ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: มกราคม 26, 2013, 12:45:29 am »



             

ข้อความโดย: แก้วจ๋าหน้าร้อน
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2010, 11:45:03 am »

 :45: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่เล็ก
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2010, 05:07:16 am »

๑๓. ท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน

ธัมมะท่านสอนให้ดูตัวเอง ระวังตัวเอง จะได้เห็นความบกพร่องของตัวเอง แล้วแก้ไขตัวเองไปเรื่อยๆ จนสมบูรณ์ได้


 

๑๔. ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก

ก่อนที่จะพูดอะไร ให้ถามตัวเองว่าที่จะพูดนี้จำเป็นหรือเปล่า ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าพูด นี่เป็นขั้นต้นของการอบรมใจ เพราะถ้าเราควบคุมปากตัวเองไม่ได้ เราจะควบคุมใจได้อย่างไร

ไปกี่วัดกี่วัด รวมแล้วก็วัดเดียวนั่นหละคือ วัดตัวเรา

จิตเปรียบเหมือนพระราชา อารมณ์ทั้งหลายเปรียบเหมือนเสนา เราอย่าเป็นพระราชาที่หูเบา

มัวแต่นึกถึงวันเกิด ให้นึกถึงวันตายเสียบ้าง

ของดีจริงไม่ต้องโฆษณา คนชอบขายความดีตัวเอง ที่จริงขายความโง่ของตัวเองมากกว่า คมให้มีในฝัก ให้ถึงเวลาที่จะต้องใช้จริงๆ จึงค่อยชักออกมา จะได้ไม่เสียคม

สักวันหนึ่งความตายจะมาถึงเรา มาบีบบังคับให้เราปล่อยทุกสิ่งทุกอย่าง ฉะนั้น เราต้องหัดปล่อยวางล่วงหน้าให้มันเคย ไม่อย่างนั้น พอถึงเวลาไปจะลำบาก

เวลาเราทำงานอะไรอยู่ ถ้าเราสังเกตว่าใจเราเสีย ก็ให้หยุดทันที แล้วกลับมาดูใจของตนเอง เราต้องรักษาใจของเราไว้เป็นงานอันดับแรก

คนอื่นเขาด่าเรา เขาก็ลืมไป แต่เราไปเก็บมาคิด เหมือนเขาคายเศษอาหารทิ้งไปแล้ว เราไปเก็บมากิน แล้วจะว่าใครโง่


๑๕. หลวงพ่อชา สุภทฺโท

ผู้ไปยึดอารมณ์จะเป็นทุกข์ เพราะอารมณ์มันไม่เที่ยง

ดูซิ...เราข้ามกันไปหมด พากันทำบุญ แต่ว่าไม่พากันละบาป ผ้าสกปรกไม่ฟอก แต่อยากจะรับน้ำย้อมนะ

ที่เรามาปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อให้เห็นจิตเดิม เราคิดว่าจิตเป็นสุขจิตเป็นทุกข์ แต่ความจริงจิตไม่ได้สร้างสุขสร้างทุกข์ อารมณ์มาหลอกลวงต่างหาก มันจึงหลงอารมณ์ ฉะนั้น เราจึงต้องมาฝึกจิตใจให้ฉลาดขึ้น ให้รู้จักอารมณ์ ไม่ให้เป็นไปตามอารมณ์ จิตก็สงบ

การทำจิตใจของเราให้มีกำลัง กับการทำกายของเราให้มีกำลัง มันต่างกัน การทำกายให้มีกำลังก็คือ การออกกำลังกายทำกายบริหาร มีการกระโดด การวิ่ง นี่คือการทำกายให้มีกำลัง การทำจิตใจให้มีกำลังก็คือ ทำจิตให้สงบ ไม่ใช่ทำจิตให้คิดนั่น คิดนี่ไปต่างๆ ให้อยู่ในขอบเขตของมัน เพราะว่าจิตของเรานั้นไม่เคยได้สงบ ไม่เคยมีกำลัง มันจึงไม่มีกำลังทางด้านสมาธิภายใน


