็นเพราะในสังคมของเรามีกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มที่มีเหตุผลและความใฝ่ฝันไม่เหมือนกัน คนบางกลุ่มต้องการให้มีโครงสร้างเขื่อนให้ได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจมีความสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด นั่นคืน ความมีเหตุผลทางเศรษฐกิจ แต่คนอีกกลุ่มหนึ่งต่อต้านการสร้างเขื่อนอย่างเด็ดขาด เพื่อที่จะปกป้องคุ้มครองธรรมชาติ นี่ก็คือเหตุผลเหมือนกันซึ่งเป็นเรื่องของ “ความมีเหตุผลทางนิเวศ” (Eco-Rationality)
ข้อขัดแย้งดังกล่าวปรากฏให้เราเห็นอยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานในภาคปฏิบัติ ดังนั้น เพื่อให้การอนุรักษ์เกิดขึ้นได้ เราจำเป็นที่จะต้องให้จิตสำนึกใหม่ทรรศนคติแบบใหม่และโลกทรรศน์แบบใหม่กระจายไปสู่กลุ่มชนต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เราจะต้องถือว่า เป้าหมายสูงสุดของการดำรงอยู่ของชีวิตมนุษย์ ไม่ใช่อยู่ที่การใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจหรือธุรกิจ ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การผลิตเชิงปริมาณที่สามารถวัดออกมาได้ (เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อเพิ่มเนื้อชลประทาน เพิ่มกำลังผลิตกระแสไฟฟ้า เพิ่มกำไรรายได้ ฯลฯ) ความห่วงใยในเรื่องการสูญเสียทางนิเวศและทางสังคมเป็นเรื่องที่สำคัญกว่ามาก นั่นคือ ผู้คนส่วนใหญ่ต้องมีความใฝ่ฝันร่วมกันในการที่จะบรรลุเป้าหมายแห่งความยั่งยืนยาวนานของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็ต้องมีการเรียกร้องให้มีการจัดการทางด้านคุณภาพเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มความหมายให้แก่ชีวิตมนุษย์ด้วย
มองจากแง่นี้แล้ว การอนุรักษ์จะกลายเป็นหลักการสำคัญในการสร้างวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมการพัฒนาจะคำนึงถึงหลักการทางนิเวศเหนือสิ่งอื่นใด ค่าของสิ่งแวดล้อมย่อมสูงกว่าค่าของเศรษฐกิจและธุรกิจ สรุปแล้ว ยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานต้องการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ บนพื้นฐานของการสร้างจิตสำนึกใหม่ที่เน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติ
สังคมแห่งความยั่งยืนยาวนานและนิเวศวิทยาการเมือง
ในปัจจุบันนี้ได้มีการให้ความสำคัญแก่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันกลุ่มผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองก็ยังคงดำเนินการเพื่อรักษาระบบเก่าให้ดำรงอยู่ต่อไป การพัฒนายังคงมุ่งไปในทิศทางของการส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยมีการเอ่ยถึงเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพเท่านั้นเอง เมื่อมีความขัดแย้งระหว่างหลักการ “การอนุรักษ์” กับ “การพัฒนา” เกิดขึ้นในภาคปฏิบัติ การตัดสินปัญหาจะจบลงด้วยข้อสรุปที่ว่าความต้องการทางธุรกิจและเศรษฐกิจการผลิตสำคัญกว่าการอนุรักษ์ รายได้ประชาชาติต้องขยายตัวต่อไป การแสวงหากำไรสูงสุดต้องดำเนินต่อไป
แนวคิดและยุทธศาสตร์ “การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนาน” ในความหมายของเราไม่ใช่เป็นการทำระบบเก่าให้มีมิติทางสิ่งแวดล้อม (ตามแบบแฟชั่น) หากแต่เป็นการเสนอแบบจำลองของสังคมใหม่อย่างสิ้นเชิง นั่นคือ ไม่มีการยึดติดกับระบบที่ดำรงอยู่ไม่ว่าจะเป็น “หนทางสีแดง” (สังคมนิยมแบบสตาลิน อำนาจรัฐนิยมแบบโซเวียต หรือ “หนทางสีน้ำเงิน” (ทุนนิยมเสรี) การพัฒนาแบบยั่งยืนยาวนานต้องการระบบใหม่ซึ่งเป็น “หนทางสีเขียว” (หรือวิถีแห่งนิเวศ)
วิถีการพัฒนาแบบใหม่นี้ ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับปรัชญาความคิดทางเศรษฐกิจสังคมทุกแนวที่สนับสนุนให้กลุ่มอิทธิพลต่าง ๆ ทำลายล้างสิ่งแวดล้อมและโลกธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะเห็นว่า กลุ่มคนเหล่านั้นสามารถกอบโกยความมั่นคั่งจากธรรมชาติเอามาครอบครองเป็นสมบัติของตนแบบผูกขาด และทอดทิ้งให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ทรุดโทรม
ทุกวันนี้ จิตสำนึกใหม่แห่งการอนุรักษ์ธรรมชาติกำลังขยายตัวแพร่กระจายมากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมยังไม่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว คนส่วนใหญ่ยังคงเดินบนหนทางของการทำลายล้างสิ่งแวดล้อมต่อไป ความตื่นตัวทางนิเวศยังไม่หยุดยั้งพลังอำนาจทางเศรษฐกิจการเมืองที่มีเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนระบบที่ดำรงอยู่ ย่อมไม่ได้รับความสนใจอย่างจริงจังจากกลุ่มพลังอำนาจเหล่านี้ ทั้งนี้เป็นเพราะแนวคิดนี้ต้องการล้มล้างปรัชญาการขยายตัวทางธุรกิจที่ใช้ทรัพยากร ธรรมชาติแบบฟุ่มเฟือยอย่างมากนั่นเอง นอกจากนั้นวิถีทางพัฒนาแบบใหม่นี้ยังเร่งเร้าให้มีการอนุรักษ์ธรรมชาติบนพื้นฐานของความยุติธรรม และความเสมอภาค ซึ่งความคิดทั้งหมดนี้เป็นการท้าทายและกระเทือน “โครงสร้างอำนาจ” ที่ดำรงอยู่โดยตรง แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างระบบใหม่ที่ใช้หลักการ “ความยั่งยืนยาวนาน” จึงต้องพบกับการต่อต้านในภาคปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น สิ่งที่เหลืออยู่ก็เห็นจะเป็น “ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม” อย่างยั่งยืนยาวนานต่อไป
อ้างอิง : ปรีชา เปลี่ยนพงศ์สานต์. 2547. นิเวศวิทยาการเมืองและมโนทัศน์แห่งความยั่งยืนยาวนาน. [Online]. Available. URL : http://www.seub.ksc.net/datacenter/datacenter10/vision.html