ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 21, 2012, 07:16:26 pm »


































ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 21, 2012, 07:03:00 pm »
































ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 05, 2012, 02:47:33 am »






















ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 05, 2012, 02:46:26 am »




























ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 18, 2012, 06:41:18 pm »




   อวตารแห่งพระพิฆเนศ
   ที่มา : หนังสือตรีเทวปกรณ์ / เขียนโดย กิตติ วัฒนะมหาตม์
   
   อวตารของพระคเณศที่สำคัญมี 8 ปาง มีชื่อต่างๆ กัน แต่เนื้อเรื่องพื้นฐานคล้ายๆ กัน ทำนองว่ามีอสูรถือกำเนิดขึ้นในโอกาสหนึ่งๆ อสูรนั้นต้องการไปยึดทั้งสามโลก เทวดาทั้งหลายจะพึ่งใครไม่ได้จึงต้องบูชาพระคเณศให้ไปปราบอสูรนั้น โดยมากอสูรได้เห็นเทวอำนาจก็จะกลัว ยอมกลับตัวกลับใจเป็นสาวก และคืนโลกทั้งสามที่ยึดมาได้เสีย
   
   แต่ก็มีอสูรบางตนที่ถูกประหารเพราะได้ทำผิดอย่างร้ายแรง ทั้งนี้จะกล่าวถึงแต่ละปางซึ่งมีเนื้อเรื่องคล้ายกัน เอาเฉพาะส่วนที่ต่างกันดังนี้

   
   1. วักระตุณฑะ (Vakratunda)
   ปราบอสูรชื่อ มัตสระ ปางนี้ไม่กล่าวถึงกำเนิด ทราบแต่อสูรนั้นบำเพ็ญตบะจนได้รับพรจากพระศิวะแล้วยึดทั้งสามโลก พระเป็นเจ้าทั้งสามก็ไม่ทรงขัดขวาง เพราะไม่ประสงค์ให้เสียวาจาแห่งพระศิวะ มัตสระก็ได้ใจกำเริบทำเรื่องไม่ดีงามต่างๆ ต่อเมื่อพบกับพระพิฆเณศในอวตารของ วักระตุณฑะ ที่มีร่างกายใหญ่โตมากๆ ประทับอยู่บน มุสิกะ (หนูบริวาร) ก็เกิดกลัว ไม่ทันได้สู้ก็ยอมศิโรราบ แต่ก่อนหน้านั้นก็เสียอสูรบริวารทั้งหมด รวมทั้งลูกอีกสองตนชื่อ สุรทระปรียะ และ วิษยะปรียะ เมื่อยอมแพ้แล้ว จึงได้เข้าไปรวมอยู่ในคณะของพระพิฆเนศ


   2. เอกทันตะ (Ekadanta)
   ปราบอสูร มะทะ อสูรนี้เกิดโดยฤๅษีไจวะนะสร้างขึ้น ได้รับพรจากพระแม่ทุรคาจนยึดได้สามโลก พระโอรสของพระพรหมชื่อ สนัตกุมาร ได้กล่าวแก่เทวดทั้งหลายว่ามีเพียงพระพิฆเณศองค์เดียวที่จะทรงแก้ไขเรื่องนี้ได้ เมื่อพระพิฆเณศในอวตารของ เอกทันตะ ได้ปรากฎพระองค์แล้ว มะทะส่งทูตมาสืบความ เอกทันตะก็ฝากทูตนั้นไปบอกเจ้านายของตนว่า พระองค์มีหน้าที่รักษาผู้ประพฤติธรรม ผู้ที่ไม่ปฏิบัติในทางธรรม พระองค์ก็มีหน้าที่ทำลายเขา มะทะฟังแล้วโมโหเตรียมต่อสู้ ถูกพระพิฆเณศยิงด้วยศรชื่อ ปรสุ ลูกศรปักกลางอกสิ้นสติไป จนฟื้นแล้วลูกศรก็ลอยกลับไปหาพระพิฆเณศ เกิดพิจารณาว่าเอกทันตะนี้เป็นปรมาตมันโดยแท้ จึงยอมกลับใจและเป็นสาวกอีกองค์หนึ่ง

         

   3. ปุระณานันทะ มโหทระ (Puranananda Mahodra)
   ปราบอสูร ยานาริ ลูกของ อสูรทุรพุทธิ ที่ผูกใจเจ็บจะหาโอกาสแก้แค้นแทนพ่อซึ่งถูกพระคเณศสังหาร แต่ลูกของอสูรยานารินั้นเองชื่อ สุโพธะ กลับเป็นสาวกและบูชาพระคเณศในปางนี้ ซึ่งอวตารมาเป็นพระโอรสพระลักษมี มีชื่อว่า ปุระณานันท์มโหทระ ยานาริพยายามบังคับลูกให้เลิกบูชาพระคเณศก็ไมยอมเลิก จึงท้าว่า มโหทระที่เป็นที่พื่งของลูกตนนั้นอยู่ไหน จะได้ทดลองกำลังกัน สุโพธะก็บอกว่า มโหทระนั้นอยู่ทุกหนทุกแห่ง ยานาริก็โกรธ ยกดาบจะฟันคอลูก มโหทระก็ปรากฏขึ้นบนมุสิกะ แล้วใช้เทพศาสตราวุธฟันศีรษะยานาริแยกออกถึงแก่ความตาย

   4. คชนานะ (Gajananda)
   ปราบ โลภาสูร ซึ่งถือกำเนิดจากความโลภของ พระกุเวร เมื่อเข้าเฝ้าพระแม่อุมาที่ไกรลาส และได้เห็นพระแม่แต่งองค์ด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ มากมาย โลภาสูรบำเพ็ญตบะได้พรจากพระศิวะก็ยึดสามโลก แล้วกำเริบถึงกับยึดไกรลาสจากพระศิวะเสียด้วย แต่เมื่อโลภาสูรได้ยินชื่อ คชนันท์ ยังไม่ทันได้ต่อสู้ ก็ไปปรึกษา พระศุกราจารย์ เสียก่อน รู้ว่าสู้ไม่ได้แน่ๆ จึงยอมสวามิภักดิ์


   5. ลัมโพทระ (Lambodra)
   ปราบ โกรธาสูร ซึ่งถือกำเนิดจากความลุ่มหลงของ พระศิวะ ยามเมื่อเห็นร่างแปลงของพระวิษณุเป็นเด็กสาวสวยอายุเพียง 16 โกรธาสูรได้พรจากสุริยเทพ จนยึดได้ทั้งสามโลก รวมทั้งไกรลาสและสุริยโลกด้วย จนในที่สุดได้ยกกองทัพเข้าปะทะกับ ลัมโพทระ ได้สูญเสียอสูรบริวารที่เก่งกาจจนหมด ลัมโพทระกล่าวว่า พระนาภีของพระองค์นั้นเป็นที่อาศัยแห่งโลกต่างๆ โลกทั้งหลายเกิดจากพระนาภีนั้น และเมื่อสิ้นสุดก็จะกลับเข้าไป โกรธาสูรได้พิจารณาว่าเป็นความจริงก็ยอมสวามิภักดิ์

   6. วิกฏะ (Vikata)
   ปราบ กามาสูร อันเกิดจากความลุ่มหลงแห่งองค์ พระวิษณุมหาเทพ ต่อพระแม่ วฤนทา ได้ยึดเทวโลก มหามุนีมุทคละ บอกทวยเทพทั้งหลายให้บูชาพระพิฆเนศวร จนปรากฏพระองค์โดยมีพาหนะคือนกยูง กามาสูรรู้สืกถึงเทวอำนาจก็กึ่งกลัวกึ่งกล้า ทำใจดีสู้เสือยกพลเที่ยวสังหารทวยเทพ มุนีและฤๅษีเรื่อยไปจนพบ วิกฏะ วิกฏะกล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ดูแลและทำลายโลกต่าง ๆ ถ้าต้องการรู้จักพระองค์ก็ให้ไปถามพระศุกราจารย์ กามาสูรฟาดด้วยเท่าแต่ทำอะไรไม่ได้ ตนเองกลับสลบไปและพอตื่นขึ้นมาก็เจ็บไปทั้งตัว จึงพิจารณาว่า ขนาดพระองค์อยู่เฉยๆ ยังไม่ทรงใช้เทพศาสตราวุธใดๆ ตนยังพ่ายแพ้ถึงเพียงนี้ จึงยอมแพ้และกลับใจแต่โดยดี