 

๑๖. หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

มองตัวเองให้มากจึงจะกลายเป็นคนดีได้ มัวแต่มองท่านผู้อื่นแล้วไซร้ ก็กลายเป็นคนพาลไป ไม่รู้ตัว เพราะนิสัยคนพาลย่อมเพ่งโทษผู้อื่นเป็นวัตร โบราณท่านกล่าวว่า อุจจาระของตนนั่งดมอยู่ก็พอดม อุจจาระท่านผู้อื่นเล่า มากระทบจมูกเข้าก็เกิดเป็นพิษเป็นภัยขึ้น (โลกทั้งปวงย่อมเป็นแบบนี้เป็นส่วนมาก)

ถ้าหากโลกทั้งปวงหนักไปทางสอนตนเองเป็นชั้นหนึ่ง และเป็นของจำเป็นมากกว่าสิ่งใดๆ แล้ว การโต้เถียงเกี่ยงงอนรังเกียจเบียดสีกัน ก็คงสงบไปในตัวเท่าที่ควร และพุทธศาสนาก็ยืนยันว่า "สอนตนดีแล้ว จึงสอนท่านผู้อื่น" จึงไม่เดือดร้อนในภายหลัง

เรื่องอุปสรรคในโลกทั้งปวง และก็เป็นยาวิเศษทั้งปวงไปในตัว เป็นเหตุให้เข็ดหลาบโลกทั้งปวงไปในตัว แบบถี่ถ้วนแยบคายด้วยซ้ำ

มุ่งดีในโลกีย์เป็นทางวนเวียน มุ่งดีในทางโลกุตตระเป็นทางพ้นทุกข์
 
๑๗. พระอาจารย์บุญกู้ อนุวฑฺฒโน

เราไปเข้าโรงเรียน เพียรศึกษาวิชาการ แล้วมุ่งทำงานอาชีพ เราย่อมได้เงินทองเพื่อมาเลี้ยงร่างกาย เราเข้าวัดเพียรศึกษาธรรมะ แล้วมุ่งทำบุญกุศล เราย่อมเสียเงินทองเพื่อเลี้ยงจิตใจ ผู้ใดมุ่งเลี้ยงแต่ร่างกาย หรือบำรุงแต่จิตใจเพียงอย่างเดียว ความเจริญของชีวิตย่อมขาดตกบกพร่องไป หากผู้ใดเข้าใจเลี้ยงทั้งร่างกายและบำรุงจิตใจพร้อมกัน ความเจริญของชีวิตย่อมเพิ่มพูนยิ่งขึ้น ยังมีชีวิตอยู่ก็สบาย ตายไปก็ต้องเป็นสุข


 

๑๘. พุทธทาสภิกขุ

วิธีชุบชีวิตยามมีทุกข์ คนเราเกิดมาชาติหนึ่ง ถ้ารูจักแต่ทำมาหากินเลี้ยงร่างกายอย่างเดียว ไม่รู้จักแสวงหาธรรมะมาหล่อเลี้ยงจิตใจให้สุขสงบเย็นด้วยแล้ว การเกิดมานั้น ก็จะเป็นการเกิดมาเพื่อทนทุกข์ทรมานติดคุกติดตาราง ในทางวิญญาณชนิดหนึ่งไปจนตาย ทุกๆ ชาติทีเดียว เพราะถ้าไม่รู้จักทำจิตใจให้สงบตามธรรมบ้างแล้ว แม้คนรวยที่อยู่ตึกก็มีความสุขสู้คนจนที่อยู่กระท่อมซอมซ่อไม่ได้



>>>>> จบ >>>>> 
 
ขอบพระคุณที่มาhttp://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7984
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2010, 05:05:10 am »


๙. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

เราเป็นผู้ก่อกรรม ก่อเวร ก่อภัย ไม่มีใครก่อให้ ไม่ใช่เทวบุตร เทวธิดาสร้างให้ พี่น้องสร้างให้ บิดามารดาสร้างให้ เราสร้างเอง


