ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2012, 07:49:10 pm »

วัดเขาบางทราย

วัดเขาบางทราย ตั้งอยู่ที่ ชุมชนหน้าวัดเขาบางทราย ต.บางทราย อ.เมือง ติดกับกองพันทหารราบที่ 3 บน ถ.สุขุมวิท ห่างจากย่านตัวเมือง 2 กม. นมัสการรอยพระพุทธบาท อยู่บริเวณเชิงเขาพระพุทธบาทบางทราย มีมณฑปอยู่บนยอดเขาเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ทุกปีจะมีประเพณีเดินขึ้นไปไหว้พระพุทธบาทในวันสิ้นเดือน 4 จนถึงวันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 รวม 3 วัน นอกจากนี้ก็มีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมที่น่าชม

การเดินทางง่ายๆ หากใช้รถส่วนตัว จากสี่แยกเฉลิมไทย ใช้ ถ.สุขุมวิทไปทางกรุงเทพฯ ประมาณ 2.5 กม. วัดอยู่ทางขวามือ ถ้ารถประจำทางให้ขึ้นรถสายรอบตัวเมืองชลบุรี

ประวัติความเป็นมา มีตำนานเล่ากันมาว่า พระมหากษัตริย์องค์หนึ่งในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา (องค์ใดมิได้ระบุชัด กล่าวเพียงว่าเป็นองค์ที่โปรดเสวยเพดานปลากระโห้) ได้เสด็จประพาสมาถึงบาทรายและเสด็จขึ้นไปบนเขาพบรอยพระพุทธบาท จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามเพื่อพิทักษ์รักษาพระพุทธบาทสืบมา ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาพิชิตชลเขต ผู้กำกับราชการเมืองชลบุรี ได้สร้างวัดเขาบางทรายขึ้นเพื่อทดแทนวัดโบราณสมัยอยุธยาที่ทรุดโทรมไปแล้ว

ที่นี่ยังมีสิ่งที่น่าสนใจให้คุณได้ดูได้ชมกันอีกได้แก่
๐พระประธาน ประดิษฐานอยู่ในโบสถ์ เป็นพระพุทธรูปสิ่งก่อสร้างแบบยุโรปที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 หลายแห่ง ได้แก่ ศาลาเก้าห้อง เป็นศาลาปูนทรงเตี้ย ระหว่างช่วงเสาทำเป็นพุทธไสยาสน์ และหอระฆังปูนทรงสี่เหลี่ยมสองชั้น มีระเบียงล้อม

๐รอยพระพุทธบาทสององค์ ประดิษฐานอยู่ในมณฑปบนยอดเขาซึ่งเป็นจุดชมทิวทัศน์ชายทะเลและเมืองชลบุรี มีเรื่องเล่ากันมาว่าแต่ก่อนมีรอยพระพุทธบาทศิลปะลังกาเพียงองค์เดียวประดิษฐานอยู่ในมณฑป ต่อมาเมื่อมีการซ่อมแซมพื้นมณฑป ได้ขุดพบรอยพระพุทธบาทอีกองค์หนึ่งในดิน เป็นศิลปะแบบอมราวดี จึงได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้คู่กัน

-http://www.thailands360.com/Eastern/Chon%20Buri/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2-549.html-

http://www.thailands360.com/Eastern/Chon%20Buri/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2-549.html

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2012, 07:45:35 pm »

หน้าบัน



จิตรกรรมฝาผนังของพระอุโบสถ



ตอนนี้กำลังซ่อมแซมพระอุโบสถ  สำหรับท่านใดที่มีความประสงค์ที่จะร่วมทำบุญ  ให้ติดต่อร่วมทำบุญได้ที่วัดเขาบางทราย จ.ชลบุรี









ไปต่อกันดีกว่าครับ







สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)



วันนี้ที่แวะไป  เป็นวันทอดกฐินด้วยครับ





หอพระด้านหลังวิหารบุรพาจารย์





ด้านข้างหอพระ



หลังจากนั้น  ไปทานกาแฟ ชายทะเล ครับ







จบสำหรับทริปในวันนี้ครับ

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2012, 07:38:00 pm »

วัดเขาบางทราย



พระประธานในพระอุโบสถ











สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)



โถน้ำมนต์ครับ





สลักหน้าต่างของพระอุโบสถ
ผมชอบ  เป็นรูปเสมา



สลักประตู นี่ก็ชอบ





เสมา รอบพระอุโบสถ



.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2012, 09:06:53 pm »




ข้อมูลประวัติ หลวงปู่เจียม วัดกำแพง ชลบุรี


เกิด ปีเถาะ ร.ศ.74 ตรงกับปีพ.ศ.2398


อุปสมบท เมื่ออายุ 22 ปี ตรงกับปีพ.ศ.2420


รณภาพ ปี พ.ศ.2454


รวมสิริอายุ 56 ปี 34 พรรษา


วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม


สำหรับวัตถุมงคลของท่านที่ขึ้นชื่อ คือ พระปิดตา สามารถจำแนกลักษณะเนื้อพระไว้ 2 ชนิด คือ เนื้อผงคลุกรัก ทารัก และเนื้อผงทารัก สำหรับพิมพ์สามารถจำแนกได้ดังนี้ พระปิดตาโยงกัน พิมพ์ใหญ่ หลังยันต์ อุใหญ่-อุเล็ก พระปิดตาโยงกัน พิมพ์กลาง หลังยันต์อุใหญ่-อุเล็ก พระปิดตาโยงกัน พิมพ์เล็ก หลังยันต์อุใหญ่ (บางองค์มีกริ่ง ถือว่าเป็นพิมพ์หายาก) พิมพ์สองมือ และพิมพ์สองหน้า


พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา


วัตถุมงคลท่านเด่นทางด้าน เมตตามหานิยม


** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ ข้อมูลทั้งหมดได้มาจากสื่อสาธารณะที่มีประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้เสียเงินสักบาท และไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ให้คนเข้าเว็บเยอะ ๆ จะได้ขายของได้เยอะ ๆ มีโฆษณามาลงเยอะ ๆ และอีกอย่างหนึ่งเพราะว่าตายไปผมก็เอาไม่ได้ ถ้าหวงนักผมขอแนะนำว่าอย่านำมาลง ให้ปิดเว็บทิ้งไปเลยจะดีกว่าอย่าทำเลย

-http://www.trueamulet.com/profile/166_%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87-

.