   7. วิฆนราชา (VignaRaja)
   ปราบ มมตาสูร ซึ่งถือกำเนิดจากเสียงหัวเราะของ พระแม่อุมา พระอุมาก็ให้ไปบูชาพระพิฆเนศวร แต่ยังไม่ทันจะไปถึงก็พบอสูรตนหนึ่งชื่อ คัมพลสูร และเปลี่ยนใจไปบำเพ็ญตบะกับคัมพลสูร จนสำเร็จแล้วจึงบำเพ็ญตบะขอพรองค์พระพิฆเณศวรเป็นเวลาหลายพันปี ได้รับพรให้เป็นอมตะ และไม่มีอาวุธใดจะสังหารได้ ก็พิชิตทั้งสามโลก จนทวยเทพต้องบูชา พระวิฆนราช มาช่วย

   ครั้งแรกพระวิฆนราชให้พระนารทมุนีไปเกลี้ยกล่อมมมตาสูรก่อน ปรากฏว่าทั้งพระนารทหรือแม้แต่พระศุกราจารย์เกลี้ยกล่อมเองมมตาสูรยังไม่ยอมเชื่อ ยกกองทัพอสูรมาจะต่อสู้กับวิฆนราช วิฆนราชเห็นว่าพวกอสูรส่วนมากไม่ได้ตั้งใจทำผิด แต่รับคำสั่งมาแล้วก็ต้องถูกลงโทษด้วย จึงเอาดอกบัวปาไปทางอสูรทั้งหมดรวมทั้งมมตาสูรสลบไป มมตาสูรฟื้นก่อนคนอื่นเห็นดอกบัวนั้นลอยอยู่กลางอากาศ ได้พิจารณาว่าทรงส่งดอกบัวมาดอกหนึ่งยังมีอำนาจถึงเพียงนี้ ก็กลับใจยอมสวามิภักดิ์ แล้วนิสัยของมมตาสูรก็เปลี่ยนเป็นดี

   8. ธูมระวรรณา (Dhumaravarna)
   ปราบ อหัมอสูร ซึ่งถือกำเนิดจากเสียงจามของ พระสุริยเทพ ซึ่งอยู่ในภาวะโอหัง เพราะพระพรหมทรงแต่งตั้งให้ทรงตัดสินกรรมของเทวะแต่ละองค์ ได้บำเพ็ญตบะถึงพันปีแล้วขอพรจากพระคเณศสองข้อ คือ ต้องการอะไรพระคเณศต้องให้ตามนั้นและต้องสำเร็จทั้งนั้น อีกข้อคือขอให้มีอิทธิฤทธิ์และครอบครองทั้งจัวรวาล ก็ได้ตามนั้นทุกอย่าง ก็กลับโลกอสูร ได้ชายาชื่อ รูปวตี และได้ลูกสองตน จึงไปพิชิตสามโลก และฉุดคร่าหญิงสาวสวยๆ ในโลกเหล่านั้นมาด้วย จนทวยเทพบูชาพระคเนศ และปรากฏพระองค์มีสีกายเหมือนเมฆหรือควัน จึงมีพระนามว่า ธูมรวรรณ

   ตอนแรกธูมรวรรณไปเข้าฝันอหัมอสูรก่อน บอกให้กลับตัวกลับใจเสีย อหัมอสูรก็กลัว แต่บริวารยุเลยเลิกกลัวและยิ่งทำชั่วเพิ่มขึ้น พระคเณศจึงใช้ปาศะขว้างออกไป เกิดแตกแยกออกเป็นพันๆ เส้นลอยไปทั่ว พบอสูรที่ไหนก็รัดคอตายไปนับแสนตน อหัมอสูรส่งลูกชื่อ ครรวะ ไปต่อสู้กับปาศะที่ลอยมา ครรวะก็ถูกปาศะนั้นสังหารเสีย อหัมอสูรต้องไปหาพระศุกราจารย์แล้วจึงยอมกลับใจ พาพวกอสูรไปสวามิภักดิ พระคเณศจึงทรงมีรับสั่งว่าให้เป็นสาวกตนหนึ่ง มีหน้าที่อารักขากิจการของผู้ที่ได้บูชาพระองค์


   ปางสำคัญทั้ง 8 นี้ เป็นเทวปรัชญา คือเปรียบเทียบได้ว่า
องค์พระพิฆเนศทรงเป็นปรมาตมัน
อสูรแต่ละตนก็แสดงถึงนิสัยอันไม่ดีงามต่างๆ คือ โอหัง หลง โลภ กาม เกียจคร้าน และหลงตนเอง
เหล่านี้นับเป็นนิสัยอสูร ท่านว่าถ้าต้องการทำลายนิสัยอสูรซึ่งเป็นกิเลส
ก็ต้องบูชาพระพิฆเนศ เมื่อพระพิฆเนศโปรดแล้ว กิเลสพวกนี้จะไม่อาจทำอันตรายแก่มนุษย์

   

   ขอบคุณที่มา :http://www.siamganesh.com/ganesh8avatar.html
- http://agaligohome.fix.gs/index.php?topic=382.0

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ตุลาคม 18, 2012, 04:30:19 pm »






พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวีองค์อื่นๆ 
   (ขอขอบคุณ -muekdum.com)

   เมื่อครั้งพระพิฆเนศถือกำเนิดขึ้น มหาเทพชั้นผู้ใหญ่ทุกพระองค์ก็ได้มาประชุมกัน ณ. เขาไกรลาส เพื่อมาประทานพรแด่องค์พระพิฆเนศวร ซึ่งการถวายพระพรนี้เองทำให้องค์พระพิฆเณศมีคุณสมบัติที่เป็นอเนกประการ

           
   พรที่พระคเณศได้รับจากมหาเทพ มีดังต่อไปนี้
   พระพรหม ประทานพรว่า "พระคเณศ ขอให้นามของเจ้า จงเป็นที่รู้จักกันทั่วทั้งจักรวาล และขอให้เจ้าจงอยู่ในลำดับแรกของการทำหน้าที่ทั้งหลาย และได้รับการกราบไหว้บูชาจากเทพเทวะทั้งปวง"
   พระธรรม ประทานพรว่า "พระโอรสแห่งพระแม่ปารวตี ขอให้พระองค์ทรงเป็นที่รวมแห่งธรรมะ และคุณงามความดีทั้งหมด ขอให้พระองค์ทรงรอบรู้ในศาสตร์ และศิลป์ทั้งปวง และทรงเต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา ทรงเป็นผู้ให้การปกป้องคุ้มครอง แก่บริวาร ผู้เคารพบูชาพระองค์ตลอดกาล"

   พระลักษมี ประทานพรว่า "พระคเณศ ที่แห่งใดได้ถวายการบวงสรวงบูชาพระองค์ พร้อมด้วยการท่องสวดภาวนามนต์ ข้าพเจ้าจะเป็นผู้ให้ความร่ำรวยและโชคลาภแก่พวกเขา และขอให้พระองค์ทรงมีคู่ครองที่ดี"
   พระสรัสวตี ประทานพรว่า "พระคเณศ ด้วยพลังอำนาจแห่งความรู้ทั้งหมด ข้าพเจ้าขอให้พระองค์ ทรงมีความจำเป็นเลิศ และขอทรงเป็นผู้ที่มีวิจารณญานสำหรับเหตุการณ์ทั้งหลายเป็นอย่างดี และยุติธรรม"
   พระคายะตรี ประทานพรว่า "พระคเณศ ข้าเป็นมารดาแห่งพระเวททั้งหมด ข้าพเจ้าขอให้พระองค์ ทรงเป็นมหาเทพเหนือบรรดาผู้รู้ในพระเวททั้งหลาย"
   พระหิมาลัย ประทานพรว่า "พระคเณศหลานรัก ขอให้เจ้ามีรัศมีสุกสว่างเหมือนดังพระกฤษณะ ด้วยการทำสมาธิมั่นในพระองค์"

   พระเมนคำ (ชายาพระหิมาลัย) ประทานพรว่า "พระคเณศ ข้าพเจ้าขอให้พรแก่พระองค์ ขอให้ทรงมีน้ำพระทัยเมตตาเหมือนข้าพเจ้า ขอให้ทรงเป็นผู้ขจัดอุปสรรค์ทั้งหลายทั้งปวง และทรงเป็นผู้สร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นแก่จักรวาล"
   ท้ายที่สุด พระนางอุมาปราวตี ในฐานะพระมารดาได้ประทานพรว่า "ลูกรัก ขอให้เจ้าจงเป็นใหญ่เหนือนักพรตทั้งหลาย เป็นพระผู้ประทานอำนาจอันยิ่งใหญ่เหนือธรรมชาติ มีความรู้เป็นเลิศและเป็นศูนย์กลางแห่งพรอันยิ่งใหญ่ทั้งหมด ขอให้เจ้าเป็นอมตะ มีทรัพย์มหาศาล และเป็นเทพแห่งความรู้ ความฉลาด และความสำเร็จทั้งปวง"