 

๑๐. หลวงปู่คำดี ปภาโส

ความจริงจิตใจของเราเองเป็นตัวก่อทุกข์ สังเกตได้จากพระอรหันตสาวกทั้งหลาย เมื่อท่านมีความรู้ มีปัญญาคุ้มครองรักษาใจท่านดีแล้ว ท่านก็ไม่มีทุกข์ เพราะท่านไม่ปรารถนาในสิ่งต่างๆ เมื่อเราประสบกับรูป กลิ่น เสียง หรืออื่นๆ ก็เพราะใจเรามีตัณหา ปรารถนา ทะเยอทะยาน ยินดียินร้ายในสิ่งเหล่านั้น ทำให้เราเป็นทุกข์

ไม่ใช่ว่ารูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ หรือสิ่งอื่นๆ ที่จะได้มาเผาเราให้ร้อนเป็นทุกข์ ตัวของเราเองที่เป็นไฟมาคอยเผาตัวเอง

การภาวนา ท่านต้องการให้เราปราบกิเลสของเราเท่านั้น คือเห็นความโลภ เห็นความโกรธของตน เห็นความหลงของตน เห็นราคะตัณหาของตน เห็นมานะทิฏฐิของตน

นี่แหละ บรรดาสิ่งสมมติที่เราไปยึดถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของเรานั้น ก็จะได้เพียงชีวิตหนึ่งๆ เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นสามีภรรยา หรือสมบัติต่างๆ เมื่อเราตายไปแล้ว เราจะยึดถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเราอีกไม่ได้ เราจะเอาสิ่งต่างๆ เหล่านั้นติดตามไปสวรรค์ นรก หรือที่ไหนๆ ก็ไม่ได้ ตรงกับคำว่า "สมบัติของโลก ก็ต้องอยู่ในโลก"
 
 

๑๑. หลวงพ่อดู่ พฺรหฺมปญฺโญ

"โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม" เรื่องโลกมีแต่เรื่องยุ่งของคนอื่นทั้งนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ไขเขาไม่ได้

ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด มาจบที่ตัวเรา ให้มาไล่ดูตัวเองแก้ไขตัวเราเอง ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง

ถ้าเป็นโลกแล้ว จะมีแต่ส่งออกไปข้างนอกตลอดเวลา แต่ถ้าคิดสิ่งที่เป็นธรรมแล้ว ต้องวกกลับเข้ามาหาตัวเอง เพราะธรรมแท้ๆ ย่อมเกิดในตัวของเรานี่ทั้งนั้น

รอให้แก่เฒ่าหรือจวนตัวแล้วจึงสนใจภาวนา ก็เหมือนคนหัดว่ายน้ำเอาตอนเรือหรือแพใกล้แตก มันจะไม่ทันการณ์


 

๑๒. หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร

เมื่อสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นแหละมาถึงบุคคลใด บุคคลนั้นจะต้องรู้เท่าทัน อย่าไปยึดเอาถือเอา เมื่อไปยึดสิ่งได ถือสิ่งไดสิ่งนั้นไม่เป็นไปตามใจหวัง ก็เกิดความทุกข์ขึ้นมา ถ้าไม่ยึดเอาถือเอา เห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีความไม่เที่ยงอย่างนี้ มีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่แล้วดับไป เกิดขึ้นใหม่ ตั้งอยู่ ก็ดับไป เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เป็นอยู่อย่างนี้ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าคน สัตว์ วัตถุธาตุทั้งหลาย มีความไม่เที่ยงแท้แน่นอนอย่างนี้

