ข้อความโดย: ฐิตา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 09:07:22 pm »ขอยกพุทธพจน์ โพธิปักขิยธรรม มาจบลงที่มรรคมีองค์แปด
[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ
สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ
สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
-http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/s ... A%D9%B5%C3
อริยมรรคแต่ละตัว จะต้องมีการปฏิบัติให้ได้มา
สัมมามรรคนั้นแท้จริงก็คือ ผลของการปฏิบัติธรรมแห่งโพธิปัก
และสัมมัปปทานสี่ก็เป็นองค์ธรรมหนึ่งที่อริยะต้องปฏิบัติ
เพื่อให้ได้อริยมรรคของแต่ละตัว ยกเว้นสัมมาทิฐิ(ก่อนมีสัมมาทิฐิก็สามารถปฏิบัติ
สัมมัปปทานได้แต่เราไม่เรียกสัมมัปปทานนี้ว่า ธรรมของอริยะ เป็นแค่ธรรมของปุถุชน)
และจากพุทธพจน์ที่ผมยกมากล่าวไว้ว่า สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
นั้นก็แสดงว่า ต้องมีสัมมาทิฐินำหน้า(สัมมาทิฐิคือผู้ที่ได้ผ่านไตรลักษณ์มาแล้ว)
ดังนั้นมันต้องมี สัมมาทิฐิเป็นอารมณ์ถึงจะถูก
********************************
พระสูตร กัจจานโคตตสูตร
ว่าด้วย พระมหากัจจานโคตต์ทูลถามสัมมาทิฏฐิ
[๔๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัจจานโคต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ที่เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงจะชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ
[๔๓] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรกัจจานะ โลกนี้โดยมากอาศัยส่วน ๒ อย่าง คือความมี ๑ ความไม่มี ๑ ก็เมื่อบุคคลเห็นความเกิดแห่งโลกด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความไม่มีในโลก ย่อมไม่มี เมื่อบุคคลเห็นความดับแห่งโลก ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้ว ความมีในโลก ย่อมไม่มี
โลกนี้โดยมากยังพัวพันด้วยอุบาย อุปาทานและอภินิเวส แต่พระอริยสาวกย่อมไม่เข้าถึง ไม่ถือมั่น ไม่ตั้งไว้ซึ่งอุบาย และอุปาทานนั้น อันเป็นอภินิเวสและอนุสัย อันเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิตว่า อัตตาของเรา ดังนี้ ย่อมไม่เคลือบแคลงสงสัยว่า ทุกข์นั่นแหละเมื่อบังเกิดขึ้น ย่อมบังเกิดขึ้น ทุกข์เมื่อดับ ย่อมดับ พระอริยสาวกนั้น มีญาณหยั่งรู้ในเรื่องนี้ โดยไม่ต้องเชื่อผู้อื่นเลย ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แลกัจจานะ จึงชื่อว่าสัมมาทิฏฐิ
[๔๔] ดูกรกัจจานะ ส่วนสุดข้อที่ ๑ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงมีอยู่ ส่วนสุดข้อที่ ๒ นี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่มี ตถาคตแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุดทั้ง ๒ นั้นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ... ความเกิดขิ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
*************************************
๓. อนิจจสูตรที่ ๑
ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕
[๙๑] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น
เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น
ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา. นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน
ของเรา. เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น
จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณ
ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา
เธอทั้งหลาย พึงเห็นสิ่งนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา.
นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนี้ จิตย่อม
คลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
-http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0
[156] ปธาน 4 (ความเพียร - effort; exertion)
1. สังวรปธาน (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น - the effort to prevent; effort to avoid)
2. ปหานปธาน (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว - the effort to abandon; effort to overcome)
3. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี - the effort to develop)
4. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ - the effort to maintain)
ปธาน 4 นี้ เรียกอีกอย่างว่า สัมมัปปธาน 4 (ความเพียรชอบ, ความเพียรใหญ่ - right exertions; great or perfect efforts).
องฺ.จตุกฺก. 21/69/96; 14/20; 13/19.
[๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปธานคือความเพียร ๔ ประการนี้
๔ ประการเป็นไฉน คือ สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑ ภาวนาปธาน ๑
อนุรักขนาปธาน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังวรปธานเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อให้อกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
นี้เรียกว่า สังวรปธาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปหานธานเป็นไฉน
ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อละอกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า ปหานปธาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาปธานเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อให้กุศลกรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุรักขนาปธานเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร
ประคองจิต ตั้งจิตไว้ เพื่อความดำรงอยู่ เพื่อไม่หลงลืม เพื่อความเจริญยิ่งขึ้น
เพื่อความไพบูลย์ เพื่อเพิ่มพูน เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปธานคือความเพียร ๔ ประการนี้แล ฯ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้มีความเพียร พึงถึงความสิ้นทุกข์ได้ด้วย
ปธานเหล่าใด ปธาน ๔ ประการเหล่านี้ คือ สังวรปธาน ๑
ปหานปธาน ๑ ภาวนาปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑ อัน
พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงไว้แล้ว ฯ
พระไตรปิฎก 21/1990-2012 , 85-86
-http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0
41592.เรียนถาม สัมมัปปธาน 4 คืออะไรครับ
(มีต่อค่ะ /ว่าด้วย.. "ธรรมนิยาม" "ไตรลักษณ์")
- http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=41592&start=105