ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 07, 2012, 10:03:14 am »



                 

อย่าหลงความรู้สึก เมื่อได้รับรู้เรื่องลวงโลกที่เป็นมุสาวาท
หลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ

ทุกวันนี้มีเรื่องราวที่เป็นมุสาวาทมากมายที่ปลุกกระแสความรู้สึกของคน ที่กระจายตามสื่อต่างๆทำให้คนหลงใหล ไปกับสื่อเหล่านั้น โดยผู้พูดก็ไม่รู้ตัวที่ได้กระทำลงไปว่าเป็นมุสาวาท เพราะความเขลาขาดการพิจารณาอย่างถ่องแท้ เป็นความชั่วบาปอย่างร้ายแรงทำให้ไปตกนรกได้ เพราะการทำให้คนหลงเชื่อด้วยมุสาวาท

องค์แห่งมุสาวาทมี ๔ อย่าง
คือการพูดเท็จหรือพูดโกหกหาความจริงมิได้ ๑,
การพูดด่าคือคำหยาบคายต่างๆ ๑,
การพูดส่อเสียดคือพูดให้คนอื่นเกิดความเจ็บช้ำน้ำใจเกิดละคายเคืองใจ ๑,
การพูดเพ้อเจ้อคือพูดเรื่องไร้สาระหาประโยชน์หาแก่นสารมิได้ ๑,


การได้รับรู้สื่อลวงโลกเหล่านี้ถ้าขาดการพิจารณาอย่างถ่องแท้ โดยมีสติ ก็อาจจะหลงชื่อได้ ทำให้เกิดการวิตกกังวล, ความโกรธเกลียด, ความอิจฉา, ความพยาบาทปองร้าย, ความอาฆาตมาดร้าย, มองคนในแง่ร้าย, ขาดเมตตาธรรม, มีจิตคิดฟุ้งซ่าน, เป็นทุกข์, ถูกครอบงำด้วยความโลภ, ความโกรธ, ความหลง, จึงเป็นเหตุให้ผู้ที่หลงไปกับคำมุสาวาทเหล่านี้เกิดการ กระทำผิด การพูดผิด การคิดเห็นผิด จัดเป็นทุจริตธรรมฝ่ายอกุศลคือความเศร้าหมองใจ เป็นบาปคือความไม่สบายใจ ทำให้เสียหายต่อหน้าที่การงานของตน เป็นทุกข์ตามมาให้ผลกับชีวิต เพราะความหลงไปเป็นเหตุ

ถ้าไม่อยากหลงไปกับความรู้สึกเหล่านั้นที่มากับสื่อลวงโลก ก็ต้องมีการฝึกเจริญสติ ด้วยการเจริญธัมมะภาวนา กับคำภาวนาในหัวข้อที่ว่า “อย่ายินดียินร้าย.อย่าว่าร้ายใคร.อย่าคิดร้ายใคร.” ท่องธัมมะภาวนาบทนี้ไว้เสมอในชีวิตประจำไว้ เพื่อสร้างความรู้ตัวให้กับจิต อันเป็นเหตุเกิดสติ รู้สกัดกั้นบาปอกุศลไม่ให้เกิดขึ้น จิตของเราก็จะมีสติรู้ปล่อยวางในการรับรู้สื่อต่างๆ อย่างไม่หลงไป จิตของเราก็จะเกิดความสงบสุขและนิ่ง มีความตั้งมั่นเป็นสมาธิ จนเกิดปัญญารู้สิ่งทั้งปวงว่าไม่ควรยึดมั่นถือมั่นให้เกิดอัตตา เพราะจะทำให้เกิดทุกข์ได้ ดังนี้.


โดยหลวงพ่ออุดม มหาปุญโญ วัดป่าหนองเล
-http://www.facebook.com/lindalindaooi