วันเวลาที่หมดไปสิ้นไปโดยไม่ได้ทำอะไรที่เป็นคุณประโยชน์แก่ตัวเองบ้างในชีวิตที่เกิดมาในโลก และได้พบพระพุทธศาสนานี้ช่างเป็นชีวิตที่น่าเสียดายยิ่งนัก เวลาแม้เพียงหนึ่งนาทีที่ผ่านไปนั้น แม้ว่าจะทุ่มเงินจำนวนมหาศาลสักสิบล้าน ร้อยล้านบาท ก็ไม่สามารถซื้อกลับคืนมาได้ ฉะนั้น สิ่งที่น่าเสียดายในโลกนี้ จะมีอะไรน่าเสียดายเท่ากับปล่อยวันเวลาผ่านเลยไปโดยเปล่าประโยชน์ แม้ว่าจะเพียงแค่นาทีเดียว

"มรณกรรมฐาน" นี้เป็นยอดกรรมฐานก็ว่าได้ คนเราเมื่ออาศัยความประมาทมัวเมา ไม่ได้มองเห็นภัยอันตรายจะมาถึงตน คิดเอาเอง หมายเอาเองว่า เราคงไม่เป็นอะไรง่ายๆ เราสบายดีอยู่เรายังเด็กยังหนุ่มอยู่ ความตายคงไม่กล้ำกรายได้ง่าย อันนี้เป็นความประมาทมัวเมา
 
 
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2010, 05:03:20 am »



๕. หลวงปู่ขาว อนาลโย

สติเป็นแก่นของธรรม แก่นของธรรมแท้อยู่ที่สติ ให้พากัน หัดทำให้ดี ครั้นมีสติแก่กล้าดีแล้ว ทำก็ไม่พลาด คิดก็ไม่พลาด กุศลธรรมทั้งหลายจะเกิดขึ้น เมื่อบุคคลอยู่กับสติแล้ว สติเป็นใหญ่ สติมีกำลังดีแล้ว จิตมันรวม เพราะสติคุ้มครองจิต


 

๖. หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ

เวลากิเลสมันเกิดขึ้น เกิดขึ้นทางกาย เกิดขึ้นทางวาจา เกิดขึ้นทางใจ รู้ทันมันเดี๋ยวนี้ มันก็ดับไปเดี๋ยวนี้แหละ

ตัวสติมันปกครองอยู่เสมอ ถ้ามีสติอยู่ทุกเมื่อ มันบ่ได้คุบมันหละ ครั้นเกิดขึ้น รู้ทันมันก็ดับ รู้ทันก็ดับ รู้ทันก็ดับ คิดผิดก็ดับ คิดถูกก็ดับ พอไจไม่พอไจก็ดับลงทันทีที่ตัวสติ
 
 
 
 

๗. ท่านพ่อลี ธมฺมธโร

เมื่อมนุษย์เป็นคนไม่ดี แม้วัตถุเหล่านั้นจะเป็นของดีก็ตาม มันจะกลับกลายเป็นโทษแก่ปวงชนได้เหมือนกัน

ถ้ามนุษย์มีธรรมประจำใจ สิ่งทั้งหลายที่ให้โทษก็จะกลายเป็นประโยชน์

พวกเราทั้งหลายไม่มีความสัตย์ความจริงต่อดัวเอง จึงมิได้ประสบสุขอันแท้จริงเหมือนอย่างพระพุทธองค์ เราบอกกับตัวเองว่า อยากได้ความสุข แต่เราก็โดดเข้าไปสู่กองไฟร้อน เรารู้ว่าสิ่งนั้นๆ เป็นยาพิษ แต่เราก็ดื่มมันเข้าไป นี่แหละเป็นการทรยศต่อตัวเอง


 

๘. ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต

คำว่า "ไม่สบายใจ" อย่าใช้ และอย่าให้มีขึ้นในใจต่อไป "Let it go, and get it out !" ก่อนมันจะเกิด ต้อง "Let it go" ปล่อยให้มันผ่านไป อย่ารับเอาความไม่สบายใจไว้