เกร็ดประวัติหลวงปู่เจียม วัดกำแพง ชลบุรี หนึ่งในห้าเสือปิดตาปิด

-http://www.web-pra.com/Article/Show/1251-





ประวัติโดยย่อ
หลวงพ่อเจียม วัดกำแพง ท่านเป็นชาวเมืองชลโดยกำเนิด เกิดเมื่อปีเถาะ ร.ศ.๗๔ (พ.ศ.๒๓๙๘) ในสมัยรัชกาลที่ ๔ อุปสมบท ณ วัดกพแพง ชลบุรี เมื่อพ.ศ.๒๔๑๙ ได้รับตำแหน่งเจ้าคณะแขวง หรือเจ้าคณะอำเภอเมืองชลบุรี พ.ศ.๒๔๔๒ และพระครูเจียม ในปีเดียวกันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะรองเมือง หรือรองเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี ที่พระครูชลธารมุนี พ.ศ.๒๔๔๖ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดชลบุรี ที่พระครูชลโธปมคุณมุนี เจ้าคณะใหญ่เมืองชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธิ์ พ.ศ.๒๔๔๙ ท่านสร้างวัตถุมงคลที่นับว่าเป็น หนึ่งในห้าแห่งพระปิดตาเบญจภาคีของประเทศไทย ไว้เป็นมรดกแก่สาธุชนรุ่นหลัง ด้วยรูปแบบศิลปะพิมพ์ทรงสวยงามไม่เหมือนใคร (พระปิดตาพิมพ์โยงก้น) เนื้อผงคลุมรักจุ่มรัก เนื้อพระละเอียดแน่นสีน้ำตาลอมเหลือง พิมพ์มหาอุตม์ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก หลังยันต์อุใหญ่ หลังยันต์อุเล็ก และพิมพ์ ที่หายากที่สุดคือพิมพ์มีกริ่ง ด้วยอิทธิบารมีคุณวิเศษที่ร่ำลือกว่าหลวงพ่อเจียมเป็นพระสงฆ์ผู้แก่กล้าวิชาคาถาอาคมและ พุทธคม พระปิดตาหลวงพ่อเจียม วัดกำแพง จึงเป็นวัตถุมงคลระดับแนวหน้า เป็นที่ใฝ่ฝันของคนรุ่นหลัง เสาะแสวงหาได้เป็นเจ้าของ หลวงพ่อเจียมมรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๔๕๔ ในสมัยราชการที่ ๖ สิริอายุ ๕๖ ปี
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 25, 2012, 09:05:40 pm »

ขอเพิ่มเติมสำหรับพระอริยะ เมืองชลบุรี

หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง ชลบุรี



-http://www.trueamulet.com/profile/329_%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%87-

ข้อมูลประวัติ หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง ชลบุรี


นามเดิม เหมือน ถาวรวัฒนะ บิดาชื่อตึ๋ง มารดาชื่อปุ่น มารดาเป็นน้องสาวพระครูชลโธปมคุณมุนี (หลวงพ่อเจียม) อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง


เกิด วันอังคารที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๖ ปีมะเส็ง สมัยรัชกาลที่ ๕
บรรพชา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ พระอธการจั่น วัดเสม็ด องเมือง จ.ชลบุรี เป็นพระอุปัชชายะ

มรณภาพ วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗


สิริอายุรวม ๙๒ ปี พรรษา ๗๑

พระครูอุดมวิชชากร (เหมือน อินทโชโต) เป็นชาวชลบุรีโดยกำเนิดนามเดิมชื่อ เหมือน ถาวรวัฒนะ บิดาชื่อตึ๋ง มารดาชื่อปุ่น มารดาเป็นน้องสาวพระครูชลโธปมคุณมุนี (หลวงพ่อเจียม) อดีตเจ้าอาวาสวัดกำแพง

เกิดวันอังคารที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๓๖ ปีมะเส็ง สมัยรัชกาลที่ ๕ อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๖ พระอธการจั่น วัดเสม็ด องเมือง จ.ชลบุรี เป็นพระอุปัชชายะ เมื่ออุปสมบทได้ ๖ พรรษา ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกำแพงต่อจากพระอธิการหมอน เพิ่งได้ลาสิกขาไปปี

พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้รับพระราชฐานสมณศักดิ์เป็นพระครูอุดมวิชชากร พ.ศ.๒๔๙๕ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางปลาสร้อย เขต ๒ พ.ศ.๒๕๐๒ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งพระอุปัชชาย์ และเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูเจ้าคณะตำบลชั้นเอก พ.ศ. ๒๕๒๒ หลวงพ่อเหมือนศึกษาไสยเวทย์ วิทยาคม จากหลวงพ่อเจียมผู้เป็นลุงแห่งสำนักวัดกำแพงแห่งนี้

ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้มากมาย เป็นที่เสาะแสวงหาของชาวเมืองชลและชาวภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระปิดตาปี พ.ศ. ๒๕๐๐ แะเหรียญรุ่นแรกซึ่งเสาะแสวงหาบูชาได้ยากยิ่ง หลวงพ่อเหมือนเป็นพระที่มีอายุยืนยาวพูดน้อย ประพฤติดี ปฏิบัติดี สงบเสงี่ยม เรียบร้อย สุขุม เยือกเย็น มีเมตตาสูง ลูกศิษย์ลูกหามากมาย วิทยาคมสูงล้ำทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด โชคลาภค้าขาย

ท่านเป็นผู้มีคุณูประการต่อการศึกษาของลูกหลานชาวชลบุรีเป็นอย่างมากเป็นผูก่อตั้งโรงเรียนวัดกำแพง ก่อตั้งมูลนิธิพระครูอุดมวิชชากร เพื่อนำดอกผลอันมาจากที่ดินรวมถึงทรัพยสินของวัดให้การสนับสนุนการศึกษาแก่ กุลบุตร กุลธิดาของเหล่าญาติโยม เป็นองค์อุปถัมย์ยุวพุทธิกสมาคมชลบุรีมาแต่ยุคเริ่มก่อตั้ง เป็นพระเกจิอาจารย์ในยุคปีพ.ศ. ๒๕๐๐ ที่รับหน้าที่ปลุกเสกประพรมน้ำพระพุทธทนต์ตอนปีใหม่รวมถึงวัตถุมงคลแก่ชาวชลบุรีทุกปี มาเป็นเวลาอันยาวนาน

จนถึงมรณภาพ หลวงพ่อเหมือนมรณภาพ วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ สิริอายุรวม ๙๒ ปี พรรษา ๗๑ ที่มา