   จะเห็นได้ว่าพรที่พระมหาศรีคเณศได้รับนั้น เป็นเสมือนคุณสมบัติของ
เทพแต่ละพระองค์ที่มาประทานพร
ดังนั้นพระพิฆเนศจึงเป็นมหาเทพที่รวบรวมเอาความศุภมงคล
และพรอันประเสริฐจากมหาเทพทั้งปวงไว้ที่พระองค์แต่เพียงผู้เดียว


       
   (ขอขอบคุณ -muekdum.com)
   -http://www.siamganesh.com/story02.html


ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 22, 2012, 12:34:03 am »






ประวัติพระพิฆเนศในประเทศไทย
จากหนังสือตรีเทวปกรณ์ เขียนโดย : กิตติ วัฒนะมหาตม์


   คติการนับถือพระพิฆเนศ น่าจะเข้ามาถึงประเทศไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 10 โดยเข้ามาทางภาคใต้ก่อน แต่เทวาลัยของพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดในเมืองไทยปรากฏที่ แหล่งโบราณคดีเขาคา จ.นครศรีธรรมราช มีอายุในพุทธศตวรรษที่ 12 เทวรูปพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดก็พบทางภาคใต้ของไทย และกำหนดอายุได้ในช่วงเวลานั้น เชื่อว่าบรรพชนในภาคใต้ของเราในยุคดังกล่าว คงจะนับถึอพระพิฆเนศตามแบบอินเดีย คือเป็นเทพผู้ขจัดอุปสรรค


   เทวรูปพระพิฆเนศ เริ่มแพร่หลายมากขึ้นเมื่อถึงสมัยที่เมืองไทยเรา ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากขอม เทวรูปเหล่านี้พบในปราสาทหินหลายแห่ง ทั้งที่เป็นเทวรูปลอยองค์สำหรับบูชาภายในปราสาท และอยู่บนทับหลังหรือหน้าบันในลักษณะภาพแกะสลักนูนสูง คติการนับถือพระพิฆเนศในเมืองไทยเราช่วงนี้ น่าจะเป็นแบบเขมร คือ เป็นเทพองค์สำคัญในไศวะนิกาย คือจะต้องมีประจำในเทวสถานของลัทธินี้ รวมทั้งการบูชาในฐานะเทพแห่งอุปสรรค และเทพแห่งการประพันธ์ด้วย เพราะเท่าที่พบเทวลักษณะก็เป็นแบบเขมร คือประทับนั่งชันพระชานุข้างหนึ่งแบบมหาราชลีลาสนะ หรือประทับนั่งขัดสมาธิราบ ถ้าประทับยืนก็ประทับยืนตรงๆ ไม่ใช่ยืนเอียงพระโสณีหรือตริภังค์แบบอินเดีย


   อย่างไรก็ตาม เทวรูปเหล่านี้ล้วนแต่สร้างอย่างงดงามมาก และอาจจะมีทั้งที่สร้างด้วยหินและสำริด หรือแม้แต่ทองคำ แต่ที่ตกทอดมาถึงยุคของเราส่วนมากมีแต่เป็นหินเท่านั้น ในจำนวนนี้องค์ที่เด่น ๆ ได้แก่พระคเณศทรงเครื่องจาก ปราสาทหินเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ ส่วนพระพิฆเนศจากปราสาทที่งามที่สุด อย่างเช่นปราสาทหินพนมรุ้งนั้น ปัจจุบันเราได้พบแต่ที่เป็นขนาดเล็ก

   เทวลักษณะที่ประทับยืนตรงของพระพิฆเณศแบบขอม ได้ต่อเนื่องมาถึงพระพิฆเนศแบบเชียงแสนและสุโขทัยด้วย ปัจจุบันเรามีตัวอย่างของเทวรูปพระพิฆเนศแบบเชียงแสน ที่ทำอย่างงดงามหลายองค์ แต่ที่งามกว่าคือแบบสุโขทัย ซึ่งเท่าที่รู้จักกันเป็นสมบัติของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และมีการถ่ายแบบทำเป็นเทวรูปสำหรับบูชาทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 269 ซึ่งปัจจุบันก็หาดูยากแล้ว


   ในสมัยสุโขทัย การนับถือพระพิฆเนศก็คงเป็นไปตามแบบทีได้อิทธิพลจากขอม แต่ก็น่าจะเสื่อมคลายลงมาก เพราะได้มีการให้ความสำคัญต่อศาสนาพุทธยิ่งกว่าศาสนาฮินดูที่นับถือกันมาแต่ เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท ที่ศาสนาพุทธเฟื่องฟูมาก

   ล่วงถึง สมัยกรุงศรีอยุธยา ศาสนาฮินดูได้กลับมามีความสำคัญในราชสำนักอีกครั้ง มีหลักฐานว่าได้มีการหล่อพระพิฆเนศ และ พระเทวกรรม คือพระพิฆเนศในฐานะที่เป็นครูช้างขึ้นมาหลายองค์ แต่หลักฐานที่ตกมาถึงเรามีแต่เทวรูปสำริดขนาดเล็กเพียงไม่กี่องค์ และเทวรูปสำริดขนาดใหญ่ที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า รวมทั้งเทวรูปศิลาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระราชวังจันทร์เกษม เป็น ต้น พระพิฆเนศได้กลับมามีบทบาทสำคัญในราชสำนักกรุงศรีอยุธยาก็เพราะเกี่ยวเนื่อง ด้วยการคชกรรมนี่เอง และก็ยังคงมีความสำคัญตามคติที่ได้รับจากขอม คือเป็นเทพผู้ขจัดอุปสรรค เป็นเทพที่จะต้องบูชาก่อนอื่นในพิธีกรรมสำคัญ และเป็นเทพแห่งการประพันธ์คัมภีร์ต่าง ๆ


   ส่วนคติที่นับถือพระพิฆเนศวรเป็น เทพแห่งศิลปวิทยา อันเป็นการแทนที่คติเดิมของพระสรัสวดีที่มีมาแต่อินเดียนี้ ยังไม่ปรากฏว่ามีในเมืองไทย จนกระทั่งผ่านพ้นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพราะใน 4 รัชกาลแรกภาพเขียนพระพิฆเนศในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม และ วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือแม้แต่ภาพแกะสลักบนประตูไม้ที่ วัดเพลงวิปัสสนา บางกอกน้อย ยังเป็นเรื่องจากนารายณ์สิบปางอยู่ ภาพเหล่านี้คงมีที่มาจากตัวอย่างพระเทวรูปในตำราภาพเทวรูปและเทวดานพเคราะห์ ซึ่งเป็นแบบอย่างภาพลายเส้นรูปเทพเจ้าแทบทุกพระองค์ สำหรับช่างเขียนใช้เป็นต้นแบบ ตำราภาพดังกล่าวสร้างในรัชกาลที่ 3-4 และคงมีมาแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

   ที่ เป็นหลักฐานทางเอกสาร โดยเฉพาะในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยังเป็นคติเก่าที่มีอยู่ในเรื่อนารายณ์สิบปางเช่นกัน และองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงนั้น โดยส่วนพระองค์ก็ดูจะทรงนับถือพระพิฆเนศอยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อเสด็จประพาสชวาก็ทรงนำพระพิฆเนศขนาดใหญ่ของที่นั่นมาด้วย (ปัจจุบันยังจัดแสดงอยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร)

           

   นอกจากนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงมีพระราชประวัติที่เกี่ยวข้องกับพระพิฆเณศวรอีก คือเมื่อครั้งยังทรงกรม ก็ได้พระนามกรมครั้งแรกเป็น กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ และ ยังได้รับพระราชทานเทวรูปพระพิฆเนศ มาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย แต่พระองค์ท่านก็มิได้ทรงนับถือพระพิฆเนศในด้านศิลปวิทยาแต่อย่างใด เพราในรัชกาลของพระองค์นั้น ยังมีพระสรัสวดีเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาอยู่ ตามที่นับถือกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยานั่นเอง

   จึงต้องนับว่า การนับถือพระพิฆเนศเป็นเทพแห่งศิลปวิทยา เป็นการริเริ่มโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริง เนื่องจากพระองค์ท่านโปรดการประพันธ์กวีนิพนธ์ และศิลปศาสตร์ จึงทรงยกย่องพระพิฆเนศเป็นพิเศษ โดยทรงนำคุณสมบัติที่เป็นของพระสุรัสวดีมาแต่เดิมมารวมเข้าเป็นของพระพิฆเนศ ด้วย พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวาลัยพระพิฆเนศสำหรับกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม และทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับพระพิฆเนศไว้สำหรับการนาฏศิลป์โดยเฉพาะ เมื่อทรงตั้งวรรณคดีสโมสร ก็พระราชทานเทวรูปพระพิฆเนศเป็นตราประจำสถาบันนั้น เมื่อกรมศิลปากรเกิดขึ้นและรับตราดังกล่าวมาเป็นตราประจำกรมต่อมา พระพิฆเนศจึงกลายมาเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาของไทยเราโดยสมบูรณ์


   การนับถือพระพิฆเนศในทางศิลปะของไทยเรา จึงเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดในเมืองไทยโดยเฉพาะ ขณะที่คติเดิมที่ได้จากอินเดียและขอมนั้นก็ยังมีอยู่บ้าง คือยังคงเป็นเทพแห่งอุปสรรค และปัจจุบัน เมื่อเราได้คุ้นเคยกับวัฒนธรรมภารตะมากขื้น จึงมีการหันกลับไปบูชาพระพิฆเนศตามแบบฮินดูกันอีกครั้งหนึ่ง แต่คติการนับถือพระองค์ในฐานะครูช้างตามแบบอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น เวลานี้ได้ลดความสำคัญไปมากแล้ว

   ปัจจุบัน นี้ ในเมืองไทยเรามีความนิยมประดิษฐ์เทวรูปพระพิฆเนศสำหรับบูชาโดยวัดและองค์กร ต่างๆ เป็นจำนวนมากตั้งแต่ภายหลัง พ.ศ 2529 เป็นต้นมาและมาแพร่หลายอย่างแท้จริงก็เมื่อภายหลัง เหตุการณ์เทวรูปดื่มนม เมื่อปลายปี 2538 เทวรูปพระพิฆเนศขนาดบูชาของไทย มักเป็นแบบที่ประทับนั่งบนฐานธรรมดา และฐานหัวกะโหลก และมีอีกแบบหนึ่งที่ค่อนข้างหายากคือประทับบนบัลลังก์เมฆ ซึ่งเป็นตราของกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยศิลปากร เทวรูปองค์พระพิฆเนศที่หน้า ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน (เซ็นทรัลเวิลด์) ก็ ประทับบนบัลลังก์เมฆนี้เหมือนกัน และมักจะมี 4 พระกร ถืองา วัชระ ปาศะ และผลมะนาวหรือขนมโมทกะ โดยใช้วัสดุคือ ดินเผา เซรามิค หิน หินอ่อน แก้ว สำริด และทองเหลือง บางทีมีซิลิกาและเรซินด้วย ซึ่งแม้เป็นวัสดุทางวิทยาศาสตร์ ก็ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน

   ส่วน ที่เป็นเทวรูปขนาดเล็กหรือวัตถุมงคลนั้น จะมีรูปแบบที่หลากหลายมาก และออกให้บูชาโดยองค์กรและวัดทั่วทุกภาคในเมืองไทย โดยเฉพาะวัดในกรุงเทพฯ จะจัดสร้างออกมามากที่สุด

         

   นอก จากนี้ ยังมีคตินิยมในการตั้งศาลพระพิฆเนศขึ้นตามสถานที่ราชการ และบริษัทห้างร้านของเอกชนขึ้นมากมายหลายแห่งทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย จังหวัดไกลที่สุดที่มีการประดิษฐานเทวรูปพระพิฆเนศเท่าที่ผู้เขียนจำได้ใน ภาคเหนือก็คือ จ.เชียงราย แต่ที่มีเป็นจำนวนมากคือ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีอยู่ตามวัดต่างๆ เช่น วัดท่าสต๋อย วัดพระธาตุดอยสุเทพ วัดชัยศรีภูมิ และวัดนันทาราม ทั้งหมดอยู่ในเขต อ.เมือง ส่วนจังหวัดที่ไกลที่สุดทางภาคใต้คือ จ.สงขลา ที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพอสมควร ส่วนที่มีมากที่สุดคือภาคกลางและภาคใต้ตอนบน เฉพาะในกรุงเทพฯ ก็มีแล้วไม่น้อยกว่า 50 แห่ง ส่วนมากจะมีรูปแบบที่น่าสนใจกว่าในต่างจังหวัด ถึงกระนั้นพระพิฆเนศองค์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ คือที่ วิทยาลัยนาฏศิลป์ (วัดพระแก้ววังหน้า) ก็ยังไม่เท่ากับองค์ที่ วัดเขาเข้เทพนิมิตวนาราม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีความสูงกว่า ๒๐ เมตร นับว่าเป็นพระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนี้

   เทวรูปพระพิฆเนศของโบราณ ซึ่งเคยประดิษฐานไว้ ณ เทวสถานสมัยต่างๆ กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ปัจจุบันจะหาชมได้ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในจังหวัดต่า ๆ ตลอดจนร้านขายของโบราณก็ยังมีอยู่อีกมาก

   ที่จะเว้นกล่าวถึงมิได้ คือในวงการตำหนักทรงที่แอบอ้างว่าเป็นตำหนักของพระพิฆเนศนั้น มีจำนวนมากเป็นลำดับที่ 3 ของจำนวนตำหนักทั้งหมดกว่า 200,000 ตำหนักเลยทีเดียว!!!


-http://www.siamganesh.com/ganeshthailand.html

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 20, 2012, 10:47:44 pm »





  พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก
  จาก
หนังสือตรีเทวปกรณ์
   
   การนับถือพระคเณศนั้นมีอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตั้งแต่ภายหลังพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา แต่ที่ยังคงสืบทอดมาจนปัจจุบันก็อยู่รอบ ๆ บ้านเรานั่นเอง

   ดังเช่น พม่า แม้จะมีการนับถือศาสนาพุทธเป็นหลักมาแต่โบราณ แต่ก็มีคติการนับถือพระคเณศสอดแทรกอยู่ ชาวพม่าโบราณมักเรียกพระองค์ว่า มหาพินายปุรหา (Maha Pinay Purha) ได้มีการค้นพบเทวรูปขนาดเล็กของพระองค์เป็นจำนวนมากที่พุกาม ปนอยู่กับพระพุทธรูปในพระธาตุต่าง ๆ ก็มี มีทั้งทำด้วยหิน หินปูน สำริด ไมกา ดินเผาและปูนปลาสเตอร์
   
   การสร้างเทวรูปพระคเณศไว้ตามศาสนสถานต่างๆ ก็พอมีให้เห็นบ้าง เช่นที่ เจดียชเวซันดอว์ (Shwehsandaw) ซึ่ง พระเจ้าอนุรุทมหาราช ทรงสร้างในพุกามตอนเหนือเมื่อราวๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๖ มีเทวรูปพระคเณศปรากฏอยู่ตามมุมเจดีย์ร่วมกับเทพอื่นๆ ในฐานะ เทพอารักษ์พุทธสถาน นอกจากนี้ก็ทรงปรากฏร่วมกับพระควัมปติ เช่นที่ เจดีย์กุธนลน (Kuthonlon) ที่เมืองกโยกโสก ใกล้กับพุกามนั้นเอง

   และที่น่าสังเกตคือ เมื่อพระควัมปตินั้นเป็นพระปิดตา พระคเณศซึ่งอยู่ร่วมกับพระองค์นี้ในลักษณะประทับนั่งหันหลังชนกันก็ปิดตาด้วย พระคเณศปิดตาของพม่านี้เอง ที่เป็นต้นแบบสำหรับเครื่องรางชุด พระเครื่องปิดตา ที่มีผู้สร้างกันอย่างแพร่หลายในเมืองไทยนี่เอง
   
   เทวรูปของพระองค์ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในพม่านั้นประดิษฐานอยู่บน ยอดเขาโปปา (Popa) เป็นเทวรูปที่สร้างขึ้นตามศิลปะแบบอินเดีย


   ใน เขมร มีการนับถือพระพิฆเนศมาตั้งแต่สมัยก่อนสร้างเมืองพระนคร มีจารึกกล่าวสรรเสริญพระพิฆเนศเช่นที่ ปราสาทไพรกุก และมีเทวาลัยสำหรับพระองค์โดยเฉพาะตั้งแต่พุทธศตวรรพี่ 12
   
   เทวฐานะของพระพิฆเนศในอารยธรรมขอมโบราณนั้นสูงส่งมาก เพราะเป็นเทพองค์สำคัญของฝ่าย ไศวนิกาย (นับถือพระศิวะเป็นใหญ่) ซึ่ง เป็นศาสนาที่นิยมนับถือกันอยู่ ดังนั้นเทวรูปของพระองค์จึงปรากฏอยู่ในเทวสถาน หรือปราสาทหินทุกแห่งที่สร้างขึ้นสำหรับศาสนาฮินดูนิกายไศวนิกาย ซึ่งเจริญสูงสุดในพุทธศตวรรที่ 14 กล่าวได้ว่านอกจากในอินเดียแล้ว เทวรูปพระพิฆเนศที่งามที่สุดในโลกก็มีอยู่ในเขมรนี่เอง