ที่จะทำอะไรไม่ผิดนั้น ข้อสำคัญอยู่ที่สติถ้ามีสติคุ้มครองกาย วาจา ใจ อยู่ทุกขณะ จะทำอะไรไม่ผิดพลาดเลย ที่ผิดพลาดเพราะขาดสติคือ เผลอ เหม่อ เลินเล่อ ประมาท ระเริง หลงลืมจึงผิดพลาด จงนึกถึงคติพจน์ว่า "กุมสติต่างโล่ป้อง อาจแกล้วกลางสนาม"

ต้องฝึกหัดแก้ไขปรับปรุงจิตใจเสียใหม่ทั้งก่อนที่จะทำอะไร หรือกำลังกระทำอยู่ และเมื่อเวลากระทำเสร็จแล้ว ต้องหัดให้จิตใจ แช่มชื่นรื่นเริง เกิดปีติปราโมทย์ เป็นสุขสบายอยู่เสมอเป็นเหตุให้เกิดกำลังกาย กำลังใจ "Enjoy living" มีชีวิตอยู่ด้วยความเบิกบาน สมองจึงจะเบิกบาน จะศึกษาเล่าเรียนก็เข้าใจง่ายเหมือนดอกไม่ที่แย้มบานต้องรับหยาดน้ำค้าง และอากาศอันบริสุทธิ์ฉะนั้น

"จงเลือกทำแต่กรรมที่ดีๆ นะ" เป็นคำแทนคำอวยพรอย่างสูงสุด ประกอบด้วยเหตุผล เมื่อทำกรรมดีแล้ว ไม่ให้พรก็ต้องดี เมื่อทำชั่วแล้ว จะมาเสกสรรปั้นแต่งอวยพรอย่างไร ก็ดีไม่ได้ ทำชั่วเหมือนก้อนหินจะต้องจมทันที ไม่มีผู้วิเศษใดๆ จะเสกเป่าอวยพร ขอร้องให้หินลอยขึ้นมาได้ ทำกรรมชั่วต้องล่นจมป่นปี้เสียราศีเกียรติคุณชื่อเสียง เหมือนก้อนหินหนักจมลงไปอยู่กับโคลนใต้น้ำ
 

 
ข้อความโดย: lek
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2010, 05:01:37 am »

พัฒนาจิต ชีวิตพัฒนา เพิ่มสุข ลดสุก
ด้วยคติธรรม ๑๘ พระอาจารย์


 

๑. หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล

วิปัสสนานี้ มีผลอานิสงส์ใหญ่ยิ่งกว่าทาน ศีล พรหมวิหารภาวนา ย่อมทำให้ผู้เจริญนั้นมีสติไม่หลงเมื่อทำกาลกิริยา มีสุคติภพ คือ มนุษย์และโลกสวรรค์เป็นไปในเบื้องหน้า หากยังไม่บรรลุผลทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ถ้าอุปนิสัยมรรคผลมี ก็ย่อมทำให้ผู้นั้นบรรลุมรรคผล ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานได้ในชาตินี้นั่นเทียว

อนึ่ง ยากนักที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์ เพราะต้องตั้งอยู่ในธรรมของมนุษย์ คือ ศีล ๕ และกุศลกรรมบท ๑๐ จึงจะได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ชีวิตที่เป็นมานี้ ก็ได้ด้วยยากยิ่งนักเพราะอันตรายชีวิตทั้งภายใน ภายนอกมีมากต่างๆ การที่ได้ฟังธรรมของสัตตบุรุษคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ก็ได้ยากยิ่งนัก เพราะกาลที่ว่างเปล่าอยู่ ไม่มีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกยืดยาวนานนัก บางคาบ บางสมัย จึงจะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกสักครั้งสักคราวหนึ่ง เหตุนั้นเราทั้งหลายพึงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด อย่าให้เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนานี้เลย


 

๒. หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

การบำรุงรักษาสิ่งใดๆ ในโลก...การบำรุงรักษาตนคือ ใจเป็นเยี่ยม จุดที่เยี่ยมยอดของโลกคือ ใจ ควรบำรุงรักษาด้วยดี

