ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2012, 06:16:34 am » [๖๓๗] ดูกรพราหมณ์ ก็บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายใน
การทำตนให้เดือดร้อน ทั้งไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำให้ผู้อื่น
เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่มีความหิว ดับสนิท
เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว เป็นไฉน ดูกรพราหมณ์
พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย
พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง. คฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี หรือบุคคล
ผู้เกิดภายหลังในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ได้ฟังธรรมนั้น ครั้นได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้ศรัทธา
ในพระตถาคต เขาประกอบด้วยศรัทธานั้น ย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทาง
มาแห่งกิเลสธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์
ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัดแล้ว ไม่ใช้ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด. สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่
ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต.
ผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ
[๖๓๘] เมื่อเขาบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและอาชีพเสมอด้วยภิกษุ
ทั้งหลาย เป็นผู้ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย
มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ละการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย มีตน
สะอาดอยู่ ละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้น
จากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์
พูดเป็นหลักฐานควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจาก
ข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอก
ข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าว สมานคนที่แตกร้าวกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกัน
บ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน
กล่าวแต่คำที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำไม่มีโทษ
เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้น
ขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดคำจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมี
หลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร เธอเป็นผู้เว้นขาด
จากการพรากพืชคามและภูตคาม เป็นผู้ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดการฉันในเวลาวิกาล
เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง การประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เป็น
ผู้เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิว
อันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจาก
การรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญชาติดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการ
รับสตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส เว้นขาดจากการับแพะและแกะ เว้นขาด
จากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับ ช้าง โค ม้าและลา เว้นขาดจากการรับนาและที่ดิน
เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อและการขาย เว้นขาดจากการ
ฉ้อโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน
การล่อลวงและการตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ ตีชิง การปล้น และกรรโชก.
เธอเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปทาง
ทิศาภาคใดๆ ก็ถือเอาไปได้เอง. เปรียบเหมือนนก จะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของ
ตัวเป็นภาระบินไปฉะนั้น. เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่มี
โทษเฉพาะตน. เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ยึดถือนิมิต ไม่ยึดถืออนุพยัญชนะ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ด้วยหู ... สูดกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้ธรรมารมณ์
ด้วยใจแล้ว ไม่เป็นผู้ยึดถือนิมิต ไม่ยึดถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อ
ไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า
รักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์. เธอประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นของพระอริยะ
นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันบริสุทธิ์ เฉพาะตน. เธอเป็นผู้กระทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการ
ถอยกลับ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ย่อมทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า ใน
เหยียดออก ย่อมทำความรู้สึกในการทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ย่อมทำความรู้สึกตัวในการฉัน
ในการดื่ม ในการเคี้ยว ในการลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำ
ความรู้สึกตัวในการเดิน ในการยืน ในการนั่ง ในการหลับ ในการตื่น ในการพูด ในการนิ่ง.
[๖๓๙] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอริยะด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็น
ของพระอริยะ และด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นของพระอริยะเช่นนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต
ในเวลาภายหลังภัต นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความโลภ คือ
อภิชฌา มีใจปราศจากความโลภอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความประทุษร้าย คือ
พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมาย
อยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ
เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา.
ฌาน ๔
[๖๔๐] ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล
เหล่านี้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัม-
*ปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
ญาณ ๓
[๖๔๑] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ. เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัป
เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น
เราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพ
นั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
เสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอ
ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
[๖๔๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ... ถึงความไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย. เธอเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต ฯลฯ ติเตียนพระ-
*อริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป จึงต้องเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านั้นประกอบด้วยกายสุจริต ฯลฯ ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็น
สัมมาทิฏฐิ ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป ได้เข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์
เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
ด้วยประการฉะนี้.
[๖๔๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ... ถึงความไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่อญาณเป็นเหตุสิ้นอาสวะ. เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เหล่าอาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ
นี้ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจาก
กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี ดูกรพราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่
ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทั้งไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความ
ขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มี
ความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว.