Krishna-Ganesh by Yadupati

   พระพิฆเนศในคติของเขมรยังปรากฏร่วมกับเทพฝ่ายอื่นๆ อีก เช่น เทพนพเคราะห์ และคณะเทวีสัปตมาตฤกาด้วย พอหลังจากพุทธศตวรรษที่ 16 ก็มักปรากฏพระองค์ในลักษณะของเทพแห่งการรจนาคัมภีร์ต่างๆ ทั้งคัมภีร์มหาภารตะและคายะตรีตันตระ

   เทวรูปพระพิฆเนศในศิลปะขอมมีขนาดและรูปแบบที่หลากหลาย แต่ที่รู้จักกันมากมักจะมี 2 พระกรวางอยู่บนพระชานุ ประทับนั่งขัดสมาธิราบหรือขัดสมาธิเพชร ถ้าประทับยืนก็จะมี 4 พระกร

   เทวรูปพระพิฆเนศองค์สำคัญๆ ในศิลปะขอมในปัจจุบันมีอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกรุงพนมเปญ, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของไทย พิพิธภัณฑสถานใหญ่ๆ ของโลกเช่นที่ กีเมต์ (Guimet) ของ ฝรั่งเศส เป็นต้น ล้วนแต่มีเป็นจำนวนมากจนไม่อาจจะกล่าวได้ครอบคลุมทั้งหมด

   
   image from photobucket.com

   ใน สิงคโปร์ ซึ่งมีชุมชนอินเดียขนาดใหญ่อยู่ มีเทวปกรณ์เกี่ยวกับพระพิฆเณศไม่เหมือนกับในปุราณะต่างๆ ของทางอินเดีย แต่กลับคล้ายคลึงกับคติไทยเรามาก...
   
   ดังเล่ากันว่าสมัยหนึ่ง มีพญายักษ์ตนหนึ่ง เกิดขึ้นมามีพละกำลังและอิทธิฤทธิ์จนสั่นสะเทือนไปทั้งสามโลก และผู้เดียวที่จะสังหารยักษ์ตนนี้ได้ คือโอรสของพระศิวะและพระอุมาเท่านั้น พญายักษ์ก็รู้ความจริงข้อนั้นเช่นกัน จึงแอบเข้าไปตัดเศียรกุมารที่อยู่ในครรภ์ของพระอุมาเสียก่อน เมื่อมีพระประสูติกาลพระกุมารจึงไม่มีพระเศียร พระศิวะจึงสังหารอสูรที่มีหัวเป็นช้างตนหนึ่ง โดยสัญญาว่าจะรักษานามของอสูรนั้นให้ปรากฏต่อไปในภายหน้า แล้วจึงนำศีรษะของอสูรนั้นมาแทนพระเศียรเดิมของพระกุมาร พระกุมารจึงมีเศียรเป็นช้าง และสามารถปราบยักษ์ตนนั้นลงได้ในที่สุด
   
   ส่วนใน อินโดนีเซีย พระพิฆเณศเคยเป็นที่นับถือกันมากในอดีต โดยเฉพาะในชวาภาคตะวันออกตั้งแต่พุทธศตวรรพี่ 15-21 ซึ่งเป็นยุคของ ราชวงศ์สิงหส่าหรี และ ราชวงศ์มัชปาหิต และรวมถึงบางสมัยในชวาภาคกลางด้วย


   พระพิฆเณศของชวามักจะทรงมีเทวลักษณะที่สงบเสงี่ยมอย่างเห็นได้ชัด ไม่เคลื่อนไหวหรือทรงพลังอำนาจอย่างรุนแรงแบบอินเดีย องค์ที่สำคัญก็เช่นพระพิฆเณศจากบารา เมืองบลิตาร์ (BIitar) สร้างใน พ.ศ 1782 สมัยราชวงศ์สิงหส่าหรี เป็นองค์ที่มีขนาดใหญ่และสวยงามมากที่สุดในโลกองค์หนึ่ง พระพิฆเณศองค์นี้ประทับนั่งแยกพระชงฆ์แต่หันฝ่าพระบาทเข้าหากัน ทรงถือกปาละไว้ในพระหัตถ์หนึ่ง ที่ฐานด้านหน้าก็มีกะโหลกศีรษะมนุษย์ประดับอยู่

   ลักษณะการนั่งและการประดับหัวกะโหลกตามเครื่องพัสตราภรณ์และที่ฐานนี้จะเป็นลักษณะเด่นของเทวรูปพระพิฆเณศแบบชวา ซึ่งได้มีอิทธิพลต่อมาในเมืองไทยของเรา ดังเทวรูปจากจัณฑิสิงหส่าหรีที่สร้างเมื่อพุทธศตวรรพี่ 19 นั้น มีหัวกะโหลกประดับรอบฐานเลยทีเดียว!!

   เหตุใดพระพิฆเณศของชวาจึงต้องมีการประดับหัวกะโหลกอย่างน่าสะพรึงกลัวเช่นนั้น? คำตอบก็คือ เพราะเขานิยมนับถือพระองค์ในฐานะ คณปติ คือทรงเป็นหัวหน้าบริวารแห่งพระศิวะ หรือเรียกอีกอย่างได้ว่าทรงเป็นผู้อยู่เหนือภูตผีปิศาจต่างๆ ดังนั้นการสร้างเทวรูปดังกล่าวจึงแสดงถึงเทวานุภาพในการขจัดสิ่งชั่วร้าย มนต์ดำ รวมทั้งอัปมงคลและโรคภัยต่างๆ นั่นเอง


   ส่วนที่ บาหลี ในปัจจุบันนี้ สถานที่สำคัญสำหรับพระพิฆเนศวรมีอยู่ที่ เคาคชาห์ (Goa Gajah) ใกล้กับ เปเชง (pejeng) ราชธานีในอดีตของบาหลี เป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่มีการแกะสลักอย่างเลื่องชื่อ ภายในนั้นมีเทวรูปพระพิฆเนศวรสันนิษฐานว่าคงสร้างในราวๆ พุทธศตวรรษที่ 16 เทวรูปพระพิฆเนศวรที่มีชื่อเสียงยังมีอีกแห่งหนึ่งที่ เยห์ปุลูห์ (Yeh puluh) ซึ่งอยู่ไม่ห่างไปจากเคาคชาห์มากนัก ที่นั่นมีการแกะสลักหินรูปนูนสูงเป็นภาพปริศนาขนาดยาวถึง 25 เมตร ปลายสุดของภาพเป็นเทวรูปพระพิฆเนศวรซึ่งสร้างตามแบบศิลปะชวาโบราณ สันนิษฐานว่าภาพทั้งหมดทำขึ้นในพุทธศตวรรพี่ 19

   ใน ญี่ปุ่น ก็มีคติการนับถือพระพิฆเนศวรอยู่บ้างเหมือนกัน โดยทรงมีพระนามว่า โชเทน (Joten) หรือ ไดโช คังคิเทน (Daljo-Kangklten) เข้าใจว่าชาวญี่ปุ่นคงได้รับไปจากจีนในราวๆ พุทธศตวรรษที่ 14 แต่คงจะรับไปในรูปแบบของพระสิทธิธาดามากกว่ามาร เพราะยังนับถือว่าพระองค์จะทรงบันดาลให้เกิดอุปสรรค หรือนำข้ามพ้นอุปสรรคก็ได้ ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าพระองค์เป็นผู้นำทางไปสู่ความสว่าง...