ไม่ว่าธรรมส่วนใด ถ้าสำคัญ "ตน" ว่าเสวยเป็นอันผิดทั้งนั้น

ติดดี นี่แก้ยากกว่าติดชั่วเสียอีก
 
 
๓. หลวงปู่ดูลย์ อตุโล

ส่วนธรรมะ ให้ดูที่จิตของตัวเอง ปฏิบัติที่จิต เมื่อเข้าใจจิตแล้ว อย่างอื่นก็เข้าใจเอง หลักธรรมที่แท้จริงนั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองสึกซึ้งแล้ว นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม

ถึงจิตไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกลใช้สติระลึกไปแต่ในภายในกายนี้ ดูให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระ แก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่ายคลายกำหนัด ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน

การศึกษาธรรมด้วยการอ่านการฟัง สิ่งที่ได้ก็คือ สัญญา (ความจำได้) การศึกษาธรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ สิ่งที่เป็นผลของการปฏิบัติคือ ภูมิธรรม

การปฏิบัติ ให้มุ่งปฏิบัติเพื่อสำรวม เพื่อความละ เพื่อความคลายกำหนัดยินดี เพื่อความดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อเห็นสวรรค์วิมาน หรือแม้พระนิพพานก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั้งนั้น ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ไม่ต้องอยากเห็นอะไร เพราะนิพพานมันเป็นของว่าง ไม่มีตัวตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง

ผู้ที่ปฏิบัติที่แท้จริงนั้น ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชาติหน้าชาติหลัง หรือนรก สวรรค์อะไรก็ได้ ให้ตั้งใจปฏิบัติให้ตรงศีล สมาธิ ปัญญา อย่างแน่วแน่ก็พอ ถ้าสวรรค์มีจริงถึง ๑๖ ชั้นตามมตำรา ผู้ปฏิบัติดีแล้วย่อมได้เลื่อนฐานะของตนโดยลำดับ หรือถ้าสวรรค์นิพพานไม่มีเลย ผู้ปฏิบัติดีแล้วในขณะนี้ก็ย่อมไม่ไร้ประโยชน์ ย่อมอยู่เป็นสุข เป็นมนุษย์ชั้นเลิศ


 

๔. หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี

ตามกระแสพระธรรมเทศนาของสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าทุกข์เป็นของไม่ควรละ แต่เป็นของควรต่อสู้ ความทะยานอยากได้สุขหรือไม่อยากให้มีทุกข์ต่างหาก เป็นของควรละ ผู้ที่จะพ้นจากทุกข์ได้ในโลกนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ยกทุกข์ขึ้นมาเป็นเหตุทั้งนั้น

ทุกข์กับความเพียรเท่านั้นที่มีค่ามากในโลกนี้ หากไม่มีทุกข์กับความเพียรเสียแล้ว ใครๆ ในโลกนี้ จะไม่ทำความดีเพื่อพ้นทุกข์ในโลกนี้และโลกหน้า ตลอดถึงพระนิพพาน

แท้จริงความนึกคิดไม่ใช่ทุกข์ แต่การไปยึดความนึกคิดมาเป็นของตน จึงเป็นทุกข์

หลักอนัตตา ในทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันชอบ พระองค์มิได้ตรัสว่าอนัตตาเป็นของไม่มีตนไมมีตัว เป็นของว่างเปล่า พระองค์ตรัสว่า ตนตัวคือ ร่างกายของคนเรา อันได้แก่ขันธ์ทั้ง ๕ นี้ มันมีอยู่แล้ว แต่จะหาสิ่งเป็นสาระในขันธ์ ๕ นั้นไม่มี ดังนี้ต่างหาก

การเห็นความฟุ้งซ่านของจิตนั้นคือ "ปัญญาชั้นต้น"

คนใดว่าตนดี คนนั้นยังไม่ดี ใครว่าตนวิเศษวิโส หรือฉลาดเฉียบแหลม คนนั้นคือ คนโง่