ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2012, 11:30:57 pm »

 :13: อนุโมทนาครับพี่หนุ่ม
ถึง@ทามะ เพื่อนต้องกดลิ้งค์สุดท้าย เชื่อมไปยังภาพจะเห็นชัดเจนครับ
สาธุครับพี่หนุ่ม

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2012, 11:22:40 pm »

.

-http://www.google.co.th/#hl=th&spell=1&q=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81+%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%82&sa=X&ei=1h6GUOatEoGNrgfGgYH4Aw&ved=0CB0QvwUoAA&bav=on.2,or.r_gc.r_pw.r_qf.&fp=ddd490a8592615ff&bpcl=35466521&biw=1016&bih=569-

พุทธอุทยานธรรมโกศล ตอนปฐมสมภารวัดสาลีโข

บทความพระเครื่อง เขียนโดย romulus

-http://www.web-pra.com/Article/Show/1356-


พระครูธรรมโกศล(หลวงปู่เผือก) ปฐมสมภารวัดสาลีโข จ.นนทบุรี


รูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงปู่เผือก ภายในพุทธอุทยาน

วันนี้(10 ก.พ. 2551ไปทำบุญที่พุทธอุทยานธรรมโกศล จังหวัดปทุมธานีครับ หลวงพ่อสมภพท่านได้เมตตาเล่าประวัติของ ท่านพระครูธรรมโกศล หรือหลวงปู่เผือก ให้ลูกศิษย์ที่มากราบนมัสการท่านฟังอาจมีหลายท่านเคยอ่านประวัติของหลวงปู่เผือกผ่านทางสื่อต่างๆ เช่นหนังสือ หรือคำบอกเล่า ครั้งนี้ได้มีโอกาสรับฟังจากหลวงพ่อเลยขอจดบันทึกไว้เพื่อระลึกถึงความมีเมตตาของท่านครับ


หลวงปู่เผือก เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือนอ้าย (ปีชวด พ.ศ.2299) เป็นชาวกรุงศรีอยุธยา บิดาเป็นชาวจีนที่เดินทางเข้ามาประกอบอาชีพค้าขายในประเทศไทย ส่วนมารดาเป็นคนไทย หลวงปู่เผือกบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดพุทไธสวรรย์ สมัยนั้นความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนไทยมีมาก หลวงปู่เผือกท่านจึงได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม ควบคู่ไปกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนแตกฉานตั้งแต่เป็นสามเณรครับ


รูปหล่อหลวงปู่เผือก(ขนาดใหญ่) ประดิษฐานบนเนิน ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์

ก่อนกรุงศรีอยุธยาจะแตก
โยมบิดามารดาของหลวงปู่เผือกได้อพยพหลบภัยสงครามจากรุงศรีอยุธยาหลวงปู่เผือกที่ขณะนั้นยังเป็นสามเณรได้ติดตามมาคอยดูแลโยมบิดามารดาพร้อมกลุ่มผู้อพยพจนมาถึงบริเวณสุดแนวโค้งของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับเกาะเกร็ดกลุ่มผู้อพยพจึงได้ตั้งหลักแหล่งพักอาศัยทำมาหากิน ในบริเวณดังกล่าวมีสำนักสงฆ์เก่าแก่อยู่แห่งหนึ่ง
สามเณรเผือกจึงได้จำพรรษาในสำนักสงฆ์นั้น ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวัดสาลีโข
ในปัจจุบันนี้

ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงขับไล่พม่าออกไปจากประเทศไทยได้สำเร็จและทรงตั้งกรุงธนบุรีขึ้นเป็นเมืองหลวงสามเณรเผือกจึงได้เดินทางย้อนกลับไปกรุงศรีอยุธยา เพื่อศึกษาวิชาการต่อพออายุท่านครบบวช ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดป่าแก้วซึ่งเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น7 ค่ำ เดือน8 ปีมะแม จ.ศ.1138
(พ.ศ.2319) ได้รับฉายาว่าธัมมะโกศลเวลาออกพรรษาหลวงปู่เผือกท่านชอบออกธุดงควัตรเสมอจนทำให้ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านกรรมฐานและมีวิชาอาคมแก่กล้าเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไปถึงแม้ท่านจะมีอายุไม่มากนัก(สหธรรมมิกของท่านที่มีชื่อเสียงคือ สมเด็จพระสังฆราช สุกไก่เถื่อน)

