ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 17, 2013, 10:30:06 pm »จีนมีแนวโน้มส่งผลบวกต่อราคาทองคำอย่างมีนัยสำคัญ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มกราคม 2556 17:47 น.
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000006818-
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ราคาทองคำได้เคลื่อนไหวอย่างผันผวนกว่าปกติ โดยมีปัจจัยเรื่องของความคืบหน้าในแผนการในการต่อรองตัวเลขงบประมาณเพื่อควบคุม Fiscal Cliff หรือหน้าผาทางการเงินโดยผู้ร่วมร่างกฏหมายของพรรครีบัคลีกันได้ส่งสัญญาณที่ดีในการผ่านการอนุมัติงบประมาณได้เป็นปัจจัยบวก และรายงานของเฟดที่ทีแนวโน้มที่จะยุติการซื้อโปรแกรมพันธบัตรในวงเงิน 8.5 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือนได้ส่งผลกดดันต่อราคาทองคำอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดี ในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลการแถลงการณ์ และการตอบข้อซักถามของประธานเฟดฯที่ได้กล่าวถึงการพยายามเข้าตรวจสอบประเด็นและเงื่อนงำของนโยบายการเงินในการฟื้นจากภาวะวิกฤติการเงินอย่างใกล้ชิด โดยที่ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การฟื้นจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯนั้นยังเป็นเรื่องที่เปราะบาง และในท้ายที่สุด ได้ส่งผลต่อการตึความว่า แผนการซื้อพันธบัตรรายเดือนนั้นยังคงมีอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ได้ส่งผลบวกต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในช่วงถัดมา [Kitco]
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา จากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่อนุมัติการอัดฉีดเม็ดเงินถึง 10.3 ล้านล้านเยน ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากตัวเลขดัชนีชี้นำ และดุลบัญชีเดินสะพัดที่ชะลอตัวที่ 91.9% จาก 92.8% และ 2.3 แสนล้าน จาก 4.1 แสนล้านเยน ตามลำดับ ประกอบกับภาพของนายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นได้ให้ความเห็นแก่ธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่นในการปรับเป้าหมายของอัตราเงินเฟ้อขึ้นได้ส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง และได้เป็นปัจจัยกดดันที่สำคัญต่อราคาทองคำ ต่อด้วยผลจากการที่การประชุมและ
ประกาศนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแห่งยุโรปและอังกฤษที่ได้ตรึงที่ระดับ 0.75 % และ 0.5% ตามลำดับ และความคิดเห็นของประธานธนาคารกลางแห่งยุโรปที่ได้ออก Press Conference ที่ได้พาดพิงถึงมุมมองทางการเงินและเศรษฐกิจในกลุ่ม EU ในทิศทางบวก รวมไปถึงตัวเลขดุลการค้าของจีนที่ประกาศที่ 3.16 หมื่นล้านจาก 1.96 หมื่นล้าน ได้ส่งผลดีต่อราคาทองคำในเวลาต่อมา โดยในช่วงท้ายก่อนปิดตลาดทำการ การคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจในสหรัฐตัวเลขดุลการค้าที่ 3.16 หมื่นล้านจาก 1.96 หมื่นล้านฯที่น่าจะออกมาดี และก็ได้ออกมาดีตามคาด โดยเฉพาะตัวเลขดุลงบประมาณที่ประกาศออกมาที่ -3 พันล้านจากเดิม -1.721 แสนล้าน ประกอบกับรายงานการขายทองคำของธนาคารกลางแห่งเยอรมันในลักษณะทีละเล็กน้อยได้ส่งผลกดดันต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ [Bloomberg, Forexfactory, Kitco]
นอกจากนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำในรอบสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขดัชนีราคาผู้ค้าส่งรายเดือนในเยอรมันที่ประกาศ 0% จาก -0.7% ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมรายเดือนในอิตาลีและยุโรปโดยรวมที่ -1% จาก -1.1% และ -0.3% จาก -1% ตามลำดับ ตัวเลขดุลการค้าในยุโรปที่ 1.1 หมื่นล้านจาก 7.4 พันล้าน ตัวเลขดุลราคาบ้าน ตัวเลขดัชนีผู้ค้าปลีก ราคาบ้านรายปี และดัชนีชี้นำในอังกฤษที่ประกาศ 0% จาก -9%, 3.1% จาก 3%, 2.1% จาก 1.5% และ 0.2% จาก -0.3% ตามลำดับ ตัวเลขยอดค้าปลีกในสวิตฯรายปี และดัชนีราคาผู้ผลิตรายเดือนที่ประกาศ 2.9% จาก 2.7% และ 0.1% จาก 0% ตามลำดับ ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมรายเดือนในสหรัฐฯที่ 0.3% จาก 1% เป็นต้น [Forexfactory]
ทั้งนี้ ตัวเลขที่เป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำในรอบสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขดุลงบประมาณของรัฐบาลฝรั่งเศสที่ประกาศ -1.034 แสนล้านจาก -9.46 หมื่นล้าน ตัวเลขดุลการค้าในอิตาลีที่ 2.36 พันล้านจาก 2.42 พันล้าน ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีกรายเดือน และดัชนีราคาผู้บริโภคในสหรัฐฯที่ -0.2% จาก -0.8%, 0.5% จาก 0.4% และ 0% จาก -0.3% ตามลำดับ เป็นต้น [Forexfactory]
วันนี้ทางฝั่งของจีนเองได้ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่น่าจับตาซึ่งน่าจะส่งผลบวกต่อราคาทองคำ ได้แก่ ตัวเลขผลผลิตมวลรวมในประเทศรายไตรมาส การผลิตภาคอุตสาหกรรม และยอดค้าปลีกรายปีในจีน เป็นต้น [Forexfactory]
นอกจากนี้ เหตุการณ์สำคัญที่ยังต้องให้ความสำคัญนับจากนี้ไป เช่น การเลือกตั้งในสเปน แผนการลดรายจ่ายและเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ฯลฯ
โดยรวมแล้วเรายังคงให้ความสำคัญกับวินัยในการลงทุนซึ่งจะเป็นเครื่องมือและหลักยึดที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คู่กับนักลงทุน เพื่อนำมาซึ่งความสุขที่ยั่งยืน
อย่างแท้จริง
ฝ่ายวิจัย บริษัท ออสสิริส ฟิวเจอร์ส จำกัด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 17 มกราคม 2556 17:47 น.
-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000006818-
ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ราคาทองคำได้เคลื่อนไหวอย่างผันผวนกว่าปกติ โดยมีปัจจัยเรื่องของความคืบหน้าในแผนการในการต่อรองตัวเลขงบประมาณเพื่อควบคุม Fiscal Cliff หรือหน้าผาทางการเงินโดยผู้ร่วมร่างกฏหมายของพรรครีบัคลีกันได้ส่งสัญญาณที่ดีในการผ่านการอนุมัติงบประมาณได้เป็นปัจจัยบวก และรายงานของเฟดที่ทีแนวโน้มที่จะยุติการซื้อโปรแกรมพันธบัตรในวงเงิน 8.5 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือนได้ส่งผลกดดันต่อราคาทองคำอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ดี ในช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ผลการแถลงการณ์ และการตอบข้อซักถามของประธานเฟดฯที่ได้กล่าวถึงการพยายามเข้าตรวจสอบประเด็นและเงื่อนงำของนโยบายการเงินในการฟื้นจากภาวะวิกฤติการเงินอย่างใกล้ชิด โดยที่ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การฟื้นจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯนั้นยังเป็นเรื่องที่เปราะบาง และในท้ายที่สุด ได้ส่งผลต่อการตึความว่า แผนการซื้อพันธบัตรรายเดือนนั้นยังคงมีอยู่ต่อไปอีกระยะหนึ่ง ได้ส่งผลบวกต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในช่วงถัดมา [Kitco]