** อนุญาติให้ข้อมูลทั้งหมดในเว็บไซต์ ทรูอมูเล็ต ดอทคอม สามารถ อ่าน คัดลอก ตัดแปลง ได้ตามที่ใจท่านต้องการ เพื่อความรู้และการศึกษา โดยไม่ต้องขออนุญาติ ข้อมูลทั้งหมดได้มาจากสื่อสาธารณะที่มีประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ไม่ได้เสียเงินสักบาท และไม่ได้ทำเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ให้คนเข้าเว็บเยอะ ๆ จะได้ขายของได้เยอะ ๆ มีโฆษณามาลงเยอะ ๆ และอีกอย่างหนึ่งเพราะว่าตายไปผมก็เอาไม่ได้ ถ้าหวงนักผมขอแนะนำว่าอย่านำมาลง ให้ปิดเว็บทิ้งไปเลยจะดีกว่าอย่าทำเลย

หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง ชลบุรี

-http://www.osomchit.com/board/index.php?showtopic=12429-







.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 23, 2012, 07:32:07 pm »

ประสบการณ์ครั้งที่ 2 ที่เกี่ยวกับหลวงปู่ม่น วัดเนินตามากครับ

ผมได้เหรียญหลวงปู่ม่น จากท่านอาจารย์ประถม มา 1 เหรียญ  เหรียญนี้สวยมาก 

หลังจากที่ผมได้มาไม่ถึงเดือน ผมหยิบมาดู  ปรากฎว่า  ที่บริเวณใต้ตา(ในเหรียญ) มีพระธาตุเสด็จมาเกาะครับ

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 23, 2012, 07:27:16 pm »

ผมเองเคยมีประสบการณ์ กรอบพระสแตนเลสระเบิดออกมา พระที่กรอบสแตนเลสระเบิดเป็นหลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ชลบุรีครับ ถ้าเป็นทางวิทยาศาสตร์จะไม่สามารถอธิบายได้ว่า ระเบิดออกมาได้อย่างไร ก่อนวันสงกรานต์ ผมได้ไปทำความสะอาดพระ ที่กุฏิที่ผมเคยไปบวช วันนั้นผมห้อยพระไป 5 องค์ โดยองค์กลางเป็นพระธาตุพระสิวลี องค์อยู่ข้างบนต่อมาด้านซ้ายเป็นหลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ องค์ด้านขวา เป็นหลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก ผมทำความสะอาดพระซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ผมไปเห็นโกฏิที่ใส่กระดูกคนตาย ที่อยู่หลังพระพุทธรูปองค์ใหญ่ พี่เขยผมไม่เข้าไปยุ่ง ไม่ได้นำออกมาทำความสะอาด แต่ผมนำออกมาวางบนตู้พระไตรปิฎก ซึ่งผมลืมคิดไปว่าไม่สมควร ผมนำผ้าชุบน้ำแล้วทำความสะอาด พอทำความสะอาดเสร็จแล้ว ผมกำลังนำผ้าไปซัก เดินพ้นจากตู้พระไตรปิฎกมา 2 ก้าว ปรากฏว่าเหรียญหลวงปู่ม่นซึ่งผมเลี่ยมใส่กรอบพลาสติกและผมได้เจาะรูไว้ 3 รูนั้น ได้เกิดระเบิดขึ้น ผมเองก็ตกใจว่าเกิดอะไรขึ้น ผมกลับไปมองที่โกฏินั้น ผมเห็นว่าไม่สมควรที่จะนำไปวางไว้บนตู้พระไตรปิฎก ผมจึงรีบนำโกฏิไปไว้ที่เดิม ต่อมาผมได้สอบถามเพื่อนผม เพื่อนบอกว่าหลวงปู่ม่นท่านดังในเรื่องของการไล่ผีมาก (ในตอนแรกๆ ผมไม่ค่อยศรัทธาหลวงปู่ม่นเท่าไร ท่านคงมาช่วยผมไว้และแสดงให้เห็นว่าหลวงปู่ม่น ท่านก็ไม่ธรรมดา) การที่กรอบแสตนเลสระเบิดนั้น มันเกิดจากสาเหตุอะไร ลองคิดดูกันเองนะครับ

-http://www.tairomdham.net/index.php?topic=4172.180-

http://www.tairomdham.net/index.php?topic=4172.180
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 21, 2012, 09:51:37 pm »

ไปเจอทางเข้ากุฎิพระ นำมาให้ชมครับ



.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 21, 2012, 09:40:58 pm »

วัดใหญ่อินทาราม
-http://guidetourthailand.com/wordpress/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.html-

วัดใหญ่อินทาราม จังหวัดชลบุรี เดิมชื่อ วัดหลวง ตั้งอยู่บนถนนเจตน์จํานงค์ ในตัวเมืองชลบุรี เป็นวัดที่สําคัญเก่าแก่คู่เมืองชลบุรี  สันนิษฐานว่า สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย มีภาพเขียนเก่าเรื่องทศชาติชาดก พระเวสสันดรชาดกรูปเทพชุมนุมองค์โตเหมือนในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ที่กรุงเทพฯ ในพระอุโบสถวัดนี้เอง ที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จประทับเมื่อครั้งออกจากพระนครศรีอยุธยา ตอนใกล้จะเสียกรุงแก่พม่าในปี พ.ศ. 2310 สิ่งที่น่าชมอีกแห่งหนึ่งในวัดใหญ่อินทาราม ก็คือ พลับพลาตรีมุข อันสร้างด้วยไม้เก่าแก่ มีพระพุทธรูปหล่อสําริดทรงเครื่องกษัตริย์งดงามมาก ชาวเมืองชลบุรีเรียกกันว่า หลวงพ่อเฉย ซึ่งนับว่าศักดิ์สิทธิ์โดยเฉพาะเศษผ้าจีวรที่คลุมองค์ หลวงพ่อนําไปผูกข้อมือเด็กที่เจ็บออดแอดเลี้ยงยากจะกลายเป็นเด็กเลี้ยงง่ายอย่างน่าอัศจรรย์ วัดใหญ่อินทาราม มักเรียกผิดเป็น วัดใหญ่อินทราราม



ที่อยู่ วัดใหญ่อินทาราม: อยู่กลางเมืองชลบุรี จากถนนสุขุมวิท เลี้ยวเข้าตัวเมืองชลบุรี ที่สี่แยกเฉลิมไทย เข้าสู่ถนนโพธิ์ทอง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเจตน์จำนงค์ วัดอยู่ทางด้านซ้ายมือ ก่อนถึงสี่แยกตัดกับถนนอัครนิวาส (สี่แยกท่าเกวียน) หน้าวัดมีลานจอดรถกว้างขวาง  การเดินทาง : ถ้าไม่มีรถยนต์ส่วนตัว สามารถขึ้นรถสองแถวสายรอบเมืองชลบุรีได้  เวลาทำการ : เที่ยวชมได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 08.00-17.00 น.  ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม  ติดต่อ : โทร. 0-3827-5844

http://guidetourthailand.com/wordpress/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.html
.