   เพิ่มเติม - พระพิฆเนศในศาสนาอื่น
   ในศาสนาเชน พระพิฆเณศทรงปรากฏในวรรณคดียุคหลังๆ โดยวรรณคดีเชนที่เก่าที่สุดซึ่งกล่าวถึงพระพิฆเณศ คือ อภิทาน-จินดามณี ของเหมจันทร์ มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18 และทรงได้รับความนิยมในฐานะยักษะ มีพระนามว่า ปารศวยักษ์ (Parsvayaksa) หรือ ธรรมเมนทร์ (Dharmendra) โดยเทวรูปจะประทับบนหลังเต่า และนาคปรก ถือเป็นเทพองค์หนึ่งในศาสนาเชน

   สำหรับพุทธศาสนาคติมหายานนั้น ทางหนึ่งยอมรับนับถือพระพิฆเณศในฐานะของสิทธิธาดา หรือผู้ประทานความสำเร็จ ดังมีบทสวดบูชาพระพิฆเณศในมนตราลึกลับบทหนึ่ง เรียกว่า คณปติหฤทัย (Ganapati Harudya) ชาวพุทธกลุ่มหนึ่งนับถือพระพิฆเณศทั้งในการทำลายและคุณวิเศษ ประติมากรรมทางพุทธศาสนาสมัยคุปตะตอนปลายที่สารนาถมีรูปพระพิฆเณศปรากฏอยู่ร่วมกับเทพอื่นๆ ในภาพตอนพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน แต่พระพิฆเณศในลักษณะนี้มิได้มีฐานะเป็นเทพเจ้า

         

   ในคติมหายานฝ่ายจีนและทิเบต มีการกำหนดเทพเจ้าใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นจำนวนมาก และเหยียดหยามทวยเทพในศาสนาฮินดูว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความชั่วร้าย พระพิฆเณศก็พลอยถูกเหยียดหยามไปด้วย โดยมีคัมภีร์กล่าวว่า พระองค์ทรงเป็นตัวแทนของอุปสรรคและทรงพ่ายแพ้แก่เทพในทางมหายาน เช่น เทพีพรรณศวรี (Parnasabari) เทพีอัปราชิตา (Aprajita) และเทพวิฆนานตกะ (Vighnantaka) นอกจากนี้ ก็มีเทพมหากาล (Maha Gala) และพระโพธิสัตว์มัญชุศรี (Manjusri Bhodisatva) โดยปรากฏพระองค์ในลักษณะที่ถูกเทพทางมหายานเหล่านี้เหยียบ หรือถ้าอธิบายถึงพระองค์เดี่ยวๆ ก็ระบายสีไปในทางชั่วร้าย เช่น ทรงถือกปาละ (Kapala) ที่เปื้อนเลือด หรือไม่ก็มีเศษเนื้อมนุษย์แห้งกรังติดอยู่



จากหนังสือ "คเณศปกรณ์" สำนักพิมพ์เมืองโบราณ (ผู้เขียนคนเดียวกัน)
-http://www.siamganesh.com/ganeshasia.html

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 20, 2012, 05:38:53 pm »


   




   ตำนานพระพิฆเนศว่าด้วย
   เศียรของพระพิฆเนศ งาข้างเดียว และหนูบริวาร
   ขอขอบคุณ - สยามรัฐออนไลน์
   
   ... พวกอสูรและรากษสได้ทำการบวงสรวงพระศิวะจนได้รับพรหลายประการ จึงเกิดความฮึกเหิมก่อความเดือดร้อนไปทั่ว ร้อนถึงพระอินทร์ต้องนำเทวดาทั้งหลายไปเฝ้าพระศิวะบ้าง ขอให้พระองค์ทรงสร้างเทพแห่งความขัดข้องขึ้น พระศิวะจึงทรงแบ่งกายส่วนหนึ่งให้บังเกิดในครรภ์ของพระแม่อุมาออกมาเป็น บุรุษรูปงามนาม วิฆเนศวร มีหน้าที่ขัดขวางเหล่าอสูรคนชั่วมิให้ทำการบัดพลีขอพรจากพระศิวะ


อีกทั้งให้เป็นผู้อำนวยความสะดวกแก่เทวดา และคนดีที่จะทำการใดๆ ให้ไปสู่ความสำเร็จ
ดังนั้นชื่อ วิฆเนศวร จึงเป็นอีกพระนามของพระคเณศ

   ก็มีเรื่องเล่าต่อมาว่าเมื่อพระคเณศมีอายุพอจะทำ พิธีโสกันต์ (โกนจุก) แล้ว พระศิวะก็ได้ให้เทวดาไปอัญเชิญพระนารายณ์หรือพระวิษณุที่บรรทมอยู่ ณ เกษียรสมุทรหรือทะเลน้ำนมมาร่วมพิธีด้วย ปรากฏว่าท่านกำลังหลับเพลินๆ พอถูกปลุกก็คงจะหงุดหงิด จึงพลั้งปากเปล่งวาจาว่า "ไอ้ลูกหัวหาย กวนใจจริง!!!!" ด้วยวาจาสิทธิ์เลยมีผลให้เศียรพระคเณศหลุดไปในทันใด !!!

   พระศิวะจึงต้องมีเทวโองการให้เหล่าเทวดาไปหาหัวมนุษย์ที่เสียชีวิตมาต่อให้ แต่ปรากฏว่าวันนั้นกลับไม่มีใครตาย มีเพียงช้างที่นอนตายอยู่ทางทิศตะวันตกเท่านั้น เทวดาจึงต้องตัดหัวช้างมาต่อเศียรให้พระคเณศแทน ท่านเลยมีหัวเป็นช้างมาตั้งแต่บัดนั้น

       

   ส่วนสาเหตุที่พระคเณศมีเพียงงาเดียวนั้น เล่ากันว่าถูกขวานของปรศุรามขว้างใส่ ซึ่งปรศุรามนี้เป็นพราหมณ์อวตารภาคหนึ่งของพระนารายณ์ และได้รับประทานขวานเพชรจากพระศิวะ ทำให้มีฤทธิ์เดชมาก ได้ใช้เทพศัตราวุธนี้ไปล้างแค้นแทนบิดามารดา รวมถึงไปปราบปรามเหล่ากษัตริย์ทั้งหลายจนสิ้นโลก

   กระนั้นก็ดีพระวิษณุก็ได้มีเทวประกาศิต แบ่งกำลังของปรศุรามมาให้พระคเณศครึ่งหนึ่ง เพื่อมิให้มีกำลังมากเกินไป และใช้ไปในทางที่ไม่ควรอีก นอกจากให้กำลังแล้วท่านยังประกาศให้พระคเณศมีพระนามว่า เอกทันตะ คือผู้มีงาเดียว และว่านามนี้จะเป็นเครื่องประกาศคุณงามความดีที่ทรงเป็นลูกกตัญญูต่อบิดา รู้จักรักษาเกียรติบิดา และยังให้นามว่า พิฆเนศวร ซึ่งหมายถึงผู้ที่สามารถกำจัดอุปสรรคได้นานาประการ



   รวมทั้งให้นามว่า สิทธิบดี หมายถึง เจ้าแห่งความสำเร็จ แต่ที่สำคัญคือให้พรแก่พระคเณศอีกว่า ในการประกอบพิธีกรรมทั้งปวง ท่านจงเป็นใหญ่เป็นประธาน ผู้กระทำพิธีกรรมใดๆ หากไม่เอ่ยนามท่าน ไม่สวดสรรเสริญท่านก่อน พิธีกรรมนั้นจะไร้ผล และล้มเลิกโดยสิ้นเชิง บุคคลใดสวดสดุดีท่านก่อนทำกิจกรรมใดๆ กิจกรรมของเขาจะลุล่วงเป็นผลสำเร็จโดยง่าย

   ด้วยพรที่พระวิษณุ หรือพระนารายณ์ประทานแก่พระคเณศนี้เอง ทำให้ผู้คนทั้งหลายต่างพากันบูชา เพื่อความสำเร็จแห่งตน และนอกจากพระนามข้างต้นแล้ว พระคเณศยังมีอีกหลายพระนาม ซึ่งล้วนเรียกตามลักษณะของพระองค์ทั้งสิ้น เช่น อาขุรถ หมายถึงผู้ทรงหนูเป็นพาหนะ สัพโพทร หมายถึงผู้มีท้องย้อย และ ลัมพกรรณ หมายถึงผู้มีใบหูที่ใหญ่ อีกทั้งพระคเณศยังได้ชื่อว่า เทพแห่งปัญญา อีกด้วย


   ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็นหัวหน้าแห่งเทพที่มีเศียรเป็นสัตว์ทั้งหลายอีกด้วย และต่อมาก็ได้พัฒนาเรื่องราวจนกลายเป็นโอรสแห่งพระศิวะและพระแม่อุมาตามตำนานข้างต้น
   ส่วน หนู นั้นน่าจะเกิดจากการที่สมัยก่อน คนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ หนูชอบทำลายพืชพันธุ์ธัญญาหารจึงเป็นอุปสรรคต่ออาชีพและเป็นศัตรูอันดับ หนึ่ง ดังนั้นการนำหนูมาเป็นพาหนะของเทพเจ้าที่ตนนับถือจึงเป็นการแสดงความมีอำนาจ เหนือกว่า และมีนัยของการขจัดอุปสรรคไปในตัว


   
   (ขอขอบคุณ - สยามรัฐออนไลน์)
   -http://www.siamganesh.com/story01.html
ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กันยายน 19, 2012, 10:41:28 pm »





Happy Birthday Lord Ganesha
โอม...
ศรี คเณศายะ นะมะฮา



วันคเนศจตุรถี (วันคล้ายวันประสูติองค์พระพิฆเนศ)
วันที่ 19 กันยายน 2555 (ขึ้น 4 ค่ำเดือน 10 )

