ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: ธันวาคม 30, 2012, 10:37:43 am »



พระสูตรของท่านเว่ยหล่าง (๑๙) : ครูที่แท้จริง


" ครูที่แท้จริง "

ท่านขงจื๊อกล่าวว่า "สามคนเดินมาจักมีคนหนึ่งเป็นครูของเราได้"
ความหมายอันแท้จริงมิได้หมายความแต่เพียงว่ามีคนสามคนเดินมาจริงๆ เท่านั้น
แต่หมายถึงสภาวะแห่งการรู้จักธรรมญาณของตนนั่นแหละ
จึงเป็นครูที่แท้จริงของตนเอง
ครูของตนเองจึงสามารถแยกแยะความดีความชั่วและตัดสินใจได้เอง

ในกรณีที่ต้องที่ต้องเลือกเดินทางระหว่างสองแห่งความดีและชั่ว
เพราะฉะนั้นเมื่อมีผู้ทูลถามพระพุทธองค์ว่า
ทรงโปรดเวไนยสัตว์ให้พ้นไปจากวัฏสงสารมากน้อยเท่าไร

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ตถาคตมิได้โปรดใครเลย"
ความหมายแห่งพระพุทธวจนะนี้คือการยอมรับว่า
ทุกคนต่างมีปัญญาเป็นของตนเองและเป็นที่พึ่งที่แท้จริง

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า
"เมื่อครั้งที่พระสังฆปริณายกองค์ที่ห้าได้แสดงธรรมให้อาตมาฟัง
ก็ได้เกิดความรู้แจ้งสว่างไสว ตรัสรู้ข้อธรรมะในทันทีที่ท่านพูดจบ
และทันใดนั้นเองก็ได้เห็นแจ้งประจักษ์ชัดในตัวธรรมชาติแท้ของ ตถตา"
คำว่าตรัสรู้มิได้มีความหมายเพียง "รู้เอง" แต่เพียงอย่างเดียว

แต่มีขอบเขตกว้างขวางไปถึงสภาวะแห่งความเป็นของ "ธรรมญาณ"
 "รู้เอง" และ "เป็นเอง" จึงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครสามารถเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องได้เลย
หรือแม้แต่อิทธิพลการบังคับจากผู้อื่น
แต่เป็นภาวะที่ตนเองเท่านั้นที่เข้าใจและเป็นไป
ตามธรรมชาติแห่ง "ตถตา" หรือ "ธรรมญาณ" นั่นเอง

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
"ด้วยเหตุนี้อาตมาจึงมีความมุ่งหมายโดยเฉพาะ
ที่จะประกาศคำสอนแห่งนิกาย "ฉับพลัน" ต่อไป
เพื่อที่ผู้ศึกษาจะได้ประสบกับโพธิ
และเห็นแจ้งชัดในตัวธรรมชาติแท้ของตนเอง ด้วยการอบรมจิตใจในวิปัสสนาภาวนา"

การอบรมจิตให้เป็นวิปัสสนา
มิได้หมายถึงการนั่งหลับตาแล้วภาวนาถ้อยคำใด
หรือกำหนดลมหายใจ การเคลื่อนไหวของร่างกายอาการเช่นนี้มิใช้ "วิปัสสนา"
แต่เป็นเรื่องของการกำหนดรูปลักษณ์เพื่อหลอกจิต
ให้ติดพันอยู่กับร่างกายแต่เพียงสถานเดียว
และหวังว่าการหลอกเช่นนี้จักทำให้จิตเกิดสภาวะหนึ่งเดียวอันเป็นปัญญาสูงสุด
ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

การทำงานของจิต ที่อยู่ในสภาวะแห่งการตัดกิเลส
ที่ไหลเข้าออกทางอายตนะหก หู ตา จมูก ลิ้น กายใจ
จึงถือเป็น "วิปัสสนา" อันจริงแท้และเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติเอง
โดยไม่มีใครสามารถกระทำแทนได้เลย

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า
ถ้าไม่สามารถช่วยตัวเองให้เกิดความสว่างไสวได้
เขาจะได้ขอร้องต่อเพื่อนพุทธบริษัทผู้คงแก่เรียนและใจอารี
ซึ่งมีความรู้และความเข้าใจคำสั่งสอนของสำนักสูงให้ช่วยชี้หนทางอันถูกต้อง
ผู้ที่ทำหน้าที่นำจูงผู้อื่นให้เห็นแจ้งใน "ธรรมญาณ"

จึงอยู่ในตำแหน่งอันสูงสุดและสามารถที่จะนำเอา
ผู้ที่อยู่ในฝ่ายกุศลเข้าสู่ธรรรมะ
หน้าที่อันแท้จริงของผู้คงแก่เรียนก็เป็นเพียงผู้ชี้หนทาง
แต่การเดินทางเพื่อพบ "ธรรมญาณ"