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ตุลาคม 21, 2012, 09:37:54 pm »

ประวัติ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถร)
-http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/sd-wat-thep/sd-wat-thep-hist-01.htm-
วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร

เรียบเรียงจากที่โพสท์ใน เว็บไซต์ saktaling.com

ครั้นถึงวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2476 พระมหาเถระบรรดาที่เป็นกรรมการมหาเถรสมาคมได้ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ ยกย่องท่านขึ้นเป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคม บัญชาการคณะสงฆ์แทนพระองค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า สิ้นพระชนม์ จึงเป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์โดยตรงสืบมา เมื่อทรงพระกรุณาตั้งสมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์เทพวรารามขึ้นในปี พ.ศ. 2481 เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ จึงพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม รวมเวลาที่ท่านเป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์ 4 ปี 9 เดือน กับ 27 วัน

ถึงสมัยประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2484 เปลี่ยนระบอบการปกครองคณะสงฆ์ให้สอดคล้องต้องกันกับทางบ้านเมือง ท่านก็ได้เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง และได้เป็นคณะวินัยธรชั้นฎีกา อันเป็นคณะวินัยธรชั้นสุดยอด ต่อมาได้เป็นหัวหน้าคณะวินัยธรคณะนี้และเป็นประธานคณะวินัยธรโดยตำแหน่ง ด้วย วันที่ 28 กรกฎาคม เป็นประธานสังฆสภา วันที่ 1 มิถุนายน 2489 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสังฆนายก ถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2493 ครบ 4 ปี ถึงกำหนดพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่โดยที่ท่านได้รับภาระบริหารการคณะสงฆ์มาด้วยความเรียบร้อย เป็นผลดีแก่พระศาสนา และเป็นพระมหาเถระที่เพียบพร้อมด้วยศีลาจารวัตรพรหมจริยคุณ เป็นที่เคารพสักการะของพุทธบริษัททั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ จึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสังฆนายก บริหารการคณะสงฆ์สืบต่อมาอีก และได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งนี้จนถึงวันที่มรณภาพ

เป็นอันว่า เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญหลายตำแหน่ง อาทิเป็นผู้อำนวยการสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวงทั่วพระราชอาณาจักร 15 ปี เป็นเจ้าคณะมณฑล 2 คราว รวม 14 ปี เป็นผู้ถวายพระธรรมเทศนา พระมงคลวิเสสกถา 25 ปี เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์ 5 ปี เป็นประธานสังฆสภา เป็นประธานคณะวินัยธร และที่สุดเป็นสังฆนายก 5 ปีเศษ เป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส 50 ปีเศษ

ในเวลาที่ท่านเป็นผู้อำนวยการสอบพระปริยัติธรรมเป็นแม่กองสนามหลวง เป็นแม่กองสนามมณฑล และเป็นเจ้าคณะมณฑลนั้น ท่านบริหารงานเหล่านี้ด้วยความเรียบร้อยไม่บกพร่องเสียหาย เป็นที่เคารพยำเกรงของผู้น้อยทั่วไป เป็นที่นิยมนับถือของพระเถรานุเถระผู้ร่วมงานทุกท่าน เป็นที่ไว้วางใจและได้รับความยกย่องชมเชยจากท่านผู้ใหญ่ให้เกิดผลดีแก่พระศาสนาอย่างยิ่ง เนื่องด้วยกิจการบางอย่างในตำแหน่งดังกล่าวแล้ว จำเป็นต้องมีรายจ่ายมาก เป็นต้นว่า ค่าเครื่องเขียน สิ่งพิมพ์ ค่าพาหนะ เจ้าหน้าที่ และผู้นำข้อสอบไปเปิดสอบตามจังหวัดต่างๆ ที่มีการสอบทั่วประเทศ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ในปีหนึ่ง ๆ จำนวนไม่น้อย แม้มีทางจะเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณที่ได้ ท่านก็มิได้เบิกตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด

นับว่าได้ประหยัดเงินของ คณะสงฆ์ในการนี้เป็นจำนวนหลายหมื่นบาท ช่วยกิจพระศาสนาอันผู้ที่ยอมอุทิศกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังสติ ปัญญา ช่วยการพระศาสนาเช่นนี้ย่อมเป็นผู้หาได้ไม่ง่ายนัก.

ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์ และดำรงตำแหน่งสังฆนายก อันเป็นตำแหน่งที่บริหารการคณะที่สำคัญยิ่ง ท่านก็ได้ปฏิบัติงานด้วยความซื่อตรงเที่ยงธรรมรักษาวินัยระเบียบแบบแผน ประเพณี โดยเคร่งครัดระมัดระวังรอบคอบ ประกอบด้วยรู้จักผ่อนผันในสิ่งที่ไม่ผิดธรรม ไม่ผิดวินัย ระวังความแตกร้าวไม่ให้เกิดมี สมานสามัคคีให้เกิดแก่พุทธบริษัททุกหมู่เหล่า นำกิจการหมู่คณะให้ดำเนินไปด้วยดี ไม่ให้ความระส่ำระสายเกิดมีขึ้นในสังฆมณฑล ยังความเรียบร้อยในสังฆมณฑลให้เป็นไปด้วยดี ด้วยปรีชาสามารถ ตลอดสมัยของท่าน

ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส 50 ปีเศษ เอาใจใส่ดูแลรักษาวัดเป็นอย่างดี ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ของเก่า เช่นพระอุโบสถและกุฎิ เป็นต้น แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นกว่าเดิม และปลูกสร้างถาวรวัตถุเพิ่มเติม เป็นต้นว่า ที่อยู่ที่อาศัย สถานการศึกษา รวมค่าซ่อมแซมแลค่าก่อสร้างประมาณ 3,600,000.00 บาท ทำวัดให้สะอาดสะอ้านเรียบร้อย น่าดู น่าอยู่ น่าอาศัย เป็นทางนำมาซึ่งศรัทธาปสาทะแก่พุทธบริษัทเป็นอันมาก สังหาริมทรัพย์ แลอสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน ที่นา ที่สวน และเงินทุนของวัด เกิดเพิ่มพูนเป็นผลประโยชน์สำหรับบำรุงพระอาราม บำรุงภิกษุสามเณร บำรุงการศึกษา เป็นต้น ประมาณราคา 6,800,000.00 บาท ซึ่งเดิมเมื่อครองวัดมีเพียง 800 บาทเศษเท่านั้น ทั้งนี้กล่าวแต่เฉพาะรายใหญ่ ๆ เท่าที่นึกได้ พุทธบริษัทก็เพิ่มขึ้นโดยลำดับกาล ในวันธัมมัสสวนะ มีอุบาสก อุบาสิกามารักษาศีลและฟังธรรมอย่างมากถึงวันละ 800 คน ท่านเป็นพระอุปัชฌายะบวชภิกษุ 4,847 รูป เป็นอุปสัมปทาจารย์ 364 รูป เป็นพระอุปัชฌายะบวชสามเณร 1,455 รูป รวมทั้งสิ้น 6,666 รูป

ท่านเป็นผู้ฉลาดสามารถในการปกครองในการแนะนำสั่งสอน มีความเพียรไม่เบื่อหน่ายในการที่จะอบรมศิษยานุศิษย์ และแสดงธรรมสั่งสอนพุทธบริษัท ท่านถือเป็นกิจวัตรที่สำคัญ ไม่จำเป็น ไม่ขาดเลย เป็นผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติของผู้ปกครองครบครัน คือมีอัธยาศัยเยือกเย็น หนักแน่น มีเมตตา กรุณา มุทิตา โอบอ้อมอารี มีใจเป็นห่วงในความเป็นอยู่แลความประพฤติของศิษย์ หวังเจริญสวัสดีแก่ศิษย์ หมั่นอบรมสั่งสอนเป็นนิตย์ แม้สึกหาลาเพศไปแล้ว ก็ยังหวังดีอุตส่าห์ตักเตือนพร่ำสอนเมื่อมีโอกาส มีของกินของใช้ก็แบ่งเฉลี่ยให้ตามกาล เมื่ออาพาธป่วยไข้ก็หมั่นเยี่ยมเยียนถามอาการ หาหมอมาพยาบาลรักษา ช่วยค่ายาค่ารักษา ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่เคารพนับถือสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์สาธุชน ผู้ได้รับอุปการคุณนั้น ๆ ทั่วกันไม่คืนคลาย

ท่านเป็นผู้ไม่สะสม พอใจในการสละสิ่งของที่ได้มา บริจาคเป็นบุญเป็นกุศลแทบทั้งสิ้น แจกภิกษุสามเณรในวัดบ้าง ศิษย์วัดบ้าง ตามควรแก่บรรดามีบ้าง ให้หาเพิ่มเติมบ้าง จัดเป็นเครื่องบูชา มีแจกัน พาน กระถางธูป เชิงเทียนเป็นต้นชุดละ 50 ชิ้นเป็นอย่างน้อย ส่งไปถวายวัดที่ขาดแคลนในต่างจังหวัด วัดละชุดบ้าง 2 ชุดบ้าง บางวัดก็ถึง 3 ชุด ประมาณ 270 วัด พิมพ์หนังสือแจกเป็นธรรมทานด้วยทุนของท่านบ้างผู้อื่นช่วยบ้าง ประมาณ 100 เรื่อง คิดเป็นเล่มหนังสือประมาณ 400,000 เล่ม พิมพ์ไหว้ 5 ครั้ง แจกกรม กอง หน่วยราชการ ทหาร พลเรือน นักเรียน ประชาชน ตลอดถึงผู้ต้องขังทั่วราชอาณาจักรประมาณ 1,500,000 แผ่น นอกจากนี้ยังได้กระทำประโยชน์อันเป็นสาธารณะอีกมาก กล่าวเฉพาะส่วนใหญ่คือ

ขุดสระขังน้ำฝนที่วัดเขาบางทราย และชาวตำบลอื่นที่ใกล้เคียงได้อาศัยบริโภคใช้สอยตลอดหน้าแล้งและหน้าฝน เพราะตำบลเหล่านั้นใกล้ทะเล มีแต่น้ำเค็ม กันดารน้ำจืด

สร้างโรงเรียนเป็นตึกคอนกรีต 2 ชั้น 2 หลัง อยู่ในเขตวัดเขาบางทราย ชลบุรี มอบให้ทางการ เปิดสอนนักเรียน ตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ 1 ถึงปีที่ 6

พระอุโบสถวัดเขาบางทราย ชลบุรี

ซ่อมพระอุโบสถวัดเขาบางทราย ชลบุรี เปลี่ยนแปลงจากเดิมขยายให้กว้างขวางงดงามยิ่งขึ้น ประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำลงรักปิดทองประดับกระจก เขียนลายผนัง ติดดาวเพดาน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบประกอบช่อฟ้าใบระกา

สร้างตึกผ่าตัดให้แก่โรงพยาบาลจังหวัดชลบุรี 1 หลัง เป็นคอนกรีตทั้งหลัง มีเครื่องใช้เครื่องมือและเครื่องอุปโภคในการผ่าตัดทันสมัยอย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังช่วยปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมกุฎี วิหาร ศาลา ถนนหนทาง และโรงเรียนเป็นต้น ทั้งที่วัดเขาบางทรายและวัดอื่น ๆ ในจังหวัดชลบุรีอีกหลายแห่ง ทั้งหมดนี้ด้วยทุนทรัพย์ส่วนขององค์ท่านตามกำลังเป็นส่วนมาก มิได้เคยออกปาก เรี่ยไรผู้อื่น เมื่อผู้อื่นทราบมีศรัทธาเลื่อมใสก็บริจาคร่วมสมทบด้วย แม้กุฎีที่อยู่อาศัย จะปฏิสังขรณ์หรือเพิ่มเติม เช่นติดกระเบื้องฝา ทาสี เป็นต้น หรืออื่นใด ท่านก็ทำไปด้วยทุนทรัพย์ส่วนองค์เอง มิได้ออกปากใคร ต่อเมื่อมีผู้เห็นเข้า ศรัทธาก็ถวายช่วยด้วย เรื่องจะเอาเปรียบบุคคล เอาเปรียบวัด เอาเปรียบศาสนา แม้โดยปริยายไร ๆ ท่านไม่นิยม ดังนั้นเวลาถึงมรณภาพลง จตุปัจจัยส่วนองค์เองจึงไม่มีเหลืออยู่เลย

