ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 16, 2013, 11:25:02 am »


อานาปานสติ ตอนที่๑.(ขั้นที่ ๑-๓)


อานาปานสติ ตอนที่ ๒ (ขั้นที่ ๑-๓.) อานาปานสติ ตอนที่ ๒ (ขั้นที่ ๑-๓.)


อานาปานสติ ตอนที่ ๓ (ขั้นที่ ๔). อานาปานสติ ตอนที่ ๓ (ขั้นที่ ๔).

 Buddhadharm เผยแพร่เมื่อ 31 ส.ค. 2012 -  1 ก.ย. 2012
บันทึกเสียงธรรมบรรยายในรูปแบบการอบรม สัมนา อภิปราย และ สาธิตประกอบ
เรื่อง อานาปานสติ โดยท่านพุทธทาสภิกขุ
ธรรมบรรยายประจำวันเสาร์ สวนโมกขพลาราม
ตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม - ๒๕ กันยายน ๒๕๑๔ รวม 12 ครั้ง

เสียงธรรมบรรยาย โดย :ท่านพุทธทาสภิกขุ
อานาปานสติ  ตอนที่ ๔. - ๒๕.  (ขั้นที่ ๕ - ๑๖)

คลิ๊กค่ะ: http://www.youtube.com/playlist?list=PL434ABA3A3B8D7E8E


*****************************************************


อานาปานสติ ๑๖ ขั้น
ในบทนี้จะได้กล่าวถึงบทกรรมฐานที่สำคัญบทหนึ่ง คือ อานาปานสติ ๑๖ ขั้น เพื่อที่จะให้ท่านที่สนใจใน
การบำเพ็ญภาวนา ได้เข้าใจวิธีปฏิบัติและทราบหลักที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

อานาปานสติ ๑๖ ขั้นนี้ ผู้ปฏิบัติกรรมฐานโดยทั่วไปไม่ค่อยจะได้ยินได้ฟังกันมากนัก แต่ก็เป็นพระสูตร
สำคัญสูตรหนึ่ง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อานาปนสติสูตร คัมภีร์มัชฌิมนิกาย

อานาปานสติภาวนา หรือ อานาปานสติสมาธิ ที่เราได้ฟังกันโดยทั่วไป เป็นอานาปานสติเพียง ๔ ขั้นแรก
ซึ่งอานาปนสติทั้ง ๔ ขั้นนี้ เราจะพบในพระสูตรต่างๆ หลายแห่งเช่น
- อานาปานสติ ในอนุสสติ ๑๐
- อานาปานสติ ในมหาสติปัฏฐานสูตร

พระสูตรดังกล่าวมาล้วนแต่กล่าวถึงอานาปานสติเพียง ๔ ขั้นเท่านั้น แต่อานาปานสติภาวนาใน
อานาปานสตินั้นสมบูรณ์ที่สุด เพราะแสดงหลักฐานทั้งในด้านปริยัติ และด้านปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ที่สุด
เกี่ยวกับอานาปานสติเริ่มตั้งแต่ขั้นต้นๆ จนถึงขั้นสูงสุดในพระพุทธศาสนา

อานาปานสติทั้ง ๑๖ ขั้นนั้นคือ
๑. เมื่อหายใจเข้า-ออกยาว ก็รู้ว่า เราหายใจเข้า-ออกยาว
๒. เมื่อหายใจเข้า-ออกสั้น ก็รู้ว่า เราหายใจเข้า-ออกสั้น
๓. กำหนดรู้กายทั้งปวงหายใจเข้า-ออก
๔. ทำกายสังขารให้ระงับ หายใจเข้า-ออก
๕. กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า-ออก
๖. กำหนดรู้สุข หายใจเข้า-ออก
๗. กำหนดรู้สังขาร หายใจเข้า-ออก
๘. ทำจิตสังขารให้ระงับ หายใจเข้า-ออก
๙. กำหนดรู้จิต หายใจเข้า-ออก
๑๐. ทำจิตให้ปราโมทย์ หายใจเข้า-ออก
๑๑. ทำจิตให้ตั้งมั่น หายใจเข้า-ออก
๑๒. ทำจิตให้คลาย หายใจเข้า-ออก
๑๓. ตามเห็นอนิจจัง - ความไม่เที่ยง หายใจเข้า-ออก
๑๔. ตามเห็นวิราคะ - ความจางคลาย (คลายติด) หายใจเข้า-ออก
๑๕. ตามเห็นนิโรธ - ความดับโดยไม่มีเหลือ (ดับสนิท) หายใจเข้า-ออก
๑๖. ตามเป็นปฏินิสสัคคะ - ความสละคืน (ปล่อยวาง) หายใจเข้า-ออก

นี่คืออานาปานสติ ๑๖ ขั้น ตามอานาปานสติสูตร ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย
ต่อไปนี้จะได้อธิบายแต่ละขั้นตามลำดับ เพื่อให้ท่านผู้สนใจได้เข้าใจหลักการปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น

ในอานาปานสติทั้ง ๑๖ ขั้นนี้ แบ่งออกเป็น ๔ หมวด คือ
หมวดที่ ๑ ตั้งแต่ขั้นที่ ๑ ถึงขั้นที่ ๔ ว่าด้วยการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก เป็น
กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ ๒ ตั้งแต่ขั้นที่ ๕ ถึงขั้นที่ ๘ ว่าด้วยการกำหนดเวทนา เป็น
เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ ๓ ตั้งแต่ขั้นที่ ๙ ถึงขั้นที่ ๑๒ ว่าด้วยการกำหนดจิต เป็น
จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน

หมวดที่ ๔ ตั้งแต่ขั้นที่ ๑๓ ถึงขั้นที่ ๑๖ ว่าด้วยการกำหนดธรรมที่ปรากฏในจิต เป็น
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

สติปัฏฐาน ๔ ก็ปรากฏอยู่ในอานาปานสติสูตรนี้เอง ในกายาสติปัฏฐาน ตั้งแต่ขั้นที่ ๑ ถึง ๔ นั้น
เรามักปฏิบัติอานาปานสติกันโดยทั่วไป แต่บางท่านอาจยังไม่ทราบชัดว่าตนกำลังปฏิบัติอยู่
ในขั้นใดของขั้นทั้ง ๔ นี้

จากหนังสือวิปัสสนากรรมฐาน โดย ฐิตวณฺโณ ภิกฺขุ (พระสาสนโสภณ)
วัดโสมนัส ราชวรวิหาร สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา
>>> F/B Trader Hunter พบธรรม