ยังเป็นเรื่องที่แต่ละคนต้องเดินด้วยตนเอง
ไม่มีผู้ใดสามารถทำหน้าที่นั้นแทนได้เลย
เพราะแต่ละคนล้วนมีปัญญาอันแท้จริงอยู่แล้ว

พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจริงรับรองความจริงนี้ว่า
 "บรรดาปัญญาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต
รวมทั้งความรู้ที่เป็นหลักคำสอนในพระคัมภีร์ทั้งสิบสองหมวด
ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่ในใจของเรามาแต่เดิมทั้งสิ้น"

เป็นการรับรองคุณภาพของ "ธรรมญาณ"
ของปุถุชนและพระอริยะเจ้าแท้ที่จริงเป็นอย่างเดียวกันไม่มีข้อแตกต่างกันเลย
จึงมีแต่ผู้ที่เดินทางไปพบด้วยตนเอง
กับปุถุชนผู้ไม่ปรารถนาเดินทางไปค้นพบ "ธรรมญาณ" ของตน

ดังนั้นผู้ที่ไม่สามารถปลุก "ธรรมญาณ" ของตนเอง
ให้สว่างไสวขึ้นมาได้ก็เหมือนหนึ่งผู้ที่ไม่รู้หนทาง
จึงจำเป็นต้องขอคำแนะนำจากผู้ที่รู้หนทางนั้น
แต่สำหรับผู้ที่ตั้งต้นเดินทางด้วยตนเองโดยรู้หนทางนั้น
ย่อมไม่ต้องการความช่วยเหลือจากใคร

เพราะเหตุนี้จึงเป็นความคิดที่ผิดที่ถือคติว่า
ถ้าปราศจากคำแนะนำของผู้คงแก่เรียนแล้ว
เราไม่อาจพบวิมุติคือความสุขอันสูงสุดด้วยตนเอง
ที่เป็นเช่นนี้เพราะการบรรลุถึง "ธรรมญาณ" นั้น

มันเป็นปัญญาภายในของเราเองต่างหาก
แต่ที่จะทำให้เกิดความสว่างไสวได้
พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวต่อไปว่า
"ถึงแม้ความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกและคำพร่ำสอนของผู้คงแก่เรียน
ก็ยังเป็นหมันไร้ประโยชน์ได้เหมือนกัน

ถ้าเราทำไม่ถูกหลงงมงายเสียแล้ว
โดยคำสอนที่ผิดและความเห็นผิด
เพราะฉะนั้นเราควรรู้จิตของเราด้วยปัญญาตัวจริง
ความเห็นผิดทั้งมวลก็จะถูกเพิกถอนไปในขณะนั้น
และในทันทีทันใดที่เรารู้จักตัว "ธรรมญาณ"

เราย่อมบรรลุถึงสถานะแห่งความเป็นพุทธะทันใดนั้น"
คำแนะนำสั่งสอนจากภายนอกยังต้องใช้ปัญญาตัวจริง
พิจารณาให้ถ่องแท้ว่าเป็นคำแนะนำที่ถูกต้องหรือทำให้หลงงมงาย
 ปัญญาตัวจริงนั้นย่อมกำกับด้วย "สติ"
ที่ทบทวนใคร่ครวญและทดลองปฏิบัติ
จนในที่สุดย่อมรู้ได้ด้วยตนเองว่า เป็นหนทางอันถูกถ้วน

ที่สมควรจะเดินต่อไปหรือหยุดเสีย
ในโลกนี้ย่อมมีผู้ที่ศึกษาปฏิบัติธรรมอยู่มากมาย
และหลายคนยังติดยึดอยู่กับความเห็นผิด
และพยายามชักจูงให้ผู้ปฏิบัติตามอย่างผิดๆ
ด้วยการสำคัญตนผิดว่าตนเองบรรลุสู่ความเป็น "ครู" ของคนอื่นได้แล้ว
แท้ที่จริงแล้วไม่มีใครเป็นครูของใครได้เลย

เพราะต่างมี "ครู" ของตนเองอยู่แล้ว
พระพุทธองค์จึงทรงเป็นบรมครูที่แท้จริง
เพราะพระองค์มิได้ยึดถือว่าเป็น "ครู" ของใครเลย

แต่กลับย้ำให้ทุกคนได้รูว่าตนเองเท่านั้นแหละที่เป็น "ครู" ของตนเอง
ถ้าใครปฏิบัติตนเป็น "ครู" ของตนเองได้จึงจักได้ชื่อว่าพบ "ครูที่แท้จริง" . .



ขอขอบพระคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดจาก : Link Blog



มาณ.ที่นี้ด้วยค่ะ ..  :13:
ข้อความโดย:คัมภีs๎ไร้อักษs~。。。