ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 10, 2012, 10:02:17 pm »เตือนเป็นเหยื่อวัคซีนมะเร็งปากมดลูก!เกิน 30ฉีดไปไร้ประโยชน์
-http://women.thaiza.com/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99-30%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C/113108/-
ผลวิจัยชี้หญิงไทยเหยื่อกลยุทธ์การตลาดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี เชื่อผิดๆ ฉีดแล้วป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 100% เตือนอย่าหลงผิดเสียเงินแบบไม่ฉลาด ชี้หญิงอายุเกิน 30 ปีขึ้นไป เคยมีซ็กซ์แล้ว ฉีดไปอาจไร้ประโยชน์ ยันตรวจคัดกรองป้องกันได้ดีที่สุด ไม่มีค่าใช้จ่าย ฟรีทุกระบบสุขภาพ ในสถานพยาบาลรัฐ
วันที่ 7 ส.ค.ที่โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการเสวนาเรื่อง “มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ แค่ใส่ใจตรวจคัดกรอง” โดย ดร.นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวว่า จากการวิจัย “ผลกระทบจากกลยุทธ์การตลาดของวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี (HPV) ที่เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งปากมดลูก” โดยสำรวจหญิงไทยอายุระหว่าง 12-50 ปี จำนวน 160 คน พบว่า ส่วนใหญ่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี
“กลุ่มตัวอย่าง 62% เข้าใจผิดว่าผู้ได้รับเชื้อเอชพีวีต้องเป็นมะเร็งปากมดลูกทุกคน แต่ข้อเท็จจริงคือ ผู้ได้รับเชื้อเอชพีวีมีโอกาสน้อยมาก ที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก เพราะโดยทั่วไปผู้หญิงที่ได้รับเชื้อไวรัสเอสพีวีและเกิดความผิดปกติเล็กน้อยที่เยื่อบุปากมดลูก ผู้หญิง 1 ใน 3,000 คน ร่างกายจะมีกลไกในการกำจัดเชื้อไวรัสได้และจะหายเป็นปกติได้เองภายใน 2 เดือนถึง 1 ปีโดยไม่ต้องทำการรักษาใดๆ” ดร.นพ.วิโรจน์กล่าว
ดร.วิโรจน์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังเชื่อว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพมาก สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีได้ 100% ทั้งๆ ที่ได้ผลเพียง 70% เท่านั้น อีกทั้งเข้าใจว่าถึงแม้ติดเชื้อแล้ว ถ้าฉีดวัคซีนก็สามารถรักษาโรคได้ รวมถึงสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น หนองใน และซิฟิลิส ซึ่งเกินกว่าความเป็นจริง เพราะวัคซีนที่มีอยู่ปัจจุบันเป็นเพียงวัคซีนที่ป้องกันได้แต่เชื้อไวรัสเอชพีวี เพียง 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 ขณะที่เชื้อไวรัสเอชพีวีที่เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ มีทั้งสิ้นมากกว่า 100 สายพันธุ์ด้วยกัน
“ที่สำคัญ กลุ่มตัวอย่างถึง 67% เข้าใจว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะฉีดให้กับผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วกับผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ทั้งๆ ที่วัคซีนจะได้ผลน้อยมาก หรืออาจจะไม่ได้ผลเลย อีกทั้งการโฆษณาว่า สามารถฉีดได้ในทุกกลุ่มอายุ ถือเป็นเรื่องเท็จ เพราะหากฉีดให้กับสตรีอายุมากกว่า 30 ปี หรือสตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วจะไม่มีประโยชน์เลย ซึ่งช่วงอายุที่เหมาะสม คือ 8-12ปี และยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน” ดร.นพ.วิโรจน์ กล่าว
ดร.นพ.วิโรจน์ กล่าวอีกว่า ผลการวิจัยแสดงอย่างชัดเจนว่า บริษัทยาให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนกับประชาชน โดยไม่มีความรับผิดชอบ และจริยธรรม ขณะเดียวกัน ประชาชนก็เข้าใจว่า ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ โดยกว่า 50% มีแนวโน้มในการที่จะตัดสินใจฉีดวัศซีนเอชพีวี โดยได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน
ดร.นพ.วิโรจน์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้การฉีดวัคซีนให้ครบทั้ง 3 เข็มจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ขายตั้งขึ้น โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของค่าครองชีพ ดังนั้น ราคาวัคซีนที่ฉีดในบางมลรัฐของอเมริกาจึงมีราคาเท่ากันกับในประเทศไทย ดังนั้น การป้องกันโดยวิธีนี้จึงถือว่าไม่คุ้มค่า เนื่องจากต้นทุนสูงเกินไปแต่มีประสิทธิในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีการตรวจคัดกรองที่ไม่แตกต่างกัน และแม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนแล้วก็ต้องตรวจคัดกรองอยู่ดี เนื่องจาก การฉีดวัคซีน ไม่ครอบคลุมการติดเชื้อเอชพีวีในทุกสายพันธุ์
นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถิติของเครือข่ายข้อมูลข่าวสารโรคมะเร็งไทย หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่า หญิงไทยป่วยมะเร็งปากมดลูกเป็นลำดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม คาดว่าปี 2551 มีผู้ป่วย 9,700 ราย และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอีก 5 ปีข้างหน้าคือปี 2556 จะมีผู้ป่วยเพิ่มสูงถึง 12,500 ราย ทั้งนี้มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ เพราะระยะเวลาตั้งแต่เยื่อบุปากมดลูกได้รับเชื้อไวรัส จนเกิดความผิดปกติและกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก ใช้เวลานาน 10-15 ปี หากได้ตรวจคัดกรอง หาภาวะความผิดปกติอย่างต่อเนื่อง จะพบความผิดปกติ และรักษาที่เหมาะสมได้แต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นมะเร็ง
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า ผลการศึกษาของนักวิจัยจากกระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายสวรส.พบวิธีการตรวจคัดกรองแบบผสมผสาน ด้วยการตรวจวิธีวีไอเอ (VIA) หรือการใช้กรดน้ำส้มสายชูเจือจางป้ายที่มดลูก โดยตรวจทุก 5 ปี ในสตรีอายุ 30-45 ปี ร่วมกับการตรวจด้วยวิธี แปป สเมียร์ (Pap smear) คือตรวจทุก 5 ปี ในสตรีอายุมากกว่า 45-60 ปี จะช่วยให้ตรวจพบผู้ที่มีความผิดปกติของเยื่อบุปากมดลูกได้มากกว่าการตรวจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอย่างเดียว เพราะแม้วิธีวีไอเอ จะตรวจและรักษาได้เสร็จสิ้นภายในครั้งเดียว และได้รับการยอมรับจากสตรีไทยมากกว่าวิธี Pap smear ซึ่งมีขั้นตอนในการตรวจและฟังผลหลายครั้ง แต่วิธีวีไอเอ ไม่เหมาะกับหญิงไทยที่อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป เพราะเยื่อบุปากมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ความแม่นยำในการตรวจน้อยลง จึงควรใช้วิธีแปป สเมียร์ในสตรีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
“การตรวจคัดกรองด้วยวิธีผสมผสานมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 30-60 บาทต่อครั้งต่อคน ซึ่งหากตรวจอย่างต่อเนื่องครบ 7 ครั้งตามการศึกษา ก็จะมีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 300 บาทต่อคน” นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
ด้านนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการประกันสุขภาพ สปสช.กล่าวว่า อัตราการเข้าถึงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของหญิงไทยต่ำ มีเพียง 20-30% ของหญิงไทยอายุ 30-60 ปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่ตระหนักถึงความสำคัญ และไม่รู้ว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับบริการฟรี ในทุกระบบทั้งบัตรทอง ประกันสังคมและสวัสดิการราชการ โดยที่หญิงไทยจำนวนมากไม่รู้ว่าสามารถเดินเข้าไปขอตรวจคัดกรองได้ฟรีที่สถานพยาบาลของรัฐ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่สายด่วน 1330 ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองเป็นวิธีการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ได้ผลดี มีผลการศึกษาแน่นอน แต่ปัจจุบันสังคมกลับให้ความสำคัญกับวัคซีนเอชพีวี ทั้งๆ ที่ราคาแพง และยังไม่มีการยืนยันที่แน่นอนถึงประสิทธิผลในระยะยาว
“ที่สำคัญ หากฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้วเกิดความมั่นใจผิดๆ ว่าไม่เป็นมะเร็งปากมดลูก แล้วมีพฤติกรรมเสี่ยงมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย มีคู่นอนมากกว่า 1 คนไม่ใช้ถุงยางอนามัย และไม่ดูแลรักษาสุขภาพอนามัย แล้วยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก็ถือว่ามีความเสี่ยงเป็นมะเร็งอยู่ดี แต่หากตรวจคัดกรองแล้ว และมีเงินอยากไปฉีดวัคซีนป้องกันคงไม่มีใครว่าอะไร แต่ถ้าต้องจ่ายเงินเพิ่มแต่ผลดีขึ้นอีกนิดหน่อยก็อาจกลายเป็นว่าต้องเสียเงินอย่างไม่ฉลาด” นพ.สุวิทย์กล่าว