ท่านเป็นผู้ที่เจ้านาย ข้าราชการ คฤหบดี เลื่อมใสเป็นส่วนมาก แลเป็น กุศลปก คือเป็นพระประจำพระตระกูลของเจ้านายลางพระองค์ ถึงอย่างนั้นไม่มีธุระเป็นก็ไม่ไปเฝ้าหรือไปมาหาสู่ จะไปก็ไปเป็นกิจจะลักษณะ ท่านปลูกแลทำนุบำรุงศรัทธาเลื่อมใสของท่านนั้น ๆ ด้วยคุณธรรมแท้ ๆ จึงเป็นแท่นบูชาแห่งคุณธรรมความดีโดยส่วนเดียวของสาธุชน โวหารลางอย่างที่โลกนิยมใช้กัน เช่น มีความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง คำว่า เป็นอย่างยิ่ง ท่านก็ไม่ใช้ โดยอ้างถึงเจตนาว่า ไม่รู้สึกอย่างยิ่งเช่นนั้น ท่านเป็นผู้นิยมความกตัญญูกตเวทีนัก แลถือเป็นข้อหนึ่งสำหรับอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ ท่านเคยอ้างว่า องค์ท่านเองได้เจริญรุ่งเรืองมาเช่นนี้ ก็เพราะดีต่อโยม ใครเคยมีคุณมามักประกาศคุณนั้น ๆ ให้ปรากฏไม่ลืมเลือน แลหาทางสนองคุณสมนาคุณในโอกาส.

เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นผู้ถือเคร่งครัดในพระวินัย ไม่ยอมประพฤติล่วงพระบัญญัติ แม้ในสิ่งที่ผู้อื่นโดยมากเห็นว่าเล็กน้อย เป็นผู้มีศีลาจารวัตรอันงาม ไม่บกพร่องด่างพร้อยแต่ประการไร กิจวัตรนอกจากสวดมนต์ไหว้พระทำกัมมัฏฐานภาวนาที่กุฏีที่อยู่ แล้วสวดมนต์ไหว้พระประจำวันทุกเช้าเย็น ไม่จำเป็นท่านไม่ยอมขาด ทำตนเป็นผู้นำที่ดียิ่งและยังได้แนะนำชักชวนภิกษุสามเณรในวัดให้ปฏิบัติโดยเคร่งครัด ตลอดถึงได้ชักชวน เพื่อนสหพรหมจารีต่างวัดให้ช่วยกันทำนุบำรุงกิจวัตรแผนกนี้ ซึ่งถึงจะเป็นกิจวัตรพื้น ๆ แต่ก็นับว่าสำคัญประการหนึ่ง อยู่เสมอในเมื่อมีโอกาส

การฟังพระปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือน ตั้งแต่อุปสมบทจนถึงวันมรณภาพ ขาดเพียง 2 ครั้ง ในเวลาอาพาธหนักไม่สามารถจะลุกนั่ง แลพลิกองค์เองได้แล้ว ท่านก็ยังแสดงความประสงค์จะลงฟังพระปาฏิโมกข์เมื่อวันอุโบสถมาถึงเข้า แต่ไม่มีผู้ใดจะปฏิบัติตามความประสงค์ของท่านได้ เพราะเห็นว่าท่านอาพาธหนักมาก ถ้านำท่านลงไปอาจถึงเป็นอันตรายได้

การงานทุกอย่างที่ท่านทำ มีระเบียบเรียบร้อยสม่ำเสมอ เป็นเวลาไม่มากก็น้อย สิ่งไรที่ท่านทำเองได้ ท่านไม่รบกวนผู้อื่น แม้แต่ศิษย์ ด้วยความเกรงใจ แม้ศิษย์จะสมัครใจยินดีทำถวายลางอย่าง เช่นช่วยถือบริขารเครื่องใช้สอย เป็นต้นว่าย่ามติดตาม เมื่อไม่จำเป็น ท่านก็ไม่ยอม โดยอ้างว่า ใคร ๆ เขาจะเห็นว่าเป็นเจ้ายศเจ้าอย่างไป กิจการลางประการ ซึ่งต้องใช้พระเดช อันท่านเอง ก็สมควรแล้วที่จะใช้ได้ทุกประการ ท่านก็มักผ่อนลงมาเป็นใช้พระคุณโดยมาก โดยปรารภว่า วาสนาบารมีน้อย ไม่ควรแก่พระเดชนัก อันผู้สูงศักดิ์มีวาสนาบารมี เมื่อจะทำกิจการไร ๆ ยังหวนระลึกถึง อตฺตญฺญฺตา มตฺตญฺญฺตา รู้ตน รู้ประมาณอันเป็นสัปปุริสธรรม ทั้งต่อหน้าแลลับหลังเช่นนี้ น่าเคารพบูชาของสาธุชนทั้งหลายนัก

ท่านเป็นผู้ไม่มัวเมาในยศศักดิ์ตำแหน่งหน้าที่การงาน ไม่เห็นแก่อามิสลาภยศชื่อเสียง ไม่ขวนขวายที่จะได้ตำแหน่งหน้าที่การงานนั้น ๆ แต่ด้วยเห็นแก่พระศาสนาจึงยอมรับตำแหน่งหน้าที่อันมาถึงตามกาลตามสมัย เมื่อรับทำสิ่งไรแล้วก็ตั้งใจจะทำจริงไม่ทอดทิ้ง ทำดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยความแช่มชื่น ไม่ฝืนใจทำ มีความเพียรอดทนไม่ท้อถอย ทำตามกำลังสามารถ ลางอย่าง ลางโอกาส ถึงออกปากว่า ถ้าไม่ไหวก็ขอคืน ไม่ฝืนไว้ด้วยอาลัย

ท่านไม่ถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ สิ่งไรทำพลาด เป็นผู้รู้จัก ผิดเป็น ยอมทำใหม่แก้ไขให้ถูก ยอมเปลี่ยนแปลงแก้ไข ในเมื่อมีผู้ทักท้วง มีเหตุผลเป็นธรรมเป็นวินัย ไม่ปล่อยให้สิ่งผิดแล้วเลยตามเลย หรือขืนทำไปทั้ง ๆ ที่เห็นว่าผิด

ท่านจึงเป็นผู้รู้อย่างที่กล่าวยกย่องว่า ไม่เมาในความรู้ ไม่มีชนิดที่เรียกว่า เอาสีข้างเข้าดัน อันเป็นมลทินของผู้รู้ แต่ว่าเป็นผู้ถ่ายถอนถือเอาแต่ยุติที่ชอบด้วยเหตุผล เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นประมาณ มีธรรมวินัยเป็นใหญ่ มีธรรมวินัยเป็นธงชัย ไม่ยอมให้มานะทิฐิหรือเล่ห์กลใด ๆ เข้ามาปะปนแฝงอยู่ จึงเป็นหลักในความรู้และความเป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้สนิท เป็นผู้ตรงไปตรงมาไม่มีแง่งอนมายาเป็นปฏิปทาของสาวกสงฆ์ข้อ อุชุปฏิปนฺโน คือเป็นผู้ปฏิบัติตรง