สมัยรัชการที่ 1 หลวงปู่เผือกท่านมีชื่อเสียงมากและโด่งดังเข้าไปถึงหูของบรรดาขุนนางเจ้านายในวัง ต่างมากันมาหาท่านเพื่อขอวัตถุมงคลหรือขอให้ท่านลงอักขระเพื่อความเป็นมงคลหรือต้องการหนังเหนียวว่ากันว่าท่านทำได้ขลังนักทำให้มีลูกศิษย์มาขึ้นกับท่านมาก เรียกว่าในช่วงนั้นวัดสาลีโขเจริญรุ่งเรืองสุดขีด

สมัยรัชการที่4 หลวงปู่เผือกได้รับพระราชทานพระราชทินนามว่า พระครูธรรมโกศลตำแหน่งสังฆปาโมกข์ฝ่ายอรัญวาสีแขวงนนทบุรี และเป็นเจ้าคณะเมืองนนทบุรีหลวงปู่เผือกได้รับพระราชทานเรือกันยาหลังคาแดงมีฝีพายเต็มอัตราเป็นเรือประจำตำแหน่งสำหรับออกตรวจคณะสงฆ์ในเขตปกครอง หลวงปู่เผือกละสังขารในสมัยรัชการที่ 4 พ.ศ.2405 สิริอายุรวม 106 ปีครับ

อะระหัง สุคะโต ภะคะวา
หลวงพ่อสมภพท่านบอกว่าให้ภาวนาอย่าขาดครับสามารถคุ้มครองและเป็นสิริมงคลกับตัวครับ

บทความโดย ศิษย์กวง

.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2012, 11:21:55 pm »

ประวัติ หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง
-http://www.itti-patihan.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1-%E0%B8%9B%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87.html-


ประวัติ หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง

 

หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม ( อ่านว่า ปะถะมะนามะ หรือ ปถมนาม ) เกิดในรัชกาลที่ ๒ เมื่อปีฉลู พ.ศ. 2359 เป็นบุตรนายนาค นางจันทร์ โดยมีพี่น้องท้องเดียวกัน รวมด้วยกัน 4 คน คือ
1. หลวงปู่เอี่ยม
2. นายฟัก
3. นายขำ
4. นางอิ่ม

บ้านเกิดของหลวงปู่เอี่ยมอยู่ที่ตำบลบานแหลมใหญ่ ฝั่งใต้ ข้างวัดท้องคุ้ง อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๑ อายุท่านได้ ๒๒ ปี ได้อุปสมบท ที่วัดบ่อ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด (วัดบ่อนี้อยู่คิดกับตลาดในท่าน้ำปากเกร็ด) ท่านอุปสมบท ได้ประมาณหนึ่งเดือน ท่านก็ได้ย้ายไปประจำพรรษาอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร ธนบุรีซึ่งในขณะนั้นพระพิมลธรรมพร เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งย้ายมาจากวัดราชบูรณะ พระนคร หลวงปู่เอี่ยมท่านได้ศึกษาพระปริยัติธรรม และแปลพระธรรมบทอยู่ที่วัดนี้อยู่ได้ถึง ๗ พรรษาท่านจึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดประยูรวงศาวาส

เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๘ อยู่วัดประยูรวงศาวาสได้ ๓ พรรษา ถึงปี พ.ศ. ๒๓๘๙๑ นายแขก สมุห์บัญชีได้นิมนต์หลวงปู่เอี่ยม ไปจำพรรษาเจริญพระกัมมัฏฐานเป็นเริ่มแรก และได้ศึกษาอยู่ ๕ พรรษา ถึงปี ๒๓๙๖ ญาติโยมพร้อมด้วยชาวบ้านภูมิลำเนาเดิมในคลองแหลมใหญ่ (ซึ่งปัจจุบันนี้ คือคลองพระอุดม) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้เดินทางมา อาราธนานิมนต์หลวงปู่เอี่ยม กลับไปปกครองวัดสว่างอารมณ์ หรือวัดสะพานสูง ในปัจจุบันนี้

สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์เดิมมาเป็นชื่อวัดสะพานสูงนั้น มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยนั้นสมเด็จกรมพระยาวชิญาณวโรรส ท่านได้เสร็จไปตรวจการคณะสงฆ์ได้เสด็จขึ้นที่วัดสว่างอารมณ์นี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองวัด (คลองพระอุดมปัจจุบันนี้)

ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกวัดสว่างอารมณ์นี้ว่า วัดสะพานสูง จึงทำให้วัดนี้มีชื่อเรียกกัน ๒ ชื่อ ฉะนั้น สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเห็นว่า สะพานสูงนี้ก็เป็นนิมิตดีประจำวัดประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งชาวบ้านก็นิยมเรียกกันติดปากว่าวัดสะพานสูง จึงได้ประทานเปลี่ยนชื่อวัดสว่างอารมณ์ มาเป็น "วัดสะพานสูง" จนตราบเท่าทุกวันนี้
หลวงปู่เอี่ยม มาวัดสะพานสูงใหม่ๆ ที่วัดนี้มีพระประจำวันพรรษาอยู่เพียง ๒ รูปเท่านั้น
ขณะที่ท่านหลวงปู่เอี่ยม ได้ย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงได้ ๘ เดือน ก่อนวันเข้าพรรษาหลวงพิบูลย์สมบัติ บ้านท่านอยู่ปากคลองบางลำภู พระนคร ได้เดินทางมานมัสการหลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่เอี่ยมได้ปรารภถึงความลำบาก ด้วยเรื่องการทำอุโบสถและสังฆกรรม
เนื่องจากสถานที่เดิมได้ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงอยากจะสร้างให้เป็นถาวรสถานแก่วัดให้เจริญรุ่งเรือง หลวงพิบูลยสมบัติ ท่านจึงได้บอกบุญเรี่ยไรหาเงินมา เพื่อก่อสร้างโบสถ์ และถาวรสถานขึ้น จึงเป็นที่เข้าใจกันว่าหลวงปู่เอี่ยม ได้เริ่มสร้างพระปิดตาและตะกรุดเป็นครั้งแรก

เพื่อเป็นของชำร่วยแก่ผู้บริจาคทรัพย์และสิ่งของที่ใช้ในการก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรสถาน ต่อมาถึง พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้สร้างศาลาการเปรียญ หลังจากนั้นอีกหลวงปู่เอี่ยมได้สร้างพระเจดีย์ฐาน ๓ ชั้นขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ขณะที่ท่านหลวงปู่เอี่ยม ท่านได้มาอยู่วัดสะพานสูง ท่านได้ไปธุดงค์ไปทางแถบประเทศเขมร

โดยมีลูกวัดติดตามไปด้วยเสมอ แต่ท่านจะให้ลูกวัดออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ๖-๗ ชั่วโมง แล้วจะนัดกันไปพบที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วท่านหลวงปู่เอี่ยม ได้ไปพบชีปะขาวชาวเขมรท่านหนึ่งชื่อว่าจันทร์หลวงปู่เอี่ยม จึงได้เรียนวิชาอิทธิเวทย์ จากท่านอาจารย์ผู้นี้อยู่หลายปี จนกระทั่งชาวบ้านแหลมใหญ่นึกว่าท่านออกธุดงค์ไปได้ถึงแก่มรณภาพไปแล้ว เนื่องจากหลวงปู่เอี่ยม ท่านไม่ได้กลับมาที่วัดหลายปี