วันสำคัญในการบูชาพระศรีคเนศ ที่ยึดถือกันมาช้านานคือ แรม 4 ค่ำเดือน 9 และแรม 4 ค่ำเดือน 10 (ประมาณเดือนสิงหาคม-กันยายน) ปีนี้ 2555 ตรงกับวันพุธที่ 19 กันยายน ซึ่งถือเป็นวันกำเนิดพระองค์ท่าน หรือเรียกว่า พิธีจตุรถี อมาวาสี สำหรับการบูชาโดยทั่วไปนั้นบางคนจะบูชาเฉพาะวันอังคาร ตามความเชื่อที่ว่า ท่านเป็นเทพประจำวันอังคาร บางท่านเห็นว่าท่านเป็นบรมครู จึงบูชาซึ่งเป็นวันพฤหัสบดีซึ่งเป็นวันครู ก็ไม่ผิดแต่อย่างใด ไม่ว่าจะวันที่ 19 ที่กำลังจะมาถึงนี้ วันอังคาร หรือวันพฤหัสบดี หากเป็นไปได้เราควรจะเคารพบูชาท่านทุกวันจะเป็นศิริมงคลอย่างยิ่ง

ให้นำองค์รูปปั้นพระศรีคเนศจำลองที่ทำจากแป้งหรือดิน หากสามารถปั้นเองได้จะดีมาก แต่ส่วนใหญ่หาซื้อได้โดยทั่วไปซึ่งจะสะดวกกว่า นำท่านมาบูชาตลอด 21 วันก่อนวันจตุรถี ตลอด 21 วันให้จัดถวาย ขนมโมทกะหรือขนมรันดู อ้อย กล้วย หญ้าแพรก นมสด ดอกไม้ที่มีสีแดงสด หากเป็นดอกชบาแดงจะดีมาก พร้อมสรรเสริญพระนามท่านทั้ง 108 พระนาม ทั้งนี้ทั้งนั้นการจัดเครื่องสักการะ ต้องตามแต่ฐานะ บางท่านอาจจะทำในวันที่ 19 กันยายนเลยก็ได้ โดยมีวิธีการบูชาดังนี้

1. จุดเทียนไข หรือตะเกียงน้ำมัน ธูปส่วนใหญ่ใช้ 8 ดอก และกำยาน
2. กล่าวคำบูชา สวดสรรเสริญพระนามทั้ง 108 หรือหากจะสวดสั้นๆที่นิยมกันดังนั้ได้ "โอม ศรีคเนศา ยะนะมะฮา"
3. ถวายเครื่องสักการะ กล่าวคำถวาย และอัญเชิญท่านมารับเครื่องสักการะ ท่านสามารถกล่าวบทถวายเครื่องสักการะดังนี้ โอม นาตะวิฑะ มัณฑะ บุชะปาณิ สมัตตะยุติรามิ จากนั้นกล่าวเป็นภาษาไทยว่า ข้าพเจ้า.......ขออัญเชิญ....(ชื่อองค์เทพ).....มารับเครื่องสังเวย ซึ่งข้าพเจ้าเป็นผู้จัดหามาถวาย ณ สถานที่บูชาแห่งนี้ เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ข้าพเจ้า
4. สวดมนต์ภาวนา ทำสมาธิ
5. ถวายไฟ วนตามเข็มนาฬิกา 3 รอบ แล้วใช้ฝ่ามืออังไฟที่วนนั้นมาแตะที่หน้าผากเพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคล เกิดความสว่างเกิดปัญญาและชีวิต เป็นอัญเสร็จพิธี
6. นำรูปปั้นจำลองไปลอยในแม่น้ำหรือทะเล โดยทำเป็นกระทงใส่เงินทองและดอกไม้ ดอกไม้ที่ท่านทรงโปรดคือ ดอกชบาสีแดง ดาวเรือง กุหลาบ หรือดอกบัว หมายถึงการส่งพระองค์ท่านกลับสู่สวรรค์และทิ้งทรัพย์สมบัติแก่ผู้บูชาตลอดทั้งปี

ที่มา : ห้อง อ.มิกครับ
พิธีจตุรถี อมาวาสี - ห้อง อ.มิก ติวเตอร์ญาณทิพย์
- หน้าแรก ญาณทิพย์ - Powered by Discuz!
-http://board.palungjit.com/f105/มหากุศลครั้งใหญ่-ขอเชิญร่วมสร้างพระธาตุ
-พระ-5-พระองค์-วิหาร
-ฐานพระอุปคุต-ในบุญเดียว-318768-15.html หน้า/15 #295



   ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ
   ขอขอบคุณ - ชมรมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์


   
   กำเนิดพระพิฆเนศวร
   คัมภีร์ปราณะได้บันทึกไว้ช่วงหลังพุทธศตวรรษที่ 1
กล่าวถึงการกำเนิดพระพิฆเนศในฐานะเทพ และโอรสของพระแม่อุมาเทวีกับพระศิวะเทพ
โดยแต่ละตำนานได้กล่าวไว้แตกต่างกัน ดังนี้



   ตำนานที่หนึ่ง ปราบอสูรและรากษส
   เมื่อ อสูรและรากษส ทำการบวงสรวงพระศิวะเพื่อขอพรต่อพระองค์จนได้รับพร สมประสงค์ ต่อเมื่อได้ใจกลับรุกรานเหล่าเทวดาให้ได้รับความเดือดร้อนไปทั่ว จนความถึงพระอินทร์จึงจำต้องพาเหล่าเทวดาทั่งหลายไปขอเข้าเฝ้าพระศิวะเจ้า เพื่อขอให้ทรงหนหนทางหรือผู้ที่จะปราบเหล่าอสูรและรากษสใจพาลเหล่านั้น เมื่อได้ฟังคำร้องทุกข์จากเหล่าเทวดาแล้ว พระศิวะจึงทรงแบ่งกายเป็นบุรุษรูปงาม ซึ่งจะไปถือกำเนิดในครรภ์ของพระอุมาเทวี เมื่อถึงเวลากำเนิดแล้ว พระองค์จึงทรงให้พระนามว่าพระวิฆเนศวรเพื่อทำหน้าที่ปราบอสูรและรากษสทั้ง หลาย เมื่อเสร็จสิ้นการปราบอสูรแล้ว พระองค์จึงทรงมอบหมายให้พระวิฆเนศวรทรงเป็นผู้ขัดขวาง และป้องกันเหล่าผู้มีจิตใจพาลต่างๆ ที่จะมาขอพรจากพระศิวะเพื่อนำไปใช้ในทางที่ผิด รวมทั้งเป็นผู้คัดสรรเหล่าเทวดาและมนุษย์ผู้ทำกรรมดีและช่วยเหลือให้ค้นพบ กับความสำเร็จ จากการขอพรต่อพระศิวะต่อไป


   ตำนานที่สอง พระปารวตี (พระแม่อุมาเทวี) ปั้นเหงื่อไหลให้เป็นพระบุตร
   เมื่อ คราวที่พระปารวตีสรงน้ำอยู่ในอุทยาน พระองค์ทรงนำเหงื่อไคลของพระองค์มาปั้นเป็นหุ่นเทวบุตรรูปงาม และทรงใช้เวทย์มนต์เพื่อให้หุ่นนั้นมีชีวิตขึ้นมา จากนั้นจึงทรงรับสั่งให้เทวบุตรออกไปเฝ้ายังด้านหน้าประตูทางเข้าอุทยาน โดยได้รับสั่งว่าห้ามมิให้ผู้ใดเข้ามาโดยเด็ดขาด เหตุการณ์เป็นเช่นนี้มาโดยตลอดทุกครั้งที่พระแม่อุมาทรงสรงน้ำ ณ อุทยานแห่งนี้ จนกระทั่งเมื่อถึงวันกำหนดเสด็จกลับของพระศิวะ และเมื่อทั้งสองพระองค์พบกันในคราแรกต่างก็จะเข้าไปในอุทยาน อีกฝ่ายก็ปกป้องมิให้ผู้ใดย่างกรายเข้าในอุทยานได้ ด้วยเทวบุตรทรงได้รับคำสั่งของพระอุมา ห้ามมิให้ผู้ใดล่วงละเมิดเข้าไปยังสถานที่สรงน้ำแห่งนี้ เมื่อเป็นดังนั้นพระศิวะจึงทรงสั่งให้บริวารเข้าต่อสู้และได้สังหารเทวบุตร (แต่ในบางคัมภีร์ก็ว่าพระศิวะทรงใช้ตรีศูลตัดเศียรเทวบุตรนั้น บ้างก็ว่าพระวิษณุทรงใช้จักรตัดเศียร)

