บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
-http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57&p=1#ปุพฺพูปนิสฺสยสมฺปตฺติกถาวณฺณนา-
อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหานิทานสูตร
ปฏิจฺจสมุปฺปาทวณฺณนา
บัดนี้ เพราะสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มด้วยบททั้งสองนี้แลว่า
ดูก่อนอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นของลึกซึ้งและสัตว์ทั้งหลายเกิดเป็นผู้ยุ่งดุจด้ายของช่างหูก ดังนี้ ฉะนั้น เมื่อทรงปรารภเทศนาเพื่อเห็นความลึกซึ้งของปัจจยาการโดยสืบเนื่องนี้ก่อนว่า ดูก่อนอานนท์ ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นของลึกซึ้ง จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ชราและมรณะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัยดังนี้.
ปัจจัยแห่งชราและมรณะนี้ ชื่อ อิทัปปัจจัย (มีสิ่งนี้เป็นปัจจัย) เพราะฉะนั้น ชราและมรณะจึงมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย
ดูก่อนอานนท์ มีบุคคลผู้เป็นบัณฑิตถามแล้วอย่างนี้ว่า ปัจจัยของชราและมรณะมีอยู่หรือ ชราและมรณะพึงมีสิ่งใดเป็นปัจจัย ไม่ควรปฏิบัติโดยอาการที่พึงเป็นผู้นิ่งต่อปัญหา เพราะเมื่อมีผู้กล่าวว่า นั่นชีวะ นั่นสรีระ แล้วควรกำหนดไว้ หรือควรจะกล่าวว่าข้อนี้พระตถาคตไม่ทรงพยากรณ์ ดังนี้ ฉะนั้น ควรกล่าวแก่เขาว่า มีโดยส่วนเดียวเท่านั้น เหมือนอย่างเมื่อมีผู้กล่าวว่า จักษุเที่ยง หรือไม่เที่ยง ควรกล่าวโดยส่วนเดียวเท่านั้นว่าไม่เที่ยง เมื่อมีผู้กล่าวอีกว่า ชราและมรณะมีอะไรเป็นปัจจัย ชราและมรณะย่อมมีเพราะปัจจัยอะไร ดังนี้ ควรกล่าวแก่เขาดังนี้ว่า ชราและมรณะมีชาติเป็นปัจจัย อธิบายว่า ควรกล่าวอย่างนี้
ในบททั้งหมด มีนัยอย่างนี้
ก็บทนี้ว่า ผัสสะ มีนามรูปเป็นปัจจัย เพราะเมื่อกล่าวว่ามีสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นอันรับสัมผัสอันเป็นผล ๖ มีจักษุสัมผัสเป็นต้น แต่ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะแสดงความวิเศษของปัจจัยที่เกิดขึ้นรับบ้าง ไม่รับบ้าง ด้วยบทนี้ว่า มีสฬายตนะเป็นปัจจัย ดังนี้ และปัจจัยอันวิเศษ แม้อย่างอื่นของผัสสะ มากเกินกว่าสฬายตนะ ฉะนั้น พึงทราบว่าพระองค์ตรัสไว้แล้ว
ถามว่า ก็ด้วยวาระนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอะไรไว้
ตอบว่า ตรัสเหตุแห่งปัจจัยทั้งหลายไว้
จริงอยู่ พระสูตรนี้ท่านกล่าวว่า มหานิทาน เพราะกระทำปัจจัยทั้งหลาย ให้ไม่มีปัจจัย ไม่ให้มีความพัวพัน ไม่ให้มีกอแล้ว จึงกล่าวไว้ บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงความเป็นปัจจัยเหล่านั้น เป็นปัจจัยแท้จริง ไม่เป็นอย่างอื่น จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ชราและมรณะ มีชาติเป็นปัจจัย เรากล่าวอธิบายคำนี้ไว้ด้วยประการดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปริยาเยน คือ โดยเหตุ. บทว่า สพฺเพน สพฺพํ สพฺพถา สพฺพํ (ทั่วทุกหนแห่ง) ทั้งสองบทนี้เป็นนิบาต อธิบายบทนั้นว่า ผิว่า ชื่อว่าชาติทั้งหมด ไม่พึงมีโดยอาการทั้งหมด ไม่พึงมีโดยสภาวะทั้งหมดดังนี้ แม้ในภพเป็นต้น พึงทราบโดยนัยนี้แล.
