ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: ธันวาคม 01, 2012, 03:41:41 pm »

จิตเห็นจิตที่มีกิเลส
ปกติแล้วในแต่ละวันจะต้องเกิดจิตที่มีกิเลส (จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ) อยู่ตลอดเวลา เช่น หากมีใครมาพูดอะไรไม่ถูกใจก็โกรธ (เกิดจิตมีโทสะ) หรือเมื่อตาไปมองเห็นรูปสวย ๆ เข้าของถูกใจเข้าก็พอใจ ติดใจ (เกิดจิตมีราคะ)
เมื่อเกิดจิตที่มีกิเลสขึ้นแล้ว หากเป็นคนทั่วไปที่ไม่ได้หัดดูจิตที่มีกิเลสมาก่อน จิตที่มีกิเลสก็มักจะต่อเนื่องกันไปนานทีเดียว ยิ่งเกิดนานก็ยิ่งทำให้มีโอกาสในการทำชั่วมากขึ้น ยิ่งเกิดนานก็ยิ่งทำให้จิตหม่นหมอง จนแทบจะหาเวลาที่จิตจะปราศจากกิเลสไม่ได้เลย
จิตที่ถูกกิเลสครอบงำหรือครอบครองอยู่บ่อย ๆ นี่เอง ที่ทำให้จิตไม่สามารถจะแจ่มแจ้งความจริงว่า อะไรเป็นทุกข์, อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์, อะไรเป็นการพ้นจากทุกข์, อะไรเป็นทางให้พ้นทุกข์ (ไม่แจ่มแจ้ง อริยสัจ)
เมื่อไม่แจ่มแจ้ง จิตก็จะยังเกิดดับอยู่อย่างเป็นทุกข์ต่อไป และหากจิตเกิดพลาดพลั้งไปทำชั่วตามอำนาจกิเลสที่ครอบงำอยู่ ต่อไปภายหน้าก็ต้องรับผลกรรมชั่วที่ทำไว้ ให้ต้องเดือดเนื้อร้อนใจไปไม่มีที่สิ้นสุด
ดังนั้น ผู้ที่มีโอกาสได้เจอะเจอพระพุทธศาสนา ก็ไม่ควรละเลยที่จะ "หัดดูจิตที่มีกิเลส" ไม่ใช่เอาแต่เกลียดหรือไม่ชอบจิตที่มีกิเลส แล้วก็เอาแต่พยายามหาทางป้องกันไม่ให้เกิดกิเลส เพราะการพยายามหาทางป้องกันไม่ให้กิเลสเกิดขึ้นนั้น ไม่มีใครเลยที่จะสามารถทำได้อย่างแท้จริง ผู้ที่จิตท่านได้พ้นไปจากการครอบงำของกิเลสได้อย่างแท้จริงนั้น ท่านพ้นไปได้ด้วยการหัดดูจิตที่มีกิเลสกันทั้งนั้น
การหัดดูจิตที่มีกิเลสนั้น ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร (เช่นเดียวกับที่หัดสังเกตุว่า หลงไป นั่นเอง คือ เมื่อใดเกิดจิตที่มีกิเลสให้รู้ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดจิตมีโทสะขึ้น ก็ไม่ต้องพยายามกดข่ม ไม่ต้องคิดหาเหตุผลกลบเกลื่อนให้โทสะดับไป แต่ให้หัดสังเกตุว่า จิตหลงไปรู้อยู่ในความโกรธ, หลงไปรู้อยู่ในความคิด, หลงไปรู้อยู่ในเรื่องราวที่ทำให้โกรธ หรือหัดสังเกตุแค่ว่า จิตมีโทสะ ก็ได้
แต่ต้องหัดสังเกตุเบา ๆ สบาย ๆ ไม่เอาชนะโทสะ ไม่เพ่งจ้องไปทีโทสะ ไม่จัดการอะไรกับโทสะ เปรียบเหมือนกันหัดสังเกตุไปแบบเป็นคนดูละครไม่ใช่นักแสดง ผู้กำกับ นักพากษ์ และนักวิจารณ์ การหัดสังเกตุไปอย่างเบา ๆ สบาย ๆ ไม่เอาชนะ ไม่เพ่งจ้อง ไม่จัดการ ก็คือ การหัดดูจิตเป็นอย่างไรนั่นเอง
การหัดสังเกตุจิตที่มีโทสะแบบเบา ๆ สบาย ๆ ไม่เอาชนะ ไม่เพ่งจ้อง ไม่จัดการ นี้ ในเบื้องต้นก็เพื่อให้เกิดสติ หรือให้รู้สึกตัวขึ้นมา (ขณะที่จิตกำลังมีโทสะ ไม่มีสติ ไม่รู้สึกตัว)
การเกิดสติหรือรู้สึกตัวขึ้น ก็คือ เกิดจิตดวงใหม่ที่รู้สึกได้ว่า เมื่อกี้จิตมีโทสะ (จิตมีโทสะเพิ่งดับไปสด ๆ ร้อน ๆ) ดังนั้น จิตเห็นจิตในเบื้องต้นก็คือ ขณะที่เกิดรู้สึกตัว หรือเกิดขณะที่เกิดสติขึ้นนั่นเอง
หากหัดดูจิตที่มีเกิดเลสเแล้ว แต่จิตที่มีกิเลสไม่ดับลง ก็ให้วางใจยอมรับสภาวะที่กำลังเป็นอยู่ว่า ยังไง ๆ จิตก็ต้องมีกิเลส (เพราะยังไม่ใช่พระอรหันต์) และไม่ต้องพยายามทำให้จิตที่มีกิเลสดับลงไป เพียงแค่รู้ว่าจิตมีกิเลสไปเท่านั้น (แค่ดูจิตที่มีกิเลสอยู่เท่านั้น) แล้วก็อย่าพยายามทำให้รู้สึกตัว หรือทำให้เกิดสติขึ้นมา เพราะความรู้สึกตัวที่แท้จริง หรือสติที่แท้จริงนั้น ต้องเกิดขึ้นเองโดยปราศจากการจงใจทำให้เกิด หากเกิดเพราะการจงใจทำให้เกิด จะเป็นความรู้สึกตัวปลอม ๆ เป็นสติปลอม ๆ เท่านั้น เมื่อเป็นสติปลอม ๆ ก็จะใช้ในการเจริญปัญญาต่อไปไม่ได้

คัดลอกจาก บันทึกดูจิตตอน จิตเห็นจิต (สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา)
ธรรมรักษา ท่านผู้เจริญในธรรมทุกท่าน อนุโมทนาค่ะ

.....................................................
กายอ่อนน้อม ใจระลึกถึงพระคุณ
เปิดตาให้รับแสงแห่งพระธรรม เปิดหูให้ได้ยินเสียงสำเนียงธรรม เปิดปากพูดจาสนทนาธรรม


ขอบพระคุณที่มาจากhttp://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=39884