ท่านเป็นผู้มีความอดกลั้นเป็นอย่างดี มีความสงบเสงี่ยม ไม่เคยแสดงอาการผลุนผลันให้ปรากฏ ไม่เคยพูดคำหยาบ กล่าวแต่คำอ่อนหวาน ไม่พูดให้เจ็บใจคนอื่น ไม่พูดเสียดสีกระทบกระทั่งนินทาว่าร้ายผู้อื่น องค์ท่านเคยปรารภเป็นเชิงสอนว่า คนเรานั้นมีอาวุธพิเศษสำหรับป้องกันตัวอย่างหนึ่งคือนิ่ง ไม่ต่อปากต่อคำ ต่อความยาวสาวความยืด อันเป็นเหตุให้เรื่องนั้น ๆ ไม่สุดสิ้น ปฏิปทานี้ท่านถือเป็นแนวปฏิบัติประการหนึ่ง จึงนิยมในการรู้แล้ว เลิกแล้วกันไป ไม่ถือสาหาความอีก ไม่มีเวรไม่มีภัยกับใคร ๆ แม้ผู้ที่ถือโกรธท่าน ๆ ก็ไม่โกรธตอบ กลับหาทางสมัครสมานคืนดี เรื่องไม่ดีของผู้อื่นเป็นไม่พูด ถึงมีผู้พูดก็ห้ามเสีย เรื่องการบ้านการเมือง รบราฆ่าฟัน อันไม่ใช่กิจสมณะไม่พูดเกี่ยวถึงเลย มีผู้พูด ถ้าเป็นผู้น้อยก็ห้ามเสีย ถ้าเป็นผู้ใหญ่ ท่านก็ยิ้ม ๆ รับฟังโดยมารยาท ท่านมีอาการสงบสม่ำเสมอ ไม่โลเลสับปลับ ไม่พูดถ้อยคำไร้สาระ พูดแต่สิ่งที่เป็นงานเป็นการ ประกอบด้วยอรรถด้วยธรรม มีประโยชน์ ไม่พูดเล่นตลกคะนองแต่ไหนแต่ไรมา.

ท่านทำองค์ของท่านเป็นเนติแบบอย่าง สมกับเป็นผู้นำหมู่คณะ เป็นผู้ปกครองศิษยานุศิษย์ บริษัท บริวาร ตลอดถึงคณะสงฆ์ เป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ของคนทุกชั้น สิ่งไรที่ท่านสอนให้คนอื่นละเว้นไม่ให้ทำไม่ให้ประพฤติ องค์ท่านเองย่อมละเว้น ไม่ทำไม่ประพฤติด้วย ไม่เป็นแต่เพียงสอนหรือห้ามผู้อื่นฝ่ายเดียวเท่านั้น ท่านเป็นผู้เคารพนับถือผู้ใหญ่เหนือตน ปฏิบัติตามบังคับบัญชาในสิ่งที่ถูก ที่เป็นธรรม อย่างครบถ้วน แต่ถ้าสิ่งไรเป็นผิด เป็นเสียแล้ว ก็ไม่ยอมร่วมด้วย ระเบียบแบบแผนประเพณีอันใดที่ทางคณะสงฆ์บัญญัติไว้เป็นธรรมเป็นวินัย ท่านถือว่าปฏิบัติตามโดยไม่บกพร่อง นี้เป็นเนติอีกประการหนึ่งคือ ดีทั้งปกครองเขา แล เขาปกครองก็ดีด้วย

ทราบว่าเมื่อครั้งท่าน สอบไล่ภาษาบาลีในมหามกุฎราชวิทยาลัยได้ที่ 1 ทุกชั้นเป็นลำดับมา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งว่า ตาบุญ ( คือพระยาธรรมปรีชา ผู้เป็นอาจารย์ภาษาบาลีของเจ้าพระคุณ ) มอบช้างเผือกส่งเข้ามา จึงได้เป็นผู้ที่ทรงโปรดปราน เป็นผู้ที่ทรงปรึกษาทางด้านวิทยาการ แลด้านการปกครองคณะสงฆ์องค์หนึ่ง จนกาลที่สุด คือเมื่อจวนจะสิ้นพระชนม์ ก็ยังโปรดให้เจ้าพระคุณ ซึ่งในเวลานั้นดำรงตำแหน่งฐานันดรสมณศักดิ์ที่พระธรรมไตรโลกาจารย์ เข้าเฝ้าถวายธรรมลางประการเป็นครั้งสุดท้าย

เจ้าพระคุณสมเด็จฯ นอกจากมีความเชี่ยวชาญภาษาบาลีและพระไตรปิฎกแล้ว ยังมีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี นับเป็นพระมหาเถระที่ก้าวหน้าทันสมัยในยุคนั้น ดังที่ท่านพุทธทาสได้กล่าวถึงท่านไว้ในหนังสือเรื่องเล่าไว้เมื่อวัยสนธยาว่า “สมเด็จวัดเทพศิรินทร์ ดูจะเป็นคนก้าวหน้าที่สุด ถ้ามีเรื่องเกี่ยวกับฝรั่งมังค่าอะไรต้องไปทางนั้น ตอนนั้น ยังไม่ได้เป็นสมเด็จเป็นพระสาสนโสภณ” เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้แสดงความรู้ทางภาษาอังกฤษให้เป็นที่ปรากฏโดยท่านได้แปลพุทธประวัติภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยไว้เล่มหนึ่ง ชื่อ “พุทธประวัติวิเทศ” ครั้งหนึ่งมีโปรเฟสเซอร์ ชาวเดนมาร์ค เข้ามาเมืองไทยและใคร่จะรู้เรื่องพระพุทธศาสนา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงโปรดให้มาสนทนากับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระสาสนโสภณ โปรเฟสเซอร์ท่านนั้นได้มาสนทนากับเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อยู่ 8 ครั้ง ครั้นกลับไปประเทศของตนแล้ว ได้ส่งหนังสือมาถวายเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เล่มหนึ่งพร้อมเขียนคำสรรเสริญเป็นภาษาบาลีอักษรโรมันว่า