   เมื่อ พระปารวตีทรงพบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พระองค์ทรงโกรธและโมโหพระสวามียิ่ง จนถึงกับทำศึกใหญ่ระหว่างทั้งสองพระองค์ ร้อนถึงพระฤาษีนารอด (นารท) ต้องออกรับหน้าเจรจาศึกในครานี้ โดยพระปราวตีได้กล่าวให้พระศิวะผู้สวามีต้องหาหนทางให้เทวบุตรฟื้นชีวิตจึง จะยอมสงบศึกให้

   พระศิวะจึงทรงมีคำสั่งให้เทวดาผู้เป็นบริวารเดินทางไปทิศเหนือ และให้ตัดศรีษะของสิ่งมีชีวิตแรกที่พบเพื่อนำมาต่อให้กับเทวบุตรผู้เป็นโอรส ไม่นานนักเทวดาก็เดินทางกลับมาพร้อมกับนำเศียรช้าง (มีงาเดียว) เพื่อมาต่อให้พระโอรส ซึ่งต่อมาจึงทรงตั้งพระนามใหม่ คือ คชานนะ (มีหน้าเป็นช้าง) และเอกทันต (ผู้มีงาเดียว) เมื่อได้ชุบชีวิตฟื้นแล้ว พระปราวตีจึงทรงเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ทั้งสองพระองค์ได้ฟังว่าทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพระบิดาและพระโอรส ซึ่งฝ่ายโอรสได้ฟังดังนั้นถึงกลับหมอบกราบขออภัยโทษเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของตน พระศิวะทรงพอพระทัยยิ่งนัก ถึงกับประทานพรให้พระโอรสให้เป็นผู้มีอำนาจเหนือเหล่าภูตผีทั้งปวง และทรงแต่งตั้งให้เป็น คณปติ ผู้เป็นใหญ่ในที่สุด


   ตำนานที่สาม ขวางคนชั่วที่ต้องการล้างบาป ณ เทวาลัยโสมนาถ และเทวาลัยโสมีศวร
   ตำนานกล่าวถึงว่าพระปารวตีได้ทรงนำน้ำที่ใช้ในการสรงน้ำมาผสมเหงื่อไคล ปั้นเป็นเทวบุตรรูปเป็นมนุษย์แต่มีเศียรเป็นช้าง จากนั้นจึงนำน้ำจากพระคงคามาประพรมเพื่อให้มีชีวิตขึ้นมา โดยมีพระประสงค์ให้ไปขัดขวางคนชั่วที่จะไปบูชาศิวลึงค์ เพราะหวังที่จะล้างบาปตนเอง ณ เทวาลัยโสมนาถ และเทวาลัยโสมีศวร เพื่อไม่ให้ตนตกขุมนรก

   จากเรื่องเล่านี้ ทำให้ชาวฮินดูทั้งหลายนิยมนำรูปปั้นพระพิฆเนศมาจุ่มน้ำ ณ วัดคเนศจาตุรถี หรือบางครั้งก็จะนำเทวรูปเล็กๆ นำไปทิ้งตามแม่น้ำคงคาด้วยความเชื่อที่ว่า น้ำจากแม่น้ำคงคาจะทำให้พระคเณศมีชีวิตขึ้นมานั่นเอง


   ตำนานที่สี่ พระกฤษณะอวตาร
   เล่า ไว้ว่าเมื่อครั้งพระปารวตียังไม่มีโอรส พระศิวะเทพผู้สวามีจึงให้คำแนะนำว่าให้จัดทำพิธีปันยากพรต (การบูชาพระวิษณุเทพในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือนมาฆะ) โดยใช้เวลาในการทำพิธีตลอด 1 ปี ซึ่งหากทำโดยตลอดจนครบก็จะประสบความสำเร็จในการขอบุตร ซึ่งพระกฤษณะจะอวตารมาจุติ ต่อเมื่อทุกอย่างเป็นไปตามคำของพระศิวะเทพแล้ว เหล่าเทพเทวดาทั้งหลายก็ได้มาร่วมอวยพรกับการถือกำเนิดของพระโอรสพระองค์นี้ รวมถึงเทพศนิ (พระเสาร์) ก็เข้ามาร่วมพิธีอวยพรด้วย ซึ่งพระศนิพระองค์นี้มีเรื่องกล่าวไว้ว่า เมื่อพระองค์ทรงเพ่งมองสิ่งใดมักจะเกิดไฟเผาผลาญสิ่งนั้นๆ จนหมดสิ้นไป

   ในคราวเข้าร่วมพิธีอวยพร พระศนิก็ทรงได้ชื่นชมพระโอรส จนเผลอตนเพ่งมองพระโอรสจนเศียรของพระกุมารหลุดกระเด็นไปยังโคโลก (ที่ประทับพระกฤษณะ) พระศิวะจึงมีบัญชาให้พระวิษณุออกตามหาเศียรพระโอรส แต่ก็ไม่ทรงพบต่อมาเมื่อผ่านแม่น้ำบุษปภัทร พระวิษณุทรงแลเห็นช้างนอนหันหัวไปทางทิศเหนือ จึงตัดเศียรช้างนั้นนำกลับมาต่อให้พระโอรส



   ตำนานที่ห้า พระศิวะ-พระปารวตีแปลงเป็นช้าง
   คราหนึ่งพระศิวะและพระปารวตีได้เสด็จไปยังภูเขาหิมาลัย
ได้แลเห็นช้างกำลังสมสู่กัน จึงบังเกิดความใคร่ จากนั้นจึงทรงแปลงกายเป็นช้าง
และสมสู่กันจนเกิดพระโอรส นามพระพิฆเนศ


   ตำนานที่หก พระวิษณุเทพ เปล่งวาจาสิทธิ์ในพิธีโสกันต์
   จากที่พระศิวะและพระปารวตีทรงจัดพิธีโสกันต์ให้กับพระโอรสในพิธีฤกษ์คือ วันอังคารจึงได้แจ้งเชิญเทพทั้งหลายทั้งมวลมาเป็นสักขีพยาน แต่คงยังขาดเพียงองค์วิษณุเทพที่ทรงอยู่ระหว่างบรรทม จนเมื่อใกล้เวลาอันเป็นมงคล พระศิวะเทพจึงทรงให้พระอินทร์นำสังข์ไปเป่าเพื่อปลุกให้พระวิษณุเทพตื่นจากบรรทม เมื่อพระวิษณุเทพทรงตืนจากบรรทมด้วยเสียงดังของสังข์ จึงทำให้พระวิษณุเทพพลั้งโอษฐ์ออกไปว่า "ไอ้ลูกหัวขาดจะนอนให้สบายก็ไม่ได้" เพียงวาจานี้ถึงกลับทำให้เศียรของพระโอรสหายไปในทันที เหล่าเทพทั้งหลายเมื่อเห็นดังนี้แล้วจึงปรึกษากันว่า วันอังคารถือเป็นฤกษ์ไม่ดีขอห้ามทำพิธีการมงคลใดๆ ทั้งมวล กลับถึงเรื่อง พระเศียรของโอรสพระศิวะเทพจึงมีบัญชาให้พระวิษณุกรรมไปตัดหัวมนุษย์ที่เพิ่งสิ้นชีวิต ณ ทิศตะวันตก แล้วนำกลับมาโดยเร็ว แต่ในวันนั้นหาได้มีมนุษย์ผู้ใดสิ้นอายุขัยลง พระวิษณุกรรมแลเห็นเพียงช้างพลายงาเดียวเท่านั้นที่สิ้นชีวิตลง จึงตัดหัวช้างพลายตัวนั้นกลับมาถวายพระศิวะเทพ

   ในช่วงเวลาที่ศาสนาพุทธกำลังเติบโตในอินเดีย มีเรื่องเล่ากล่าวในตอนนี้ว่า เมื่อเทวดานำหัวช้างมาต่อแต่ก็ยังไม่สามารถทำให้พระโอรสฟื้นชีวิตได้ พระศิวะเทพจึงต้องให้พระวิษณุเทพไปทูลเชิญเสด็จพระศิริมานนท์อรหันต์ ให้โปรดเสด็จมาสวดพระคาถาชินบัญชรจนสำเร็จทำให้พระโอรสฟื้นชีวิต
   หรือบ้างก็กล่าวว่าในพิธีโสกัณต์ พระราหูได้เตือนพระศิวะแล้วว่าจะเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น จึงควรทูลเชิญเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เข้าร่วมพิธีนี้ด้วย แต่พระศิวะเทพก็หารับฟังไม่ บ้างก็ว่าพระอังคารไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมพิธีจึงโกรธแค้น และได้ลอบตัดเศียรพระโอรสไปโยนทิ้งทะเล

   

   (ขอขอบคุณ - ชมรมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ -www.phraphuttharoop.com)
   -http://www.siamganesh.com/story05.html