จึงได้ทำสังฆทานแผ่ส่วนกุศลไปให้ท่าน ทำให้ท่านหลวงปู่เอี่ยม ทราบในญาณของท่านเอง และท่านหลวงปู่เอี่ยม จึงได้เดินทางกลับมายังวัดสะพานสูง การไปธุดงค์ครั้งนี้ หลวงปู่เอี่ยม ได้ไปเป็นเวลานาน และอยู่ในป่าจึงปรากฏว่าท่านหลวงปู่เอี่ยม ท่านไม่ได้ปลงผม ผมจึงยาวถึงบั้นเอว จีวรก็ขาดรุ่งริ่ง หมวดท่านยาวเฟิ้มพร้อมมีสัตว์ป่าติดตามท่านหลวงปู่เอี่ยม มาด้วย อาทิเช่น หมี, เสือ, และงูจงอาง ฯลฯ

จากการเจริญกรรมฐานนี้ จึงทำให้หลวงปู่เอี่ยมสำเร็จ "โสรฬ" มีเรื่องเล่ากันว่ามีต้นตะเคียนต้นหนึ่งมีน้ำมันตกและดุมากเป็นที่เกรงกลัวแก่ชาวบ้านแถบนั้น หลวงปู่จึงช่วยยืนเพ่งอยู่ 3 วันเท่านั้น ต้นตะเคียนก็เฉาและยืนต้นตาย หลวงปู่เป็นผู้มีอาคมฉมัง วาจาสิทธิ์ มักน้อยและสันโดษ ท่านเป็นต้นแบบในการพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบันนี้ ท่านได้สร้างถาวรวัตถุที่ได้เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้คือพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ พระเจดีย์ จึงเป็นที่มาของการสร้างพระปิดตา และตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคลอันลือลั่นนั่นเอง
ท่านหลวงปู่เอี่ยม เป็นพระผู้มีอาคมขลัง มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ มักน้อย ถือสันโดษ ด้วยเหตุนี้เองทำให้หลวงปู่เอี่ยม ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งชาวบ้านและเจ้านายผู้ใหญ่ในพระนครนับถือท่านมากจนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ก่อนที่หลวงปู่เอี่ยมจะมรณภาพด้วยโรคชรา นายหรุ่น แจ้งมา ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดคอยอยู่ปรนนิบัติท่านหลวงปู่เอี่ยมได้ขอร้องท่านว่า “ท่านอาจารย์มีอาการเต็มที่แล้ว ถ้าท่านมีอะไรก็กรุณาได้สั่ง และให้ศิษย์เป็นครั้งสุดท้าย” ซึ่งท่านหลวงปู่เอี่ยมก็ตอบว่า “ถ้ามีเหตุทุกข์เกิดขึ้นให้ระลึกถึงท่านและเอ่ยชื่อท่านก็แล้วกัน”หลวงปู่เอี่ยมท่านได้มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙ รวมอายุได้ ๘๐ ปี บวชได้ ๕๙ พรรษา

ก่อนที่ท่านจะมรณภาพได้มีศิษย์ผู้ใกล้ชิดเป็นตัวแทนของชาวบ้าน และผู้เคารพนับถือศรัทธา ที่มีและไม่มีของมงคลท่านไว้บูชา กราบเรียนถามหากว่าเมื่อหลวงปู่เอี่ยม ได้มรณภาพแล้วจักทำประการใด ท่านจึงได้มีปัจฉิมวาจาว่า " มีเหตุสุข ทุกข์ เกิดนั้น ให้ระลึกถึงชื่อของเรา"

จึงเป็นที่ทราบและรู้กันว่า หากผู้ใดต้องการมอบตัวเป็นศิษย์หรือต้องการให้ท่านช่วยแล้วด้วยความศรัทธายิ่ง ก็ให้เอ่ยระลึกถึงชื่อของท่าน ท่านจะมาโปรดและคุ้มครองและหากเป็นเรื่องหนักหนาก็บนตัวบวชให้ท่าน รูปหล่อเท่าองค์จริงของหลวงปู่เอี่ยม ท่านประดิษฐานอยู่หน้าพระอุโบสถ สร้าง(หล่อ) ขึ้นเมื่อพ.ศ. 2480 ในสมัยหลวงปู่กลิ่น ผู้ปกครองวัดต่อจากท่าน เพื่อการสักการะบูชา ต่อมาจนทุกๆวันจะมีผู้ศรัทธาจากทุกสารทิศมากราบไหว้และบนบานฯ ตลอดเวลาตราบแสงอาทิตย์ยังไม่ลับขอบฟ้า ท่านชอบกระทงใส่ดอกไม้เจ็ดสี จะมีผู้นำมาถวายและแก้บนแทบทุกวันโดยเฉพาะในวันพระแม้แต่ผงขี้ธูปและน้ำในคลองหน้าวัดก็ยังมีความ"ขลัง" อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง

และหลังจากที่ท่านมรณภาพล่วงไปเนิ่นนานแล้วก็ตามที ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ผลปรากฏว่าฐานที่ท่าน เคยถ่ายทุกข์เอาไว้และปิดตาย คราวที่เกิดไฟไหม้ป่าช้า ฐานของหลวงปู่เอี่ยม เพียงหลังเดียวเท่านั้นที่ไม่ไหม้ไฟ

เมื่อความอัศจรรย์ปรากฏขึ้นเช่นนั้น ผู้คนจึงค่อยมาตัดเอาแผ่นสังกะสีไปม้วนเป็นตะกรุดจนหมดสิ้น นอกจากนั้นแล้ว ยังมารื้อเอาตัวไม้ไปบูชาจนไม่เหลือหรอ ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ไม่ได้อะไรเลยก็มาขุดเอาอุจจาระของท่านไปบูชา
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2012, 11:14:36 pm »

ตอนบ่ายไปทานข้าวที่ชลบุรี 

ร้านนี้ไปทานหลายครั้งแล้วครับ



ป้ายติดกำแพง บอกเมนูแนะนำ





ป้ายบอกว่า มีขนมอะไรบ้าง





เมนูครับ









จานแรกที่ต้องทานแน่ๆ



ปูนิ่มทอดกระเทียมพริกไทยดำ



ต้มยำปลาแมงภู่



กรรเชียงปูอบวุ้นเส้น



จานนี้ อร่อยมาก  ชอบ  โรยนมข้น  ยิ่งชอบ

กะลอจี๊



ชมภาพอย่างมีความสุขกันครับ

รูปผมลงไว้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ครับ

-http://board.palungjit.com/f179/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%81-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-22445-2570.html#post7080168-

http://board.palungjit.com/f179/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%9E%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%81-%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89-22445-2570.html#post7080168
.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2012, 11:05:49 pm »

เราเข้าไปกราบหลวงปู่เผือก วัดสาลีโข กันครับ



พระอุโบสถ



หน้าบัน



เสมาหน้าโบสถ์





ที่วิหาร





หลวงปู่เผือก วัดสาลีโข







วิหารด้านหลัง



บริเวณโดยรอบ





แถมด้วยรูปคลองหลังวัด



.
ข้อความโดย: กระตุกหางแมว
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2012, 11:04:38 pm »

ทำไมรูปไม่ขึ้นหว่า  :26:
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2012, 11:00:59 pm »

เราไปกันต่อครับ

วัดสาลีโข

ก่อนอื่น  นำบุญมาฝาก ผมทำแล้วครับ  หากท่านใดต้องการร่วมทำบุญซ่อมแซมพระอุโบสถ  เชิญที่วัดครับ



.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2012, 10:59:18 pm »

วิหารด้านหน้า







วิหารด้านข้าง



มีพระเจดีย์ด้านหลังพระอุโบสถ













เจดีย์บรรจุอัฐิหลวงปู่กลิ่น วัดสะพานสูง



สถานที่จำหน่ายวัตถุมงคล



ด้านหลัง มีตลาดขายของ



แม่น้ำหลังวัด





มีของฝากจากวัดสะพานสูง













.
ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 03, 2012, 10:42:17 pm »

กราบหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง และ หลวงปู่เผือก วัดสาลีโข

ผมไปกราบหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2555

หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง





ประวัติวัดสะพานสูง









หน้าพระอุโบสถ



พระอุโบสถ







หน้าบัน





ที่วิหารด้านหน้า



วิหารด้านข้าง







.