ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 17, 2013, 06:11:53 am »

หากเจอเพื่อนร่วมงานนิสัยแย่ ควรรับมืออย่างไรดี
-http://men.kapook.com/view54226.html-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ในชีวิตการทำงานสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรา นอกจากหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและเจ้านายแล้วเนี่ย ยังมีเพื่อนร่วมงานที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของชีวิตการทำงาน ซึ่งเพื่อนร่วมงานแต่ละคนก็มีนิสัยแตกต่างกันไป เราไม่อาจจะเลือกคบ หรือเลือกทำงานกับใครคนใดคนหนึ่งได้ ดังนั้นถ้าบังเอิญเจอเพื่อนร่วมงานที่ดี ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าหากเจอเพื่อนร่วมงานไม่ดี คงจะเหนื่อยใจไม่น้อยเลย ในกรณีที่เราต้องทำงานกับเพื่อนร่วมงานประเภทนี้ ไม่ควรแสดงอาการไม่พอใจหรือโมโหปั้นปึงใส่ เพราะจะทำให้คุณดูไม่เป็นมืออาชีพอย่างแรง แต่สิ่งที่ควรจะทำก็คือ เตรียมตัวเตรียมใจรับมือเอาไว้กันดีกว่า ว่าแล้วก็ลองมาดูวิธีรับมือที่เรานำมาแนะนำให้ทราบในวันนี้กันเถอะ

 1. อดทนเข้าไว้

          สิ่งแรกที่คุณควรท่องเอาไว้เสมอหากเจอเพื่อนร่วมงานแย่ ๆ เลยคือ อดทนเอาไว้ ถึงแม้จะรู้อยู่เต็มอกว่าเพื่อนร่วมงานคนนั้นของคุณนิสัยไม่ดีแค่ไหนก็ตาม เพื่อป้องกันความบาดหมางที่รุนแรงในที่ทำงาน นอกจากนี้ในกรณีที่เจอหน้ากันหรือต้องร่วมงานกันควรแสดงออกและสนทนาด้วยคำพูดที่สุภาพ เพราะถือเป็นมารยาททางสังคมอย่างหนึ่ง แม้จะต้องใช้ความอดทนอย่างมากก็ตาม เพราะมันจะช่วยให้บรรยากาศการทำงานของคุณเป็นได้ด้วยดีและราบรื่นขึ้นอีกด้วย

2. ขจัดอคติ

          อคติที่อยู่ในใจมักจะทำให้คุณมองสิ่งต่าง ๆ ผิดจากความเป็นจริงเสมอ เพราะเพื่อนร่วมงานคนนั้นอาจจะไม่ได้แย่อย่างที่คิด หากเป็นไปได้พวกคุณควรหาเวลาส่วนตัวคุยเพื่อปรับความเข้าใจ และเคลียร์ทุกปัญหาคาใจซึ่งกันและกันให้หมด ทั้งนี้ก่อนการพูดคุยควรลบอคติในใจออกเสียก่อน ในระหว่างที่เขาหรือเธอกำลังพูดควรเปิดใจฟัง เพื่อทำความเข้าใจกับสิ่งที่พวกเขาพูด

3. ไม่นินทา

          ไม่ว่าเพื่อนร่วมงานคนนั้นจะทำให้คุณไม่พอใจเรื่องอะไรก็ตาม ก็ไม่ควรนำเรื่องนั้นไปพูดต่อหรือคุยให้คนอื่น ๆ ในที่ทำงานฟัง เพราะจะทำให้สถานการณ์ระหว่างคุณกับเพื่อนร่วมงานคนดังกล่าวย่ำแย่ลงไปอีก ทางที่ดีเก็บเอาไว้กับตัวเองดีกว่า เพราะคนที่คุณคุยด้วยอาจจะนำเรื่องที่เกิดขึ้นไปเล่าต่อ จนทำให้คุณตกเป็นเหยื่อของการซุบซิบนินทาได้อีกเหมือนกัน


4. มองในมุมกลับกัน

          หากเพื่อนร่วมงานทำไม่ดีกับคุณ อย่าเพิ่งมีอารมณ์หรือกล่าวหาอีกฝ่ายในทางเสียหาย แต่ให้ลองมองในมุมอื่นดูบ้าง เพราะจะช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้น หรือไม่ก็เลียบ ๆ เคียง ๆ ปรึกษากับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ที่เคยเจอสถานการณ์แบบเดียวกันกับคุณดู หากพบว่าอีกฝ่ายกำลังมีปัญหาควรช่วยพวกเขาแก้ปัญหาดีกว่า นอกจากจะช่วยให้สถานการณ์ต่าง ๆ ดีขึ้นแล้ว คุณอาจจะได้มิตรภาพใหม่ ๆ กลับคืนมาด้วย

5. คุยกับรุ่นพี่ในที่ทำงาน

          หากคุณพยายามทำดีกับอีกฝ่ายแล้ว แต่เขาหรือเธอกลับไม่ยอมเปลี่ยนแปลงตัวเองเลย ลองนำเรื่องที่เกิดขึ้นไปขอคำปรึกษาจากรุ่นพี่หรือเจ้านายดู ทั้งนี้คุณควรเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ไม่ว่าเจ้านายหรือรุ่นพี่ของคุณจะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นไปในทิศทางใด ก็ควรทำความเข้าใจและเปิดรับฟังทุกคำพูดของพวกเขา เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

6. เผชิญหน้าเมื่อจำเป็น

          การเผชิญหน้ากับเพื่อนร่วมงานคนนั้นโดยตรงเป็นวิธีแก้ไขที่ดีมาก ในกรณีที่ปัญหาใหญ่เกินกว่าจะรับมือได้ และคิดว่าคงไม่มีวิธีใดแก้ปัญหาได้อีกแล้ว ถึงแม้จะเป็นวิธีการที่ค่อนข้างอันตรายไปสักนิด เพราะหลังจากเหตุการณ์นี้ผ่านไป พวกคุณอาจเข้าหน้ากันไม่ได้อีก แต่ในทางกลับกันก็คุ้มค่าพอที่จะเสี่ยง เพราะการเผชิญหน้าและพูดกันตรง ๆ ด้วยเหตุผล จะช่วยให้พวกคุณเข้าใจกันและกันมากขึ้น

          ในชีวิตการทำงานคุณไม่สามารถเลือกเพื่อนร่วมงานได้ ดังนั้นถ้าหากบังเอิญเจอเพื่อนร่วมงานนิสัยไม่ดี ควรจะใช้สติ และเหตุผลระงับอารมณ์กับความรู้สึกอคติเอาไว้ เพราะนอกจากจะดูไม่เป็นมืออาชีพแล้ว อาจทำให้เรื่องราวบานปลายจนกลายเป็นเรื่องใหญ่โตจนทำให้เจ้านายไม่ปลื้มอีกด้วย ดังนั้นก็ควรเตรียมรับมือกับคนประเภทนี้เอาไว้แต่เนิ่น ๆ กันดีกว่า เพื่อจะได้ไปทำงานด้วยความสบายใจและมีความสุข

http://men.kapook.com/view54226.html