-http://women.thaiza.com/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81-%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99-30%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C/113108/-
ผลวิจัยชี้หญิงไทยเหยื่อกลยุทธ์การตลาดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี เชื่อผิดๆ ฉีดแล้วป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ 100% เตือนอย่าหลงผิดเสียเงินแบบไม่ฉลาด ชี้หญิงอายุเกิน 30 ปีขึ้นไป เคยมีซ็กซ์แล้ว ฉีดไปอาจไร้ประโยชน์ ยันตรวจคัดกรองป้องกันได้ดีที่สุด ไม่มีค่าใช้จ่าย ฟรีทุกระบบสุขภาพ ในสถานพยาบาลรัฐ
วันที่ 7 ส.ค.ที่โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดการเสวนาเรื่อง “มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ แค่ใส่ใจตรวจคัดกรอง” โดย ดร.นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กล่าวว่า จากการวิจัย “ผลกระทบจากกลยุทธ์การตลาดของวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี (HPV) ที่เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งปากมดลูก” โดยสำรวจหญิงไทยอายุระหว่าง 12-50 ปี จำนวน 160 คน พบว่า ส่วนใหญ่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอย่างมากเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี
“กลุ่มตัวอย่าง 62% เข้าใจผิดว่าผู้ได้รับเชื้อเอชพีวีต้องเป็นมะเร็งปากมดลูกทุกคน แต่ข้อเท็จจริงคือ ผู้ได้รับเชื้อเอชพีวีมีโอกาสน้อยมาก ที่จะพัฒนาไปเป็นมะเร็งปากมดลูก เพราะโดยทั่วไปผู้หญิงที่ได้รับเชื้อไวรัสเอสพีวีและเกิดความผิดปกติเล็กน้อยที่เยื่อบุปากมดลูก ผู้หญิง 1 ใน 3,000 คน ร่างกายจะมีกลไกในการกำจัดเชื้อไวรัสได้และจะหายเป็นปกติได้เองภายใน 2 เดือนถึง 1 ปีโดยไม่ต้องทำการรักษาใดๆ” ดร.นพ.วิโรจน์กล่าว
ดร.วิโรจน์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังเชื่อว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพมาก สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีได้ 100% ทั้งๆ ที่ได้ผลเพียง 70% เท่านั้น อีกทั้งเข้าใจว่าถึงแม้ติดเชื้อแล้ว ถ้าฉีดวัคซีนก็สามารถรักษาโรคได้ รวมถึงสามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เช่น หนองใน และซิฟิลิส ซึ่งเกินกว่าความเป็นจริง เพราะวัคซีนที่มีอยู่ปัจจุบันเป็นเพียงวัคซีนที่ป้องกันได้แต่เชื้อไวรัสเอชพีวี เพียง 2 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์ 16 และ 18 ขณะที่เชื้อไวรัสเอชพีวีที่เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ มีทั้งสิ้นมากกว่า 100 สายพันธุ์ด้วยกัน
“ที่สำคัญ กลุ่มตัวอย่างถึง 67% เข้าใจว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะฉีดให้กับผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วกับผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ทั้งๆ ที่วัคซีนจะได้ผลน้อยมาก หรืออาจจะไม่ได้ผลเลย อีกทั้งการโฆษณาว่า สามารถฉีดได้ในทุกกลุ่มอายุ ถือเป็นเรื่องเท็จ เพราะหากฉีดให้กับสตรีอายุมากกว่า 30 ปี หรือสตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วจะไม่มีประโยชน์เลย ซึ่งช่วงอายุที่เหมาะสม คือ 8-12ปี และยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน” ดร.นพ.วิโรจน์ กล่าว
ดร.นพ.วิโรจน์ กล่าวอีกว่า ผลการวิจัยแสดงอย่างชัดเจนว่า บริษัทยาให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนกับประชาชน โดยไม่มีความรับผิดชอบ และจริยธรรม ขณะเดียวกัน ประชาชนก็เข้าใจว่า ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์ โดยกว่า 50% มีแนวโน้มในการที่จะตัดสินใจฉีดวัศซีนเอชพีวี โดยได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน
ดร.นพ.วิโรจน์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้การฉีดวัคซีนให้ครบทั้ง 3 เข็มจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 15,000 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ผู้ขายตั้งขึ้น โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของค่าครองชีพ ดังนั้น ราคาวัคซีนที่ฉีดในบางมลรัฐของอเมริกาจึงมีราคาเท่ากันกับในประเทศไทย ดังนั้น การป้องกันโดยวิธีนี้จึงถือว่าไม่คุ้มค่า เนื่องจากต้นทุนสูงเกินไปแต่มีประสิทธิในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีการตรวจคัดกรองที่ไม่แตกต่างกัน และแม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนแล้วก็ต้องตรวจคัดกรองอยู่ดี เนื่องจาก การฉีดวัคซีน ไม่ครอบคลุมการติดเชื้อเอชพีวีในทุกสายพันธุ์
นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถิติของเครือข่ายข้อมูลข่าวสารโรคมะเร็งไทย หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุว่า หญิงไทยป่วยมะเร็งปากมดลูกเป็นลำดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม คาดว่าปี 2551 มีผู้ป่วย 9,700 ราย และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในอีก 5 ปีข้างหน้าคือปี 2556 จะมีผู้ป่วยเพิ่มสูงถึง 12,500 ราย ทั้งนี้มะเร็งปากมดลูกป้องกันได้ เพราะระยะเวลาตั้งแต่เยื่อบุปากมดลูกได้รับเชื้อไวรัส จนเกิดความผิดปกติและกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก ใช้เวลานาน 10-15 ปี หากได้ตรวจคัดกรอง หาภาวะความผิดปกติอย่างต่อเนื่อง จะพบความผิดปกติ และรักษาที่เหมาะสมได้แต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะเปลี่ยนไปเป็นมะเร็ง
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวอีกว่า ผลการศึกษาของนักวิจัยจากกระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายสวรส.พบวิธีการตรวจคัดกรองแบบผสมผสาน ด้วยการตรวจวิธีวีไอเอ (VIA) หรือการใช้กรดน้ำส้มสายชูเจือจางป้ายที่มดลูก โดยตรวจทุก 5 ปี ในสตรีอายุ 30-45 ปี ร่วมกับการตรวจด้วยวิธี แปป สเมียร์ (Pap smear) คือตรวจทุก 5 ปี ในสตรีอายุมากกว่า 45-60 ปี จะช่วยให้ตรวจพบผู้ที่มีความผิดปกติของเยื่อบุปากมดลูกได้มากกว่าการตรวจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอย่างเดียว เพราะแม้วิธีวีไอเอ จะตรวจและรักษาได้เสร็จสิ้นภายในครั้งเดียว และได้รับการยอมรับจากสตรีไทยมากกว่าวิธี Pap smear ซึ่งมีขั้นตอนในการตรวจและฟังผลหลายครั้ง แต่วิธีวีไอเอ ไม่เหมาะกับหญิงไทยที่อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป เพราะเยื่อบุปากมดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ความแม่นยำในการตรวจน้อยลง จึงควรใช้วิธีแปป สเมียร์ในสตรีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
“การตรวจคัดกรองด้วยวิธีผสมผสานมีต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 30-60 บาทต่อครั้งต่อคน ซึ่งหากตรวจอย่างต่อเนื่องครบ 7 ครั้งตามการศึกษา ก็จะมีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 300 บาทต่อคน” นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว
ด้านนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการประกันสุขภาพ สปสช.กล่าวว่า อัตราการเข้าถึงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของหญิงไทยต่ำ มีเพียง 20-30% ของหญิงไทยอายุ 30-60 ปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะไม่ตระหนักถึงความสำคัญ และไม่รู้ว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ที่คนไทยจะได้รับบริการฟรี ในทุกระบบทั้งบัตรทอง ประกันสังคมและสวัสดิการราชการ โดยที่หญิงไทยจำนวนมากไม่รู้ว่าสามารถเดินเข้าไปขอตรวจคัดกรองได้ฟรีที่สถานพยาบาลของรัฐ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่สายด่วน 1330 ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองเป็นวิธีการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ได้ผลดี มีผลการศึกษาแน่นอน แต่ปัจจุบันสังคมกลับให้ความสำคัญกับวัคซีนเอชพีวี ทั้งๆ ที่ราคาแพง และยังไม่มีการยืนยันที่แน่นอนถึงประสิทธิผลในระยะยาว
“ที่สำคัญ หากฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้วเกิดความมั่นใจผิดๆ ว่าไม่เป็นมะเร็งปากมดลูก แล้วมีพฤติกรรมเสี่ยงมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย มีคู่นอนมากกว่า 1 คนไม่ใช้ถุงยางอนามัย และไม่ดูแลรักษาสุขภาพอนามัย แล้วยังไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก็ถือว่ามีความเสี่ยงเป็นมะเร็งอยู่ดี แต่หากตรวจคัดกรองแล้ว และมีเงินอยากไปฉีดวัคซีนป้องกันคงไม่มีใครว่าอะไร แต่ถ้าต้องจ่ายเงินเพิ่มแต่ผลดีขึ้นอีกนิดหน่อยก็อาจกลายเป็นว่าต้องเสียเงินอย่างไม่ฉลาด” นพ.สุวิทย์กล่าว