ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 22, 2012, 10:10:18 am »

นายจ้างทั่วเอเชียเผชิญปัญหารอบทิศ แข่งขันดุ-แย่งคนเก่ง ลูกจ้างเครียดถูกกดดันหนัก
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9550000154841-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    21 ธันวาคม 2555 14:05 น.

ทาวเวอร์ส วัทสัน ที่ปรึกษาด้านการบริหารองค์กรระดับโลก เปิดเผยผลการสำรวจ Global Talent Management and Rewards ซึ่งครอบคลุมกว่า 1,605 องค์กรทั่วโลกระบุว่า กว่า 79% ของ 796 องค์กรในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กำลังเผชิญกับปัญหาในการดึงดูดพนักงานใหม่ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ในขณะที่กว่า 73% ต้องพบกับอุปสรรคในการดึงตัวพนักงานที่มีศักยภาพสูงมาร่วมงานด้วย ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 72% และ 60% ตามลำดับ
       
       สำหรับประเทศที่กำลังมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว นายจ้างกลับต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้มากขึ้น โดย 84% ของนายจ้างในประเทศกลุ่มนี้พบปัญหาในการดึงดูดพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และอีกกว่า 80% ไม่สามารถหาพนักงานศักยภาพสูงได้ง่ายนัก
       
       ส่วนการรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัทพบว่า เกือบ 3 ใน 4 ของบริษัทในภูมิภาคนี้ต้องประสบกับความยากลำบากมากมาย คิดเป็น 70% สำหรับกลุ่มพนักงานเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และ 67% สำหรับพนักงานศักยภาพสูง
       
       “พนักงานที่มีความสามารถยังคงเป็นที่ต้องการสูงเช่นเคย แม้ว่านายจ้างจะต้องเผชิญกับอุปสรรคทางด้านสภาพเศรษฐกิจและการแข่งขันบนเวทีโลก เราพบว่าองค์กรส่วนใหญ่ไม่สามารถจูงใจหรือรักษาพนักงานไว้กับตนเองได้ เนื่องจากข้อเสนอ สภาพแวดล้อมในการทำงาน และผลตอบแทนที่ไม่น่าดึงดูดพอ” มร. ดริธิแมน ชาคะบาติ ผู้อำนวยการด้านผลตอบแทน ภูมิภาคเอเอชียแปซิฟิก ของทาวเวอร์ส วัทสัน กล่าว
       
       “ดูเหมือนว่าข้อเสนอที่บรรดานายจ้างยื่นให้ เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่พนักงานต้องการ จะไม่ตรงกันนัก ผลสำรวจของทาวเวอร์ส วัทสัน ชี้ให้เห็นว่าพนักงานในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก นั้นให้ความสำคัญกับเรื่องของฐานเงินเดือน ความมั่นคงในการทำงาน และที่ตั้งสำนักงานที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของตน แต่ในทางกลับกัน นายจ้างกลับให้ความสำคัญในด้านอื่นๆ ที่ต่างออกไปเช่น ความก้าวหน้าในอาชีพ ความท้าทายในการทำงาน หรือพันธกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยมขององค์กรเป็นต้น
       
       ส่วนกรณีการรักษาคนเก่งไว้ในองค์กร ดูเหมือนว่านายจ้างจะมีความเข้าใจในด้านนี้มากขึ้น โดยมีความเห็นตรงกับพนักงานว่าฐานเงินเดือน ความก้าวหน้าในอาชีพการงาน และความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน เป็น 3 ปัจจัยสำคัญ แต่ขณะเดียวกัน นายจ้างยังคงประเมินความสำคัญของความไว้เนื้อเชื่อใจในตัวหัวหน้างานไว้ต่ำเกินไป
       
       ในสภาวะที่เศรษฐกิจโลกกำลังพลิกผัน องค์กรต่างๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายลง ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลงานให้ดีขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่องค์กรเหล่านี้มีความคาดหวังกับพนักงานในระดับสูงขึ้น แต่ผลตอบแทนที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กลับไม่ได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่เพียงพอ กว่า 96% ของนายจ้างที่เข้าร่วมการสำรวจมีความคาดหวังด้านประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้นหรือเท่าเดิม แต่ระดับการจ่ายเงินโบนัสสำหรับพนักงานที่ทำผลงานได้ตามเป้า กลับอยู่ที่เพียง 79% ในปีงบประมาณ 2554 และน่าจะลดลงเหลือ 76% ในปีนี้
       
       การสำรวจยังพบอีกว่าพนักงานในตลาดเอเชีย แปซิฟิก ต้องประสบกับความเครียดในที่ทำงาน โดยเกือบครึ่ง (45%) ของพนักงานที่ร่วมทำแบบสอบถาม ระบุชัดเจนว่าพวกเขามักต้องผจญกับความกดดันขั้นรุนแรงในขณะทำงาน ซึ่งยังถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 48%
       
       “ทุกวันนี้ นายจ้างหลายรายต้องการให้องค์กรสร้างผลงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกัน องค์กรเหล่านี้ก็กลับทำลายแหล่งที่มาของพลังงานและแรงบันดาลใจของพนักงานไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่าการทำงานในรูปแบบนี้ไม่สามารถหวังผลได้ในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นในระดับตัวบุคคลหรือทั้งองค์กร ทุกวันนี้เราก็เห็นแล้วว่าหลายๆ องค์กรไม่สามารถสนับสนุนและกระตุ้นให้พนักงานเดินหน้าสร้างสรรค์ผลงานต่อไปได้ ทั้งที่แรงสนับสนุนนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิสัมพันธ์กับพนักงาน” มร. ดริธิแมน กล่าว
       
       “การสำรวจของเราเปิดเผยให้เห็นว่า มีพนักงานเพียง 39% ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ที่รู้สึกว่าตนเองได้รับแรงสนับสนุนจากองค์กรอย่างเต็มที่ ข้อมูลนี้น่าจะเป็นเครื่องเตือนว่านายจ้างจะต้องดำเนินการอย่างจริงจังเพื่อค้นหาจุดสมดุลในการตอบสนองต่อความต้องการของพนักงาน และการยื่นข้อเสนอที่น่าดึงดูดเพียงพอสำหรับการรักษาพนักงานคนสำคัญแต่ละคนไว้กับบริษัท ควบคู่ไปกับการสนับสนุนพนักงานทุกคนอย่างทั่วถึง”
       
       ด้านพิชญ์พจี สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ ทาวเวอร์ส วัทสัน ประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมถึงผลสำรวจในประเทศไทยว่า จากผลการสำรวจบริษัทในเมืองไทยพบว่า การดึงดูดพนักงานที่มีศักยภาพเป็นเรื่องยาก แต่การรักษาพนักงานเหล่านั้นไว้เป็นเรื่องยากยิ่งกว่า อย่างไรก็ตาม มี 2 ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรรักษาและดึงดูดพนักงานไว้ได้ก็คือ การให้ผลตอบแทนที่แข่งขันได้ และโอกาสก้าวหน้าในองค์กร
       
       ทั้งนี้ การสำรวจนี้จัดทำขึ้นในช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน ปี 2555 ครอบคลุมกว่า 1,605 องค์กรทั่วโลกจากหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นองค์กรจากภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก 796 ราย โดยมาจากประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้ว (ออสเตรเลีย ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และไต้หวัน) 289 ราย ประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว (จีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม) 507 ราย