บทว่า กสฺสจิ นี้ เป็นคำไม่แน่นอน คือ แก่ใครๆ ในเทวโลกเป็นต้น แม้บทนี้ว่า กิมฺหิจิ ก็เป็นคำไม่แน่นอนเหมือนกัน คือ ในที่ไหนๆ ในภพทั้ง ๙ มี กามภพเป็นต้น.
บทว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต ในอรรถว่า กำหนดในความไม่แน่นอน และขยายความย่อออกไป บทนั้นมีอธิบายว่า เราจักขยายความแห่งบทที่เรากล่าวไว้แก่ใครๆ ในที่ไหนๆ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขยายความนั้น จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เพื่อความเป็นเทวดาแห่งพวกเทวดา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เพื่อความเป็นเทวดาแห่งเทวดาทั้งหลาย พวกเทวดาท่านกล่าวว่า เทวา โดยกำเนิดของขันธ์เพื่อความเป็นเทวดาแห่งเทวดาทั้งหลาย พึงทราบความในบททั้งปวงโดยนัยนี้แลว่า ก็หากว่า ชาติจักไม่มีทั่วไปทุกหนแห่ง ดังนี้ ก็ในบทเหล่านี้บทว่า เทวา คือ อุปปัตติเทพ (ผุดเกิดขึ้น). บทว่า คนฺธพฺพา คือ เทวดาที่สิงอยู่ตามโคนไม้และต้นไม้ เป็นต้น. บทว่า ยกฺขา คือ พวกอมนุษย์. บทว่า ภูตา คือ สัตว์ที่เกิดแล้วพวกใดพวกหนึ่ง. บทว่า ปกฺขิโน คือ นกพวกใดพวกหนึ่ง มีกระดูกเป็นปีกก็ดี มีหนังเป็นปีกก็ดี มีขนเป็นปีกก็ดี. บทว่า สิรึสปา คือ สัตว์พวกใดพวกหนึ่ง เลื้อยคลานไปบนแผ่นดิน. บทว่า เตสํ เตสํ คือ บรรดาเทวดาและคนธรรพ์เป็นต้นเหล่านั้นๆ. บทว่า ตถตฺตาย คือ เพื่อความเป็นเทวดาและคนธรรพ์เป็นต้น. บทว่า ชาตินิโรธา ความว่า เพราะปราศจากชาติ เพราะไม่มีชาติ.
แม้บททั้งหมดมีอาทิว่า เหตุดังนี้เป็นไวพจน์ของเหตุนั้นแล. จริงอยู่ เพราะเหตุ ย่อมปรารถนา ย่อมเป็นไป เพื่อต้องการผลของตน ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เหตุดังนี้ เพราะมอบผลนั้นให้ดุจมอบให้ด้วยคำว่า ท่านทั้งหลายจงรับผลนี้นั้นเถิด ดังนี้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวนิทาน เพราะผลย่อมตั้งขึ้น คือย่อมเกิดขึ้นจากเหตุนั้นและอาศัยเหตุนั้น ย่อมถึง คือย่อมเป็นไป ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สมุทัย และปัจจัย ดังนี้ ในบททั้งหมดมีนัยนี้ อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า ยทิทํ ในบทนี้ว่า ยทิทํ ชาติ ดังนี้เป็นนิบาต พึงทราบความแห่งนิบาตนั้นโดยอนุรูปแก่ลิงค์ในบททั้งหมด ก็ในที่นี้มีอธิบายบทนี้อย่างที่ว่า ยา เอสา ดังนี้ จริงอยู่ ความเกิดแห่งชราและมรณะ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งที่สุดของอุปนิสัย.
