ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 18, 2012, 08:28:42 pm »

กองทุนชดเชยการว่างงาน สิทธิประโยชน์น่ารู้สำหรับคนตกงาน
-http://hilight.kapook.com/view/78203-


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

       เป็นที่รู้กันว่า.. สิทธิประกันสังคม คืออีกหนึ่งสิทธิประโยชน์สำคัญที่คนทำงานจะต้องได้รับ แต่ถ้าเกิดบังเอิญต้องกลายเป็นคนว่างงานขึ้นมา คุณรู้หรือไม่ว่า..จะมีสิทธิพึงได้อะไรบ้าง? วันนี้กระปุกดอทคอมจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ กองทุนชดเชยการว่างงาน จาก ประกันสังคม ที่หลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้มาก่อน ไปดูข้อมูลกันเลยจ้า

หลักเกณฑ์การรับสิทธิ์

         - ต้องเป็นผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน (ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน)
         - เป็นผู้ว่างงานจากการลาออก หรือถูกเลิกจ้าง โดยไม่มีความผิดตามกฎหมาย

เงื่อนไขการรับสิทธิ์

         - ต้องขึ้นทะเบียนว่างงานที่สำนักจัดหางานของรัฐ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองอย่างเป็นทางการ

         - พร้อมจะทำงานตามความเหมาะสมที่สำนักงานจัดหาให้

         - ต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน

         - ต้องเข้ารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่จัดหารงานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

         - ต้องไม่ใช่ผู้ได้รับสิทธิ์ทดแทนในกรณีชราภาพ

         - ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ ในมาตรา 39

         - ต้องไม่เป็นผู้ว่างงานที่ถูกเลิกจากในกรณีต่อไปนี้

                   - ทุจริตต่อหน้าที่
               
                   - กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

                   - จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

                   - ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายในกรณีร้ายแรง

                   - ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร

                   - ประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง

                   - ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

                   - สิทธิ์ในการรับประโยชน์ทดแทนจะเกิดขึ้นในวันที่ 8 นับตั้งแต่วันที่ว่างงาน

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ

กรณีถูกเลิกจ้าง

         - ได้รับเงินทดแทนอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยจะได้รับเงินทดแทนการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน) เช่น หากได้รับเงินดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้เงินทดแทนเดือนละ 5,000 บาท เป็นจำนวน 6 เดือน

กรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง

         - เมื่อลาออกจากงานและเคยเป็นผู้ประกันตนอยู่แล้ว จะสามารถใช้สิทธิ์ในการรักษาพยาบาลได้ต่อไปอีก 6 เดือน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

         - ได้รับเงินทดแทนอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท โดยจะได้รับเงินทดแทนการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน) เช่น หากได้รับเงินดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้เงินทดแทนเดือนละ 3,000 บาท เป็นจำนวน 3 เดือน

เอกสารในการขอรับสิทธิ์

         - แบบคำร้องขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (สปส. 2-01/7)

         - บัตรประชาชน พร้อมสำเนา 2 ชุด

         - รูปถ่าย 1 นิ้ว (ถ่ายมาไม่เกิน 6 เดือน) 1 รูป

         - หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการลาออกจากงานของผู้ประกันตนออกจากงานของผู้ประกันตน (สปส. 6 -09)

         - หนังสือแจ้งจากนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)

         - สำเนาใบแจ้งยกเลิกการอนุญาตทำงาน (กรณีเป็นคนต่างด้าว)

         - สำนาบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หน้าแรก 2 ชุด

ขั้นตอนการขอรับสิทธิ์

         - ไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักจัดหางาน กรมการจัดหางาน

         - กรอกแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนว่างงาน พร้อมแนบหลักฐาน สำเนาบัตรประชาชน และรูปถ่าย

         - กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พร้อมแนบหลักฐาน หนังสือรับรองการออกจากงาน และสำเนาบัญชีธนาคาร

         - เจ้าหน้าที่จัดหางานสัมภาษณ์และตรวจสอบคุณสมบัติ รวมถึงประวัติการทำงาน

         - เจ้าหน้าที่จัดหางานจะเลือกตำแหน่งงานว่างให้ 3 แห่ง เพื่อให้ผู้ว่างงานพิจารณา

         - หากยังไม่มีงานที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่จะจัดส่งให้ผู้ว่างงานไปอบรมตามความจำเป็น (และหากมีการกลับเข้าทำงาน หรือปฏิเสธการฝึกงานที่จัดหาให้ สำนักงานประกันสังคมจะงดจ่ายเงินทดแทนทันที)

         - เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกข้อมูลสู่ฐานข้อมูลกลาง

         - เจ้าหน้าที่จะทำการวินิจฉัยข้อมูลของผู้ว่างงานตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ์

         - หากคุณสมบัติครบถ้วนแล้ว จะมีการโอนเงินทดแทนเข้าบัญชีให้เดือนละ 1 ครั้ง

         - หากผู้ประกันตนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน

สำหรับผู้ว่างงานที่เป็นต่างด้าว

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

         - ต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน (ภายใน 15 เดือนก่อนการว่างงาน)

         - ไม่เป็นผู้มีสิทธิ์ได้ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ

         - เป็นผู้ว่างงานเนื่องจากสัญญาจ้างกับนายจ้างสิ้นสุดลง

คุณสมบัติ

         - ต้องได้รับอนุญาตให้พักอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

         - หากได้สิทธิ์รับประโยชน์ทดแทนแล้ว และมีการเดินทางออกจากประเทศไทย ให้ถือว่ายังได้รับสิทธิ์อยู่แต่การจ่ายเงินจะขึ้นอยู่กับแนวทางของสำนักงานประกันสังคม

เอกสารการขอรับสิทธิ์

         - แบบคำร้องขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน  (สปส. 2-01/7)

         - หลักฐานการอนุญาตให้พักอยู่ในประเทศไทย (Visa)

         - หนังสือคำสั่งจากนายจ้างให้ออกจากงาน (ถ้ามี)

         - สำเนาใบแจ้งยกเลิกการอนุญาตทำงาน

         - สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หน้าแรก

         ได้รู้จักกับสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับในกรณีว่างงานกันไปแล้ว ก็อย่าลืมเตรียมตัวและเตรียมเอกสารให้พร้อม หากต้องการไปยื่นขอรับสิทธิ์ หรือหากมีข้อสงสัยก็สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.sso.go.th หรือสายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง รู้ไว้ใช่ว่า..ดีกว่าเสียสิทธิ์นะจ๊ะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://www.sso.go.th/hospital/category.jsp?lang=th&cat=607-
- sso.go.th

http://www.sso.go.th/hospital/category.jsp?lang=th&cat=607

http://hilight.kapook.com/view/78203
.