การสร้างศาลาสงฆ์
[๖๔๔] เมื่อท่านพระอุเทนกล่าวอย่างนี้แล้ว โฆฏมุขพราหมณ์ ได้กล่าวกะท่านพระ-
*อุเทนว่า ข้าแต่ท่านอุเทน ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านอุเทน ภาษิตของท่านแจ่มแจ้ง
นัก ท่านอุเทนประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น
ข้าพเจ้านี้ ขอถึงท่านอุเทนกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านอุเทนทรงจำข้าพเจ้า
ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
อุ. ดูกรพราหมณ์ ท่านอย่าได้ถึงอาตมาเป็นสรณะเลย เชิญท่านถึงพระผู้มีพระภาคที่
อาตมาถึงเป็นสรณะเป็นสรณะเถิด.
โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน เดี๋ยวนี้ ท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับอยู่ที่ไหน?
อุ. ดูกรพราหมณ์ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสด็จ
ปรินิพพานเสียแล้ว.
โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน ถ้าแหละข้าพเจ้าพึงได้ฟังว่า ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ประทับ
อยู่ในหนทางแม้ ๑๐ โยชน์ ข้าพเจ้าก็พึงไปเฝ้าท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แม้สิ้นหนทาง ๑๐ โยชน์ ถ้าแหละข้าพเจ้าพึงได้ฟังว่า ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ประทับอยู่
ในหนทาง ๒๐ โยชน์ ... ๓๐ โยชน์ ... ๔๐ โยชน์ ... ๕๐ โยชน์ ... แม้ ๑๐๐ โยชน์ ข้าพเจ้าก็
พึงไปเฝ้าท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นหนทาง ๑๐๐ โยชน์ แต่ว่า
ท่านพระโคดมพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงท่านพระโคดมพระองค์นั้น
แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะ ขอท่านอุเทนทรงจำ
ข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อนึ่ง มีเบี้ยเลี้ยงประจำ ที่
พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานแก่ข้าพเจ้าทุกวัน ข้าพเจ้าขอถวายส่วนหนึ่งจากเบี้ยเลี้ยงประจำ
นั้นแก่ท่านอุเทน.
[๖๔๕] อุ. ดูกรพราหมณ์ ก็พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานอะไรเป็นเบี้ยเลี้ยง
ประจำทุกวันแก่ท่าน?
โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานกหาปณะ ๕๐๐ เป็นเบี้ยเลี้ยง
ประจำแก่ข้าพเจ้า.
อุ. ดูกรพราหมณ์ การรับทองและเงิน ไม่สมควรแก่อาตมาทั้งหลาย.
โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน ถ้าทองและเงินนั้นไม่สมควร ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหารถวาย
ท่านอุเทน.
อุ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าแลท่านปรารถนาจะให้สร้างวิหารถวายอาตมา ก็ขอให้สร้างโรง
เลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตรเถิด.
โฆ. ด้วยข้อที่ท่านอุเทนชักชวนข้าพเจ้าในสังฆทานนี้ ข้าพเจ้ามีใจชื่นชมยินดีเหลือ
ประมาณ ข้าแต่ท่านอุเทน ข้าพเจ้าจะให้สร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร ด้วย
เบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ด้วย ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนอื่นด้วย.
ครั้งนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์ให้จัดสร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร ด้วย
เบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ และส่วนอื่น โรงเลี้ยงนั้น เดี๋ยวนี้เรียกว่าโฆฏมุขี ฉะนี้แล.
จบ โฆฏมุขสูตร ที่ ๔.
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๙๙๑๕ - ๑๐๑๙๓. หน้าที่ ๔๓๓ - ๔๔๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=9915&Z=10193&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=630
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_13
-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=9915&Z=10193-
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=9915&Z=10193
.
การทำตนให้เดือดร้อน ทั้งไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำให้ผู้อื่น
เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่มีความหิว ดับสนิท
เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว เป็นไฉน ดูกรพราหมณ์
พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว
เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย
พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์
พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง. คฤหบดีก็ดี บุตรคฤหบดีก็ดี หรือบุคคล
ผู้เกิดภายหลังในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ได้ฟังธรรมนั้น ครั้นได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้ศรัทธา
ในพระตถาคต เขาประกอบด้วยศรัทธานั้น ย่อมเห็นตระหนักชัดว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทาง
มาแห่งกิเลสธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์
ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัดแล้ว ไม่ใช้ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและ
หนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด. สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่
ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต.
ผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ
[๖๓๘] เมื่อเขาบวชแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาและอาชีพเสมอด้วยภิกษุ
ทั้งหลาย เป็นผู้ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย
มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ละการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย มีตน
สะอาดอยู่ ละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้น
จากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละมุสาวาท เว้นขาดจากมุสาวาท พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์
พูดเป็นหลักฐานควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจาก
ข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอก
ข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าว สมานคนที่แตกร้าวกันบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกัน
บ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน
กล่าวแต่คำที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำไม่มีโทษ
เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้น
ขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดคำจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมี
หลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร เธอเป็นผู้เว้นขาด
จากการพรากพืชคามและภูตคาม เป็นผู้ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดการฉันในเวลาวิกาล
เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง การประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เป็น
ผู้เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิว
อันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจาก
การรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญชาติดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการ
รับสตรีและกุมารี เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส เว้นขาดจากการับแพะและแกะ เว้นขาด
จากการรับไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับ ช้าง โค ม้าและลา เว้นขาดจากการรับนาและที่ดิน
เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการซื้อและการขาย เว้นขาดจากการ
ฉ้อโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน
การล่อลวงและการตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ ตีชิง การปล้น และกรรโชก.
เธอเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง จะไปทาง
ทิศาภาคใดๆ ก็ถือเอาไปได้เอง. เปรียบเหมือนนก จะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของ
ตัวเป็นภาระบินไปฉะนั้น. เธอประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่มี
โทษเฉพาะตน. เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่เป็นผู้ยึดถือนิมิต ไม่ยึดถืออนุพยัญชนะ ย่อม
ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ
อภิชฌา และโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง
ด้วยหู ... สูดกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้ธรรมารมณ์
ด้วยใจแล้ว ไม่เป็นผู้ยึดถือนิมิต ไม่ยึดถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อ
ไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่า
รักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์. เธอประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นของพระอริยะ
นี้ ย่อมได้เสวยสุขอันบริสุทธิ์ เฉพาะตน. เธอเป็นผู้กระทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป ในการ
ถอยกลับ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ย่อมทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า ใน
เหยียดออก ย่อมทำความรู้สึกในการทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ย่อมทำความรู้สึกตัวในการฉัน
ในการดื่ม ในการเคี้ยว ในการลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำ
ความรู้สึกตัวในการเดิน ในการยืน ในการนั่ง ในการหลับ ในการตื่น ในการพูด ในการนิ่ง.
[๖๓๙] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอริยะด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็น
ของพระอริยะ และด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นของพระอริยะเช่นนี้ ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาต
ในเวลาภายหลังภัต นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความโลภ คือ
อภิชฌา มีใจปราศจากความโลภอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความประทุษร้าย คือ
พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะ ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมาย
อยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะ
เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉา
ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา.
ฌาน ๔
[๖๔๐] ภิกษุนั้น ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพล
เหล่านี้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข
เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัม-
*ปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.
ญาณ ๓
[๖๔๑] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ. เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง
๒ ชาติบ้าง ๓ ชาติบ้าง ๔ ชาติบ้าง ๕ ชาติบ้าง ๑๐ ชาติบ้าง ๒๐ ชาติบ้าง ๓๐ ชาติบ้าง
๔๐ ชาติบ้าง ๕๐ ชาติบ้าง ๑๐๐ ชาติบ้าง ๑,๐๐๐ ชาติบ้าง ๑๐๐,๐๐๐ ชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัป
เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น
เราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพ
นั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
เสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอ
ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
[๖๔๒] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ... ถึงความไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย. เธอเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์
ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต ฯลฯ ติเตียนพระ-
*อริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป จึงต้องเข้าถึงอบาย
ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านั้นประกอบด้วยกายสุจริต ฯลฯ ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็น
สัมมาทิฏฐิ ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป ได้เข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์
เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม
ด้วยประการฉะนี้.
[๖๔๓] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ ... ถึงความไม่หวั่นไหวแล้วอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อม
จิตไปเพื่อญาณเป็นเหตุสิ้นอาสวะ. เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย
นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เหล่าอาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ
นี้ข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจาก
กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกมิได้มี ดูกรพราหมณ์ บุคคลนี้เรียกว่า ผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่
ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ทั้งไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความ
ขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มี
ความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันเทียว.
