ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 01, 2013, 09:32:47 am »ปรับเกณฑ์โบรกฯ ดีเดย์ ม.ค.56
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9550000157845-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
31 ธันวาคม 2555 16:52 น.
สมาคมโบรกเกอร์ ประกาศหลักเกณฑ์-จรรยาบรรณการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พร้อมประกาศเกณฑ์การรักษาและพัฒนาคุณภาพของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์-บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ กำหนดให้ทำบทวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่น้อยกว่า 30 บริษัท มีผลบังคับใช้ปี 56
สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย ได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกเพื่อให้การปฏิบัติงานของสมาชิกที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสมาชิกในเรื่องต่างๆดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเป็นประโยชน์จากการดำเนินการร่วมกัน โดยความเห็นชอบและสอดคล้องกับข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับสมาชิกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย จึงกำหนดหลักเกณฑ์และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อให้สมาชิกถือปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ดังนี้ คือ (1.) เรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมสำหรับบัญชี เครดิตบาลานซ์ ซึ่งสมาชิกต้องคิดอัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดี (MOR) ของธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง คือ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ บมจ.ธนาคารกรุงไทย บมจ.ธนาคารกสิกรไทย และ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ ณ วันทำการสุดท้ายของเดือนก่อนหน้าลบ 2% สำหรับดอกเบี้ยรับของลูกค้าต้องไม่เกินต้นทุนเงินฝากของบริษัท
(2) การโอนรายการผิดพลาด (Error)ที่เท่าทุน หรือขาดทุนเข้าบัญชีบริษัท error port ซึ่งสมาชิกต้องพิจารณาว่าเป็นรายการที่ผิดพลาดจริง โดยบริษัทต้องมีขั้นตอนการอนุมัติรายการ error อย่างสม่ำเสมอ (3.) การออกค่าใช้จ่ายที่ไม่สมควร หรือเกินสมควรให้แก่ลูกค้า เช่น การติดตั้งให้ยืมหรือให้เช่าอุปกรณ์การสื่อสาร ระบบบริการข้อมูลรวมทั้งออกค่าใช้จ่ายรายเดือน หรือค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและต่อเชื่อมสายให้แก่ลูกค้า สมาชิกต้องไม่จ่ายค่าใช้จ่ายที่ไม่สมควรหรือเกินสมควรให้แก่ลูกค้า หากบริษัทเป็นผู้ทำสัญญากับผู้ให้บริการบริษัทต้องมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากข้อมูลที่ลูกค้าใช้งาน และบริษัทมีการตรวจสอบแหล่งที่มาของการใช้บริการข้อมูลว่าเป็นข้อมูลประเภทใดบ้าง และสถานที่ใช้งานของข้อมูล
(4.) การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ระบบอินเทอร์เน็ตที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่น การส่งคำสั่งโดยผู้แนะนำการลงทุนแทนลูกค้า เป็นต้น บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการแบ่งแยก Network ของการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการลูกค้ากับพนักงาน และมีข้อมูลแหล่งที่มาของการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ (5.) การจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้แนะนำการลงทุน ผู้จัดการสาขา และหัวหน้าทีมการตลาดที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ประกาศของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกำหนด ซึ่งสมาชิกต้องมีระบบควบคุมและสอบทานในการกำหนดเงินเดือน และการคำนวณจ่าย อินเซ็นทีฟ และโบนัส ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สมาคมฯ กำหนด (6.) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของบริษัท สมาชิกต้องปฏิบัติตามประกาศสมาคมเรื่องการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายภายใต้กรอบของการประกอบธุรกิจที่เหมาะสม และ (7.) จำนวนนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ สมาชิกต้องมีนักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่ต่ำกว่า 4 คน
นอกจากนี้ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยได้ออกประกาศเรื่อง เกณฑ์การรักษาและพัฒนาคุณภาพของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ ซึ่งนักวิเคราะห์จะต้องสังกัดอยู่ในฝ่ายวิเคราะห์ของบริษัท หรือบริษัทในเครือ และมีคุณสมบัติตามที่สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์กำหนด และกำหนดให้มีบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ปัจจัยพื้นฐาน เพื่อประกอบการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์แก่ลูกค้า ไม่น้อยกว่า 30 บริษัท ซึ่งต้อง วิเคราะห์ขึ้นเอง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9550000157845-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
31 ธันวาคม 2555 16:52 น.
