ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: ธันวาคม 31, 2012, 09:45:17 am »

ปี 2555 ที่กำลังจะผ่านไป...คุณตรวจสุขภาพหรือยัง
-http://health.kapook.com/view53268.html-


ปี 2555 ที่กำลังจะผ่านไป...คุณตรวจสุขภาพหรือยัง (ไทยโพสต์)

          พอถึงปลายปีทีไร มักได้ยินคำว่า "ตรวจสุขภาพประจำปีหรือยัง" ประเด็นดังกล่าวนี้ พญ.ธนีศา ภานุมาตรัศมี แพทย์ประจำศูนย์ตรวจสุขภาพ รพ.พญาไท 1 ชี้แจงว่า การตรวจสุขภาพคือสิ่งสำคัญ แต่ก็จะมีหลายท่านถามหมอบ่อย ๆ ว่า "สำคัญจริงหรือไม่ จำเป็นไหมที่ต้องตรวจสุขภาพประจำปี ทั้ง ๆ ที่ร่างกายในปัจจุบันก็ยังแข็งแรงดี" และบ่อยครั้งหลายท่านอาจจะสงสัยว่าในการตรวจสุขภาพแต่ละครั้งจะต้องตรวจอะไรบ้างและควรเริ่มจากสิ่งใด
   
          คุณหมอย้ำว่า หากจะกล่าวถึงเรื่องการตรวจสุขภาพ สำหรับบางคนอาจมิได้ทำเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่ทำเพื่อให้ได้อยู่กับคนที่เรารักไปนาน ๆ ซึ่งจะคิดเช่นนั้นก็ไม่ผิด เพราะเป้าหมายของการตรวจสุขภาพก็เพื่อเป็นการลดอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิต ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอายุที่ยืนยาวขึ้น หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เพื่อให้ทราบถึงอวัยวะในร่างกายของตนเองว่าอยู่ในเกณฑ์สูงต่ำกว่ามาตรฐานหรือไม่ เพื่อที่จะได้ซ่อมแซมบำรุงรักษาได้ทันท่วงที
   
          "การตรวจสุขภาพ เป็นการตรวจทั่วไปเกี่ยวกับคนที่ไม่ได้มีอาการใด ๆ แต่ตรวจเพื่อเป็นสิ่งที่จะบอกเราว่า สภาพร่างกายของเราขณะนั้นเป็นอย่างไร แต่เรา ๆ ไม่ค่อยได้มีเวลาไปตรวจสุขภาพมากนัก ดูผิวเผินก็ไม่เป็นอะไร แต่หารู้ไม่ว่าการตรวจสุขภาพนั้นช่วยให้เราได้รู้ว่ามีโรคอะไรที่แอบแฝงอยู่โดยที่เราไม่รู้ และเร่งรีบรักษาเพื่อไม่ให้เกิดการลุกลามจนสายไป"



          คุณหมอ อธิบายด้วยว่า ในตารางตรวจสุขภาพมีรายการมากมาย แต่โดยทั่วไปการตรวจสุขภาพเบื้องต้นจะได้รับการตรวจเหล่านี้ เช่น

           การตรวจความดันโลหิต เพราะความดันโลหิตสูงอาจไม่แสดงอาการปวดศีรษะ แต่ในระยะยาวทำให้เกิดผลเสียต่อสมอง หัวใจ และไต การตรวจร่างกายทำให้พบและรักษาได้ก่อนจะเกิดปัญหาใหญ่ ๆ เช่น ไตวาย หรือเส้นเลือดในสมองแตก การรักษาทำได้โดยการรับประทานยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

           การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจเพื่อดูพยาธิสภาพของปอด หรือโรคที่สามารถตรวจพบได้จากการเอกซเรย์ปอด เช่น วัณโรค ถุงลมโป่งพอง เนื้องอกในปอด เป็นต้น สำหรับผู้ที่ต้องสูดดมอากาศที่มีฝุ่นละอองควันพิษ หรือสูบบุหรี่เป็นประจำควรเข้ารับการตรวจเอกซเรย์ปอดปีละครั้ง นอกจากนี้การเอกซเรย์ปอดยังสามารถตรวจดูเงาของกระดูกในระดับทรวงอก และดูเงาของหัวใจ เพื่อตรวจขนาดของหัวใจและประเมินโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจได้
   
           การตรวจอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตราซาวด์ในการตรวจหาความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง เช่น การตรวจช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) เป็นการตรวจภายในช่องท้องเพื่อดูความผิดปกติของตับ ไต ถุงน้ำดี ม้าม ตับอ่อน, ตรวจช่องท้องส่วนล่าง หรืออุ้งเชิงกราน (Ultrasound Lower Abdomen or Pelvis) เพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องส่วนล่าง (อุ้งเชิงกราน) เช่น รังไข่ มดลูก ต่อมลูกหมาก หรือก้อนเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน การตรวจหาเชื้อและภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ การตรวจช่วยให้ทราบว่ามีการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายหรือไม่ หรือถ้ายังไม่พบการติดเชื้อ และไม่มีภูมิต้านทานจะได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรค
   
           การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC เป็นการตรวจวัดเซลล์เม็ดเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด เพื่อตรวจหาโรคเลือดหรือภาวะผิดปกติอื่น ๆ ของร่างกาย ที่อาจแสดงออกมาให้เห็นได้จากความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด

           ตรวจการทำงานของไต Creatinine เพื่อวัดระดับสารเคมีในเลือด ดูว่ามีภาวะไตเสื่อม หรือไตวาย

           ตรวจการทำงานของตับ ดูความผิดปกติในส่วนของการทำงานของตับ

           การตรวจระดับกรดยูริกเพื่อหาโรคเกาต์ และนอกจากนี้ ระดับกรดยูริกที่สูงกว่าปกติอาจก่อให้เกิดนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นสาเหตุของโรคไตได้

           การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด FBS เพื่อดูว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือไม่

           การตรวจไขมันในเส้นเลือด เป็นการตรวจระดับไขมันในเลือดว่ามีปริมาณสูงเกินไปหรือไม่ โดยจะดูทั้งไขมัน คอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดดี ไขมันคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีที่ก่อให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดง

           การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ รวมทั้งการตรวจอุจจาระเพื่อตรวจหาพยาธิต่าง ๆ และระบบขับถ่ายว่าผิดปกติหรือไม่
 
          "จากข้อมูลที่นำมาฝากนั้น คงทำให้หลาย ๆ ท่านได้รับคำตอบเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพกันไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังมีโรคอีกมากที่การตรวจสุขภาพไม่สามารถตรวจพบโรคได้ในระยะแรก ๆ ดังนั้นแม้ผลของการตรวจสุขภาพจะเป็นปกติดี ก็ยังควรใส่ใจรักษาสุขภาพ เลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ "อย่าลืมไปตรวจสุขภาพกันนะคะ" พญ.ธนีศา กล่าวสรุป


ขอขอบคุณข้อมูลจาก -http://thaipost.net/x-cite/241212/67054-