การสร้างศาลาสงฆ์
[๖๔๔] เมื่อท่านพระอุเทนกล่าวอย่างนี้แล้ว โฆฏมุขพราหมณ์ ได้กล่าวกะท่านพระ-
*อุเทนว่า ข้าแต่ท่านอุเทน ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านอุเทน ภาษิตของท่านแจ่มแจ้ง
นัก ท่านอุเทนประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น
ข้าพเจ้านี้ ขอถึงท่านอุเทนกับทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านอุเทนทรงจำข้าพเจ้า
ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
อุ. ดูกรพราหมณ์ ท่านอย่าได้ถึงอาตมาเป็นสรณะเลย เชิญท่านถึงพระผู้มีพระภาคที่
อาตมาถึงเป็นสรณะเป็นสรณะเถิด.
โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน เดี๋ยวนี้ ท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ประทับอยู่ที่ไหน?
อุ. ดูกรพราหมณ์ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น เสด็จ
ปรินิพพานเสียแล้ว.
โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน ถ้าแหละข้าพเจ้าพึงได้ฟังว่า ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ประทับ
อยู่ในหนทางแม้ ๑๐ โยชน์ ข้าพเจ้าก็พึงไปเฝ้าท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
แม้สิ้นหนทาง ๑๐ โยชน์ ถ้าแหละข้าพเจ้าพึงได้ฟังว่า ท่านพระโคดมพระองค์นั้น ประทับอยู่
ในหนทาง ๒๐ โยชน์ ... ๓๐ โยชน์ ... ๔๐ โยชน์ ... ๕๐ โยชน์ ... แม้ ๑๐๐ โยชน์ ข้าพเจ้าก็
พึงไปเฝ้าท่านพระโคดมอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น แม้สิ้นหนทาง ๑๐๐ โยชน์ แต่ว่า
ท่านพระโคดมพระองค์นั้น เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพเจ้าขอถึงท่านพระโคดมพระองค์นั้น
แม้เสด็จปรินิพพานแล้ว กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะ ขอท่านอุเทนทรงจำ
ข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป อนึ่ง มีเบี้ยเลี้ยงประจำ ที่
พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานแก่ข้าพเจ้าทุกวัน ข้าพเจ้าขอถวายส่วนหนึ่งจากเบี้ยเลี้ยงประจำ
นั้นแก่ท่านอุเทน.
[๖๔๕] อุ. ดูกรพราหมณ์ ก็พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานอะไรเป็นเบี้ยเลี้ยง
ประจำทุกวันแก่ท่าน?
โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน พระเจ้าอังคราชโปรดพระราชทานกหาปณะ ๕๐๐ เป็นเบี้ยเลี้ยง
ประจำแก่ข้าพเจ้า.
อุ. ดูกรพราหมณ์ การรับทองและเงิน ไม่สมควรแก่อาตมาทั้งหลาย.
โฆ. ข้าแต่ท่านอุเทน ถ้าทองและเงินนั้นไม่สมควร ข้าพเจ้าจะให้สร้างวิหารถวาย
ท่านอุเทน.
อุ. ดูกรพราหมณ์ ถ้าแลท่านปรารถนาจะให้สร้างวิหารถวายอาตมา ก็ขอให้สร้างโรง
เลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตรเถิด.
โฆ. ด้วยข้อที่ท่านอุเทนชักชวนข้าพเจ้าในสังฆทานนี้ ข้าพเจ้ามีใจชื่นชมยินดีเหลือ
ประมาณ ข้าแต่ท่านอุเทน ข้าพเจ้าจะให้สร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร ด้วย
เบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ด้วย ด้วยเบี้ยเลี้ยงประจำส่วนอื่นด้วย.
ครั้งนั้นแล โฆฏมุขพราหมณ์ให้จัดสร้างโรงเลี้ยงถวายแก่สงฆ์ในเมืองปาตลีบุตร ด้วย
เบี้ยเลี้ยงประจำส่วนนี้ และส่วนอื่น โรงเลี้ยงนั้น เดี๋ยวนี้เรียกว่าโฆฏมุขี ฉะนี้แล.
จบ โฆฏมุขสูตร ที่ ๔.
-----------------------------------------------------
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ บรรทัดที่ ๙๙๑๕ - ๑๐๑๙๓. หน้าที่ ๔๓๓ - ๔๔๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=9915&Z=10193&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=630
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๓ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_13
-http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=9915&Z=10193-
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=13&A=9915&Z=10193
.