สมาคมโบรกเกอร์ ประกาศหลักเกณฑ์-จรรยาบรรณการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ พร้อมประกาศเกณฑ์การรักษาและพัฒนาคุณภาพของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์-บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ กำหนดให้ทำบทวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่น้อยกว่า 30 บริษัท มีผลบังคับใช้ปี 56
สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย ได้ออกประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์สมาชิกเพื่อให้การปฏิบัติงานของสมาชิกที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสมาชิกในเรื่องต่างๆดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเป็นประโยชน์จากการดำเนินการร่วมกัน โดยความเห็นชอบและสอดคล้องกับข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับสมาชิกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย จึงกำหนดหลักเกณฑ์และจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อให้สมาชิกถือปฏิบัติในเรื่องต่างๆ ดังนี้ คือ (1.) เรื่องการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมสำหรับบัญชี เครดิตบาลานซ์ ซึ่งสมาชิกต้องคิดอัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดี (MOR) ของธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง คือ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ บมจ.ธนาคารกรุงไทย บมจ.ธนาคารกสิกรไทย และ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ ณ วันทำการสุดท้ายของเดือนก่อนหน้าลบ 2% สำหรับดอกเบี้ยรับของลูกค้าต้องไม่เกินต้นทุนเงินฝากของบริษัท
(2) การโอนรายการผิดพลาด (Error)ที่เท่าทุน หรือขาดทุนเข้าบัญชีบริษัท error port ซึ่งสมาชิกต้องพิจารณาว่าเป็นรายการที่ผิดพลาดจริง โดยบริษัทต้องมีขั้นตอนการอนุมัติรายการ error อย่างสม่ำเสมอ (3.) การออกค่าใช้จ่ายที่ไม่สมควร หรือเกินสมควรให้แก่ลูกค้า เช่น การติดตั้งให้ยืมหรือให้เช่าอุปกรณ์การสื่อสาร ระบบบริการข้อมูลรวมทั้งออกค่าใช้จ่ายรายเดือน หรือค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและต่อเชื่อมสายให้แก่ลูกค้า สมาชิกต้องไม่จ่ายค่าใช้จ่ายที่ไม่สมควรหรือเกินสมควรให้แก่ลูกค้า หากบริษัทเป็นผู้ทำสัญญากับผู้ให้บริการบริษัทต้องมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากข้อมูลที่ลูกค้าใช้งาน และบริษัทมีการตรวจสอบแหล่งที่มาของการใช้บริการข้อมูลว่าเป็นข้อมูลประเภทใดบ้าง และสถานที่ใช้งานของข้อมูล
(4.) การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ระบบอินเทอร์เน็ตที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ เช่น การส่งคำสั่งโดยผู้แนะนำการลงทุนแทนลูกค้า เป็นต้น บริษัทหลักทรัพย์ต้องจัดให้มีการแบ่งแยก Network ของการใช้งานระบบอินเทอร์เน็ต ที่ให้บริการลูกค้ากับพนักงาน และมีข้อมูลแหล่งที่มาของการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ (5.) การจ่ายผลตอบแทนให้แก่ผู้แนะนำการลงทุน ผู้จัดการสาขา และหัวหน้าทีมการตลาดที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ประกาศของสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยกำหนด ซึ่งสมาชิกต้องมีระบบควบคุมและสอบทานในการกำหนดเงินเดือน และการคำนวณจ่าย อินเซ็นทีฟ และโบนัส ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สมาคมฯ กำหนด (6.) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของบริษัท สมาชิกต้องปฏิบัติตามประกาศสมาคมเรื่องการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายภายใต้กรอบของการประกอบธุรกิจที่เหมาะสม และ (7.) จำนวนนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ สมาชิกต้องมีนักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่ต่ำกว่า 4 คน
นอกจากนี้ สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทยได้ออกประกาศเรื่อง เกณฑ์การรักษาและพัฒนาคุณภาพของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ ซึ่งนักวิเคราะห์จะต้องสังกัดอยู่ในฝ่ายวิเคราะห์ของบริษัท หรือบริษัทในเครือ และมีคุณสมบัติตามที่สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์กำหนด และกำหนดให้มีบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ปัจจัยพื้นฐาน เพื่อประกอบการให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์แก่ลูกค้า ไม่น้อยกว่า 30 บริษัท ซึ่งต้อง วิเคราะห์ขึ้นเอง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556