ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2013, 12:44:49 am »





ว่าด้วย ความรัก ๔ แบบ
(๑) ความรักเกิดจากความรัก
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคล ซึ่งเป็น ที่ปรารถนา
รักใคร่พอใจของ บุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมาประพฤติ กระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการที่ น่าปรารถนาน่ารักใคร่ น่าพอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิด ความพอใจขึ้นมาอย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติกระทำ ต่อบุคคลที่เราปรารถนา รักใคร่ พอใจ ด้วยอาการที่ น่าปรารถนา น่ารักใคร่น่าพอใจ” ดังนี้;
บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำความรัก ให้เกิดขึ้นใน
บุคคล เหล่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า
ความรัก เกิดจาก ความรัก.
(๒) ความเกลียดเกิดจากความรัก
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งเป็นที่ปรารถนา
รักใคร่พอใจของ บุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคล พวกอื่นมาประพฤติ
กระทำต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการ ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่
พอใจ; บุคคลโน้นก็จะเกิด ความไม่พอใจ ขึ้นมาอย่างนี้ว่า
“บุคคลเหล่านั้น ประพฤติ กระทำต่อบุคคล ที่เราปรารถนา
รักใคร่พอใจ ด้วยอาการที่ ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่
พอใจ” ดังนี้; บุคคลนั้นชื่อว่า ย่อมทำ ความเกลียดให้เกิดขึ้น
ในบุคคล เหล่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า
ความเกลียด เกิดจาก ความรัก.

               

(๓) ความรักเกิดจากความเกลียด
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่
ปรารถนารักใคร่พอใจ ของ บุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่น
มาประพฤติกระทำต่อ บุคคลนั้น ด้วยอาการ ที่ไม่น่า ปรารถนา
ไม่น่ารักใคร่พอใจ; บุคคลโน้น ก็จะเกิด ความพอใจ ขึ้นมา
อย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติ กระทำต่อบุคคลที่เรา
ไม่ปรารถนารัก ใคร่พอใจ ด้วยอาการ ที่ไม่น่าปรารถนา
ไม่น่ารัก ใคร่พอใจ” ดังนี้;
บุคคลนั้น ชื่อว่า ย่อมทำ ความรักให้ เกิดขึ้นในบุคคล
เหล่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า
ความรัก เกิดจาก ความเกลียด.
(๔) ความเกลียด เกิดจาก ความเกลียด
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! ในกรณีนี้ มีบุคคลซึ่งไม่เป็นที่
ปรารถนารัก ใคร่พอใจของ บุคคลคนหนึ่ง, มีบุคคลพวกอื่นมา
ประพฤติกระทำต่อ บุคคลนั้น ด้วยอาการ ที่น่าปรารถนา
น่ารักใคร่ น่าพอใจ; บุคคลโน้น ก็จะเกิด ความไม่พอใจขึ้นมา
อย่างนี้ว่า “บุคคลเหล่านั้น ประพฤติ กระทำต่อบุคคลที่เรา
ไม่ปรารถนารัก ใคร่พอใจ ด้วยอาการ ที่น่าปรารถนา น่ารักใคร่
น่าพอใจ” ดังนี้;
บุคคลนั้น ชื่อว่า ย่อมทำ ความเกลียดให้เกิดขึ้น
ในบุคคลเหล่านั้น.
ภิกษุ ทั้งหลาย. ! อย่างนี้แล เรียกว่า
ความเกลียด เกิดจาก ความเกลียด.
จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๘๐/๒๐๐.


-http://www.facebook.com/pages/พระพุทธเจ้า/166387296709841