ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: มกราคม 19, 2013, 11:26:13 am »

กปน.เตือนประชาชน อย่าหลงเชื่อ “กลลวงทดสอบคุณภาพน้ำ”
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358504789&grpid=&catid=19&subcatid=1904-

วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:54:55 น.

มายากล “ทดสอบคุณภาพน้ำ” ระบาด ใช้เครื่องมือจุ่มทดสอบจนมีตะกอนสนิมละลาย หลอกให้เชื่อว่าน้ำไม่สะอาด กปน.แจงประชาชน ยืนยันมาตรฐานน้ำดื่มควรมีแร่ธาตุในเกณฑ์เหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

นางจงกลนี อาศุเวทย์ ผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพน้ำ การประปานครหลวง (กปน.) กล่าวว่า ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับการทดสอบความสะอาดและคุณภาพของน้ำดื่ม ที่สร้างกระแสความเข้าใจผิดให้กับสังคมในหลายๆแง่มุม จนนักวิชาการหลายๆท่านต่างออกมายืนยันเกี่ยวกับข้อเท็จจริงดังกล่าว อาทิ ในการรายงานเรื่อง “เผยกลลวงในการทดสอบน้ำดื่ม” ของ รศ.ดร.พิชัย โตวิวิชญ์ รองศาสตราจารย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กรรมการเลขานุการสาขาเคมี สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการบริหารสมาคมพิทักษ์ประโยชน์ผู้บริโภค) ซึ่งเผยแพร่เป็นข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้ทั่วไป

 

 

ซึ่ง กปน.ขออนุญาตนำมาเผยแพร่เพื่อสร้างความเข้าใจ โดยย่อว่า มีการโฆษณาชวนเชื่อโดยการนำเครื่องมือทดสอบ ชนิดเครื่องแยกสารละลายด้วยไฟฟ้า หรือ เครื่องอิเล็กโทรไลซิส (Electrolysis) ซึ่งประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า 2 ขั้ว คือเหล็ก และอะลูมิเนียม โดยเมื่อนำเครื่องมือทดสอบดังกล่าวจุ่มลงไปในน้ำดื่มทั่วไป หรือน้ำดื่มใดก็ตามที่มีส่วนประกอบของแร่ธาตุ และทำให้ไฟฟ้าไหลผ่านน้ำที่ทดสอบ ขั้วไฟฟ้าที่ทำด้วยเหล็กจะละลายและทำปฏิกิริยากับน้ำ ทำให้เกิดตะกอนที่มีสีน้ำตาลแดงคล้ายสนิมเหล็ก เรียกว่า เหล็กไฮดรอกไซด์ ซึ่งตะกอนที่ละลายออกมาจากเครื่องมือนี้เอง ที่สร้างความเข้าใจผิดให้กับประชาชนว่า น้ำที่มีตะกอนละลายคือน้ำที่ไม่สะอาด มีสิ่งเจือปน และไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค ซึ่งแท้จริงแล้วนั้น น้ำดื่มที่เหมาะแก่การบริโภค ต้องมีส่วนประกอบของแร่ธาตุอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม จึงไม่แปลกที่เมื่อนำเครื่องมือดังกล่าวมาทดสอบแล้วเกิดสีหรือตะกอน ในขณะที่กลุ่มบุคคลดังกล่าว นำน้ำบริสุทธิ์ หรือน้ำที่ผ่านกระบวนการ Reverse Osmosis หรือการขจัดแร่ธาตุทุกชนิดออกไปจากน้ำ จนไม่มีสิ่งใดๆเจือปนอยู่เลยเทียบเท่าได้กับน้ำกลั่นมาทดสอบ จึงไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆขึ้นทั้งสิ้น และทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าน้ำดังกล่าวคือน้ำที่สะอาดที่สุด

น้ำดื่มที่ดีนั้น ควรจะมีแร่ธาตุละลายอยู่บ้าง โดยมีปริมาณไม่มากไปกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) หรือที่กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานเอาไว้ สำหรับน้ำบริสุทธิ์ หรือน้ำที่ไม่มีแร่ธาตุเจือปนอยู่เลย ตามปกติจะไม่ใช้เพื่อการบริโภค แต่จะใช้ในการเติมแบตเตอรี่รถยนต์ หรือใช้ในห้องทดลองหรือโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น

ทั้งนี้ นางจงกลนีกล่าวยืนยันว่า น้ำประปาที่ผลิตโดย กปน.เป็นน้ำที่สะอาด ได้มาตรฐานน้ำดื่ม ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก และมีส่วนประกอบของแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งแคลเซียม แมกนีเซียม และเกลือแร่

จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อกลลวงจากเครื่องมือทดสอบดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพราะถึงแม้เป็นเครื่องมือทดสอบทางวิทยาศาสตร์จริง แต่อาศัยข้อมูลเชิงลึกมาเชิญชวนให้เกิดความเชื่อและความเข้าใจแบบผิดๆ ถือได้ว่าเป็นการเล่นกลหลอกลวงประชาชน ทำให้เกิดความสับสนเพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มบุคคลที่ทำการโฆษณาชวนเชื่อเท่านั้น


(ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)