ท่านกระทำการกำหนดโอกาสในบทแห่งภพด้วยบทนี้ว่า กิมฺหิจิ (ในภพไหนๆ) ในบทนั้นพึงทราบว่า กามภพ ในภายใน กระทำที่สุดอเวจีในเบื้องต่ำ กระทำเทวโลกชั้นปรนิมมิตวสวัดดีในเบื้องบน ในอุปปัตติภพก็มีนัยนี้ แต่ในบทนี้ควรเป็นกรรมภพ เพราะกรรมภพนั้นเป็นปัจจัยแห่งที่สุดของอุปนิสัยของชาติ แม้ในบทแห่งอุปาทานเป็นต้น พึงทราบว่าท่านกระทำการกำหนดโอกาสด้วยบทนี้ว่า กิมฺหิจิ ดังนี้
ในบทว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพนี้ ความว่า กามุปาทานเป็นปัจจัยแห่งกรรมภพ ๓ และอุปปัตติภพ ๓ แม้บทที่เหลือก็อย่างนั้น พึงทราบภพ ๒๔ มีอุปาทานเป็นปัจจัย กรรมภพ ๑๒ ย่อมได้ในบทนี้โดยตรง อุปาทานแห่งกรรมภพเหล่านั้น เป็นปัจจัยแห่งที่สุดของสหชาตบ้าง แห่งที่สุดของอุปนิสัยบ้าง.
บทว่า รูปตณฺหา คือ ความอยากในรูปารมณ์ ในสัททตัณหาเป็นต้น ก็มีนัยนี้ ก็ตัณหานี้นั้นย่อมเป็นปัจจัย แห่งที่สุดของสหชาตบ้าง แห่งที่สุดของอุปนิสัยบ้าง ของอุปาทาน.
ในบทว่า ปัจจัยแห่งตัณหา ก็คือเวทนานี้ ความว่า วิบากเวทนา ย่อมเป็นปัจจัยแห่งที่สุดของอุปนิสัยของตัณหา เวทนาอย่างอื่นก็เป็นปัจจัยแม้โดยประการอื่น.
ก็ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงตัณหาเบื้องต้นอันมีวัฏฏะเป็นมูล บัดนี้เ มื่อจะทรงแสดงถึงตัณหาอันเป็นความฟุ้งสร้าน ด้วยบททั้งหลาย ๙ ดุจบุคคลทุบที่หลัง หรือจับที่ผมแล้วผลักคนที่กำลังร้องขอชีวิตออกจากทาง จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ด้วยประการดังนี้แล คำนี้ คือเพราะอาศัยเวทนาจึงเกิดตัณหาดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ตณฺหา ความว่า ตัณหามี ๒ อย่าง คือ เอสนาตัณหาและเอสิตตัณหา บุคคลเดินไปสู่ทางแพะและทางขวากเป็นต้นแล้ว เสาะแสวงหาโภคะทั้งหลายด้วยตัณหาใด ตัณหานี้ชื่อเอสนาตัณหา ตัณหาใดแม้เมื่อบุคคลเสาะแสวงหาได้แล้ว ตัณหานี้ก็ชื่อว่าเอสิตตัณหา แม้ทั้งสองคำนั้นก็เป็นชื่อของตัณหาอันเป็นความฟุ้งซ่านนั้นเอง เพราะฉะนั้น ตัณหา ๒ อย่างนี้ อาศัยเวทนาจึงชื่อว่าเกิดตัณหา.
บทว่า ปริเยสนา คือ การแสวงหาอารมณ์มีรูปเป็นต้น เพราะว่า การแสวงหานั้นย่อมเป็นการระลึกถึงตัณหา.
บทว่า ลาโภ คือ การได้อารมณ์มีรูปเป็นต้น เพราะว่า การได้นั้นย่อมเป็นการระลึกด้วยการแสวงหา.
.. อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหานิทานสูตร
อ่าน อรรถกถาหน้าต่างที่ [หน้าสารบัญ] [๑] [๒]
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=1455&Z=1887- -- ---- ----------------------------------------------------------------------------
บันทึก ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
-http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=57&p=1#ปุพฺพูปนิสฺสยสมฺปตฺติกถาวณฺณนา-
.