" อจฺฉริยํ ภนฺเต สาสนโสภณ, อพฺภุตํ ภนฺเต สาสนโสภณ, อติจิตฺรานิ ปญฺหปฏิภานานิ วิสชฺชิตานิ, ยทิ พุทฺโธ ติฏฺเฐยฺย, สาธุการํ ทเทยฺย, สาธุ สาธุ สาสนโสภณ, อติจิตฺรานิ ปญฺหปฏิภานานิ วิสชฺชิตานิ "

แปลความว่า ท่านพระสาสนโสภณ น่าอัศจรรย์, ท่านพระสาสนโสภณ น่าประหลาด, ปฏิภาณแก้ปัญหาวิจิตรนัก อันท่านวิสัชนาแล้ว. หากว่าพระพุทธเจ้าจะพึงดำรงอยู่ไซร้, ก็จะพึงประทานสาธุการว่า พระสาสนโสภณ ดีแล้ว ดีแล้ว, ปฏิภาณแก้ปัญหาวิจิตรนัก อันเธอวิสัชนาแล้ว".

ในเรื่องนี้แสดงว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ กับโปรเฟสเซอร์ดังกล่าวคงสนทนากันด้วยภาษาบาลีหรือภาษาอังกฤษ จึงทำให้โปรเฟสเซอร์เกิดความประทับใจมากดังแสดงออกด้วยข้อความดังกล่าวนี้ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีอัธยาศัยชอบการอ่านการเขียน ได้นิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมากเท่าที่รวบรวมได้มีถึง 75 เรื่อง เช่น คู่มือนาค คู่มืออุบาสก คำถามคำตอบศีลสมาธิปัญญา บันทึกธรรม พุทธประวัติวิเทศ แว่นธรรมวินัย ไหว้พระ 5 ครั้ง พระมงคลวิเสสกถา เป็นต้น ในการชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกในรัชกาลที่ 7 เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับหน้าที่ชำระพระไตรปิฎกท่านหนึ่งโดยได้ชำระพระวินัยปิฎกทั้งหมด รวม 8 เล่ม และพระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย สีลขันธวัคค์ รวม 3 เล่ม รวมทั้งสิ้น 11 เล่ม


เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์อาพาธเป็นโรคเนื้องอกที่ตับ มีอาการเบื่ออาหารและอ่อนเพลียมาโดยลำดับ นายแพทย์ได้ตรวจพบเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2494 พักรักษาตัวอยู่ ณ วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรีประมาณเดือนเศษ อาการไม่ดีขึ้น ถึงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 ทางคณะสงฆ์กรมการศาสนาและกรมการแพทย์ ส่งนายแพทย์ไปรับท่านมารักษาพยาบาล ณ วัดเทพศิรินทราวาส นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญเป็นต้นว่า หลวงนิตยเวชวิศิษฐ์ พระอัพภันตราพาธพิศาล นายแพทย์ใช้ ยูนิพันธ์ ได้ถวายการรักษาพยาบาลจนสุดความสามารถ แต่โรคชนิดนี้ยังไม่พบวิธีที่จะรักษาให้หายได้ เป็นโรคที่ทรมาน เท่าที่ปรากฏ ผู้ที่เป็นโรคชนิดนี้มักได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส แต่องค์ท่านแม้ได้รับทุกขเวทนาเห็นปานนั้น ก็สงบระงับไม่ยอมให้ทุกขเวทนานั้นครอบงำ มีสติสัมปชัญญะ ส่อให้เห็นคุณธรรมลางประการ อันท่านได้อบรมมาเป็นเวลานาน ไม่ครั่นคร้ามต่อ มรณภัยอันคุกคามอยู่ สู้อุตส่าห์แนะนำพร่ำสอนโดยย่อ ๆ ถึงคุณพระรัตนตรัย แลความจริงของสังขาร กับทั้งความน่าเบื่อหน่ายในชาติภพ แลให้ศีลให้พรแก่ผู้ที่มาเยี่ยมเยียนแลรักษาพยาบาล จนที่สุดถึงมรณภาพด้วย อาการอันสงบ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2494 เวลา 10.30 น. คำนวณอายุได้ 80 ปี โดยปีพรรษา 59

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานน้ำสรงศพ และพระราชทานโกศไม้สิบสอง ประดับพุ่มและพู่เฟื่อง ฉัตรเครื่องสูง มีแตร จ่าปี่ จ่ากลองและกลองชนะ ประโคมเป็นเกียรติยศ ประดิษฐานโกศ ณ กุฎีที่อยู่วัดเทพศิรินทราวาส มีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมเป็นของหลวง 3 วัน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ประกอบการพระราชกุศลทักษิณานุสรณ์ พระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์ในสัตมวารแรก ต่อจากนั้นมีเจ้านาย คณะรัฐมนตรี ข้าราชการ คณะสงฆ์ ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา ศิษยานุศิษย์และผู้เคารพนับถือ ได้ทรงบำเพ็ญ และบำเพ็ญกุศลถวาย ติดต่อกันมา เป็นลำดับ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการพระราชทานเพลิงศพ ณ สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2495 และเสด็จพระราชดำเนินทั้งสองพระองค์

ประวัติและคุณสมบัติทั้ง ส่วนอัตตสมบัติแลปริหิตปฏิบัติของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถระ เท่าที่ได้รำพันมานี้ชี้ให้เห็นว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้อาศัยความเป็นผู้มีบุญอันได้ทำไว้แล้วในกาลก่อน เป็น ปุพฺเพกตปุญญตา อันท่านผู้รู้เรียกว่า วาสนาแรกเริ่มนำให้มาอยู่ในถิ่นอันสมควร เป็น ปฏิรูปเทสวาส คบหาศึกษาวิทยาการกับผู้ทรงคุณวุฒินั้น ๆ เป็น สปฺปุริสูปสฺสย คือคบสัตบุรุษกับทั้งตั้งองค์ท่านเองไว้ในที่ชอบ ประกอบด้วยสุจริตธรรมสัมมาปฏิบัติ เป็น อตฺตสมฺมาปริธิ ศิริรวมเป็นจักรธรรมครบ 4 ประการ เป็นจักรสมบัติ พัดผันนำองค์ท่านไปสู่วัฒนะ เจริญรุ่งเรืองสุดวาสนาบารมี กับทั้งยังประกอบด้วยญาณปรีชาอันประเสริฐ เป็นเหตุสำคัญนำองค์ท่านให้ผ่านพ้น อุปสรรคภยันตรายฝ่ายหายนะ รอดตลอดจนสุดชนม์ชีพด้วยประการฉะนี้