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา จากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่อนุมัติการอัดฉีดเม็ดเงินถึง 10.3 ล้านล้านเยน ส่วนหนึ่งอาจจะมาจากตัวเลขดัชนีชี้นำ และดุลบัญชีเดินสะพัดที่ชะลอตัวที่ 91.9% จาก 92.8% และ 2.3 แสนล้าน จาก 4.1 แสนล้านเยน ตามลำดับ ประกอบกับภาพของนายกรัฐมนตรีแห่งญี่ปุ่นได้ให้ความเห็นแก่ธนาคารกลางแห่งญี่ปุ่นในการปรับเป้าหมายของอัตราเงินเฟ้อขึ้นได้ส่งผลให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง และได้เป็นปัจจัยกดดันที่สำคัญต่อราคาทองคำ ต่อด้วยผลจากการที่การประชุมและ
ประกาศนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแห่งยุโรปและอังกฤษที่ได้ตรึงที่ระดับ 0.75 % และ 0.5% ตามลำดับ และความคิดเห็นของประธานธนาคารกลางแห่งยุโรปที่ได้ออก Press Conference ที่ได้พาดพิงถึงมุมมองทางการเงินและเศรษฐกิจในกลุ่ม EU ในทิศทางบวก รวมไปถึงตัวเลขดุลการค้าของจีนที่ประกาศที่ 3.16 หมื่นล้านจาก 1.96 หมื่นล้าน ได้ส่งผลดีต่อราคาทองคำในเวลาต่อมา โดยในช่วงท้ายก่อนปิดตลาดทำการ การคาดการณ์ตัวเลขเศรษฐกิจในสหรัฐตัวเลขดุลการค้าที่ 3.16 หมื่นล้านจาก 1.96 หมื่นล้านฯที่น่าจะออกมาดี และก็ได้ออกมาดีตามคาด โดยเฉพาะตัวเลขดุลงบประมาณที่ประกาศออกมาที่ -3 พันล้านจากเดิม -1.721 แสนล้าน ประกอบกับรายงานการขายทองคำของธนาคารกลางแห่งเยอรมันในลักษณะทีละเล็กน้อยได้ส่งผลกดดันต่อการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ [Bloomberg, Forexfactory, Kitco]
นอกจากนี้ ตัวเลขเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยบวกต่อราคาทองคำในรอบสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขดัชนีราคาผู้ค้าส่งรายเดือนในเยอรมันที่ประกาศ 0% จาก -0.7% ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมรายเดือนในอิตาลีและยุโรปโดยรวมที่ -1% จาก -1.1% และ -0.3% จาก -1% ตามลำดับ ตัวเลขดุลการค้าในยุโรปที่ 1.1 หมื่นล้านจาก 7.4 พันล้าน ตัวเลขดุลราคาบ้าน ตัวเลขดัชนีผู้ค้าปลีก ราคาบ้านรายปี และดัชนีชี้นำในอังกฤษที่ประกาศ 0% จาก -9%, 3.1% จาก 3%, 2.1% จาก 1.5% และ 0.2% จาก -0.3% ตามลำดับ ตัวเลขยอดค้าปลีกในสวิตฯรายปี และดัชนีราคาผู้ผลิตรายเดือนที่ประกาศ 2.9% จาก 2.7% และ 0.1% จาก 0% ตามลำดับ ตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมรายเดือนในสหรัฐฯที่ 0.3% จาก 1% เป็นต้น [Forexfactory]
ทั้งนี้ ตัวเลขที่เป็นปัจจัยลบต่อราคาทองคำในรอบสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขดุลงบประมาณของรัฐบาลฝรั่งเศสที่ประกาศ -1.034 แสนล้านจาก -9.46 หมื่นล้าน ตัวเลขดุลการค้าในอิตาลีที่ 2.36 พันล้านจาก 2.42 พันล้าน ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีกรายเดือน และดัชนีราคาผู้บริโภคในสหรัฐฯที่ -0.2% จาก -0.8%, 0.5% จาก 0.4% และ 0% จาก -0.3% ตามลำดับ เป็นต้น [Forexfactory]
วันนี้ทางฝั่งของจีนเองได้ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญที่น่าจับตาซึ่งน่าจะส่งผลบวกต่อราคาทองคำ ได้แก่ ตัวเลขผลผลิตมวลรวมในประเทศรายไตรมาส การผลิตภาคอุตสาหกรรม และยอดค้าปลีกรายปีในจีน เป็นต้น [Forexfactory]
นอกจากนี้ เหตุการณ์สำคัญที่ยังต้องให้ความสำคัญนับจากนี้ไป เช่น การเลือกตั้งในสเปน แผนการลดรายจ่ายและเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ฯลฯ
โดยรวมแล้วเรายังคงให้ความสำคัญกับวินัยในการลงทุนซึ่งจะเป็นเครื่องมือและหลักยึดที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คู่กับนักลงทุน เพื่อนำมาซึ่งความสุขที่ยั่งยืน
อย่างแท้จริง
ฝ่ายวิจัย บริษัท ออสสิริส ฟิวเจอร์ส จำกัด